เวทีครอบครัวสุขภาวะ : เปิดใจอย่างมีพลัง ฟังด้วยใจ แก้ไขความขัดแย้ง


แนวคิดหลักในการจัดทำเวทีครอบครัวสุขภาวะ

          บันทึกนี้ขอเสนอแนวคิดหลักเกี่ยวกับการจัด "เวทีครอบครัวสุขภาวะในโรงเรียน"   มีแนวคิดหลักที่สำคัญๆ อยู่สามเรื่อง คือ

 

       เปิดใจอย่างมีพลัง     ฟังด้วยใจ     แก้ไขความขัดแย้ง  

 

     ขอเล่าเรื่องประกอบภาพจากเวทีจริงที่โรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม เมื่อวันที่ ๖  ธันวาคม ที่ผ่านมา  ครับ

 

                                      เปิดใจอย่างมีพลัง

 

 

           กระบวนการนี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งวันครับ(บางคนมองว่าเป็นเรื่องเสียเวลาและไร้สาระ)   ต้องสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง  ให้เกิดความรักความอบอุ่น     โดยค่อยๆจัดกระบวนการไต่ระดับความรู้สึกไปเรื่อยๆ ให้ไปสู่พื้นที่ที่ปลอดภัย และ พื้นที่แห่งความไว้วางใจ

 

 

            เมื่อปลอดภัย    นักเรียนที่เป็นฝ่ายลูก  จะได้เปิดใจอย่างมีพลังครับ

 

 

 

       ฝ่ายคุณพ่อคุณแม่ก็จะได้เปิดใจอย่างมีพลัง ด้วยบรรยากาศแห่งความไว้วางใจ

 

 

                              

                             เปิดใจอย่างมีพลังด้วยการนำเสนอครับ

 

 

                                           ฟังด้วยใจ

 

 

                กระบวนการนี้สำคัญมากครับ  จะต้องมี "กระบวนกร" (วิทยากรกระบวนการ)  ที่มีความสามารถในการ "ฟังอย่างลึกซึ้ง"  ฟังให้ถึง I   in now 

 

               (ในภาพ  กระบวนกร นั่งกลางหันหลัง  ตั้งใจรับฟังปัญหาของแต่ละฝ่าย   ฝ่ายลูกนั่งขวามือ  ฝ่ายพ่อแม่ นั่งซ้ายมือ  ผอ.โรงเรียนเป็นสักขีพยานนั่งหันหลังขวาสุด)

 

 

       แก้ไขความขัดแย้ง

 

 

                 จุดสำคัญที่สุดของเวที คือ การแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างพ่อแม่ และ ลูก  "กระบวนกร"  ต้องมีความสามารถในการเป็น "คนกลาง"  ยุติความขัดแย้งโดยสันติวิธี   เพื่อให้ทุกปัญหาได้รับการคลี่คลาย ด้วยความรักความเข้าใจ  โดยไม่เข้าไปก้าวก่ายการแก้ปัญหา  ปล่อยให้ครอบครัวแก้ไขปัญหากันเอง  กระบวนกรจะมีหน้าที่สำคัญ คือ "ฟัง"  และ "ใช้คำถาม"

 

                จากการติดตามผลของการทำเวทีครอบครัวสุขภาวะดังกล่าว

 

                 1. ผู้ปกครองบอกว่าน่าจะจัดเทอมละครั้ง  เป็นกิจกรรมที่เข้ามาร่วมแล้วรู้สึกดีและมีความสุข จากการได้มาพูดคุยกัน  มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน   จะไม่ชอบกิจกรรมในลักษณะที่ว่า "ประชุมผู้ปกครอง" ที่ต้องมารับฟังอย่างเดียว

 

                2. นักเรียนหลายคน มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด

               

หมายเลขบันทึก: 319029เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2009 08:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • เอ ท่าน อาจารย์ แล้วประเทศ ไท..... เป็นครอบครัวกัยใหมนี่
  • "ทำไมเราไม่ฟังกันนิ" ...

 ได้แต่ รอ..รอ...รอ....

ฟังด้วยใจ ต้องใช้ความรักเป็นพื้นฐานค่ะ

ความรักเป็นพลังสำหรับการสร้างครอบครัวที่ดีค่ะ

ครอบครัวก็เป็นรากฐานที่พ่อแม่ต้องสร้างให้ลูกค่ะ

สวัสดีค่ะท่านรองฯ

ฟังด้วยใจ  แก้ไขความขัดแย้ง

นำไปปรับใช้ได้จริงทั้งการทำงานและในชีวิตเลยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

Pอาจารย์jjครับ

   ผมว่าถ้า "ฟัง" กันบ้าง ก็น้าจะค่อยๆดีขึ้นนะครับ

     ขอบคุณภาพเคลื่อนไหวสวยๆครับ

Pคุณbeger0123ครับ

   ชอบตรงนี้มากครับ

    " ฟังด้วยใจ ต้องใช้ความรักเป็นพื้นฐาน"

             ขอยืมนำไปใช้นะครับ

                        ขอบคุณครับ

Pคุณชาดาครับ

   ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเสริมเติมเต็ม

สวัสดีคะท่าน  small man

มาอ่านด้วยใจค่ะ ^_^

เปิดใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับฟัง ด้วยใจ...

ขอบคุณมากค่ะ^_^

 

Pคุณเทียนน้อยครับ

      ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยมชม

ตามเข้ามาอ่าน และ อยากจะสรรเสริญ ดีใจมากที่เห็นโครงการลักษณะนี้จัดขึ้นกับเยาวชนระดับโรงเรียน

ดีใจขึ้นไปอีกเมื่ออ่านพบว่า นักเรียนหลายคนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากการร่วมกิจกรรมนี้

ขอบคุณครับ เห็นความดีความสำเร็จเบ่งบาน แล้วมีกำลังใจขึ้นเยอะ

ขอบคุณจริงๆ

Pขอบคุณคุณบีเวอร์ครับที่มาชมและมาให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท