แผนที่ลมล่าสุดโดย JGSEE


...ผลการศึกษาแผนที่ของธนาคารโลกนั้นมีความถูกต้องสูง แต่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงผลการศึกษายังแตกต่างกันกับ JGSEE

จาก ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศคู่ด้านศักยภาพพลังงานลมของประเทศไทย , บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, http://complabbkt.jgsee.kmutt.ac.th/wind_proj/, accessed May 25th ,2010.

ในปี 2552 เกษมสันต์และคณะ,JGSEE[*] ได้ศึกษาศักยภาพพลังงานลมในประเทศไทยด้วยเทคนิค mesomapping เพื่อจัดทำ meso wind map โดยใช้ซอฟต์แวร์ MM5 ได้ผลการศึกษาดังแสดงในรูป

จากผลการศึกษาต่าง ๆ พิสูจน์ได้ชัดเจนว่า ผลการศึกษาของธนาคารโลกในรูปแผนที่ศักยภาพพลังงานลมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีความถูกต้องสูง ยกเว้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงที่ผลการศึกษายังแตกต่างกันกับ JGSEE สำหรับแผนที่ส่วนที่เหมือนกันได้แก่แนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ตั้งแต่จังหวัดชัยภูมิต่อเนื่องลงมาทางใต้ถึงปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ดังแสดงในรูปข้างล่าง

 

อย่างไรก็ตามการศึกษาทั้งของธนาคารโลก และ JGSEE เป็นแผนที่ภาพรวมราย ละเอียดปานกลาง (mesomap) ที่มีขนาดกริด 1 กิโลเมตร ที่ใช้สำหรับการมองภาพรวมว่าพื้นที่บริเวณใดน่าสนใจ ก่อนเข้าไปทำการศึกษาจัดทำแผนที่โดยละเอียดขึ้นด้วยเทคนิค micrositing ที่มีรายละเอียดขนาดกริด 20-50 เมตร เพื่อใช้สำหรับการจัดทำรูปแบบและหาพิกัดตำแหน่งที่เหมาะสมของกังหันลมแต่ละตัวในไร่กังหันลมต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #wind map#พลังงานลม
หมายเลขบันทึก: 363391เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2010 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณที่มีภาพให้ดูครับ ไม่ทราบว่ากระทรวงพลังงานเอาไปใช้ทำอะไรบ้างครับ หรือบอกว่าใช้น้ำมันกับนิวเคลียร์ ดีที่สุด อย่าเปลืองเลยดีกว่า

กระทรวงพลังงานก็นำไปใช้ในการวางแผนครับ ลองติดตามดูที่ ลิงค์

"โครงการโรงไฟฟ้ากังหันลมแห่งแรกของประเทศไทย" เมื่อ 3 ส.ค. 53 ความตอนหนึ่งว่า

 "..........โดยการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อมอบหมายให้ จีอี เป็นผู้จัดหากังหันลมที่มีกำลังผลิต 2.5 เมกะวัตต์ จำนวน 36 ตัว มาติดตั้งที่โรงไฟฟ้ากังหันลม “เทพสถิต วินด์ ฟาร์ม” ในจังหวัดชัยภูมิ ขณะเดียวกันนี้ จีอี กำลังศึกษาความเป็นไปได้ เกี่ยวกับการลงทุนด้วยหุ้นในโครงการดังกล่าว ทั้งนี้นับเป็นโครงการโรงไฟฟ้ากังหันลมแห่งแรกของประเทศไทย สำหรับทั้ง โปร เวนทุม และ จีอี ซึ่งเมื่อเปิดดำเนินการอาจกล่าวได้ว่า โครงการนี้เป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้ากังหันลมที่มีกำลังการผลิตมากที่สุดในประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน........"

ถ้าสังเกตภาพขยายรูปที่สอง จะเห็นกรอบเขื่อนลำตะคองเหนืออักษร Mapabc.com นั้นผ่านการยืนยันจากข้อมูลการติดตั้งกังหันลมขนาด 2x 1.25 MW ของ กฟผ. ว่ามีลมดีจริง ๆ Ico48 รูปนี้ผู้เขียนไปยืนตรวจวัดลมที่ลำตะคองเมื่อหลายปีก่อนครับ

อนึ่งถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นว่าในบริเวณอ่าวไทย จะมีศักยภาพพลังงานลมดีกว่ามาก (สีส้ม) ซึ่งจะสอดคล้องกับการศึกษาของธนาคารโลก (เปิดปูมแผนที่ลมธนาคารโลก ภาค ๒ ในอ่าวไทย) ซึ่งตามความเห็นส่วนตัวแผนที่ลมด้านบนของ JGSEE (โดยคณะ ดร.เกษมสันต์) ยังต้องปรับแก้แบบจำลองส่วนในทะเลอีกเล็กน้อย เพราะเข้าใจว่าจะให้ค่าสูงเกินจริงไปบ้าง ...ซึ่งก็ต้องตรวจวัดจริงอีกครั้ง ก่อนทำโครงการไร่กังหันลมในอ่าวไทยต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท