การฟังด้วยใจ I in now


การฟังอย่างลึกซึ้ง

    ผมมีตัวอย่างการฟังอย่างลึกซึ้ง  จากการประชุมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีชีวิต  เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม  มาเล่าให้ฟังครับ

 

 

     เด็กนักเรียนคนหนึ่ง  บอกว่าเขามีความทุกข์จากงานบ้านที่มากเกินไป

 

     กระบวนกรเก่งมากครับ  สามารถฟังอย่างลึกซึ้งจนถึง I  in now

 

    ถ้าฟังแบบ I  in   me  ส่วนใหญ่ก็คงบอกว่า  เราต้องมีน้ำใจ ต้องช่วยทำงานบ้าน

 

    ถ้าฟังแบบ I   in  it  ก็คงถามว่างานอะไรที่ว่าทำมาก  และทำมากอย่างไร  เสร็จแล้วก็คงแนะนำไปว่า  ต้องอดทน และ ขยัน ประมาณนี้

 

    กระบวนกรท่านนี้  ฟังแบบ  I in you  ครับ  นั่นคือ  ฟังแล้วจับความรู้สึกไปด้วย  ฟังแล้วย้อนถามลงไปลึกๆ  สุดท้ายก็ได้คำตอบออกมาครับว่า "พ่อมีเมียน้อย"

 

 

     กระบวนกรยังเลยไปถึง I  in   now ครับ  แม่ของเด็กคนนี้  นั่งอยู่ข้างๆ อุ้มลูกเล็กๆไว้ด้วย พอฟังลูกบอกว่าพ่อมีเมียน้อย ก็ถึงกับน้ำตาไหล และ เดินออกไปจากที่ประชุม   หลายๆท่านเบือนหน้าหนีและเริ่มเศร้าตามครับ แต่กระบวนกร  ยังรักษาสภาพนิ่งเอาไว้ได้

 

     ก็เป็นกรณีตัวอย่างการฟังอย่างลึกซึ้งที่เป็นของจริงครับ

หมายเลขบันทึก: 318589เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2009 06:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (44)

สวัสดีค่ะท่านรอง

                        I  in   me 

                        I   in  it 

                       I  in   you  

      เพิ่งเข้าใจ  ของพระคุณค่ะ

เรียนน้องsmallmam

หากครูทุกคนหันมาฟังแบบ I IN YOU มากกว่า I IN ME และ I IN IT

เชื่อว่าเด็กๆจะมีที่พึ่งที่ดี

เพราะมักเห็น IN ME มากจน รู้สึกผะอืด

และมักเจอการประหารชีวิตด้วยความคิด ก่อนการพิจารณาด้วยใจ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ...ท่านรองผอ.เขต...

แวะเข้ามาฟังด้วยใจ I in now...ด้วยคนค่ะ...

เป็นความท้าทายของผู้นำกระบวนการมากเลยครับ โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เเตกต่างไปแต่ละครั้ง มีกลุ่ม I in it ก็ต้องอาศัยความสามารถของผู้นำกระบวนการ ผมว่า tacit k. ตรงนี้อยากให้มีการแลกเปลี่ยนกันเยอะๆครับ

ไม่กี่วันผมจะไปทำ Dialogue ให้กับองค์กรใหญ่แห่งหนึ่ง แต่ผมจะทำในรูปแบบผม ก็เน้น ง่ายๆงามๆ เป็นหลักครับ ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่า จะสลายกลุ่ม  I in it มาสู่ I in you to I in Now ได้ครับ

มาพัฒนาการฟังค่ะ เป็นพ่อที่ดีของลูกและครอบครัวนะค่ะ ช่วงนี้ยุ่งๆไม่ได้มาทักทาย ขอให้มีความสุขค่ะ ขอบคุณข้อคิดดีๆ รักษาสุขภาพด้วย

                                           

สวัสดีตอนเช้าวันหยุดคะท่านรอง

มารับสิ่งดี ๆคะ ข้อคิดที่ดีนะคะฟังอย่างลึกซึ้ง

สวัสดี8iy[ท่านSmall man

ฟังงอย่างลึกซึ้ง เป็นการฟังที่ค้นหามากกว่าคำตอบครับ เพราะจับการฟังที่ความรู้สึก

I in now

I in now

I in now

สวัสดีค่ะ ท่านรองฯวิชชา

  • เยี่ยมค่ะ เป็นกลยุทธ์ที่ครูเราควรหมั่นฝึก 
  • เพื่อจักช่วยแก้ไขปัญหาช่วยเด็กที่สาเหตุที่แท้จริง
  • ขอบคุณค่ะ

 

ตามมาเรียนรู้พลานุภาพของการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) ขอรับ

ขอบพระคุณครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ Small man

  • ผมตามมาอ่านข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องการฟัง อ่านบทความของท่านอาจารย์ ได้ข้อคิดดีๆ เป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง กลับไปทุกครั้งครับ
  • ผมเองก็ยังพยายามฝึกฟัง แบบ I in Now อยู่ครับ ส่วนมากจะหนักไปทาง I in me,  I in It, I in You ครับ คงขอจำหลักการและวิธีการของท่านอาจารย์ นำไปใช้ครับ
  • วันนี้ผมนำอาหารเช้ามาฝากท่านอาจารย์ เป็นต้มยำปลาทูแม่กลอง ร้อนๆ แทนกำลังใจให้ครับ

สวัสดีค่ะท่านรอง

*** การพัฒนาการฟัง เป็นสิ่งจำเป็นมาก

*** นักเรียนรุ่นใหม่ ชอบพูดอย่างไม่เป็นการงานมากกว่าฟังอย่างตั้งใจค่ะ

ท่านรองคะ พอลล่าขอแลกเปลี่ยนด้วยค่ะ บางครั้งเราแยกไม่ออกและอาจจะไม่ต้องแยกก็ได้นะคะ ว่าตอนนี้ I in me in it หรือ now

ความเป็นธรรมชาติของการพูดการฟัง เพราะธรรมชาติแรกเริ่มการสนทนา ก็อาจจะ in me ก่อนใช่ไหมคะ ส่วนจะไปได้แค่ไหน ขึ้นอยู่กับกลุ่มคนที่สนทนาด้วย และประสบการณ์ของคนที่พูดก็สำคัญค่ะ

ขอบคุณท่านรองที่นำเรื่องนี้มาแลกเปลี่ยนอย่างเป็นรูปธรรมค่ะ

  • สวัสดีครับท่าน
  • ดีมากเลยครับ น่าจะผลักดันเรื่องนี้ให้ ผอ. โรงเรียนทั้งหลาย นำมาใช้ในการประชุม    คิดว่าน่าจะดีมากครับ

สวัสดีค่ะ

จะนำเทคนิคดีๆไปฝึกบ้างค่ะ

Pคุณอิงจันทร์ครับ

    ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยม

Pพี่Krutoitingครับ

   *  ถ้าครูฟังเด็กให้เข้าใจ  เด็กก็จะมีที่พึ่งจริงๆครับ

   *  ถ้าฟังแบบ  I   in me  ก็ยิ่งเพิ่มปัญหาให้เด็กครับ

                  ขอบคุณครับ 

Pขอบคุณคุณบุษยมาศครับ

Pคุณจตุพรครับ

   ผมว่าTacit K. เกี่ยวกับการฟัง  ผมคิดว่าน่าจะมาจากประสบการณ์จากการฝึกมาของแต่ละคนครับ  (ต้องฝึกมอย่างมาก) ซึ่งบางทีก็บอกกันไม่ได้  ผมคิดว่าอย่างนั้นนะครับ

     ผมเคยไปสังเกตุการณ์ฝึกการฟัง คนในวง 10  คน  ฟังความรู้สึกกันไม่เป็นเลยครับทั้งสิบคน   ครั้งนั้นฝึกแค่สองวัน

     สามวันมานี้ (5 - 7 )ฝึกฟังความรู้สึก  หลายๆคน ยังเข้าไม่ถึงความรู้สึกครับ

     เอาไว้วันหลังผมจะเขียนมาต่างหากนะครับ เกี่ยวกับการฟังความรู้สึก

     คุณเอกมีประสบการณ์มา ลปรร  กันบ้างนะครับ  เกี่ยวกับการฟัง

               ขอบคุณครับ 

PคุณNinaครับ

    ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ

มาอ่านและรับความรู้เพิ่มเติมจากหลาย ๆ ท่านค่ะ

ระดับของการฟังที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดตามที่คนไม่มีรากเคยได้รับการสั่งสอนมาคือ...

ฟัง อย่าง ได้ยิน ... น่าจะเป็น I in now หรือเปล่าคะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่

Pคุณประกายครับ

   ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยม

Pท่าน ผอ.พรชัยครับ

   ผมว่าฝึกให้คุณครูฟังเด็กแบบ I  in you บ้างก็ดีนะครับ

                   ขอบคุณครับ

 

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • น้องซิลเวียเข้ามาอ่านกระบวนการฟังค่ะ
  • แต่ขอถามอาจารย์นิดหนึ่งค่ะว่า..ที่กระบวนกร  ยังรักษาสภาพนิ่งเอาไว้ได้..โดยไม่เศร้าตาม..แบบนี้เรียกว่าเป็นการฟังแบบลึกซึ้ง หรือ  I  in   now ใช่ไหมคะ (คล้ายๆกับที่เรียกว่า empathy ใช่ไหมคะ)
  • ขอบคุณค่ะอาจารย์

 

Pครูแป๋มครับ

*  กลยุทธ์ที่ครูเราควรหมั่นฝึก  เพื่อจักช่วยแก้ไขปัญหาช่วยเด็กที่สาเหตุที่แท้จริง

          เห็นด้วยอย่างที่สุดครับ

                     ขอบคุณครับ

                  

 

Pคุณคนข้างบ้านครับ

    ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยมชม

Pคุณณัฐวรรธน์ครับ

   ต้มยำปลาทูเป็นของโปรดของผมเลยครับ

                 ขอบคุณครับ

Pคุณกิติยาครับ

  ตอนนี้ เรื่องการฟังเป็นเรื่องสำคัญมากครับ

                   ขอบคุณครับ

เอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ที่ผมเขียนที่อยากให้มีการ เเลกเปลี่ยน tacit k. เกี่ยวกับบันทึกนี้ ไม่ได้เน้นเรื่องของการฟังครับ แต่ อยากให้วิทยากรกระบวนการ ที่ทำกระบวนการสุนทรียสนทนา เเลกเปลี่ยนกัน ผมคิดว่า ในหลากบริบท หลากคน หลากปัจจัย มีเรื่องราวที่น่าสนใจให้เราได้เรียนรู้ใหม่ๆเสมอ

เหมือนผม ทำกลุ่ม "ครู" ก็ได้ชุดความรู้ในการเข้าถึงใจครูก็เเบบหนึ่ง และ ทำในกลุ่ม ",ทันตเเพทย์,แพทย์,พยาบาล" ก็อีกแบบหนึ่ง เป็นต้นครับ

หรือ หากจะมีรายละเอียดที่เราสังเกตการฟังของ paticipants ที่เราไปทำกระบวนการด้วย ก็ดีนะครับ จะได้ทราบว่ากระบวนการสุนทรียสนทนาที่เราออกแบบเฉพาะนั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด

ขอบคุณครับผม

Pคุณพอลล่าครับ  ประเด็นที่ว่า

*   บางครั้งเราแยกไม่ออกและอาจจะไม่ต้องแยกก็ได้นะคะ ว่าตอนนี้ I in me in it หรือ now

ความเป็นธรรมชาติของการพูดการฟัง เพราะธรรมชาติแรกเริ่มการสนทนา ก็อาจจะi in me ก่อนใช่ไหมคะ ส่วนจะไปได้แค่ใหนขึ้นอยู่กับกลุ่มคนที่สนทนาด้วย และประสบการณ์ของคนที่พูดก็สำคัญ

 

     ผมมองอย่างนี้ครับ  ผมว่าการฟังจะต้องฟังเพื่อแยกคำพูดให้ออกครับ ว่าพูดด้วยข้อมูลหรือด้วยความรู้สึก  คุณภาพของการฟัง ขึ้นอยู่กับความละเอียดอ่อน และ ความเอาใจใส่ของคนฟัง  ซึ่งมาจากการให้ความสำคัญคนอื่นมากกว่าตัวเอง   คนประเภทนี้  จะฟังได้ดีครับ  เพราะเป็นคนที่แคร์ความรู้สึกของคนอื่น  เป็นการฟังประเภท I  in  it  และ I  in you

    ส่วนคนที่ฟังแบบ  I   in  me  คนพวกนี้จะมองแต่ตัวเองเป็นสำคัญครับ  ไม่เห็นความสำคัญของคนอื่น ไม่แคร์ความรู้สึกของคนอื่น  พูดมากกว่าฟัง

     ตามความคิดเห็นของผม ผมว่า "ต้องแยก" นะครับ  อย่างน้อยต้องแยกคำพูดของเขาให้ออกครับว่าพูดด้วย "ข้อมูล"   หรือ พูดด้วย "ความรู้สึก"

      ถ้าเขาพูดด้วยข้อมูล  เราก็ฟังแบบ I in it  และ  โต้ตอบแบบ  I   in  it

      ถ้าเขาพูดด้วยความรู้สึก   เราก็ต้องฟังเพื่อจับความรู้สึกด้วยการฟังแบบ I   in you และ  โต้ตอบแบบ I  in you

     บางครั้งเขาพูดด้วยข้อมูล แต่ลึกๆมันมีความรู้สึกแฝงอยู่ครับ  เช่น บ่นว่างานมาก  แต่ความรู้สึก คือ อยากให้พ่อเลิกมีเมียน้อย

     ผมขอแยกประเด็นการฟังให้เห็นให้ชัดครับ

     I    in    me  คือ  พวกไม่ฟังใครครับ   หรือฟังแต่ไม่ได้ยิน   พวกนี้  อัตตาสูง 

     I    in   it  คือ  พวกชอบโต้แย้งครับ  ฟังในระดับข้อมูล  แล้วก็จะหาประเด็นมาโต้แย้ง

    I   in   you  คือ  ฟังในมุมมองของผู้พูดครับ   เป็นการฟังให้ลึกไปถึงความรู้สึก นอกจากฟังข้อมูลแล้ว ต้องจับความรู้สึกให้ได้

    I    in   now  คือ  ฟังแล้วไม่ปล่อยอามณ์คล้อยตามไปด้วย

     เพราะฉะนั้น  การฟังแต่ละครั้ง  แต่ละประโยค   ต้องจับอารมณ์ และ ความรู้สึก ของผู้พูดให้ได้เสียก่อนครับ  ว่าพูดแบบข้อมูลล้วนๆ  หรือ มีความรู้สึกเจือปนมาด้วย

Pคุณคนไม่มีรากครับ

    *   I    in    me  คือ  พวกไม่ฟังใครครับ   หรือฟังแต่ไม่ได้ยิน   พวกนี้  อัตตาสูง 

    *   I    in   it  คือ  พวกชอบโต้แย้งครับ  ฟังในระดับข้อมูล  แล้วก็จะหาประเด็นมาโต้แย้ง

  *   I   in   you  คือ  ฟังในมุมมองของผู้พูดครับ   เป็นการฟังให้ลึกไปถึงความรู้สึก นอกจากฟังข้อมูลแล้ว ต้องจับความรู้สึกให้ได้

   *   I    in   now  คือ  ฟังแล้วไม่ปล่อยอามณ์คล้อยตามไปด้วย

 

Pคุณจักรกฤษณ์ครับ

*  จะผลักดันเรื่องนี้ให้ ผอ. โรงเรียนทั้งหลาย นำมาใช้ในการประชุม    คิดว่าน่าจะดีมากครับ*

    ผมเห็นด้วยครับ  แต่ว่า "กระบวนกร" เรื่องการฟังที่ "มือถึง" หายากครับ

                     ขอบคุณครับ

 

Pคุณpkaekครับ

     ขอบคุณมากครับ

อาจารย์คะ เราไปตัดสนว่าเขาเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ไม่ได้ค่ะ

แต่ถ้าทบทวนตัวเรา เราจะได้ประโยชน์ค่ะ พอลล่าคิดว่าอย่างนั้นค่ะ

คุณเอกครับ

  *  เขียนที่อยากให้มีการ เเลกเปลี่ยน tacit k. เกี่ยวกับบันทึกนี้ ไม่ได้เน้นเรื่องของการฟังครับ แต่ อยากให้วิทยากรกระบวนการ ที่ทำกระบวนการสุนทรียสนทนา เเลกเปลี่ยนกัน

  (วิทยากรกระบวนการที่ทำกระบวนการสุนทรียสนทนา  เชิญมาจากที่อื่นครับ   ต้องเดินทางมาไกล   การทำในเรื่องพวกนี้  นานทีปีครั้งจึงทำได้ครับ  ทำแล้วก็หายไปกับ "กระบวนกร")

*  ผมคิดว่า ในหลากบริบท หลากคน หลากปัจจัย มีเรื่องราวที่น่าสนใจให้เราได้เรียนรู้ใหม่ๆเสมอ   เหมือนผม ทำกลุ่ม "ครู" ก็ได้ชุดความรู้ในการเข้าถึงใจครูก็เเบบหนึ่ง และ ทำในกลุ่ม ",ทันตเเพทย์,แพทย์,พยาบาล" ก็อีกแบบหนึ่ง เป็นต้นครับ

*    กระบวนการสุนทรียสนทนาที่เราออกแบบเฉพาะนั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด

   (ผมประเมินให้ฟังเลยครับ ในกลุ่มครู  สามครั้งที่ผ่านมา  แต่ละครั้ง ประมาณ 2 - 3 วัน  ผมว่าได้ผลน้อยมากครับ   หลายๆคนยัง "ฟังไม่เป็น" ครับ ยังจับความรู้สึกไม่เป็น   อาจเป็นเพราะ กระบวนกร  มีกระบวนการที่ไม่ดีพอ หรือ  ใช้เวลาฝึกน้อยไป   ผมว่าต้องอย่างเข้มข้นสัก 1 อาทิตย์นะครับ

     ขออนุญาต ลปรร ครับ อาจจะไม่ใช่อย่างที่ผมว่ามาก็ได้

                ขอบคุณครับ

 

PคุณKamonratครับ

     ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยม

Pน้องซิลเวียครับ

  • แต่ขอถามอาจารย์นิดหนึ่งค่ะว่า..ที่กระบวนกร  ยังรักษาสภาพนิ่งเอาไว้ได้..โดยไม่เศร้าตาม..แบบนี้เรียกว่าเป็นการฟังแบบลึกซึ้ง หรือ  I  in   now ใช่ไหมคะ
  • *   empathy  คือ  I   in now ใช่แล้วครับ  เห็นเขาร้องไห้  เราไม่ร้องไห้ตามไปด้วย 

    * Sympathy  คือ ข้อควรระวังของการฟังแบบ I  in you  ผู้หญิงมักจะชอบร้องไห้ตามในเรื่องเศร้าที่ได้รับฟังครับ

          ขอบคุณครับ

  • ขอบคุณค่ะอาจารย์
  •   

    Pคุณพอลล่าครับ

       *  เราไม่ได้ตัดสินนะครับ  แต่ว่าเราพยายามฟังเขาให้เข้าใจ ว่าเขาพูดด้วย "ข้อมูล" ตรงๆ  หรือ ต้องการ "ระบาย" ความรู้สึก" ให้เราฟัง

      *  คนมีปัญหาหลายคน  เขาก็พูดๆๆๆ ของเขาไป  เราไม่จำเป็นต้องโต้ตอบครับ เพียงแต่พยัหหน้า  แค่นั้นเขาก็สบายใจแล้ว   แต่ว่าถ้าเราไปโต้ตอบ หรือ ออกความคิดเห็น  เขาจะไม่ชอบครับ

       เราไปตัดสินว่าเขาเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ไม่ได้ค่ะ

        เราไม่ได้ไปตัดสินว่าเขาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ครับ แต่เราตัดสินว่า  เขาพูดด้วยความรู้สึก หรือ พูดด้วยข้อมูล

        ถ้าพูดด้วยข้อมูล  เราก็โต้สนทนาด้วยข้อมูล ครับ

        ถ้าพูดด้วยความรู้สึก  เราต้องจับความรู้สึกว่าเป็นอารมณ์ไหน  แต่ส่วนใหญ่ ต้องการระบายให้ฟังครับ

        ผมอาจจะเขียนไม่กระจ่างต้องขออภัยครับ

    สวัสดีค่ะ...ท่านรอง P small man

    ขอขอบคุณท่านที่บันทึก การฟังด้วยใจ I in now ต่อยอด

    *   I  in  me  คือ  พวกไม่ฟังใครครับ   หรือฟังแต่ไม่ได้ยิน   พวกนี้  อัตตาสูง 

    *   I  in  it  คือ  พวกชอบโต้แย้งครับ  ฟังในระดับข้อมูล  แล้วก็จะหาประเด็นมาโต้แย้ง

    *   I  in  you  คือ  ฟังในมุมมองของผู้พูดครับ  เป็นการฟังให้ลึกไปถึงความรู้สึก นอกจากฟังข้อมูลแล้ว ต้องจับความรู้สึกให้ได้

     

     

     

    Pขอบคุณครูอี๊ดครับ  เข้ามาชมการฟัง

     

    เรียน ท่านรองฯ

                  ผมชอบบันทึกนี้มากครับ ทั้งส่วนเนื้อหาของบันทึกและส่วนการแสดงความคิดเห็น ลปรร. กันและกัน จึงขออนุญาตนำประสบการณ์ในห้องเรียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมด้วยช่วยกันครับ จากประสบการณ์ของผมในการประยุกต์ใช้จิตตปัญญาศึกษาและการนำ Dialogue มาใช้ในห้องเรียน ซึ่งผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารและว่าที่ผู้บริหาร (ป.โท สาขาการบริหารการศึกษา) ซึ่งมีประสบการและความรู้ฝังลึก(Tacit K.) ในตัวมาก เครื่องมือ Dialogue เป็นเครื่องมือสำคัญในการถอดความรู้ผู้เรียนออกมา ลปรร. กันและกัน มีข้อค้นพบที่เล็ก ๆ น่าสนใจ คือ

    • มิติของผู้เรียน : ในแต่ละกลุ่มจะประสบความสำเร็จต่างกัน ทั้งนี้เพระบริบทแวดล้อมต่างกัน (ผู้เรียนกลุ่มที่มี"พระ" เรียนด้วย ส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จสูงกว่า)
    • มิติของผู้สอน (ผมเอง) : ในการสอนแต่ละครั้งผมก็ถูกพัฒนาทักษะการฟังและการเรียนรู้ของตนเองไปด้วย ห้องหลัง ๆ จะ"เนียน" และประสบความสำเร็จสูงกว่าห้องแรก ๆ ครับ

    ขอบคุณครับ

     

    สวัสดีค่ะ อ.small man

    บันทึกนี้เด็ดดวงมาก... ยิ่งอ่านที่คุณ small man ตอบความคิดเห็น ยิ่งชัดเจน..

    ทำให้ต้องทบทวนตัวเอง..

    วันก่อนอยู่ในการอบรมหนึ่ง ได้แลกเปลี่ยนความคิดกับท่านที่มีตำแหน่งสูง รู้สึกได้ถึงความไม่ยอมรับในสิ่งที่เราพูด ก็เข้าใจเขา... ลองทบทวนตัวเรา เราคุยกับเขาแบบ I in it นั่นเอง และภายหลังเขายอมรับว่า เขาติดในหมวกที่เขาสวม จึงรู้สึกไม่สามารถยอมรับเสียงสะท้อนจากคนที่เป็นเด็กกว่า

    รู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่จะเปิดใจคนมีตำแหน่งสูง ๆ แต่อันดับแรกเราก็ต้องเิปิดใจตัวเองก่อนนั่นแหละดีที่สุด

    ขอบคุณบันทึกนี้มาก ๆ ค่ะ...^__^... 

    Pคุณใบไม้ย้อนแสงครับ

        ผมประทับใจตรงนี้ครับ

        ภายหลังเขายอมรับว่า เขาติดในหมวกที่เขาสวม จึงรู้สึกไม่สามารถยอมรับเสียงสะท้อนจากคนที่เป็นเด็กกว่า   

         (ผมว่าผู้บริหารท่านก็น่ารักนะครับ ถ้าท่านยอมรับและพูดออกมาแบบนี้)

         ครับ ก่อนที่จะเปิดใจคนอื่น หรือ จะให้ผู้บริหารเปิดใจ เราคงต้องเปิดใจตัวเองก่อนครับ

                    ขอบคุณครับ

    Pอาจารย์ภูฟ้าครับ

     

    *    เครื่องมือ Dialogue เป็นเครื่องมือสำคัญในการถอดความรู้ผู้เรียนออกมา ลปรร. กันและกัน 

         ( ผมเคยเข้ารับการอบรมประเภท KM  ไม่มี Dialouge  ผลออกมาล้มเหลวครับ  และแทบที่จะเรียกได้ว่า เป็นความล้มเหลวทางการศึกษาเลยละครับ)

    *   มิติของผู้เรียน : ในแต่ละกลุ่มจะประสบความสำเร็จต่างกัน ทั้งนี้เพระบริบทแวดล้อมต่างกัน (ผู้เรียนกลุ่มที่มี"พระ" เรียนด้วย ส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จสูงกว่า)

         (ในวงDialouge ผมเข้ามาหลายวงครับ  ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละวงจริงๆครับ  บางวงก็มีการเกทับกัน  มีการเหมือนกับไม่ฟังกัน)

    *   มิติของผู้สอน (ผมเอง) : ในการสอนแต่ละครั้งผมก็ถูกพัฒนาทักษะการฟังและการเรียนรู้ของตนเองไปด้วย

          (ผมเองก็พัฒนาการฟังของผมไปด้วย   ตอนนี้ กำลังฝึกฟังความรู้สึกอยู่ครับ)

                            ขอบคุณอาจารย์มากครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท