การศึกษาเพื่อความเป็นไท สไตล์ซัมเมอร์ฮิลล์ ( ตอนที่ 3) เด็กที่มีอิสรภาพ


การให้เสรีภาพแก่เด็ก ไม่ใช่การปล่อยเด็กจนเสียคน

      บันทึกนี้ มาว่าถึงซัมเมอร์ฮิลล์ตอนที่ 3 ว่าด้วยเด็กที่มีอิสรภาพ

 

                                 ..........................

 

      *  ข้อห้ามและเสรีภาพเป็นของที่มีอยู่ด้วยกันทั้งสองอย่าง  ในบ้านที่เคร่งครัด เด็กๆไม่มีสิทธิเอาเสียเลย  ส่วนในบ้านที่ไม่มีการบังคับ  เด็กมีสิทธิที่จะทำทุกอย่าง  ก็ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง นั่นเป็นสิ่งที่เกินพอดีคนละด้าน บ้านที่ถูกต้องและเหมาะสม ก็คือ บ้านที่ทั้งผู้ใหญ่และเด็กมีสิทธิเท่าเทียมกัน และ ในโรงเรียนก็เช่นเดียวกัน

 

     * การให้เสรีภาพแก่เด็ก ไม่ใช่การปล่อยเด็กจนเสียคน  เป็นการให้เสรีภาพแก่เด็กเพื่อที่จะให้เขาสามารถทีชีวิตอยู่ตามความต้องการธรรมชาติของเขา  พ่อแม่บางคนที่เข้าใจเรื่องนี้ สามารถประนีประนอมในเรื่องต่างๆได้อย่างเหมาะสม  พ่อแม่บางคนเอามาตรฐานของตัวเองมากเกินไป และ พ่อแม่อีกหลายๆคน ก็ปล่อยให้เด็กทำทุกอย่างตามใจตนเอง โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอื่นๆ

 

    * การให้เสรีภาพแก่เด็ก คือ การปล่อยให้เขาได้มีชีวิตของเขาเอง ซึ่งฟังดูธรรมดาๆ แต่ที่ยากก็คืแผ้ใหญ่มักจะมีนิสัยชอบสอน ชอบฝึก ชอบอบรม และ ชอบข่มขู่เด็กให้คิดและทำตามที่ผู้ใหญ่ต้องการ และนั่นก็คือวิธีการทำลายเสรีภาพ

 

    * เด็กไม่ว่าจะฉลาดหรือไม่สู้จะฉลาดนัก เมื่อได้รับอิสรภาพหรือเสรีภาพ มักจะได้สิ่งบางอย่างที่เขาไม่เคยมีมาก่อนเลย บางสิ่งบางอย่างอธิบายได้ยาก ลักษณะที่พอจะมองเห็นได้จากภายนอกคือ เขามีความจริงใจมากขึ้น มีความกรุณาต่อคนอื่นมากขึ้น และ มีความก้าวร้าวน้อยลง

 

 

     *  การกำหนดให้เด็กทำอะไรบางอย่างโดยอาศัยอำนาจผู้ใหญ่เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง เด็กๆไม่ควรจะต้องทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จนกว่าจะเกิดความคิด ความคิดของเขาว่าเขาควรจะทำ ความเลวร้ายจากภายนอกคือ การบังคับจากภายนอกให้เด็กทำสิ่งนั้นสิ่งนี้

 

     * บางคนก็บอกว่า "ฉันอยากจะเลี้ยงดูลูกอย่างที่ว่า......แต่ฉันจะเริ่มต้นอย่างไร  ฉะนจะหาหนังสือคู่มือได้ที่ใหน  คำตอบก็คือ ไม่มีตำรา ไม่มีคู่มือ ไม่มีครูใดๆทั้งสิ้น ที่มีอยู่ ก็คือ พ่อแม่ หมอ และ ครู เพียงส่วนน้อยกลุ่มหนึ่ง ที่มีความสรั?ในสิ่งมีชีวิตที่เราเรียกว่า "เด็ก" และ มีความมุ่งมั่นที่จะไม่ทำให้เขาต้องมีจิตใจที่แข็งกระด้าง และ มีบุคลิกที่วิปริตไปเพราะการเข้าไปจัดการอย่างผิดๆของผู้ใหญ่ เราเป็นเพียงผู้แสวงหาความจริงของมนุษาติ โดยไม่มีอำน่จใดๆทั้งสิ้น

 

                             .........................

 

     ครับ การให้เด็กมีอิสรภาพ  เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากครับ  เพราะอย่างน้อยต้องหาจุดที่พอดี ระหว่างการจำกัดอิรภาพของเด็ก และ  ปล่อยให้เด็กมีอิสรภาพจนเกินขอบเขต

 

     คำตอบในเรื่องนี้  ผมว่าอยู่ที่การศรัทธาต่อ "เด็ก"  ครับ

 

    ให้การศรัทธาต่อเด็กด้วยการให้การ "ยอมรับ" เขา ตามที่เขาเป็น  ให้เขาได้พูด ได้แสดงออก  ตามตัวตนของเขา ตามความสามารถของเขา

 

     จะทำให้เขาได้มีชีวิตตามความต้องการของเขาเอง  นำไปสู่การมีความเป็นตัวของตัวเอง  และมีความภาคภูมิใจในตัวเองตามที่เขาเป็น 

 

    เด็กที่มีความภาคภูมิใจในตัวเอง   จะทำให้เป็นเด็กที่มีชีวิตที่แจ่มใสเบิกบาน  เป็นภูมิคุ้มกันทางจิตใจจากภัยร้ายทางสังคมที่อยู่รอบตัวเขาได้เป็นอย่างดีครับ

 

 

                                      

                   

คำสำคัญ (Tags): #ครูเพื่อศิษย์
หมายเลขบันทึก: 315932เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2009 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

Pขอบคุณอาจารย์โยมากครับ ที่เข้ามาเยี่ยม

สวัสดีคะท่านรองฯ

- พูดง่ายทำยากคะ ในเรื่องของการให้อิสระภาพแก่เด็ก (ในที่นี้หมายถึงลูก)

- บางครั้งผู้ใหญ่ก็สับสนเหมือนกันว่าที่ทำถูกหรือผิด

- กลัวการตัดสินใจตัวเองเกี่ยวกับลูก กลัวว่าจะผิดพลาด

- เด็กทุกวันนี้ เข้าใจยาก สังคม,สื่อมีส่วนอย่างมาก

- คงต้องช่วยกันวางแผนทุกฝ่าย สังคม พ่อแม่ ครูและก็ตัวเด็กเอง

จริงไหมคะท่าน

สวัสดีค่ะ

  • มาติดตามอ่านค่ะ
  • ครูเพียงคนเดียว หรือครูเพียงกลุ่มเดียว  ต้องใช้พลังแรงจากภายในมาก ๆค่ะที่จะสอนคน ๆ หนึ่งให้เป็นคนดี  และการศึกษาเด็กแต่ละคนก็ไม่ได้ง่ายเลย  แต่ก็ดีกว่าไม่ทำใช่ไหมคะ
  • ที่ได้มาบอกว่าเก่ง หรือดีนั้นก็ใช้ว่าจะจีรังยั่งยืน  เพราะหากขาดการติดตามชั่วขณะพฤติกรรมเด็กจะขาดลงค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

Pคุณพรรณครับ

  *  การให้อิสรภาพแก่เด็ก "พูดง่ายทำยาก" จริงๆแหละครับ  ผมเองบางครั้งก็สับสนว่าจะเอายังไงดีกับลูก  เพราะต้องยอมรับว่าตัวผมเอง หรือ อีกหลายๆคน ก็ถูกเลี้ยงดูมาแบบการใช้อำนาจด้วยกันทั้งนั้นนะครับ จนฝังเข้าไปในสายเลือดแล้ว  จะให้มาเปลี่ยนเป็นไม่ใช่อำนาจ ก็ค่อนข้างยากอยู่เหมือนกันครับ

   *  แต่ถ้ายังคงใช้อำนาจเต็มๆ อย่างที่เราถูกเลี้ยงดูมา  ก็จะทำให้เด็กเขามีปัญหาอย่างแน่นอนครับ  คงต้องค่อยปรับค่อยเปลี่ยน

                                 ขอบคุณมากครับ

Pพี่คิมครับ

*  ครูเพียงคนเดียว หรือครูเพียงกลุ่มเดียว  ต้องใช้พลังแรงจากภายในมาก ๆค่ะที่จะสอนคน ๆ หนึ่งให้เป็นคนดี  (เหนื่อยมากๆๆๆ จริงๆครับ ในการที่จะสอนคนๆหนึ่งให้เป็นคนดี  ต้องใช้พลังภายในมากๆๆๆครับ..งานครูจะเหนื่อยมากก็ตรงนี้แหละครับ)

 

*   และการศึกษาเด็กแต่ละคนก็ไม่ได้ง่ายเลย  แต่ก็ดีกว่าไม่ทำใช่ไหมคะ  (ครับ ก็คงทำเท่าที่พอจะทำได้ครับ  แต่จะยากเย็นอย่างไรก็คงต้องทำนะครับ)

*   หากขาดการติดตามชั่วขณะพฤติกรรมเด็กจะขาดลงค่ะ (นี่แหละครับ ทั้งใช้พลัง ใช้เวลา แถมยังต้องต่อเนื่อง  เฮ้อ....เหนื่อยครับ)

                                ขอบคุณครับ

 

สวัสดีค่ะ ท่านsmall man

  • คงต้องให้ความศรัทธาซึ่งกันและกันแหละค่ะ ฉันศรัทธาเธอ เธอศรัทธาฉัน ...
  • พอมีความศรัทธาต่อกันแล้ว ความเชื่อมั่น และความไว้วางใจคงจะตามมานะค่ะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้คุณครูทุกท่านค่ะ ^^

Pคุณณัฐพัชร์ครับ

   * ต้องให้ความศรัทธาซึ่งกันและกัน พอมีความศรัทธาต่อกันแล้ว ความเชื่อมั่น และความไว้วางใจคงจะตามมา

     ชอบครับ สำหรับประเด็นเสริมเติมเต็ม  พอมีความศรัทธาแล้ว ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจะตามมา

                     ขอบคุณครับ

เห็นด้วยกับท่านรองฯ และพี่คิมคะ ยุคนี้สงสารพ่อแม่ และครูจริง จริง

Pคุณพรรณครับ

   ก็คงต้องช่วยๆกันครับ เพราะตอนนี้ เด็กและเยาวชน มักจะโยนให้ครูกันหมด ครูก็ช่วยได้บางส่วนเท่านั้นครับ

                          ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

จากเนื้อหาดังกล่าว ผมคิดว่าแนวคิดเรื่องอิสรภาพนี้ สอดคล้องกับแนวคิดของ OHSO จากหนังสือเรื่อง Freedom ที่อาจารย์ประพนธ์ท่านได้แปลไว้เลยครับ "อิสระภาพไม่ได้หมายถึงการปล่อยตัวปล่อยใจไปกับสิ่งเลวร้าย แต่เป็นการปลดปล่อยจากเรื่องเลวร้าย เข้าไปสู่ความเป็นอริย คุณธรรม จริยธรรม" (สำนวนดังกล่าวมาจากการแปลความตามความคิดของผมเอง อาจจะไม่เหมือนที่กล่าวไว้ในหนังสือเท่าใดนัก)

  • สวัสดีครับ คุณ small man
  • หนังสือของท่าน อ.วรภัทร ภู่เจริญ ได้กล่าวว่า

     การเรียนรู้ของเด็กนั้น ควรมาจากการพัฒนาฐานกาย        

     ฐานใจ ค่อยมาเน้นที่ฐานคิด ครับ

อย่าสอนเด็กแบบลวกๆค่ะ

เด็กแต่ละคนการพัฒนาก็มาจากพ่อแม่เป็นคนสอนค่ะ

พ่อแม่ต้องเริ่งทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้รูปเห็นก่อนค่ะ

Pคุณไทเลย-บ้านแฮครับ

    ตรงนี้ดีมากเลยครับ ช่วยให้กระจ่างขึ้น

อิสระภาพไม่ได้หมายถึงการปล่อยตัวปล่อยใจไปกับสิ่งเลวร้าย แต่เป็นการปลดปล่อยจากเรื่องเลวร้าย เข้าไปสู่ความเป็นอริย คุณธรรม จริยธรรม

             ขอบคุณมากครับ

Pคุณจักรกฤษณ์ครับ

การเรียนรู้ของเด็กนั้น ควรมาจากการพัฒนาฐานกาย         ฐานใจ ค่อยมาเน้นที่ฐานคิด ครับ

       เสริมเติมเต็มให้กระจ่างขึ้นครับ

                      ขอบคุณครับ

   

Pคุณbeger0123ครับ

*   เด็กแต่ละคนการพัฒนามาจากพ่อแม่

*  พ่อแม่ต้องเริ่งทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้รูปเห็นก่อน

      ครับ แบบ ดีกว่า บอก

                 ขอบคุณมากครับ

วันนี้จะแวะไปคารวะ อ.ยูมิที่ ม.จุฬา สามย่านค่ะ ตอนเย็นนี้18.30

พอดีอ.มากทม.ค่ะ

สวัสีครับท่านรอง หลายปีก่อนมีครูสอน นักเรียนใต้ต้นไม้ ชื่อโรงเรียนใต้ต้นไม้ แวะเวียนสอนอยู่ที่อำเภอป่าบอน แต่ตอนนี้ไปไหนแล้วไม่ทราบ ฟังว่ามาว่าได้แรงบันดาลใจจากซัมเมอร์ฮิลครับ

สวัสดีค่ะท่านรอง  P

* วันนี้มาเยี่ยมไม่ดึก... เลยอนุญาตแซว... บันทึกนี้ดูท่านรองคงรีบนะ พิมพ์ไม่ค่อยถูกเยอะเลย   ฮา.... (ข้าน้อยขออภัยนะคะ....ขออนุญาตแซวแล้วด้วย... ห้าม!...โกรธ..)

โดยปกติแล้ว ท่านรองพิมพ์ผิดน้อยมาก จนบางบันทึกไม่ผิดเลย.... สงสัยใจลอยนะเนี่ย!...

* อยากให้มีโรงเรียนแบบโรงเรียนสัตยาสัย เยอะๆค่ะ  ครูใจดีมีโอกาสได้ฟัง ดร.อาจอง  ชุมสาย ท่านบรรยายถึงวิธีการเข้าถึงจิตใจของเด็ก ๆ โดยให้เขาซึมซับเกณฑ์ต่างๆ ที่ดีงามที่ผู้ใหญ่อบรมสั่งสอนลงสู่เด็กด้วยกุลศโลบายอันแยบยล โดยที่เขาไม่รู้ตัว เขาเกิดการยอมรับเงื่อนไขกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างไม่มีข้อแม้ และไม่รู้สึกว่าเขาถูกบังคับ  ทำให้เขาดำรงชีวิต และเรียนอย่างมีความสุข....ไม่ได้เรียนเพราะถูกบังคับ....

* ขอแสดงความเห็นแค่เรื่องเดียว... คงมิบังอาจพูดมากไปกว่านี้ค่ะ... ไม่ทราบว่าตรงประเด็นหรือเปล่านะคะ..

* ระลึกถึงท่านรองเสมอๆ

 

สวัสดีค่ะ

เห็นด้วยเป็นอย่างมากค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท