การศึกษาเพื่อความเป็นไท สไตล์ซัมเมอร์ฮิล : ความเข้าใจเบื้องต้น


ปรัชญาการศึกษาแบบซัมเมอร์ฮิล : ชีวืต และ เสรีภาพ

    ช่วงหยุดเสาร์อาทิตย์  ผมค้นหนังสือไปหยิบเจอหนังสือเก่าเล่มหนึ่ง  พิมพ์เมื่อปี 2525  เป็นหนังสือว่าด้วยปรัชญาซัมเมอร์ฮิลล์ครับ

 

   

    ขอเกริ่นบทนำเบื้องต้น ก่อนจะกล่าวรายละเอียดเป็นตอนๆในตอนต่อไปนะครับ

 

    ซัมเมอร์ฮิลล์ เกิดจากความคิดทางการศึกษาของ เอ.เอส.นีล เป็นชาวสกอ๊ต 

 

 

      เขามีความสนใจเรื่องจิตวิเคราะห์ของ ซิกมันต์ ฟรอยด์ เป็นอย่างมาก   เขามีความเชื่ออย่างปักใจว่า วิธีการแบบจิตวิเคราะห์ เป็นอาวุธวิเศษที่จะแก้ปัญหาเด็กเกเรได้ 

 

    ทั้งนี้เพราะเขาเชื่อในสมมติฐานที่ว่าเด็กไม่มีนิสัยเลวมาแต่กำเนิด เขาเชื่อว่าเด็กมีปัญหา ก็คือเด็กที่ขาดความสุข

 

      นีลมีความคิดว่าการศึกษาควรจะช่วยให้นักเรียนสามารถเป็นตัวของตัวเอง และ สิ่งที่จะช่วยได้มากในเรื่องนี้คือ การฝึกให้เขาปกครองตนเอง

 

       โรงเรียนทั่วไป มักจะยกย่องการเคารพเชื่อฟังว่าเป็นคุณธรรมที่สำคัญ ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่ค่อยได้เห็นเด็กที่กล้าท้าทายสิ่งต่างๆในชีวิต

 

     นีลยังบอกต่อไปว่า เขาได้พบว่าเด็กหลายคนที่เป็นคนชั่ว กลับกลายเป็นคนดี เมื่อเขาได้รับเสรีภาพ และ การยอมรับจากผู้ใหญ่

 

                ...................

 

    ครับ ทั้งหมดนี่แค่เกริ่นนำเท่านั้นเองครับ   ผมว่าการศึกษาแบบซัมเมอร์ฮิลล์ เป็นการศึกษาที่ท้าทายที่น่านำมาใช้ในห้องเรียน

 

     เพื่อสร้างความเป็น "ไท" ให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเอง โดยการจัดการศึกษาที่เน้นการสร้างเสรีภาพให้กับเด็ก

 

      และ เสรีภาพ ของ ซัมเมอร์ฮิลล์  ไม่ใช่เสรีภาพอย่างไม่มีขอบเขต  แต่เป็นเสรีภาพภายในกรอบของความถูกต้องทางศีลธรรมอันดีงาม

 

    ตามมุมมองส่วนตัวของผม นะครับ  ผมชอบซัมเมอร์ฮิลล์ครับ  ตอนผมสอนหนังสือผมก็สอนแบบซัมเมอร์ฮิลล์นี่แหละครับ แต่ว่าผู้บริหารไม่เล่นด้วย

 

       ตอนต่อไป จะกล่าวถึงเสรีภาพในห้องเรียนแบบซัมเมอร์ฮิลล์ครับ ผมว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

 

    เพื่อให้พ้นจากวิธีคิดที่ว่าการศึกษาที่ต้องการให้เด็ก  "เรียบร้อยสงบสยบยอม"

 

     โปรดติดตามนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #ครูเพื่อศิษย์
หมายเลขบันทึก: 315297เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2009 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ

  • รออ่านติดตามต่อไปค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ ท่านรองฯวิชชา ที่เคารพ

  • ส่วนตัวแล้ว แป๋มเองเชื่อมั่นและศรัทธาในปรัชญาซัมเมอร์ฮิลล์อย่างแรงกล้าค่ะ
  • การที่ถูกหล่อหลอมมาจากครอบครัวที่ยอมรับการ"คิดนอกกรอบ"แบบpositive
  • เติบโตในสถาบันการศึกษาที่ยอมรับความสามารถของผู้เรียนมากถึงมากที่สุด....
  • การมีอิสระทางความคิดและได้ทำในสิ่งที่ผู้อื่นเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้
  • และปัจจุบันแป๋มได้เป็นครูเพราะปรัชญาซัมเมอร์ฮิลล์แท้ๆ หลุดจากกรอบที่สังคมวางให้แบบสำเร็จรูป
  • เด็กๆกำลังเดินทางมาพร้อมกับแป๋มด้วยความเชื่อมั่น ฝ่าฟันอุปสรรคที่ผู้ใหญ่ไม่ยอมรับความสามารถ โดยเฉพาะเด็กห้องท้าย...
  • อยากขอให้ผู้ใหญ่ทุกท่านเป็นกำลังใจให้กับพวกเขา และเด็กไทยของเรากันเถอะค่ะ...
  • ขอบคุณบันทึกอันทรงคุณค่ามากไปด้วยประโยชน์ค่ะท่าน..
  • http://gotoknow.org/blog/kfstd/252146?page=1
  • http://gotoknow.org/blog/kfstd/274021
  • http://gotoknow.org/blog/kfstd/223651
  • http://gotoknow.org/blog/kfstd/245944
  • http://gotoknow.org/blog/kfstd/244020
  • และรวมหลากหลายประสบการณ์ตรงจากที่นี่ค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/kfstd/toc
  • ขออภัยนะคะที่มาครานี้ใช้พื้นที่คอมเม้นท์มากเป็นพิเศษ บันทึกโดนใจค่ะท่าน ขอบคุณคะ..

สวัสดีค่ะท่านรอง

ไม่ว่าจะหลักการของใคร

สมมติฐานที่ว่าเด็กไม่มีนิสัยเลวมาแต่กำเนิด

ก็น่าจะเป็นจริง ปัญหามาถึงเด็กเพราะสิ่งแวดล้อม

โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง

Pพี่คิมครับ

   ขอบคุณมากครับที่เข้ามาติดตาม

       พี่คิมก็จะออกทางซัมเมอร์ฮิลล์ เหมือนกันนะครับ

Pครูแป๋มครับ

 

   *  ดีมากครับ เข้ามาแลกเปลียนเรียนรู้กัน

   *  ซัมเมอร์ฮิลล์ ผมประทับใจสมัยเรียนหนังสือ อาจารย์พาไปดูงานที่เมืองกาญจน์  หลังจากนั้นผมก็ศึกษามาตลอดครับ  และนำมาใช้จริง ผมว่าได้ผลดีครับ โดยเฉพาะเด็กชนบท เด็กไม่พร้อม เด็กมีปัญหา  ผมใช้ซัมเมอร์ฮิลล์ แก้ได้ครับ

 

   *   ผมชอบครูแป๋มตรงที่ครูแป๋มทุ่มเทให้ด็กห้องท้ายนี่แหละครับ และดีใจมากครับที่ครูแป๋มก็ชอบซัมเมอร์ฮิลล์

                    ขอบคุณครับ

Pครู ป 1 ครับ

  ถ้าเราเชื่อว่า "เด็กไม่มีนิสัยเลวมาแต่กำเนิด"

     เราก็สามารถช่วยกันแก้ปัญหาให้เด็กได้ครับ

                     ขอบคุณครับ

 

สวัสดีค่ะ แหม! อ่านละเอียดดีน่ะค่ะ นี่ขนาดทวน 2 รอบแล้ว ยังพลาดเลย ขอบคุณน่ะที่ท้วง  แก้ไขแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะท่ารอง

* ชืนชอบและได้เคยอ่านหนังสือเรื่องนี้เช่นกันค่ะ.... ประทับใจคำกล่าวของท่านรองที่ว่า

"สร้างความเป็น "ไท" ให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเอง โดยการจัดการศึกษาที่เน้นการสร้างเสรีภาพให้กับเด็ก  ไม่ใช่เสรีภาพอย่างไม่มีขอบเขต  แต่เป็นเสรีภาพภายในกรอบของความถูกต้องทางศีลธรรมอันดีงาม"

* ช่วงนี้ไม่ได้มาทักทายท่านรอง...ต้องขอโทษด้วยค่ะ... ทำงานที่ฦโรงเรียนทุกวันไม่มีวันหยุดเลยจ้ะ เวลาจะทานข้าว  เวลาจะนอน ยังไม่ค่อยจะมีเลย  พรุ่งนี้ สพท.อต.1 จะเข้ามาตรวจ ก่อนที่ สมศ. จะเข้าประเมิน 26-30 พย. นี้แหละค่ะ   บังเอิญว่าโรงเรียนประเมินหลายเรื่อง ประดังเข้ามาพร้อมๆ กัน... เลยวุ่นวายแบบนี้ค่ะ....แต่นักเรียนพระราชทานผ่านแล้ว ระดับ ม.ปลาย คะแนน 3.98 จาก 4.00  รอประเมินระดับภาคเดือนมกราคมค่ะ....

* พักนานแล้ว  ต้องขอตัวทำงานก่อนนะคะ เดี๋ยวไม่เสร็จจะโดนเชือด...(ฮา)

* ระลึกถึงเสมอค่ะ แม้ว่าจะไม่ได้มาทักทาย

 

ขอบคุณเรื่องราวดีๆ ค่ะ

เสรีภาพสู่ความเป็นไท ส่งผลให้เกิด ความนับถือในตัวเอง ค่ะ

Pขอบคุณครูบันเทิงครับ

Pครูใจดีครับ

    *  มีความสุขและสนุกกับการทำงานนะครับ

    *   ขอบคุณครับ งานยุ่งๆยังหาโอกาสมาทักทายซัมเมอร์ฮิลล์

Pคุณpooครับ

*   เสรีภาพสู่ความเป็นไท ส่งผลให้เกิด ความนับถือในตัวเอง

     (หัวใจซัมเมอร์ฮิลล์เลยละครับ)

                  ขอบคุณครับ

 

เด็กพิเศษ ที่สอนอยู่ เค้าอาการดีขึ้นเพราะ พ่อแม่เค้าค่ะ ได้คุยกับแม่ของเด็กค่ะ หนูบอกเค้าว่าเด็กคนนี้มีสมาธิเวลาทำเลข แม่เค้าบอกว่าเค้าต้องคิด ก็เลยนิ่งได้ค่ะ

.....

ส่วนเด็กปกติเนี่ยดื้อค่ะ เด็กฉลาด ชอบต่อรองกับครูอยู่เรื่อยๆค่ะ เด็กคนนี้เค้ามีพี่เลี้ยงคอยรับ-ส่ง อยู่บ้านแกล้งพี่เลี้ยง

ลองให้เด็กเรียนครูคนอื่น เด็กก็มีอาการดื้ออยู่ อย่างมีอาการไม่ค่อยenjoyกับการเรียนค่ะ

มุมมองส่วนตัว คิดว่าเด็กอาจจะอยากเรียนกับพ่อแม่ หมายถึงอยากให้แม่สอนกรบ้านค่ะ รู้สึกว่าเด็กอยากอยู่กับแม่ค่ะ

......

เด็กคนที่3 ชอบเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นวิชาที่หนูสอนค่ะ แต่พอเรียนเลข เด็กบอกว่าปวดท้อง มีขอลงไปซื้อยา แล้วพอขึ้นมาถามว่าได้ยามาใหม่ เด็กก็ไม่มียาค่ะ เด็กคนนี้ชอบให้ชวนคุยไปเรื่อยๆพร้อมกับทำการบ้านค่ะ ถ้าเด็กคนอื่นๆอยากทำการบ้านเงียบๆ แต่เด็กคนนี้ต้องคุยเรื่อย ประมาณว่ายิ่งคุย ยิ่งทำให้เค้ามีความสุข สนุกกับการเรียนค่ะ

Pคุณbeger0123ครับ

      ขอชื่นชมครับ ในการสังเกตสังกาเด็ดแต่ละคน

     *   เด็กพิเศษ ที่สอนอยู่ เค้าอาการดีขึ้นเพราะ พ่อแม่เค้าค่ะ ได้คุยกับแม่ของเด็กค่ะ หนูบอกเค้าว่าเด็กคนนี้มีสมาธิเวลาทำเลข แม่เค้าบอกว่าเค้าต้องคิด ก็เลยนิ่งได้ค่ะ

              (เด็กพิเศษที่สอน เรื่มมีพัฒนาการแล้วนะครับ ดีใจด้วย)

 

 *    ส่วนเด็กปกติเนี่ยดื้อค่ะ เด็กฉลาด ชอบต่อรองกับครูอยู่เรื่อยๆค่ะ เด็กคนนี้เค้ามีพี่เลี้ยงคอยรับ-ส่ง อยู่บ้านแกล้งพี่เลี้ยง

               (ดื้อ กับ ฉลาด มักจะมาพร้อมกันนะครับ)

 *   ลองให้เด็กเรียนครูคนอื่น เด็กก็มีอาการดื้ออยู่ อย่างมีอาการไม่ค่อยenjoyกับการเรียนค่ะ   มุมมองส่วนตัว คิดว่าเด็กอาจจะอยากเรียนกับพ่อแม่ หมายถึงอยากให้แม่สอนการบ้านค่ะ รู้สึกว่าเด็กอยากอยู่กับแม่ค่ะ

              ( บางครั้ง เด็กก็ยังไม่พร้อมที่จะเรียนครับ)

               

*   เด็กคนที่3 ชอบเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นวิชาที่หนูสอนค่ะ แต่พอเรียนเลข เด็กบอกว่าปวดท้อง มีขอลงไปซื้อยา แล้วพอขึ้นมาถามว่าได้ยามาใหม่ เด็กก็ไม่มียาค่ะ เด็กคนนี้ชอบให้ชวนคุยไปเรื่อยๆพร้อมกับทำการบ้านค่ะ ถ้าเด็กคนอื่นๆอยากทำการบ้านเงียบๆ แต่เด็กคนนี้ต้องคุยเรื่อย ประมาณว่ายิ่งคุย ยิ่งทำให้เค้ามีความสุข สนุกกับการเรียนค่ะ 

               (นี่เป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลเลยนะครับ)

       ขอบคุณครับนำเรื่องเด็กมาเล่าให้ฟัง   คุณbegerสนใจเด็กดีมากเลยครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท