134 : เมฆ Altocumulus Stratiformis ฝีมือ อ.เอรินนิค


 

 

อาจารย์เอรินนิค ฝากคุณหนุ่ย ErNik

นำภาพเมฆสุดโปรดมาสอบถามผมว่าเมฆในภาพนี้เป็นเมฆอะไร?

 

 

ลองไปค้นดู

พบว่าน่าจะเป็นเมฆชนิดเดียวกันกับแบบนี้ครับ

 


ภาพจาก เว็บนี้

Altocumulus Stratiformis

 

เรื่องนี้ผมเคยตอบ อ.เอรินนิค & คุณหนุ่ย ไปแล้วในบันทึกนี้

แต่เพื่อให้ภาพอันสวยงามนี้แพร่หลายมากขึ้น

ผมจึงขอนำภาพ & ข้อมูลมาไว้ ณ ที่นี้อีกครั้ง

 

เมฆชนิดนี้เรียกว่า อัลโตคิวมูลัส สตราติฟอร์มิส (Altocumulus stratiformis) ครับ

            เมฆชนิดนี้เป็น อัลโตคิวมูลัส (altocumulus) หมายความว่า เป็นเมฆที่มีลักษณะตะปุ่มตะป่ำเป็นก้อน (cumulus = เมฆก้อน) และมีความสูงปานกลาง (alto บ่งว่าเป็นเมฆระดับกลาง สูงราว 2-6 กิโลเมตร เหนือพื้นดิน)

            ชื่อต่อท้าย สตราติฟอร์มิส (stratiformis) เป็นภาษาละติน หมายถึงว่า เมฆมีลักษณะแผ่ออกไปเป็นชั้นในแนวนอน (คำว่า stratiform = forming a layer or arranged in layers)

สีออกส้มๆ แดงๆ อย่างนี้ ถ้าไม่เป็นตอนเช้ามากๆ ก็เป็นตอนก่อนดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า

            เมฆอัลโตคิวมูลัสมีมากมายหลายแบบ ลองไปดูที่นี่ได้เลย

          095 : หัดดูเมฆเบื้องต้น (4) เมฆอัลโตคิวมูลัส ฝีมือคุณจินตมาศ

 

 


คำสำคัญ (Tags): #altocumulus#stratifiormis
หมายเลขบันทึก: 272584เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีครับพี่ชิว

อ่า....สง่างามและเหมือนฝันดีจัง นี่แหละที่คุ้มค่าแก่การตื่นเช้าขึ้นมาดูใช่มั้ยครับพี่ ;)

ตัวเมฆนี้พอเข้าใจ...แต่สีสวยๆนี้มาจากไหนครับพี่ชิว?

หรือมีฟิลม์ มีตัวกรอง(หมายถึงเมฆที่อยู่ไกลๆ)ให้แสงสีผิดเพี้ยนมั้ยระหว่างดวงอาทิตย์กับ เมฆบนหัวเรา? เพราะเห็นไม่บ่อยครับพี่ นานๆที อย่างเมื่อเช้าเดย์เพิ่งบินมาจากดอนเมือง ก็เห็นแสงสีอย่างนี้แหละครับ สวยดี แต่ไม่ใช่อัลโตคิวมูลัส สตราติฟอร์มิส

เรียกยากจัง เดี๋ยวเรียกเป็นเมฆ ทรานสฟอร์เมอร์ ซะเลยนิ อิอิ

ขอบคุณครับพี่ชิว เอาเมฆงาน TOYOTA ที่อุดรมาฝากครับ ใช่ ซีรัส รึเปล่าหนอ? รักอย่างเดียวแล้วชักลืมๆชื่อ 555

  • สวัสดีค่ะ คุณบัญชาและมวลสมาชิก
  • ตามไปดูเว็บที่คุณบัญชาแนะนำ ตอนนี้เก็บไว้เป็นเว็บโปรดแล้วค่ะ
  • ที่พะเยาฝนตกอ้อยสร้อย (พรำพรำ) มีแต่เมฆฝนแต่ฟ้าไม่คะนองค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่ชิว แวะไปดูแผ่นพับ ฟ้าผ่า อยู่ค่ะ .. อิอิ

ตามมาขอบคุณพี่ชิวค่ะ .. อ.เอรินนิค เป็นปลื้มมากๆ ค่ะ ไ้ด้คำตอบ แถมมีข้อเสนอแนะทาง G2K ให้ทำเมนูเป็นภาษาอังกฤษด้วย เพราะคิดว่าที่นี่เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ที่ดีแห่งหนึ่งเลยค่ะ ... ว่าจะไปส่งต่อ น้องมะปรางอยู่ค่ะ

วันนี้นำเมฆ มาฝาก 2 รูปค่ะ ต่างเวลา ต่างสีสัน  อีกละค่ะ

23-6-2009  

25-6-2009

รักษาสุขภาพด้วยค่ะ / หนุ่ย

 

 

สวัสดีค่ะ

มาชมภาพนี้ตั้งแต่คืนที่ผ่านมาแล้วแต่ไม่ได้ทักทาย

สวยจริงนะคะ..

สงสัยเหมือนน้องเดย์เรื่องสีค่ะ..สีส้มๆ

แล้วจะแวะมาดูคำอธิบายอีกนะคะ

ดร.ซิวเอาภาพสัตว์ประหลาดของพี่อ้วนมาบันทึกได้ค่ะ..(วานนี้)

ขอบคุณมากค่ะ..ได้ความรู้อีกตั้งเยอะเชียว

(ฝากขอบคุณน้องหนุ่ยด้วยค่ะ..ที่มีเมฆสวยมาฝากพี่น้องที่เมืองไทย)

สวัสดีครับ เดย์ adayday

         เมฆที่นำมาฝาก พี่นึกว่าเป็นโปเกมอนตัวหนึ่งที่ชื่อ กรูดอน ครับ (แต่ลูกสาวบอกว่าไม่ใช่พ่อ ไม่ใช่)

         เมฆทรานสฟอร์เมอร์นี่เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าหรือเปล่าครับ 555

         เรื่องสีสวยๆ ของเมฆ ไว้จะหาโอกาสขยายความอีกทีครับ

สวัสดีครับ คุณ Wanpen

        ใช่แล้วครับ เว็บนี้ มีภาพเมฆ & ท้องฟ้าสวยงามแปลกตามากมาย

        ฝนตกอย่างเดียว ไม่มีฝนฟ้าคะนองดีแล้วครับ จะได้ไม่มีฟ้าผ่า แต่ถ้ามีฟ้าผ่าเมื่อไร ก็ไปอ่านเรื่องนี้ได้เลยครับ

        นำไฟล์ไปพิมพ์เป็นโปสเตอร์แปะไว้ที่ทำงานก็ได้ ;-) 

สวัสดีครับ คุณ กิติยา เตชะวรรณวุฒิ

         ด้วยความยินดีครับ ต้องขอบคุณอาจารย์เอรินนิค & คุณหนุ่ย ที่นำภาพสวยๆ มาฝากพวกเรา

สวัสดีครับ คุณหนุ่ย NuiErnik

         ท้องฟ้าที่นำมาฝากนี่คนละบรรยากาศเลยนะครับ สวยงามทั้งสองแบบทีเดียว

         บางทีอีกไม่นานเราอาจจะได้เห็น menu เป็นภาษาอังกฤษก็เป็นได้!

เหมือนแสงอาทิตย์ปนกับเมฆค่ะ ก็สวยค่ะ ดูแปลกดีค่ะ

น่าจะเป็นช่วงเช้าค่ะที่ถ่าย

 

สวัสดีครับ พี่ ศน.อ้วน

        เรื่องสีของเมฆและท้องฟ้านี่จะหาโอกาสเขียนบันทึกในเร็ววันครับ (ตอนนี้ผมแว่บจากการเตรียมตัวให้สัมมนาเข้ามาในนี้...เดี๋ยวต้องกลับออกไปใหม่อีกแล้ว)

        เมฆของพี่อ้วนอยู่ในบันทึกล่าสุดแล้วครับ

        136 : เมฆลูกหมีแพนด้าสวมหมวก...ฝีมือ พี่อ้วน (สมาชิกใหม่)

สวัสดีครับ คุณ berger0123

        ไว้รออาจารย์เอรินนิคมาเฉลยครับ ผมดันเดาไปว่าเป็นตอนเย็น ต้องมีถูกสักคนแน่ๆ อิอิ

เหมือนเมฆเป็นรูปคิวปิด เทพแห่งความรักในนิยายกรีก-โรมัน

ถ้าเดย์มาได้ยินเข้า ต้องยิ้มแฉ่งแน่ๆ :-D <- อย่างนี้ครับ

สวัสดีค่ะ พี่ชิว

ไปเช็คเวลามาให้พี่ชิว แล้วค่ะ เพราะ มันนานแล้วจำไม่ได้ อิอิ อาจารย์เองก็จำไม่ได้เนื่องจากที่นี่บางช่วงสามารถเห็นพระอาทิตย์ขึ้น บางช่วงเห็นพระอาทิตย์ตกค่ะ .. งง อยู่เหมือนกันไหนทิศตะวันตก ไหนทิศตะวันออก .... ดูตามนี้นะค่ะ

ดูไฟล์ก็พอจะเดาออกนะค่ะ เพราะต่อจากภาพท้องฟ้า เป็นภาพชั่งน้ำหนักและอาบน้ำน้องธอมส์ ตอนนั้นน้องธอมส์ อายุ 12 วันค่ะ อิอิ

ปัญหามันก็คือ เวลาที่กล้องถ่ายรูปบอก 13.11 น.ค่ะ ... แต่ก็สามารถอธิบายได้ค่ะ ว่ากล้องตั้งเวลาประเทศไทยค่ะ  

เรารักประเทศไทย ค่ะ    ---เวลาต่างกัน 5 ชม. ค่ะ เวลาถ่ายรูปจริง จึงเป็นเวลา 8.11 น. ตอนเช้าค่ะ

ณ. ช่วงเดือนตุลาคม ที่นี่เวลา

ดวงอาทิตย์ขึ้น Sunrise  8.19 น

ดวงอาทิตย์ตก Sunset  6.29 น.

ขอบคุณพี่ชิวอีกครั้งค่ะ สำหรับความรู้มากมาย

ปล. อาจารย์เอรินนิคช่วงนี้จะยุ่งนิดหนึ่งนะค่ะพี่ชิวก่อนจะปิดภาคเรียนใหญ่ ก็จะยุ่งมากๆ ประมาณ 2-3 อาทิตย์ค่ะ หนูขอชิงตอบนะค่ะ อิอิ

 

สวัสดีครับพี่ชิว

มายิ้มแฉ่งกับเมฆคิวปิดครับพี่ :-D เหมือนอย่างที่คิดเลยครับพี่ อิอิ ขอบคุณมากนะครับ เดย์จะพยายามเพ่งมองให้เป็นคิวปิด *__*

สวัสดีครับ หนุ่ย

         น้องธอมส์น่ารักมากครับ ทำให้พี่คิดถึงลูก 2 คนตอนเขาเล็กๆ อยู่เลย (แต่เวลาย้อนกลับไม่ได้แล้ว....)

         ตกลงเป็นตอนเช้า ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นเล็กน้อยราว 8 นาที ขอบคุณมากครับ

         นึกๆ ดูแล้วดูเหมือนพี่จะเคยถ่ายภาพเมฆแบบนี้เอาไว้เหมือนกัน นี่ครับ

จากบันทึก 033 : ก่อนอรุณรุ่ง

โห้ สวยจังเลยค่ะ พี่ชิว ... เห็นมั้ยค่ะ ว่าเมฆบ้านเราจะสวยที่ซู๊ดดดดดด มีต้นมะพร้าวด้วย อิอิ ขอบคุณค่ะ พี่ชิว จะบอกให้อาจารย์เอรินนิคดูค่ะ คงชอบมากๆเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท