112 : 'ลูกเห็บ' เกิดขึ้นได้อย่างไร?


 

ช่วงนี้นอกจากจะเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่ารุนแรงบ่อยครั้งแล้ว

ยังเกิด ลูกเห็บ ในหลายพื้นที่อีกด้วย

มาดูกันหน่อยครับว่าเจ้าลูกเห็บนี่เกิดขึ้นได้ยังไง

 

ช่วงท้ายบันทึกยังมีข้อมูลจาก ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย (Thai Science Media Center)

สัมภาษณ์ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ด้วย

ท่านอาจารย์อานนท์เป็นนักวิชาการที่ผมนับถือมาก

เพราะให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และเข้าใจง่าย 


 

ลูกเห็บมีลักษณะเป็นก้อนน้ำแข็ง ขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร

โดยก้อนที่ค่อนข้างใหญ่สามารถสร้างทำอันตรายต่อคน สัตว์ พืช และสิ่งของต่างๆ ได้
        


ดูฤทธิ์เดชของมันซะก่อน
(ใส่หมวกกันน็อกไว้หน่อย หากมีลูกเห็บหล่นมาจากฟ้า 555)


    
     หากผ่าลูกเห็บดูภายใน จะพบว่าบางลูกมีโครงสร้างเป็นชั้นๆ

 

ลักษณะเช่นนี้เองที่ทำให้มีแบบจำลองอธิบายการเกิดลูกเห็บดังนี้ครับ

     
     ลูกเห็บเกิดในเมฆฝนฟ้าคะนอง (thundercloud) หรือที่นักอุตุนิยมวิทยาเรียกว่า เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus)

ภายในก้อนเมฆนี้มีกระแสอากาศที่ไหลเวียนอย่างรวดเร็วและรุนแรง

กระแสอากาศที่ไหลขึ้นเรียกว่า อัปดราฟต์ (updraft)

ส่วนที่ไหลลงเรียกว่า ดาวน์ดราฟต์ (downdrawft)

 


เริ่มจากเม็ดน้ำขนาดเล็กที่ถูกกระแสอัปดราฟต์พาขึ้นไปด้านบน

เมื่อเม็ดน้ำนี้ถูกกระแสลมอัปดราฟต์พัดพาขึ้นไปสูงใกล้ยอดเมฆ ก็จะพบกับอุณหภูมิต่ำมากๆ

ทำให้เม็ดน้ำแข็งตัวกลายเป็นก้อนน้ำแข็งขนาดเล็ก

ในช่วงนี้ กระแสอัปดราฟต์ยังสามารถพยุงก้อนน้ำแข็งนี้ให้เคลื่อนที่ขึ้นไปได้
  

 

 

ระหว่างที่ก้อนน้ำแข็งเคลื่อนที่ขึ้นนี้ อาจจะพบกับหยดน้ำเย็นยิ่งยวด (supercooled droplet)

ซึ่งจะเกาะผิวของก้อนน้ำแข็งและแข็งตัวเคลือบก้อนน้ำแข็ง

เกิดเป็นชั้นน้ำแข็งชั้นแรกถัดจากแกนกลาง (ก้อนน้ำแข็งเล็กๆ ตั้งต้น)

 

[น้ำเย็นยิ่งยวด (supercooled water)

คือ น้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส แต่ยังคงสภาพเป็นของเหลว มิได้กลายเป็นน้ำแข็ง

เป็นสภาพที่ไม่เสถียร และพร้อมที่จะกลายเป็นน้ำแข็ง หากกระทบกับของแข็ง]

 

ก้อนน้ำแข็งที่สะสมเคลือบน้ำแข็งนี้อาจตกลงและถูกพัดขึ้นหมุนวนอยู่ภายในก้อนเมฆหลายรอบ

แต่ละรอบก็จะเกิดเคลือบขึ้นมาหนึ่งชั้น 
   

จนในที่สุด เมื่อก้อนน้ำแข็งมีน้ำหนักถึงจุดหนึ่ง กระแสอัปดราฟต์จะพยุงไว้ไม่อยู่

ทำให้ก้อนน้ำแข็งตกลงมาทางใต้ฐานเมฆ

ก้อนน้ำแข็งนี้เองที่เราเรียกว่า ลูกเห็บ (hail หรือ hailstone)

 


 

สัมภาษณ์ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

 

กรณีการเกิดลูกเห็บในช่วงปลายเดือนมีนาคม-ต้นเมษายน 2552 (pdf)


ขอขอบคุณ ออยศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย (Thai Science Media Center)

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

 

 


หมายเลขบันทึก: 253509เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2009 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

อรุณสวัสดิ์ค่ะท่านอ.หมอเมฆ

...

ท่านอ.สบายดีนะคะ  ... ขอบคุณสำหรับข้อมูลความรู้ค่ะ

ช่วงเดือนที่แล้ว น้องชายบอกย่านลาดพร้าวมีลูกเห็บโตย

ปูเสียดายจัง ไม่ได้เห็นกับตา :) ...

อยากให้ฝั่งอันดามันมีลูกเห็บบ้างจังค่ะ :)

"""

 

 

สวัสดีค่ะ ตอนแรก จะเก็บมารับประทาน แต่ไม่เอาดีกว่าค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูล ที่กำลังอยากจะรู้ที่มาค่ะ

ที่แพร่มีบ่อยเลยค่ะ

มีอยู่ช่วงหนึ่งแม่กวาดมากองๆขาวไปหมดเลยทีเดียว

ยายบอกว่า"มันตกมาก้อเก็บกินเม็ดหนึ่งนะลูก"

แต่ไม่กล้ากินค่ะ

สวัสดีครับ

        poo : ช่วงนี้คุณลูกเห็บอาละวาดหนักครับ ขนาดที่สามย่านยังลงมาเยี่ยมเลย

             แสดงว่า พายุฤดูร้อน ซึ่งเป็นพายุฝนฟ้าคะนองแบบหนึ่ง ค่อนข้างแรง ที่ต้องระวังอย่างมากอีกเรื่องคือ ฟ้าผ่า ครับ

        คุณ paula : ผมก็ไม่กล้ากินเหมือนกันครับ น้ำแข็งจากท้องฟ้านี่

        คุณ นันทินารี : ลูกเห็บที่แพร่นี่ขนาดสักเท่าไรครับ?

อาจาย์คะขอบคุณมากค่ะสำหรับบันทึกนี้ เพราะเด็กๆถามทรายอยู่ว่าลูกเห็บเกิดจากอะไร ได้คำตอบให้เด็กๆอย่างชัดเจนแล้วค่ะ

สวัสดีครับ อ.ทราย

          ดีจังครับ นำภาพไปให้เด็กๆ ดูด้วย จะเข้าใจดียิ่งขึ้น

          ถ้ามีคำถามอะไรเพิ่มเติม ก็ฝากไว้แถวๆ นี้ได้นะครับ

ขอบคุณค่ะพี่ชิว

เอ๋อยากได้ความรู้เรื่อง น้ำฟ้า ทุกชนิด จะหาได้ที่ไหนค่ะพี่

เน้นรูปสีสวยให้เด็กได้เห็นจริงค่ะ หายากจัง ขอคำแนะนำด้วยนะค๊ะ

สวัสดีครับ เอ๋-เสี่ยวอวิ๋น

        เรื่อง น้ำฟ้า (precipitation) นี่ ถ้าต้องการข้อมูลแบบครบถ้วน อาจเริ่มจากตำรา (textbook) ทางด้านอุตุนิยมวิทยาครับ ไม่งั้นต้องขยันหาจากอินเทอร์เน็ต โดยเริ่มจาก

        http://en.wikipedia.org/wiki/Precipitation_(meteorology)

        ส่วนชื่อภาษาไทย & คำอธิบายสั้นๆ สามารถอ่านได้จาก พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ครับ

เพิ่มเติม

          ลูกเห็บมีหลายแบบด้วยครับ ไว้จะหาโอกาสบันทึกถึงในเวลาอันควร ^__^

ไพไดเปดดะเปิ่อิ้ด่ อือ้เส้พ่เเสสี่สุ่สร่สุส่เวสัสีสั่สคี่สั่สส้สี

น้องซิว...สวัสดีปีใหม่ 2554

มีความสุข ในเทศกาลแห่งความสุขนี้ นะครับอาจารย์

มาเยี่ยมด้วยความระลึกถึง

  • สวัสดีค่ะท่านอาจารย์
  • มาด้วยความระลึกถึง

 

มาชมและอวยพรวันปีใหม่ตามประเพณีของเราครับ


โอ๊ย มันหนักมากจริงๆเลยคร๊าบผม

ฟหกฟหกหฟกหฟก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท