สื่อสารอย่างไร ในเวทีครอบครัว : Group counceling


บ้านยิ้มได้ (Smiley home)

      

         จากการจัดทำเวทีครอบครัว  มีช่วงหนึ่งผมใช้กิจกรรม Group counceling  มีการสื่อสารกันดังนี้ครับ

                 น้องคนหนึ่ง เสนอปัญหาความทุกข์ของครอบครัว เพราะพ่อแม่แยกทางกัน   ร้องห่มร้องไห้เสียอกเสียใจ

      

         เท่านั้นละครับ ทั้งผู้ปกครอง และ เพื่อน ต่างระดม Group counceling อย่างกัลยาณมิตร ดังนี้ครับ

        ผู้ปกครอง 1 :  ชีวิตนี้มันก็มีปัญหาด้วยกันทุกคนแหละ  เราอย่าเก็บปัญหามาคิด เราต้องอยู่กับปัจจุบันให้ดีที่สุด  แม่เองแม่ก็มีปัญหา  แต่แม่ไม่เคยเก็บมาคิด คิดแล้วปวดหัว  มีความทุกข์   ไม่คิดเสียก็ไม่ทุกข์   ขอให้อยู่กับปัจจุบันอย่างมีความสุขนะหนู

       ผู้ปกครอง 2 :  ขอให้หนูตั้งหน้าตั้งตาเรียนหนังสือให้ดีที่สุด ให้ประสบผลสำเร็จในชีวิต   แล้วพ่อแม่หนูจะภูมิใจ  แล้วเขาจะกลับมาหาหนู

       ผู้ปกครอง 3 : ขอให้หนูดูคนที่แย่กว่าเรา  มีคนที่แย่กว่าเราอีกมาก  แม่มองดูหนูยังดีกว่าอีกหลายคนมาก 

       เพื่อน 1 :  เวลาเด็กมีปัญหา  มักจะโทษครอบครัวว่าครอบครัวทำให้มีปัญหา  ทำไมเราไม่คิดเสียใหม่ละครับ  ทำไมเราไม่คิดว่าไม่มีปัญหา  เมื่อคิดว่าไม่มีปัญหา มันก็ไม่มีปัญหาครับ   มันอยู่ที่ตัวเรามากกว่า  ไม่อยากให้ไปโทษครอบครัวครับ    ตัวผมเอง   มีปัญหามากกว่าน้องมาก  พ่อมีเมีย 4 คน มีลูก 15 คน แม่ผมถูกพ่อเอามีดไล่ฟัน  ทุกวันนี้  ผมต้องอยู่เอง  เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย  ไม่ได้อยู่กับพ่อกับแม่  แต่ผมก็มีความสุขดีครับ

     เพื่อน 2 : อยากจะบอกว่า ถึงอย่างไร  เพื่อนก็มีข้าวกิน

          หลังจากฟังทั้งผู้ปกครอง  และ เพื่อน  เตือนสติ และ ให้ข้อคิด  รู้สึกว่าสีหน้าสีตาจะดีขึ้นมาครับ

หมายเลขบันทึก: 276009เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2009 07:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

  • แบบนี้เป็นของนักเรียนโตใช่ไหมคะ
  • พี่คิมก็เคยทำกับนักเรียนเล็ก แต่ยังไม่มีผู้ปกครองมา
  • กำลังคิดค่ะ
  • ขอศึกษาเรียนรู้ไปจากท่านรองฯ ก่อนนะคะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ
  • ติดตามเวทีครอบครัว"บ้านยิ้มได้ (Smiley home"มาตลอด
  • ครอบครัวได้มีโอกาสพูดคุย อย่างเปิดใจ
  • เกิดเป็นพันธะสัญญา และต่อหน้าประชาคม..
  • ทำให้รู้สึกดีขึ้นด้วยกันทุกฝ่าย
  • จะนำไปปรับใช้ในห้องเรียนที่ตัวเองรับผิดชอบครับ
  • อันนี้เรียกว่าพลังของกลุ่มในการช่วยกันแก้ปัญหาเลยครับ
  • ดีกว่าเราเป็นผู้แก้เอง
  • แบบนี้เรียกว่า
  • การถอดบทเรียนได้เยี่ยมมากๆๆ
  • รออ่านอีกครับ
  • น้องขวัญจากลำปาง
  • มาทักในบล็อกแล้วครับ

Pพี่คิมครับ

   เด็ก ปวช.ปี หนึ่งครับ

Pอาจารย์ธนิตย์ครับ

      ขอบคุณครับ  ที่จะลองนำไปปรับใช้ดู

       ได้ผลอย่างไร เล่าให้ฟังบ้างนะครับ

                       ขอบคุณครับ

Pอาจารย์ขจิตครับ

    ผมมีความเชื่อของผมเองว่า พลังกลุ่มจะแก้ปัญหาได้ครับ

    เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์มากครับ  เป็นอย่างนั้นจริงๆ

                   ขอบคุณมากครับ

แบบนี้ล่ะค่ะที่เขาเรียกว่า "ร่วมด้วยช่วยกัน"...ดีใจกับผู้ปกครองและนักเรียนที่นั่นด้วยค่ะ..ที่มีผู้นำทางการศึกษามีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล

Pขอบคุณคุณnoktalayมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท