เมื่อถูกถามว่าอยู่ฝ่ายไหน


การเลือกข้างทางการเมือง

          วันหนึ่ง มีคุณครูท่านหนึ่งมาถามภรรยาผมเกี่ยวกับเรื่องการเมืองว่า   ผมอยู่ฝ่ายไหน

       ภรรยาผมบอกไปว่า  ผมอยู่ฝ่ายนี้  แต่ก็ไม่ได้แสดงออกอะไรมากมาย

          ตามหลักหรือตามมารยาทแล้วมักจะไม่น่าถามกันหรอกครับในทางการเมือง    ว่าอยู่ฝ่ายไหน   เพราะเป็นความชอบส่วนบุคคล อันไม่พึงจะเปิดเผย

        สำหรับผมเอง  ตอนนี้ที่ขัดแย้งกันอยู่   ลึกๆ ผมก็แอบชอบฝ่ายนี้อยู่ครับ  (ไม่บอกหรอกครับว่าฝ่ายไหน)

        ผมก็ชอบของผมไป  แต่ไม่แสดงออกและไม่บอกใคร  ว่าผมชอบฝ่ายนี้  และ เกลียดฝ่ายนี้   หรือ ยกย่องฝ่ายที่ชอบ และ โจมตีฝ่ายที่เกลียด

       คุยกับใครฝ่ายไหน   ผมก็คุยได้ครับ

                                   ขอบคุณครับ

       

        

หมายเลขบันทึก: 202314เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2008 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (40)

ไม่บอก...ปล่อยให้งง :) เช่นกันค่ะ

        ต่างคนต่างมุมมอง

                  

      เรื่องบางเรื่อง  ก็บอกได้   บางเรื่องก็...ไม่บอกดีกว่าค่ะ  :)

สวัสดีครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ แนวคิดนี้ คิดตรงกับผมมาก

ผมค่อนข้างจะอยู่ฝ่ายหนึ่ง และไม่ชอบอีกฝ่ายหนึ่ง
แต่เมื่อถึงเวลาที่่ฝ่ายเราผิด ผมก็มองว่าผิด

ผมไม่ชอบที่เราแยกฝ่ายอย่างชัดเจน เหมือนว่าอยู่ฝ่ายนี้
ฝ่ายตรงข้ามเป็นศัตรูตลอดเวลา

วันใดที่เลิก "ฝ่ายเขา ฝ่ายเรา" ได้ก็คงดีนะครับ

 

มีงานเขียนของคุณวินทร์ เลียววาริณ ใน หนังสือความฝันโง่ ๆ  ว่า

" ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่าง คณะ ก กับ คณะ ข ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตคณะ ก เชียร์คณะของตน นิสิตคณะ ข เชียร์ฟุตบอลของตน

ตัวกูของกู

ครั้นถึงเทศกาลการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ นิสิตจุฬาฯทั้งคณะ ก และ คณะ ข ต่างรวมตัวกันเชียร์ฝ่ายจุฬา นักศึกษาธรรมศาสตร์เชียร์ฝ่ายธรรมศาสตร์

ตัวกูของกู"

 

เมื่อไหร่เราจะรวมกัน  แยกแบ่งฝ่าย

แล้วเริ่มคิดว่า

นี่ประเทศของเรา เราต้องช่วยกัน

สักทีนะครับ

P สวัสดีครับ คุณสายธาร

    สำหรับเรื่องการเมือง ผมไม่บอกใครหรอกครับ

    ยังแอบไม่พอใจภรรยาอยู่นิดๆ ว่าไม่น่าไปบอกเขาเลย

                                 ขอบคุณครับ

(คงจะเป็นต้นแสงจันทร์ใช่ใหมครับ)

P สวัสดีครับ คุณ PC

      ตอนนี้มีข้าราชการบางกระทรวง แสดงตัวออกมาอย่างชัดเจนครับ  ว่าอยู่ฝ่ายนี้

       โดยแสดงในบทบาทของตำแหน่งหน้าที่ที่เขาดำรงอยู่

        ลักษณะนี้ ผมไม่ชอบเลยครับ

        สำหรับเรื่องในหนังสือความฝันโง่ๆ

         มันก็กลายเป็นสัจธรรมของการอวดอัตตาไปแล้วกระมังครับ

                                               ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ แวะมาเยี่ยมครับ พอดีเห็นว่าเขียนเรื่องที่ผมสนใจอยู่พอดี

ในสถานการณ์เช่นนี้ ผมเองก็เห็นว่าไม่บอกดีที่สุดแล้วครับ เพราะคนหลายคนแสดงอาการแบ่งพรรคแบ่งพวกอย่างชัดเจน อีกทั้งแสดงอาการไม่ยอมรับกับความคิดของฝ่ายตรงข้าม และพยายามจะริดรอนสิทธิของฝ่ายตรงข้ามอย่างเห็นได้ชัด

ในความคิดของผม ไม่ว่าใครจะคิดอย่างไรก็ไม่ผิดทั้งนั้นแหละครับ เพราะเป็นสิทธิของเขา ความแตกแยกด้านขั้วการเมืองนั้นเป็นเรื่องปกติที่มีอยู่ทั่วโลก เพียงแต่ว่าสิ่งสำคัญคือ เราต้องยอมรับการมีอยู่ของอีกฝ่ายหนึ่งให้ได้ และให้เกียรติเขาในฐานะเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนร่วมโลกคนหนึ่ง เท่านั้นก็พอแล้วครับ

จิตใจที่เปิดกว้างและการเคารพสิทธิของผู้อื่น เป็นกลไกสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่ดีครับ

ผมเห็นด้วย กับคุณปริญญา ครับ

ประเด็นที่ผมกำลังคิดอยู่ และอยากคิดให้จบคือ

คนที่เป็นลักษณะอย่างพวกเรา (ค่อนข้างกลางและรับฟังความคิดเห็นคนอื่น) ควรจะทำอย่างไรดี

ผมไม่ค่อยอยากเงียบ แล้วปล่อยให้มันผ่านไป
เพราะผมคิดว่า ความเงียบไม่ได้ช่วยอะไร

เคยคิดจะทำ web site เป็นกลาง ขึ้นมาสักอัน
เผยแพร่ข้อมูล และเป็นสื่อกลาง จริง ๆ และสร้างชุมชนประชาธิปไตยที่เปิดกว้างดู

แต่ก็ไมู่รู้ว่าจะได้ประโยชน์หรือไม่

คิดว่าอย่างไรครับ

 

 

P สวัสดีครับ คุณปริญญา 

จิตใจที่เปิดกว้างและการเคารพสิทธิของผู้อื่น เป็นกลไกสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่ดี

      เป็นคำคมที่ดีมากครับ
     
      สังคมไทยเรา  มักจะมีการแสดงออกมาในทางตรงกันข้ามกับคุณปริญญาเขียนมาครับ    ถึงเกิดความขัดแย้งจนยากที่จะหาทางออก
      ผมเองตอนนี้พยายามรณรงค์เรื่องดังกล่าวอยู่ในส่วนที่ผมรับผิดชอบ  เป็นจุดเล็กๆ ที่พอจะทำได้  แม้ไม่ส่งผลอะไรมากมาย
 
      ขอขอบคุณมากครับ สำหรับความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์

ก่อนอื่นต้องขอโทษเจ้าของกระทู้ด้วยครับที่ใช้เนื้อที่นี้ในการถกความคิดกับคุณ pC อาจจะยาวรกกระทู้ไปซักหน่อย

 

แต่ผมยินดีอย่างมากครับที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน

 

เรื่องสื่อนี่เป็นปัญหาใหญ่ของบ้านเราเลยครับ .... คือบ้านอื่นเขา่คงมีปัญหาเรื่องสื่อไม่เป็นกลางเหมือนกันครับแต่บ้านเรามีปัญหาเพิ่มอีกอย่างคือ "ปัญหาความคิดถูกปิดกั้น"

เว็บไซต์ที่เป็นกลางที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันคือ www.prachathai.com น่ะครับ ไม่ได้หมายถึงส่วนที่เป็นเว็บบอร์ดนะครับ ถ้าในเว็บบอร์ดอาจจะเป็นศูนย์รวมของคนบูชาทักษิณ แต่โดยภาพรวม ลักษณะการเขียนข่าวของประชาไท ถือได้ว่าเป็นเสรีมาก ไม่โดนควบคุมจากภาครัฐหรือภาคเอกชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

 

ถ้าต้องการทำเว็บไซต์ที่เป็นกลาง ผมสนับสนุนความเต็มที่เลยครับ แต่ปัญหาที่แก้ยากอย่างหนึ่งตอนนี้คือบ้านเรามีกลุ่มคนที่เราไม่สามารถเข้าถึงได้อยู่ครับ ในความคิดของผม ผมแบ่งกลุ่มขั้วทางการเมืองออกเป็นดังนี้ครับ (อาจจะเป็นการแบ่งที่แปลกสักหน่อย เพราะมันมาจากความคิดของผมเองครับ)

  1. กลุ่มบูชาทักษิณสุดขั้ว:
  2. กลุ่มเกลียดทักษิณสุดขั้ว:
  3. กลุ่มชอบทักษิณ:
  4. กลุ่มเกลียดทักษิณ:
  5. กลุ่มเป็นกลาง:

พวกที่สื่อที่เป็นกลางเข้าไม่ถึงคือพวกแรกกับพวกที่สองครับ เพราะกลุ่มคนพวกนี้จะเลือกอ่านแต่สื่อที่เขียนเอนเอียงไปในทางที่ตนพอใจเท่านั้น เช่นกลุ่มแรกเนี่ย จะไม่ยอมอ่านหนังสือพิมพ์อื่นนอกจากอยู่บนเว็บบอร์ดที่ตนเองชอบ และไม่รับฟังข่าวสารทางอื่นเลย (เช่นห้องบางห้องในประชาไท) ส่วนกลุ่มที่สองเนี่ย พอกันครับ อ่านแต่ manager.co.th หรือไม่ก็ฟัง ASTV ลูกเดียว ไม่ยอมรับฟังสื่ออื่นที่เขียนหรือเสนอข่าวไม่ถูกใจ

ผมบอกตามตรงนะครับ ว่าบุคคลที่ผมเจอในชีวิตประจำวันเป็นสองพวกแรกค่อนข้างเยอะ ซึ่งสองพวกแรกนี้ แม้พวกเราจะเปิดเว็บขึ้นมาอีกกี่เว็บ พยายามหานักคิด+ นักเขียนเก่งๆมาช่วยสักกี่คน เราก็เข้าไม่ถึงพวกเขาหรอกครับ เพราะหากหัวข้อข่าวเขียนเรื่องไม่ค่อยดีของทักษิณ พวกแรกเขาก็จะหยุดอ่านทันที แต่หากหัวข้อข่าวเขียนชมคุณทักษิณ พวกกลุ่มที่สองเขาก็หยุดอ่านทันทีเช่นกัน

กลุ่มที่ 3 กับ 4 ต่างกับสองพวกแรกตรงที่ แม้จะชอบหรือฝักไฝ่ฝ่ายหนึ่ง แต่ก็ยอมรับข้อมูลจากทุกๆด้านเพื่อวิเคราะห์หาความจริง สองกลุ่มนี้จะได้ประโยชน์จากแหล่งข่าวสารที่เป็นกลางมากที่สุด หลายคนที่ผมเจอในชีวิตประจำวันก็เป็นสองกลุ่มนี้

กลุ่มที่ 5 ไม่ต้องพูดถึง ส่วนใหญ่เป็นพวกนักวิชาการหรือผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายๆคน

ถ้าเป็นไปได้ผมอยากรณรงค์ให้ทุกคนอ่านสื่อมากกว่า 2-3 แหล่งครับ เพื่อที่จะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ก่อนที่จะเชื่อ เพราะการฟังหรืออ่านจากแหล่งเดียวแล้วเชื่อทันที มักจะนำไปสู่ความผิดพลาดได้ง่ายครับ

 

 

โทษทีครับ ยาวไปหน่อย

ขอโทษอีกครั้งครับ

ถ้าข้อความของผมไม่เหมาะสมหรือแสดงออกถึงความรุนแรง หรืออาจจะทำให้เกิดการทะเลาะกัน ลบได้เลยนะครับ

ขอบคุณครับ

P สวัสดีครับ คุณ PC

       สำหรับเรื่องการแสดงออกในทางการเมือง  เมื่อมีโอกาส ผมก็จะแสดงจุดยืนของผมในทำนองนี้ครับ

       พรรคหนึ่ง    ได้คะแนนจากชนชั้นล่าง  แต่ไม่สามารถเรียกคะแนนจากชนชั้นกลางได้

       อักพรรคหนึ่ง   ได้คะแนนจากชนชั้นกลาง   แต่ไม่สามารถเรียกคะแนนจากชนชั้นล่างได้

      ทั้งสองพรรค  เลยนำมาสูความขัดแย้ง โดยไม่มีจุดหมายปลายทาง  

      เพราะพรรคหนึ่ง  อ้างเสียงส่วนใหญ่   อีกพรรคหนึ่ง อ้างความถูกต้องตามหลักการ

       ทางแก้ทางการเมืองประการหนึ่ง คือ

       พรรคการเมืองที่ดี ต้องสามารถได้คะแนนจากทั้งชนชั้นกลาง และ ชนชั้นล่าง   นั่นคือ มองแบบ "องค์รวม"

       เมื่อได้พรรคการเมืองดังกล่าวเข้ามาบริหารประเทศ  ความขัดแย้งก็น่าจะหมดไป

        ถ้าไม่มีพรรคดังกล่าวเกิดขึ้นมา  เลือกตั้งอีกกี่ครั้ง ก็ยังคงมีความขัดแย้งไม่มีที่สิ้นสุดครับ  และ ไม่ทราบว่าเมื่อไรถึงจะหมดข้อขัดแย้ง

      ในเมื่อพรรคการเมืองแต่ละพรรค   ก็ยังมองแบบ "แยกส่วน" แยกประชาชนแต่ละส่วนออกจากกันครับ

                                             ขอบคุณครับ

P สวัสดีครับ คุณปริญญา

      สาระดีๆที่มีคุณค่าและประโยชน์สูงในทางการเมืองเช่นนี้

      จะ "ลบ" ได้อย่างไรละครับ

      ถือว่าเป็นเกียรติมากครับ ที่ใช้พื้นที่ของผมแสดงออกในทางการเมือง

                            ขอบคุณครับ

   มองการกระทำสิ ภาษีที่เราถูกเก็บ นักการเมืองนั้นกระทำต่อภาษีของพวกเราอย่างไร

    ใครคือผู้เสียประโยชน์ระยะยาว ประชาชน ในสังคมมีกลุ่มอย่างที่คุณคุณแยกกันอยู่จริง

    แต่ถ้าวันนี้คุณรู้ว่าจะแยกกลุ่มความคิดเห็นอย่างไรได้ คุณก็น่าจะแยกความถูกต้องกับไม่ถูกต้องได้

     พรรคการเมืองว่าด้วยพลประโยชน์ทั้งนั้น  มีพรรคไหนบ้างนักการเมืองคนไหนบ้างที่ทำเพื่อคนส่วนรวมอย่างแท้จริงและไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของกลุ่มของตนเอง

     นักการเมืองที่ร่ำรวยจากที่ไม่มีอะไรเลย เขารวยได้อย่างไร หาประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ การทุจริตคอรัปชั่นมีมารุนแรงเพิ่มมากขึ้น ยิ่งทุจริตทางนโยบายเป็น แสน แสนล้าน เราต้องเหลือเงินคงคลังน้อย ภาษีทางตรงทางอ้อมก็ถูกเก็บเพิ่มมากขึ้น

     คนที่สนใจด้านการเมืองเขาอ่านทุกสื่อ ไม่ได้ยึดติด แต่ดูว่าสื่อไหนปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนคนส่วนใหญ่ต่างหาก

     สุดท้ายต้องมองพฤติกรรมการกระทำของนักการเืมือง ตั้งแต่ก่อนเข้าลงสนามการเมือง ระหว่างลงการเมือง ภายหลังลงการเมือง

      ว่าเขาทำสิ่งใดเพื่อคนส่วนรวมของประเทศ ไม่ใช่นำนโยบายมาหลอกว่าเขาเป็นคนดี ถูกหรืกไม่ถูก เลือกดู

        ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยน


 

สวัสดีครับคุณ small man

ยินดีที่ได้รู้จักครับ  ... ที่บอกว่า

"ทางแก้ทางการเมืองประการหนึ่ง คือ พรรคการเมืองที่ดี ต้องสามารถได้คะแนนจากทั้งชนชั้นกลาง และ ชนชั้นล่าง   นั่นคือ มองแบบ "องค์รวม" เมื่อได้พรรคการเมืองดังกล่าวเข้ามาบริหารประเทศ  ความขัดแย้งก็น่าจะหมดไป"

เห็นด้วยเลยครับ ผมภาวนาให้มีพรรคในอุดมคติแบบนั้นเกิดขึ้นมาเหมือนกันครับ ...

 

ส่วนคุณ 12. ถูกกับไม่ถูก


ที่คุณบอกว่า "น่าจะแยกความถูกต้องกับไม่ถูกต้องได้" ตรงนี้แหละครับ คือประเ็ด็นของบันทึกนี้ทั้งหมดเลยครับ เป็นเพราะทุกคนเชื่อว่าตัวเองถูกไงครับ บ้านเมืองเราจึงได้เป็นอย่างทุกวันนี้ แล้วการเมืองก็ไม่ใช่คณิตศาสตร์ที่จะมาแยกถูกผิดกันได้ ทุกคนต่างมีเหตุผลของตัวเอง ผมเลยเสนอขึ้นมาไงครับ ว่า "อยากคิดอย่างไรก็คิด" "อยากเชื่ออย่างไรก็เชื่อ" แต่ขออย่างเดียว ให้ใจเปิดกว้าง คิดก่อนเชื่อสื่อ และไม่เหยียบย่ำคนที่เขาเชื่อต่างจากเรา เท่านี้ก็พอครับ

 

ผมเผลอหลับไปพักเดียว พลาดอะไรดี ๆ ไปเยอะเลย

ต้องขออภัยถ้าตอบช้าไปหน่อย

ส่วนตัวผมคิดว่า ประชาไท ไม่ค่อยเป็นกลาง เพราะเข้าข้างทักษิณมากเกินไปนิด

เห็นง่าย ๆ จากในเวบบอร์ดที่มีแต่กลุ่มคนบูชาทักษิณ แต่ผมก็เห็นด้วยว่าเป็นสื่อที่เป็นกลางที่สุดในขณะนี้

ผมเห็นด้วยกับคุณปริญญานะครับ ในเรื่องของการวิเคราะห์กลุ่ม กลุ่ม 5 กลุ่มนี้มีอยู่จริงและชัดเจนมากในสังคมปัจจุบัน

กลุ่มเป้าหมายที่เราน่าจะให้ความรู้หรือดึงมาแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบสร้างสรรค์ได้ น่าจะเป็น กลุ่มที่ 3 4 5 นะครับ ซึ่งผมคาดว่า น่าจะมีอยู่เยอะทีเดียว (อย่างน้อยในหน้า web นี้เราก็บังเอิญมาเจอกันแล้วถึงสามคน) ผมคิดว่ายังมีอีกมาก แต่ว่าไม่เผยตัว แต่ติดตามข่าวสาร ข้อมูลอย่างเงียบ ๆ และก็อึดอัดไม่รู้จะทำอย่างไร ได้แต่เป็นห่วงบ้านเมือง และไม่รู้จะทำอย่างไร ให้เกิดการปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม ตรงนี้แหล่ะ ที่ผมคิดว่าถ้าเราสร้างช่องทาง (channel) อะไรสักอย่างให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้ติดต่อ แลกเปลี่ยนความคิดกันได้ก็คงจะดี

ส่วนเรื่องพรรคการเมืองที่มองแบบองค์รวมนั้น ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ผมกำลังคิดเช่นกัน และกำลังคิด ๆ อยู่ว่ามันจะสร้างได้จริงหรือไม่ ในเมื่อทุกคนยังติดอยู่กับวัฒนธรรมการเมืองในรูปแบบปัจจุบันอยู่ ส่วนคนที่มีแนวคิดอย่างนี้ก็คงไม่ใช่นักการเมืองปัจจุบัน

คุณปริญญาครับ เราทำอะไรอย่างอื่นได้ไหมครับ นอกจากนั่งภาวนา ให้ พรรคการเมืองที่มององค์รวม นี้มันเกิด หรือเราจะตัวเล็กเกินไปจนทำอะไรไม่ได้

ด้วยความคิดเพียงไม่กี่ชั่วโมงที่คิดได้ตอนนี้ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติการ

เราสร้าง Web สักที่หนึ่งไหม รวบรวมคนกลุ่ม 3 4 5 และมาระดมสมองหาทางออกอย่างจริงจัง บางทีมันอาจจะเป็นจุดเริ่มแนวคิด พรรคการเมืองที่มององค์รวม แบบที่เรากำลังใฝ่ฝัน ก็ได้

ผมเพ้อฝันมากไปไหม

หรือผมยังไม่ตื่น !

ปล

ขอบคุณ คุณ small man ที่เปิดประเด็น และให้ใช้พื้นที่แสดงความคิดเห็นครับ

คุณปริญญาเปลี่ยนรูป Profile แล้วดูออกมาจากมุมมืดดีนะครับ :-)

เสียดายนะครับ ที่ผมไม่ได้จบมาทางรัฐศาตร์ กฎหมาย หรือการปกครอง

แต่ ผมก็เป็นนักคอมพิวเตอร์ที่ยึดมั่นในกลไกที่เป็นไปตามระบบแบบแผน ครับ

ชอบคิดที่จะออกแบบและพัฒนาระบบ มากกว่าเห็นระบบถูกทำลายโดยไม่ได้ปรับปรุงมัน

ขออนุญาต เพิ่มเติมอีกนิด

มันอาจจะดี และรวดเร็วกว่าถ้าคุยกันผ่าน e-mail นะครับ

ยินดีครับ

ที่คุณบอกว่า "น่าจะแยกความถูกต้องกับไม่ถูกต้องได้" ตรงนี้แหละครับ คือประเ็ด็นของบันทึกนี้ทั้งหมดเลยครับ เป็นเพราะทุกคนเชื่อว่าตัวเองถูกไงครับ บ้านเมืองเราจึงได้เป็นอย่างทุกวันนี้ แล้วการเมืองก็ไม่ใช่คณิตศาสตร์ที่จะมาแยกถูกผิดกันได้ ทุกคนต่างมีเหตุผลของตัวเอง ผมเลยเสนอขึ้นมาไงครับ ว่า "อยากคิดอย่างไรก็คิด" "อยากเชื่ออย่างไรก็เชื่อ" แต่ขออย่างเดียว ให้ใจเปิดกว้าง คิดก่อนเชื่อสื่อ และไม่เหยียบย่ำคนที่เขาเชื่อต่างจากเรา เท่านี้ก็พอครับ

 

เราไม่ได้ชื่อสื่ออย่างเดียวนะ มีความคิด ไม่ได้เหยียบย่ำคนอื่นอย่าที่คุณกล่าวหา คุณมองข้อเท็จจริง ทำไมศาลถึงตัดสิน ทำไมต้องขายดาวเทียมที่เรามีไปให้สิงคโปร์มันเป็นภาษีของเรามันเป็นสิทธิของประเทศไทย แล้วทำไมต้องซื้อเสียง แล้วสุดท้าย นายสมัคร สุนทรเวชเอง ออกมายอมรับว่า นายของเขาคือทักษิณ ต่อหน้า ส.ส.พรรคพลังประชาชน ลองอ่าน นสพ มติชนเมื่อวานที่เขาบันทึกออกมา

ผมไม่ได้บอกว่าการเมืองเป็นคณิตศาสตร์คุณเป็นคนพูดเอง

การเมืองมีมิติเกี่ยวข้องกับทุกเรื่อง แต่ส่วนใหญ่เป็นผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่  ขณะนี้เงินคงคลังเหลือน้อย แล้วดูนักการเมืองยังจะหา Maga project อยู่เพียงอย่างเดียว คุณอ่านและคิดบ้างรึเปล่า

 

 

 

"ในหลวง"ทรงเตือน"แบงก์ชาติ"

"ในหลวง"ทรงเตือน"แบงก์ชาติ" อย่าถลุงเงินจนหมดจะทำชาติล่มจมฝากผู้บริหารคลังดูแลให้ประเทศมีเงินใช้

วันนี้ เวลา 17.31 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยคณะผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการบริหารสมาคมธนาคารไทย เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน ซึ่งเป็นรายได้ส่วนเกินจากการเปิดให้ประชาชนแลกซื้อธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระ เกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ชนิดราคา 16 บาท ในราคาแลกซื้อ 100 บาท เพื่อทรงใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย

พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาทแด่คณะที่เข้าเฝ้าฯ ความว่า ขอขอบใจที่ได้ท่านทำงานอย่างเข้มแข็ง ได้ทำงานมากในงานของการธนาคาร ขอให้งานธนาคารที่ท่านทำเป็นผลดีสำเร็จ แต่ก่อนเงิน 10 บาทก็รู้สึกว่าเป็นเงินมาก เดี๋ยวนี้ สิบบาทร้อยบาทพันบาทหรือหมื่นบาทก็ยังน้อย ทำไมมันน้อย แม้ล้านบาทก็ยังน้อย

"เมื่อครั้งไปขอเงินสมเด็จพระพันวษา ขอเงิน 1 บาทท่านให้ พอกำแหงหน่อยขอ 5 บาทก็ยังให้ ต่อมาขอท่าน 10 บาทก็ยังให้ แต่มาถึง 50 บาท ท่านบอกไม่มี ถามว่างั้น100 บาทมีไหม ท่านบอกว่ามีแต่ต้องตัดบัญชีที่มีอยู่อยากใช้เท่าไรก็ได้"

ท่านสอน ว่าเราไม่ควรจะถลุงเงิน แม้ 100 บาท ท่านไม่ให้ แต่วันนี้เป็นพันบาทหมื่นบาทแสนบาทล้านบาทท่านก็ให้ ร้อยล้านท่านก็ให้ สมัยนี้เปลี่ยนไป แต่ก่อน 100 บาท ท่านไม่ให้ แต่สมัยนี้ ร้อยพันหมื่นแสนท่านก็เอามาให้ ต้องขอบใจท่านที่มีน้ำใจ เพราะว่าสมเด็จย่าท่านบอกว่า ถ้าให้ก็หมด หมดก็ไม่ให้แล้ว ตอนนี้ท่านให้มาเป็นจำนวนมาก หวังว่าท่านบริหารได้พันล้านหมื่นล้าน ขอให้ท่านทั้งหลายบริหารเงินไม่ให้หมดเพื่อให้ประเทศชาติมีเงินใช้ ขอขอบคุณที่มีความตั้งใจบริหารเงินของชาติไม่ให้หมดไปให้มีใช้

" ขอบใจที่เหน็ดเหนื่อยเรื่องการเงินซึ่งเป็นงานหนัก และสามารถปฏิบัติงานด้านการเงินเป็นที่เรียบร้อยไม่ให้บ้านเมืองล่มจม แม้ตอนนี้ใกล้ล้มจมแล้ว ซึ่งอาจใช้เงินไม่ระวังเพราะใช้เงินไม่ระวัง"

ขอบ ใจที่ท่านระวังเรื่องการดำเนินด้านการเงิน ขอให้สำเร็จใจการบริหารการเงินของประเทศชาติ ขอบใจท่านที่เหน็ดหนื่อยเรื่องการเงิน เรารู้ว่าท่านเหน็ดเหนื่อยลำบากใจนอกจากเหน็ดเหนื่อยแล้วยังถูกหาว่าทำไม่ ได้ดี ทำไม่ถูกต้อง ขอบใจทุกคนที่มาในวันนี้ และยังทำงานอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้บ้านเมืองมีเงินใช้ ใครที่บริหารการคลังควรรู้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญของชาติบ้านเมือง

ขอบทุกท่านที่ปฎิบัติงานเพื่อความสำเร็จของชาติบ้านเมือง ขอให้มีความสุขในการงานขอให้สำเร็จ

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1219238578&catid=42

สวัสดีค่ะ ท่านรองผอ.เขตฯ

  • แต่ละฝ่ายมีทั้งส่วนดีและข้อเสีย
  • ที่เหมือนกันคือเราเป็นคนไทย  
  • สิ่งที่ควรธำรงรักษาไว้ คือ สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ของพวกเราค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

  • มาช้ายังดีกว่าไม่มา เกือบไม่ได้เข้ามาเห็นอะไรสด ๆ ตื่นตาตื่นใจซะแล้ว เพราะช่วงหลังเบื่อการเมืองมากครับ แต่พอเห็นคนรุ่นใหม่มาถกกันก็น่าดูน่าชม ด้วยความใจร้อนและดึกแล้วยังอ่านการถามตอบไม่หมด อ่านแต่ต้น ๆ นะครับ จึงขออนุญาตแสดงความคิดเห็นบ้าง ... อิ อิ ตอนแรกนึกว่าไม่ใช่กระทู้ของท่าน small Man
  • ผมว่า ผมเคยเป็นทั้ง 5 กลุ่มเลยครับ
  • ตอนแรกเป็นกลุ่ม 1 เพราะไม่เคยเห็นนายกคนไหน ? แก้ปัญหาและพัฒนาบ้านเมืองได้อย่างพลิกแผ่นดินขนาดนี้ ใช้หนี้ให้ประเทศ  ล้างบางยาเสพติด จัดทำ workshop มองเห็นคนรากหญ้า
  • หลัง ๆ นี้สงสัยว่าเขาจะเอาประเทศไปขายจริง ๆ หลงจนไม่รู้ดีชั่ว ผมก็โกรธจะกลายเป็นกลุ่ม 2
  • ตอนหลัง ๆ ยับยั้งชั่งใจอยากเป็นกลุ่ม 5 เพราะเป็นนักวิชาการ
  • กลัวตัวเองอย่างเดียว...วันข้างหน้าอย่าให้เป็นเหมือนเขา (ด้านมืด) อย่าเป็นเหมือน Star War เพราะผมว่า เล่นเป็นหมูดูเป็นเซียน
  • มีคำถามง่าย ๆ ที่ใช้ถามตัวเองตลอด อยากนำมาแชร์ ดังนี้ครับ
  • คำถามที่ 1 ... ถ้าท่านเก็บเงินได้ 100 บาทจะนำไปคืนเจ้าของเขาหรือไม่ครับ ?
  • คำถามที่ 2 ถ้าเก็บเงินได้ 1,000 บาท จะคืนไหม ?
  • คำถามที่ 3 ถ้าเก็บเงินได้ 1,000,000 บาท จะคืนไหม ?
  • คำถามสุดท้าย ถ้าเก็บเงินได้ 4.7 พันล้านบาทจะคืนไหม ?

ขอบคุณครับ

สวัสดีอีกครั้งครับ

  • อ่านความคิดเห็นของทุกท่านแล้วครับ ที่สำคัญทุกท่านหายไปไหนหมดแล้ว แต่พอดูเวลาที่ Post ถึงเข้าใจ
  • ผมว่า โลก หรือ ประเทศไทย อาจจะก้าวเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า การจะแก้ไขอะไรต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน เพราะบางทีเราเองก็ยังมีปัญหาอยู่ไม่น้อย เช่น รู้จัก "ใบไม้กำมือเดียว" หรือยังประมาณนั้นครับ ถ้าไม่อย่างนั้นการเข้าไปแก้ อาจกลายเป็นเข้าไปสร้างปัญหาก็ได้นะครับ
  • ผู้รู้บอกว่า คุณธรรมจริยธรรม สอนกันไม่ได้ ได้แต่ชี้แนะให้เห็น เขาจะเปลี่ยนหรือไม่อยู่ที่ใจเขาครับ
  • ย้ำว่า ถ้ายังยืนยันจะเปลี่ยนคนอื่น ๆ อยู่ ต้องเปลี่ยนตัวเองให้ได้ก่อน ปัญหาคือจะเปลี่ยนอย่างไรดี หนักไปกว่านั้นอีกคือ ยังไม่รู้ว่าตัวเองต้องเปลี่ยนอะไร เปลี่ยนทำไม นั่นคือ ไม่รู้จักตัวเอง ได้ซ้ำไปประมาณนั้นครับ (ผมก็อยู่ในกลุ่มนี้ครับ กำลังตามดูจิตดูใจ ดูกาย เพื่อรวมจิตกับกายเป็นหนึ่งเดียว อยู่กับเนื้อกับตัวครับ)

สวัสดีครับ คุณ เด็กข้างบ้าน (ธรรมดา)

ผมพยายามจะเป็นกลุ่ม 5 อยู่เหมือนกันครับ แต่ "สื่อ" เขาไม่ยอมรับการมีอยู่ของกลุ่มนี้น่ะครับ เขาเรียกพวกผมว่าเป็น "อีแอบ" ครับ :-(

............

สรุปว่า บันทึกเดียวผมได้รู้จักคนเพิ่มหลายคนเลยครับ

ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ 

 

สวัสดีครับ คุณเด็กข้างบ้าน

เห็นด้วยครับที่บอกว่า

"การจะแก้ไขอะไรต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน เพราะบางทีเราเองก็ยังมีปัญหาอยู่ไม่น้อย เช่น รู้จัก "ใบไม้กำมือเดียว" หรือยังประมาณนั้นครับ ถ้าไม่อย่างนั้นการเข้าไปแก้ อาจกลายเป็นเข้าไปสร้างปัญหาก็ได้นะครับ"

 

เรียน ท่านรองฯ และสวัสดีเพื่อนใหม่

P

 

P

23. p C

 

  • ผมว่าการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์นะครับ
  • เมื่อผลประโยชน์มาก่อนทุกอย่าง มันก็ต้องเป็นอย่างที่เห็นนี่ละครับ
  • ที่ไหน ๆ ในเยอรมัน เขาก็ส่ายหัวกันทั้งนั้น เมื่อพูดถึงนักการเมือง
  • เมื่อหลายปีก่อนผมก็โดนยุให้เล่นการเมือง สส สว แต่ตั้งใจอยากจะเป็นนักการเมืองที่เข้าไปทำงานบางอย่างที่ นักวิชาการอย่างเดียวทำไม่ได้
  • แต่ก็สงสัยอยู่ว่า เข้าไปแล้วจะโดนกลืน หรือเปลี่ยนไป เข้าทำนองที่ว่า ว่าแต่เขาอีเหนาเป็นเอง อย่างที่ว่าแน่ ๆ ยุค 14 ตุลา ยังเปลี่ยนไป อุดมการหดหาย

สวัสดีครับ คุณถูกกับไม่ถูก

     ผมมองอย่างนี้ครับว่า บางครั้ง บางคน  สำหรับทางการเมือง มันจะมีสิ่งที่ถูกอยู่ 2 อย่างให้เลือกครับ

    คือ  ถูกต้อง กับ ถูกใจ

    บางครั้ง  คนจะเลือกในสิ่งที่ถูกใจ  มากกว่าถูกต้อง

    การเมืองบ้านเราจึงออกมาแบบนี้ครับ

                    ขอบคุณครับ

    

P สวัสดีครับ คุณ PC

      ผมว่าเรื่องพรรคการเมืองแบบองค์รวมที่ผมเสนอเข้ามา  มันคงจะอยู่อีกห่างไกลนะครับ  เพราะสังคมไทยเราเป็นสังคมแบบศักดินา เจ้าขุนมูลนาย  จึงมีการแบ่งคนเป็นชนชั้น  วัฒนธรรมแบบนี้ไดซึมซับเข้าสู่ความรู้ความคิดจนฝังลงไปในจิตใต้สำนึกจนยากที่จะไถ่ถอน

    มันฝังเข้าไปในทุกคนจนกลายเป็นวัฒนธรรมการเมืองแบบชนชั้น

    ดังนั้นพรรคการเมือง จึงเป็นพรรคการเมืองแบบชนชั้น  และที่ผ่านมาชนชั้นล่างของไทยไม่เคยมีพรรคการเมืองของชนชั้นล่าง   แต่มีแบบกระจัดกระจาย

     จนมีนักการเมืองหัวใสตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาเพื่อรวบรวมพลังเสียงจากชนชั้นล่าง

     ชนชั้นล่างจึงถือว่าเป็นความสำเร็จและเป็นความภาคภูมิใจใน "พื้นที่ทางการเมือง" ของตนเอง  โดยเฉพาะ "นายกที่เขารักและเทิดทูน"

      ดังนั้น พรรคการเมืองแบบองค์รวม จึงค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยากครับ  ตราบใดที่ผู้คนในสังคมยังมีวิธีคิดแบบชนชั้นอยู่

       สำหรับการแก้ปัญหา ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดิน ก็บอกว่าต้องแก้ที่วิธีคิดแบบชนชั้นของผู้คนในสังคมครับ

                                      ขอบคุณครับ

                    

P สวัสดีครับ ท่าน ผอ.ประจักษ์

         ขอขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยม

P สวัสดีครับ คุณ NU11

     เรื่องของการเมือง แต่ละฝ่ายก็มีทั้งข้อดีและข้อจำกัดอย่างที่เขียนมานั่นแหละครับ

     ดังนั้น ถ้ามองอย่างกลางๆ  ก็น่าที่จะเหมาะสมนะครับ

                           ขอบคุณครับ

P สวัสดีครับ คุณเด็กข้างบ้าน

      สำหรับคำถามเรื่องการเก็บเงิน   ถ้าเกิดกับผมจริงๆ

      ผมไม่กล้าตอบครับ

      อย่างผมนี่ ถ้าเก็บได้แค่แสนเดียว  ก็ตอบยากแล้วครับ

      คงจะโยงได้ถึงประโยคที่ว่า

กลัวตัวเองอย่างเดียว...วันข้างหน้าอย่าให้เป็นเหมือนเขา (ด้านมืด)

    ผมว่าคงเป็นไปได้นะครับ ว่าการเมืองคงมีสภาพเช่นนี้

                 ขอบคุณครับ

P คุณเด็กข้างบ้านธรรมดา(อีกครั้ง)

 การจะแก้ไขอะไรต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน

  ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ   ในการแก้ความขัดแย้งทางการเมือง

               ขอบคุณครับ

P คุณ PC

P คุณเด็กข้างบ้าน

     ขออนุญาตนำมากล่าวรวมครับ

ยังไม่รู้ว่าตัวเองต้องเปลี่ยนอะไร เปลี่ยนทำไม นั่นคือ ไม่รู้จักตัวเอง

ไม่อย่างนั้นการเข้าไปแก้ อาจกลายเป็นเข้าไปสร้างปัญหาก็ได้นะครับ

    ผมว่าการแก้ปัญหาคนอื่นในทุกๆเรื่องแม้กระทั่งการเมือง  คงต้องเริ่มด้วยหลักคิดอย่างที่ว่านะครับ

    ไม่งั้นจะเข้าตำราที่ว่า

     "รู้ทุกอย่าง เก่งทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องของตัวเอง"

                              ขอบคุณครับ

P คุณเด็กข้างบ้าน(อีกครั้ง)

          การเมืองในบ้านเรา  ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องทางโลกครับ

          นั่นคือ  อำนาจและผลประโยชน์

          หรือที่เรียกว่าการเมืองเป็นเรื่องของตัณหา

          ใครหลงเข้าไปก็น่าจะถูกกลืนหมดครับ

                             ขอบคุณครับ

สวัสดีตอนเช้าครับทุกท่าน ที่นู่นตอนเช้า แต่ผมใกล้เข้านอนแล้วครับ :)

คุณ small man ครับ ผมเห็นด้วยกับคำว่า "ถูกต้อง" กับ "ถูกใจ" นะครับ สองคำนี้ตรงใจผมเลย

ผมรู้สึกว่า การเข้ามาคุยกันอย่างนี้ทำให้ผมได้เข้าใจอะไรเพิ่มขึ้นเยอะนะครับ ถือว่าดีมากเลย ผมว่า การพูดคุย/แลกเปลี่ยนความคิด เรื่องการเมือง โดยไม่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องเนี่ย เป็นอะไรที่ดีมากเลยนะครับ เหมือนเราถกกันเพื่อภูมิปัญญา ไม่ใช่่เพื่อเอาชนะ

ผมขอเพิ่มเติมเรื่อง "ถูกต้อง" กับ "ถูกใจ" นิดหน่อยนะครับ เพราะสองคำนี้อย่างเดียวอาจจะทำให้คุณ ถูกกับไม่ถูก เขางงอยู่ (อาจจะทำให้เขางงว่า ทำไมฝ่ายตรงข้ามกับเขาที่เป็น "ถูกใจ" ถึงไม่เปลี่ยนมาเป็น "ถูกต้อง" ซักทีล่ะ ทั้งๆที่มันเห็นๆกันอยู่)

จากการคุยกับบุคคลที่มาจากทั้งสองขั้วอย่างสม่ำเสมอ (ผมพูดจริงๆนะครับ ขนาดพ่อกับแม่ผมยังความเห็นไม่ค่อยตรงกันเลย) สิ่งที่ผมรู้สึกได้เลยนะครับ คือบุคคลแต่ละฝ่ายก็จะรู้สึกว่าตัวเองเป็น "ถูกต้อง" และฝ่ายตรงข้ามเป็น "ถูกใจ" ไงครับ นั่นแหละครับคือความซับซ้อนที่ทำให้เรื่องมันบานปลายมาถึงขั้นนี้ได้ และทำให้แต่ละพรรคพวกไม่สามารถเข้าใจอีกฝ่ายได้ 

เพราะต่างฝ่ายต่างรู้สึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายเหตุผล ฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายที่ใช้แต่ความพิสวาส

เราถึงไม่ควรถามกันเรื่องนี้ (ตามประเด็นแรกสุดของบันทึกนี้) และควรใจกว้างยอมรับกันและกันไงครับ :) แน่นอนว่าแค่พวกเราทำแค่นี้อาจจะไม่สามารถล้มรัฐบาลได้ และไม่สามารถล้มม็อบได้เช่นกัน :-) แต่ผมว่าความร่วมมือเล็กน้อยแค่นี้บ้านเมืองก็สงบไปมากแล้วนะครับ

 

ยังไงก็ขอบคุณเจ้าของบล็อกอีกครั้งครับ สำหรับประเด็นดีๆประเด็นนี้ และขอฝาก quote จาก Albert Einstein ไว้ที่นี่ด้วยครับ


"Peace cannot be kept by force. It can only be achieved by understanding", Albert Einstein.

 

P คุณปริญญาครับ

             ผมต้องการให้มี "อีแอบ" มากๆครับ มากจนสามารถกลายเป็นทางเลือกที่สามสำหรับทางเลือกใหม่

                      ขอบคุณครับ

เข้ามาอ่านครับ

รู้สึกดีครับ ที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแบบกลางๆ ไม่เอนเอียงเข้าข้างไหนมากนัก ผมได้รับแง่คิดเยอะเลย

ผมไม่มีความคิดเห็นเสริมและต่อประเด็นแล้วครับ

เข้ามาขอบคุณเจ้าฺ Blog ที่แบ่งปันเนื้อที่

และขอบคุณทุก ๆ ความเห็นครับ

P คุณปริญญาครับ

       เราไม่สามารถ   ล้มรัฐบาล หรือ ล้มพันธมิตร   ได้

       แต่เราสามารถ  "ล้มความขัดแย้งระหว่างตัวเราและคนรอบข้างได้"

       แค่นี้  ก็น่าจะเป็นการพัฒนาการเมืองได้บ้างนะครับ

      แม้เป็นจุดเล็กๆ ก็ตามที

                  ขอบคุณครับ ที่ร่วมให้เกียรติในการแสดงความคิดเห็นในบลอ็กของผม

P ขอบคุณคุณ PC อีกครั้งครับ

       หนังเรื่องนี้ก็คงจบแบบ Happy Ending

      พระเอก กับ  นางเอก ได้แต่งงานกัน

      และมีคำว่า

      "สวัสดี"

จบแล้วเหรอครับ

ตีตั๋วไม่ทัน...คงต้องรอเรื่องต่อไปแล้วล่ะ

ไม่ได้งงนะ แต่ถ้าเราเป็นกลางแล้ววันหนึ่งอันใกล้เกิดปัญหาขึ้นถึงคนที่เป็นกลางในขณะนี้ คุณจะทำอย่างไร 

ถ้าวันหนึ่่งบ้านที่คุณอยู่มา นานนับสิบปี กำลังจะถูกรื้อถอนเป็นรัฐสภาโดยไม่ได้มีการแจ้งล่วงหน้า ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดขั้นตอน

รัฐบาลกำลังละเมิดรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปราสาทพระวิหารที่ต้องมีมติผ่านรัฐสภาก่อนไปเซ็นต์สัญญากับต่างประเทศ

ความถูกใจของรัฐบาลเป็นปัญหาละเมิดรัฐธรรมนูญ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วใช่ไหมที่ผู้มีอำนาจบริหารละเมิดกฎหมายซะเอง

ความเป็นกลางจะตัดสินเรื่องนี้ได้อย่างไร ผู้มีอำนาจไม่เคารพกฎหมาย อีกหน่อยใคร ๆ ก็พากันละเมิดกฎหมายกันหมด สังคมวันวุ่นวายน่าดู


ขอบคุณอีกครั้งสำหรับการแลกเปลี่ยน

 

 

สวัสดีครับ คุณถูกกับไม่ถูก

      ผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ "ความเป็นกลาง" ในมุมมองของผมนะครับ

     ความเป็นกลางในมุมมองของผม คือ  มองแบบไม่เลือกข้าง  แต่มองตามหลักการความถูกต้อง

     นั่นคือในแต่ละพรรคการเมือง  ย่อมมีทั้งสิ่งที่ดี   และ สิ่งที่ไม่ดี

     ความเป็นกลางของผม คือ  ในแต่ละพรรค  ที่ทำดี ก็ต้องชมเชย  ส่วนข้อที่ไม่ดีก็ต้องตำหนิติเตียน  โดยมี "ความเป็นกลาง" เป็นหลักการในการมอง

      ถ้าไม่เป็นกลาง   พรรคที่เราชอบ  ทำอะไรก็ถูกไปหมด  ทำให้มองไม่เห็นข้อผิดพลาด  ขณะเดียวกัน  พรรคที่เราไม่ชอบ  ทำอะไรก็ผิดไปหมด   โดยมองไม่เห็นข้อดี 

      เรียกว่ามองอย่างเลือกข้างครับ ไม่เป็นกลาง

                 ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท