050 : ฟ้าผ่า (4) อุปกรณ์ตรวจจับฟ้าผ่า มีหน้าตาอย่างไร?


 

คราวนี้หลบเมฆมาลุยเรื่อง ฟ้าผ่า กันต่อครับ เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่พวกเราน่าจะรู้ไว้

 

บันทึกนี้เป็นตอนที่ 4 ของบทความต่อเนื่องขนาดยาว
ซึ่งจะทยอยนำเสนอเป็นระยะจนสมบูรณ์

ประเด็นที่แล้ว : ฟ้าผ่ามีขั้นตอนอย่างไร?

 


4. มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจับฟ้าผ่าหรือไม่?

ตอบ : อุปกรณ์ตรวจจับฟ้าผ่ามีหลายแบบ โดยทุกแบบล้วนใช้หลักการตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากฟ้าผ่า ซึ่งปกติแล้วมักจะตรวจจับคลื่นวิทยุ


อย่างไรก็ดีในมุมมองของผู้ใช้ (เช่น ผู้เล่นกอล์ฟ) อาจแบ่งอุปกรณ์เหล่านี้ออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่

กลุ่มแรกเป็นอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งแบบถาวร ซึ่งใช้ในการศึกษาวิจัย หรือเป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่ายตรวจจับฟ้าผ่าในวงกว้าง เช่น อุปกรณ์ ALDF (Alvanced Lightning Direction Finder) จำนวน 130 ตัวของ เครือข่ายตรวจจับการเกิดฟ้าผ่าแห่งชาติ (The National Lightning Detection Network, NLDN) ของสหรัฐอเมริกา

ข้อมูลเกี่ยวกับฟ้าผ่าจากระบบเครือข่ายนี้มีประโยชน์สำหรับกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาในการตัดสินใจ เช่น การบิน เป็นต้น


อุปกรณ์ตรวจจับฟ้าผ่า ALDF ของ NLDN


อุปกรณ์อีกกลุ่มหนึ่งเป็นแบบพกพา
ซึ่งมีหลายโมเดลในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ข้อมูลสำคัญที่อุปกรณ์แบบพกพานี้จะให้กับผู้ใช้ได้แก่ ระยะทางที่เกิดฟ้าผ่า

ตัวอย่างเช่น เครื่องรุ่นหนึ่งจะระบุช่วงระยะห่างเป็น 4 ช่วง (โดยใช้หน่วยไมล์ตามแบบอเมริกัน) ได้แก่ ระยะใกล้กว่า 6 ไมล์ (ซึ่งเป็นไปตามกฎ 30/30 ที่กล่าวถึงในบันทึกอื่นต่อไป) ระยะ  6-12 ไมล์  ระยะ 12-20 ไมล์ และระยะ 24-40 ไมล์ เป็นต้น


StrikeAlertตัวอย่างอุปกรณ์ตรวจจับฟ้าผ่าแบบพกพายี่ห้อหนึ่ง


บางเครื่องอาจจะตรวจจับได้ด้วยว่า พายุฝนฟ้าคะนองกำลังเคลื่อนที่เข้าหาคุณอยู่หรือไม่ และหากใช่ พายุนี้จะมาถึงในเวลานานแค่ไหน เพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจได้ทันท่วงที


ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องตรวจจับฟ้าผ่าสามารถค้นอินเทอร์เน็ตด้วยคำว่า
lightning detector หรือ lightning detection equipment

ดูตัวอย่างอุปกรณ์ตรวจจับฟ้าผ่าในเชิงพาณิชย์

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ lightning detector ใน Wikipedia

 


หมายเลขบันทึก: 202202เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2008 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

บทความน่าสนใจมาก

ผมกำลังติดตาม ไล่อ่านตั้งแต่้ต้นเลย

ขอบคุณมากครับ

  • พอเกิดฟ้าผ่าก็แจ้งเตือนล่วงหน้าให้คนที่จะถูกผ่าหลบทัน ใช่ไหมครับ

สวัสดีครับ

         เจ้าอุปกรณ์พวกนี้เตือนว่า ที่ระยะห่างออกไปพอประมาณ เช่น 10 กิโลเมตร กำลังมีฝนฟ้าคะนองอยู่ครับ

         ใครที่อยู่กลางแจ้ง จะได้เตรียมตัวหลบทัน เช่น ทหารที่ออกเดินป่า หรือนักกีฬา (เช่น กอล์ฟ) ที่กำลังแข่งขันอยู่

เจริญพร โยมอ.บัญชา

อุปกรณ์เหล่านี้ราคาไม่แพงมากนัก คงช่วยได้เยอะ อาตมาอ่านหนังสือเจอบทความว่า อุปกรณ์กอล์ฟ เป็นสายล่อฟ้าดีๆนี่เอง

ที่ใต้มีฟ้าผ่าบ่อยคอมอาตมาโดนจนบอร์ดพังไปครั้งหนึ่งแล้ว จนกลัวไม่กล้าเปิดเวลาฟ้าร้อง

เจริญพร

กราบนมัสการหลวงพี่ พระปลัด ครับ

         เรื่องอุปกรณ์กอลฟ์เป็นสายล่อฟ้านี่คงต้องดูรูปร่างของมันครับ

         เคยมีข่าวว่าแคดดี้โดนฟ้าผ่าเพราะแบบถุงกอลฟ์ซึ่งมีไม้กอลฟ์ (ทำจากโลหะ) อยู่ข้างใน ซึ่งจริงๆ แล้วไม่น่าจะเป็นสาเหตุครับ

         เครื่องคอมพิวเตอร์โดนฟ้าผ่านี่ที่ทำงานผมก็โดนเหมือนกันครับ ควันขึ้นเลย

สวัสดีค่ะพี่ชิว

จะลองถามที่สนามกอล์ฟที่นี่ดูนะคะว่าเค๊ามีติดตั้งกันหรือเปล่า? คราวที่แล้วไปก็ลืมถามค่ะ ส่วนอันเล็กๆที่พกได้ ก็น่าสนนะคะ เพื่อความปลอดภัยและไม่ประมาท

ขอบคุณค่ะพี่ชิว

 

  • พี่ชิวครับ เข้าใจว่าบ้านเราแทบไม่มีเครื่องตรวจจับฟ้าผ่าแบบนี้ใช่ไหม
  • พี่ชิวพอจะทราบไหมครับ

สวัสดีครับ

        อุ๊ : ถ้าได้ข้อมูลจากสนามกอล์ฟที่ไปบ่อยๆ ก็แวะมาแจ้งแถวๆ นี้ด้วยนะครับ

             ถ้าถ่ายภาพมาได้ด้วย + ข้อมูลเกี่ยวกับ Regulations ก็แจ๋วเลย (เอ๊ะ! ขอมากไปหรือเปล่าหว่า?)

       อ.แอ๊ด : ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ ถ้าใครมีข้อมูลช่วยบอกหน่อยเร้ว! สงสัยต้องถามคนในกรมอุตุฯ หรือคนที่ทำงานในสนามบิน

  • ฝนตกอีกแล้ว อยากได้สักเครื่องค่ะ

สวัสดีครับ

       น่าสนใจจริงๆ ว่าบ้านเรานำเข้ามาไหม?

       ผมเดาว่า แม้แต่กรมอุตุฯ เองก็อาจจะไม่มีด้วยซ้ำ (อาจจะเดาผิด) หรือไม่ก็ต้องไปถามทหารเรือครับ เพราะเก่งเรื่องฟ้าเรื่องฝน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท