070 : เมฆจากทะเลที่สงขลา ฝีมือมะปรางเปรี้ยว + วิเคราะห์เล็กๆ


 

น้องมะปรางเปรี้ยว ส่งภาพเมฆจากทะเลที่สงขลามาให้

พร้อมกับคำถามว่า มีเมฆอะไรบ้าง?

 

 

อันที่จริง แม้เราจะไม่รู้ว่าว่าเมฆที่เห็นเป็นเมฆชนิดไหน ชื่ออะไร

ความงดงามชวนมองของเมฆก็ยังคงปรากฏต่อสายตาของเรา...ใช่ไหมครับ :-)

แต่หากรู้เพิ่มอีกสักนิด

การชมเมฆก็จะได้อรรถรสมากขึ้น :-D (ยิ้มได้กว้างขึ้น..เห็นปะ)

 

ท้องฟ้ามีเมฆหลายๆ แบบอย่างนี้ ฝรั่งเรียกว่า mixed sky ครับ

คือมีเมฆหลายแบบมาผสมปนเปกัน (mixed) นั่นเอง

มาดูกันทีละตำแหน่งเลย

กรอบเหลี่ยมสีฟ้าอมม่วง (มุมซ้ายบน) : เมฆจางๆ ที่เห็นนี้เรียกว่า สเตรตัส (stratus) แบบหนึ่งครับ มีลักษณะแผ่นออกไปเป็นแถบ และเนื่องจากอยู่สูงมาก ราวๆ 10 กิโลเมตรจากผืนน้ำ จึงเรียกว่า เมฆซีร์โรสเตรตัส (cirrostratus)

[คำว่า cirr- นี่เห็นที่ไหน ให้รู้ว่าเป็นเมฆที่อยู่สูงราวๆ 8-12 กิโลเมตร]

 

วงรีสีม่วง (มุมขวาบน) : เมฆก้อนแบบนี้ อยู่สูงจากพื้นปานกลาง คือ ราวๆ 4-8 กิโลเมตร เรียกว่า อัลโตคิวมูลัส (altocumulus) ครับ

[คำว่า alto- หมายถึง อยู่สูงปานกลาง ส่วน cumulus คือ เมฆก้อน]

 กรอบมุมมนสีน้ำตาล (มุมขวาล่าง) : เมฆก้อนขนาดใหญ่ซึ่งหากยังไม่มีฝนฟ้าคะนอง จะเรียกว่า คิวมูลัสคอนเจสทัส (cumulus congestus)
แต่หากเติบโตไปมากกว่านี้ จนเกิดฝนฟ้าคะนอง ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า จะเรียกว่า คิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus)


 วงรีสีฟ้า (ตรงกลาง) : เมฆก้อนหรือ คิวมูลัส (cumulus) หากกำล้งสลายตัวจะเรียกว่า คิวมูลัสที่กำลังสลายตัว (decaying cumulus) ต้องรอดูไปสักพักครับ


และสุดท้าย

กรอบสีเขียว (มุมซ้ายล่าง) : ภาพนี้ดูไม่ถนัด แต่หากเป็นเมฆก้อนตามแนวนอน จะเรียกว่า สตราโตคิวมูลัส (stratocumulus) แต่ด้านหลังไกลออกไปน่าจะเป็นคิวมูลัสคอนเจสทัส

 

เมื่อวิเคราะห์กันจน (เกือบ) อิ่มแล้ว

ผมว่าเรากลับมามองภาพท้องฟ้าอีกครั้ง ด้วยความเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิมอีกนิด

ภาพนี้ขยับมุมมองเลื่อนไปทางขวามืออีกหน่อยครับ

Enjoy! ^__^

 


คำสำคัญ (Tags): #cloud#เมฆ
หมายเลขบันทึก: 216679เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2008 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • ตามมาดูเมฆ ค่ะ
  • ได้บรรยากาศริมทะเลไปด้วยเลย

ไม่เคยทราบมาก่อน จริงๆ ค่ะ ได้ความรู้ใหม่ เลย เจ๊า

  • อันนี้ต้องใช่แน่ๆๆ
  •  คิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus)
  • แถมฟ้าแลบ
  • อิอิๆๆ

พี่ชิวค่ะ

ขอบคุณมากๆ ค่ะ ได้ความรู้เพียบ แถมยังเป็นข้อมูลให้เพื่อนๆ สมาชิกท่านอื่นๆ อีกด้วย

ขอบคุณมากค่ะ ^_^

สวัสดีครับ

         อ. naree suwan : ส่งภาพเมฆเมืองลิงมาให้ชมบ้างนะครับ ;-)

         คุณ ครูใหม่ บ้านน้ำจุน : ลองย้อนกลับไปดูบันทึกเก่าๆ ในบล็อกนี้ได้ครับ มีชื่อเมฆต่างๆ เพียบเลย

             เริ่มจากบันทึกนี้ก่อนก็ได้ครับ

             034 : เมฆฝนแสนงาม..ของ..หนุ่มหน้าตาดีแห่ง G2K

         อ.แอ๊ด : ใช่เลยๆ นี่แหละ คิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) หรือเมฆฝนฟ้าคะนอง (thundercloud)

            คำว่า cumulo- หมายถึง เมฆก้อน

                    nimbus หมายถึง ฝน

         มะปราง : ขอบคุณที่นำภาพท้องฟ้าและเมฆสวยๆ มาฝากครับ ^__^

-----------------------------------------------------------------

 

                        วันนี้ (พุธที่ 15 ตุลาคม 2551)

        สนใจเรื่อง ฟ้าผ่า สามารถติดตามสัมภาษณ์ได้ใน ThaiPBS

              ดูรายละเอียด + ดาวน์โหลดบทความในบันทึกนี้

-------------------------------------------------------------------

ต้องไปหัดถ่าย (รูป) บ้างแล้วครับ จะได้มีคำถามมาฝาก

สวัสดีครับ คุณ Nat_Panik

       ดีเลยครับ ผมก็เพิ่งหัดถ่ายรูปได้ไม่นานมานี้เหมือนกันครับ

       ได้ภาพท้องฟ้าสวยๆ เมื่อไรก็ส่งมาเลย จะมีคำถามติดมาด้วยหรือไม่ก็ได้ครับ

สวยงามมาก ทั้งภาพเมฆ และคำอธบาย ขอบคุณค่ะ อาจารย์ krutoiมาดูเมฆตอนดึกค่ะ

สวัสดีครับ krutoi

        สำหรับเมฆแบบอื่นๆ ที่เหลือจากเขาเขียว ขอเวลาหน่อยครับ ผมกลับมาชุลมุนอีกแล้ว (โดยคาดการณ์ไม่ได้)

สวัสดีครับ

เพิ่งรู้นะครับเนี่ยเมฆก็มีชื่อเรียกด้วย ปกติผมจะถ่ายรูปเน้น macro เป็นหลัก ต้องลองถ่ายท้องฟ้าดูซะแล้ว

สวัสดีครับ

      ได้เลยๆ ถ้ามีภาพเมฆ & ท้องฟ้า ก็นำมาฝากแถวๆ นี้ได้ครับ

สวยงามมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท