เสียงเพรียกแห่งชีวิต : บทที่ 2 เป็นตัวของตัวเอง


ภารกิจแห่งชีวิค

         ตอนนี้เสนอเสียงเพรียกแห่งชีวิต  บทที่ 2  เป็นตัวของตัวเอง

 

 

          มานำเสนอในวันรัฐธรรมนูญ  ให้เข้ากับบรรยากาศของประชาธิปไตย

 

        นั่นคือ  ประชาธิปไตย  ต้องเป็นตัวของตัวเอง

 

          ผมขอหยิบยกบทความมาเลยนะครับ

 

          ภารกิจแห่งชีวิต  ไม่ได้มาจากเสียง "ภายนอก" ซึ่งเรียกร้องให้ผมเป็นคนที่ตัวเองไม่ใช่  แต่มาจากเสียง "ภายใน" ที่ส่งเสียงเรียกให้ผมเป็นบุคคลอย่างที่ตัวเองเกิดมาเป็น ให้มีชีวิตอยู่เพื่อเติมเต็มแก่ตัวตนดั้งเดิม  ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าประทานมาตั้งแต่แรก

 

       เราเกิดมาพร้อมกับของขวัญที่ได้รับมาแต่แรกเกิด  แต่เรากลับใช้เวลาครึ่งแรกของชีวิตเพื่อที่จะละทิ้งมัน  หรือ ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ของขวัญนี้ในทางที่ผิดกับเรา

 

      บ่อยครั้ง เราเองเป็นผู้ทรยศต่อตัวตนที่แท้จริง  เพียงเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น

 

      ไม่มีการลงโทษใด จะเลวร้ายไปกว่าการลงโทษต่อตนเอง โดยการทำให้ส่วนหนึ่งของความเป็นตัวตนของเขาไม่เหลืออยู่อีกต่อไป

 

      สาระสำคัญของบทที่ 2  ผมคัดเลือกมาเฉพาะตอนที่สำคัญๆ  ที่พอให้มองภาพออกว่าผู้เขียนต้องการสื่ออะไรออกมา

 

      สำหรับผมก็จะขอสรุปปิดท้าย เนื่องในโอกาสวันรัฐธรรมนูญ   ขอหยิบเอาบทสรุปที่ผมเขียนไว้ในที่หนึ่ง  เมื่อเช้านี้เองครับ  ผมสรุปว่า

 

     แก่นแท้ของประชาธิปไตย อยู่ที่คุณภาพของการรับฟังเสียงภายในที่อย ู่ในตัวเราจากเด็กน้อยเปราะบาง (Vulnerable child)

 

 

หมายเลขบันทึก: 412984เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2010 05:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ว้าว ชอบบทปิดท้ายค่ะท่านรองฯ ทำตาม เสียงภายใน ของใครแต่ละคน ก่อเกิดความมั่นใจ ภาคภูมิของปัจเจก เป็น ธรรมนูญใจ ขยายไปให้มั่นคง ธรรมนูญรัฐ ขอบพระคุณค่ะ :)

อรุณสวัสดิ์ค่ะ ท่านรอง

ไม่มีการลงโทษใด จะเลวร้ายไปกว่าการลงโทษต่อตนเอง โดยการทำให้ส่วนหนึ่งของความเป็นตัวตนของเขาไม่เหลืออยู่อีกต่อไป

  • บางครั้งเราก็ลงโทษตัวเอง โดยที่เราไม่รู้ตัว 
  • พอรู้ตัวเมื่อไหร่ คิดทบทวนดู ก็จะรู้ว่า "ไม่มีใครสามารถลงโทษเราได้ เท่ากับใจของเราเอง"  เพราะใจเราคิดไปเอง
  • ขอบพระคุณข้อคิดดี ๆ ยามเช้าค่ะ

ประชาธิปไตยเสียงข้างมาก ต้องรับฟังเสียงข้างน้อยด้วย

"การป้องกันประเทศให้พ้นภัยคุกคามคือ ทหาร

การป้องกันหมู่บ้านให้พ้นภัยคุกคามคือ นักจัดการชุมชน

การป้องกันครอบครัวให้พ้นจากภัยคุกคามของครอบครัว คือตัวพ่อแม่

และการป้องภัยตัวเองให้พ้นจากภัยคุกคาม คือใจเราเอง

เห็นด้วยอย่างแรงครับ

และภาพประกอบสวยงามมากครับ

คนที่แสดงออกซึ่งตัวตนของตัวเองมากที่สุดนั่นแหละคือ...คนที่มองเห็นคุณค่าภายในของตัวเรา

เรามองไม่เห็นตัวเราแล้วจะให้ใครมามองเห็นใช่ไหมคะ...

Ico32คุณPoo ครับ

  ครับ  จาก  เสียงภายใน   ไปสู่   ธรรมนูญใจ ขยายไป   ธรรมนูญรัฐ

                     สุดยอดเลยครับ

                            ขอบคุณครับ

   

Ico32คุณอิงจันทร์ครับ

  ไม่มีใครสามารถลงโทษเราได้ เท่ากับใจของเราเอง

             ครับ  ขอบคุณมากครับ

   

Ico32คุณวอญ่าครับ

   ตรงนี้ดีมากเลยครับ

การป้องภัยตัวเองให้พ้นจากภัยคุกคาม คือใจเราเอง

                         ขอบคุณครับ

 

Ico32คุณศุภรักษ์ครับ

  ขอบคุณมากครับสำหรับการเข้ามาเยี่ยมชม

Ico32Krugui ครับ

  ครับ เป็นเรื่องของการมองเห็นคุณค่าในตัวเอง ที่มาจากเสียงภายในครับ

                      ขอบคุณครับ

สวัสดีครับท่านรองฯ

ขออนุญาตแลกเปลี่ยนครับ ประชาธิปไตย ถ้าเป็นการการรับฟังเสียงภายใน น่าจะเป็นการเปิดใจรับฟัง/ยอมรับเสียงจากภายนอกด้วยเช่นกัน เป็นระบบถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน Check & Balance.

ขอบคุณครับท่าน

Ico32คุณบินหลาดงครับ

    ประชาธิปไตยที่แท้จริง ต้องเริ่มจาก "ในใจ" ก่อนครับ  ยอมรับเสียงภายในให้ได้ ยอมฟังเสียงภายในให้ได้เสียก่อน  เพื่อยืนยันความเป็นตัวตนของตัวเองอย่างแท้จริง ทีเรียกว่า "อัตลักษณ์"  แห่งตน    แล้วจึงค่อยไปฟังเสียงภายนอกครับ   ดูว่าเสียงภายนอกนั้น สอดคล้องกับตัวเราหรือไม่

     ถ้าไม่ฟังเสียงภายในของเรา  เราก็จะไม่มีความเป็นตัวตน  เราก็จะคล้อยตามคนอื่น  เสียงส่วนใหญ่ว่าอย่างไรก็เอาตามเขา  หรือ คนใหนดูอาวุโส  ดูมีอำนาจ เราก็คล้อยตามเขาไป  เพราะเราไม่มีตัวตน

     การที่ฟังเสียงภายใน เพื่อแสดงตัวตน กล้าเป็นตัวของตัวเองอย่างมั่นใจ แต่ไม่ใช่หมายถึง ไม่ฟังใคร ไม่ฟังเสียงภายนอก   เพียงแต่ ให้เสียงภายในของตัวเองให้มีบทบาทอย่างแท้จริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท