แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

เข้าใจ "อีศวร" ในแง่มุมต่างๆ ตามแนวคิดของปตัญชลี (๔/๕)



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

บันทึก -(๑/๕)- ;  -(๒/๕)-  ;  -(๓/๕)-



เข้าใจ "อีศวร" ในแง่มุมต่างๆ

ตามแนวคิดของปตัญชลี
(๔/๕)

 

วีระพงษ์ ไกรวิทย์ (ครูโต้)
และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี (ครูจิ)

แปลและเรียบเรียง
คอลัมน์ ; ตำราโยคะดั้งเดิม
โยคะสารัตถะ ตุลาคม ๒๕๕๒

 

มีการกล่าวว่า "โอม" ประกอบด้วยเสียงหรืออักษรพื้นฐาน ๓ อย่าง ได้แก่ อะ อุ มะ ตัวแรกของทั้ง ๓ คือ "อะ" เป็นอักษรตัวแรกของตัวอักษรเทวนาครี ทั้งของภาษาสันสกฤตและส่วนใหญ่ของภาษาอินเดียทั้งหลาย อักษรตัวแรกของภาษาอื่นๆ เกือบทุกภาษาก็เป็นตัวที่มีเสียงแทนด้วยอักษร "อะ" เช่น อัลฟ่าของกรีก อเล็พห์ของฟินีเชียและฮีบรู อลิฟของภาษาตะวันออกกลางทั้งหลาย และ"เอ"ของภาษายุโรปส่วนใหญ่ทั้งหลาย นี่ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องธรรมชาติ หากเราพยายามสร้างเสียงจากคอหอยโดยปราศจากการใช้แรงมากหรือทำให้ช่องปากบิดเบี้ยวไป จะได้รูปแบบที่ชัดเจนอย่างหนึ่งที่มีคุณค่าแทนเป็นตัวอักษร จากนั้นเสียงที่เป็นไปได้ต่างๆที่เกิดขึ้นก็จะเป็นเสียงที่มาจากตัวอักษร "อะ"

เป็นที่น่าสังเกตว่าลำดับของตัวอักษรสันสกฤตได้รับการจัดเรียงกันอย่างเป็นระบบบนพื้นฐานของกฎธรรมชาติบางอย่าง อักษรชุดแรก(อย่างคร่าวๆประมาณ ๙ ถึง ๑๔ ตัวอักษร) ของอักษรเทวนาครีคือ สระ ในทางหนึ่งอักษรเหล่านี้ถือว่าเป็นการผันของเสียงแรกและสระ "อะ" โดยมีการบังคับหรือการทำให้ผิดรูปออกไปของช่องปากและอวัยวะที่ต่างกันของมัน ต่อมาก็พยัญชนะซึ่งก็สร้างเสียงด้วยการบังคับของอวัยวะในช่องปากเช่นเดียวกัน โดยผ่านทางสัมผัสของลิ้นไปที่ส่วนต่างๆ ของช่องปาก พยัญชนะเหล่านี้ถูกจัดเป็นกลุ่มละ ๕ ตัวอักษรตามเสียงที่สร้างขึ้นโดยการสัมผัสลิ้นไปยังพื้นที่เฉพาะในช่องปาก อักษรพยัญชนะ ๕ ตัวในกลุ่มแรกเป็นกลุ่มเสียงที่เกิดจากการเอาโคนลิ้นดันเพดานปากแล้วเสียงเกิดที่คอ เรียกว่า กัณฐยะ (คอ) เพราะเสียงถูกสร้างขึ้นในคอ อักษรห้าตัวในกลุ่มถัดไปเรียกว่า ตาลวยะ (เพดานปาก) เสียงถูกสร้างขึ้นด้วยการกดลิ้นไปที่ส่วนหลังของเพดานปากด้านบน กลุ่มที่สามคือ มูรธันยะ (สมอง) เสียงถูกสร้างขึ้นโดยลิ้นไปสัมผัสที่ส่วนกลางของเพดานปากด้านบน ถัดไปคือ ทันตยะ (ฟัน) เสียงกลุ่มนี้สร้างขึ้นจากลิ้นไปสัมผัสบนฟัน และกลุ่มสุดท้ายซึ่งลิ้นไม่ได้สัมผัสที่ใดดังนั้นเสียงจึงถูกสร้างขึ้นจากการสัมผัสกันของริมฝีปากทั้งสองจึงเรียกว่า โอษฐยะ (ริมฝีปาก) อักษรตัวสุดท้ายของกลุ่มนี้คือ ม หรือ มะ มีความพิเศษกว่าตัวอักษรอื่นอีก 4 ตัวในกลุ่มคือแม้ว่าจะปิดปากโดยริมฝีปากติดกันแล้วเสียงยังสามารถมีต่อเนื่องไปตามความยาวของลมหายใจของบุคคล อาจกล่าวได้ว่า "ม" เป็นอักษรตัวสุดท้ายในกลุ่มของตัวอักษรที่มีฐานเกิดอย่างเป็นระบบในแง่ทั้งเชิงสัญลักษณ์และเชิงปฏิบัติเนื่องจาก ๑) การสร้างเสียงหรืออักษรต่อไปจะทำไม่ได้ในขณะที่ปิดปาก และ ๒) อักษรตัวอื่นๆ ที่ตามมาก็เกิดขึ้นโดยเบี่ยงเบนไปจากวิธีการเกิดอักษรตัวแรกๆ เช่น ตัวอักษร "ย" การทอนเสียงสระเช่น เสียง "อิ" หรือการเกิดอักษรโดยไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนแน่นอน เช่นการขยายกลุ่มตัวอักษรในเสียงเบียดแทรกอย่างเสียงของตัว "ส"(ได้แก่ ษ ศ และ ส) ดังนั้นเราอาจกล่าวว่า "อะ" คืออักษรตัวแรก และ "มะ" คืออักษรตัวสุดท้ายตามลำดับอักษรของภาษาสันสกฤต และอาจกล่าวกว้างๆ ได้ว่า เสียงของอักษรของทุกๆ ภาษาในโลกได้รวมอยู่ในอักษรของภาษาสันสกฤตทั้งหมดแล้ว 

 

อ่านต่อ (๕/๕)


    
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 431960เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2011 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท