การวิจัยในชั้นเรียน(Action Research:1)


ผู้เขียนได้เขียนเรื่องการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อใช้อบรมครูเมื่อ 2 ปีที่แล้วเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำมาเผยแพร่ทีละตอน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ครู-อาจารย์และผู้ที่สนใจในด้านการศึกษา

จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช  2542    หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 24    การจัดกระบวนการเรียนรู้            ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้

( 5 )  ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอน  สามารถจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้  รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ มาตรา 30 ให้สถานศึกษา พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ  รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา

ประเวศ วะสี ( ชัยพจน์ 2544 :  คำนิยม ) กล่าวว่าการจะทำอะไรให้สำเร็จจะต้องมีการวิจัยเป็นองค์ประกอบ คือวิจัยสร้างความรู้ในสิ่งที่ทำว่าสำเร็จหรือไม่ สำเร็จในส่วนใดและเพราะเหตุใด แล้วนำความรู้ที่ได้มา ปรับปรุงงานนั้น ให้ดียิ่งขึ้น ที่เป็นวงจรคือ ลงมือทำ วิจัยสิ่งที่ทำ แล้วนำผลการวิจัยมาปรับปรุงสิ่งที่ทำ เรื่องที่ทำจะดีขึ้นเรื่อยๆ การศึกษาของเราอ่อนแอเพราะไปแยกการศึกษาและการวิจัยออกจากกัน ที่แท้จริงการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา  ถ้านำเรื่องการศึกษาและการวิจัยมาเป็นกระบวนการเดียวกันได้เมื่อไร  การศึกษาของเราก็จะเข้มแข็งและเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น   ขณะมีความสนใจที่จะมีการวิจัยการเรียนการสอนมากขึ้น ดังที่เรียกว่า การวิจัยในชั้นเรียน  เรามีห้องเรียนเป็นแสนห้อง  ถ้าทุกห้องเรียนมีการวิจัย  เราก็จะมีการสร้างความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้เต็มประเทศ  อันจะเป็นปัจจัยสำคัญให้ประเทศของเราเข้มแข็งทางปัญญา ผู้เขียนในฐานะของครูผู้สอนคนหนึ่ง ได้ทำงานวิจัยในชั้นเรียนและเป็นวิทยากร  ผู้เขียนได้เผยแพร่บทความทางวิชาการ  ในวารสารวิชาการ ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน : ทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ครู-อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ  ผู้เขียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆจากครูผู้สอนในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษาได้พบปัญหาจากการทำงานวิจัยในชั้นเรียน  จึงได้ประยุกต์ความรู้และประสบการณ์ต่างๆเพื่อนำมาเขียนหนังสือเล่มนี้  ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นเพื่อนและคู่มือให้แก่ครู เพื่อให้เป็นกำลังใจในการที่จะสามารถทำการวิจัยในชั้นเรียนและเป็นแนวทางพัฒนาสู่การเป็นครูมืออาชีพต่อไป

การวิจัยในชั้นเรียนคืออะไร

ทอร์ด ( Todd 2544 : 17  อ้างใน บราวและโรบินสัน ( Brown : 1994 , Robinson : 1991 ) กล่าวว่า การวิจัยในชั้นเรียนคือการที่ครูเก็บรวบรวมข้อมูลของชั้นเรียนของตนและประเมินวิธีสอนของตนด้วยการทำวิจัย

การวิจัยในชั้นเรียนคือ การวิจัยที่ครูผู้สอนในวิชานั้นๆทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาในชั้นเรียนของตน มีการวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบและนำผลการวิจัยไปพัฒนาการเรียนการสอนของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ใครเป็นผู้ทำวิจัย

ครูผู้สอนในชั้นเรียนนั้นๆเป็นผู้ทำวิจัยเอง       เพราะครูผู้สอนจะรู้ปัญหาการสอนของตนเองและรู้รายละเอียดของนักเรียนเป็นรายบุคคล รู้ว่าใครเก่ง ใครอ่อนวิชาอะไร มีปัญหาด้านการเรียนหรือปัญหาครอบครัวหรือไม่  ครูผู้สอนได้เปรียบนักวิจัยเพราะจะอยู่กับนักเรียนในชั้นเรียนของตนตลอดเวลา    รู้ปัญหาต่างๆของนักเรียนได้ดีกว่านักวิจัย

ทำวิจัยเพื่ออะไร

ทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหา พัฒนาการเรียนการสอนของครูผู้ทำวิจัยเอง เพื่อครูผู้สอนจะได้จัดการเรียนการสอนได้หลากหลายเหมาะสำหรับนักเรียนแต่ละบุคคล   เพื่อให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข  ครูผู้สอนทำวิจัยเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาศักยภาพทางด้านการเรียนได้อย่างสูงสุด

การวิจัยในชั้นเรียนต่างจากวิจัยโดย ทั่วๆไปอย่างไร

การวิจัยในชั้นเรียนครูผู้สอนในวิชานั้นๆเป็นผู้ทำวิจัยเอง เพราะครูผู้สอนอยู่กับนักเรียน รู้ปัญหาต่างๆในชั้นเรียนของตน             ครูผู้สอนอาจนำผลของการวิจัยที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาและวิจัยใช้กับชั้นเรียนของตน ( Research  consumer ) ส่วนการวิจัยโดยทั่วไปเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ( New knowledge )  มีระเบียบและวิธีการวิจัยที่เคร่งครัด

 เพิ่งตอนแรกเอง...อย่าเพิ่งเบื่อนะครับ...คุณครู...

คำสำคัญ (Tags): #knowledge#sharing
หมายเลขบันทึก: 30805เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2006 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ดีมากเลยคะ...คนที่กำลัง review เรื่องนี้สามารถเข้ามาศึกษาได้...เลยคะ แล้วตอนต่อไป...เสนอเมื่อไหร่คะ

ไม่เบื่อหรอกคะ  นิวมองว่ามันคือสิ่งที่เป็น ความรู้ ที่เป็นสาระที่น่าสนใจมาก ๆ คะ และเป็นอีกเรื่องที่นิวสนใจคะ  อยากให้มีบทความแบบนี้ออกมาเยอะ ๆ นะคะ และ รอตอนต่อไปคะ  // (ตอนนี้ไม่ได้หายไปไหนคะ ) แต่กำลัง Literature review อยู่คะ แต่ก็เข้ามาอ่านตลอดคะ  เป็นกำลังใจให้อาจารย์ขจิต เสมอนะคะ...

 

จาก เซลล่ามูนสีชมพู

  • ขอบคุณ Dr.Ka-poom และน้องนิวมากนะครับ เข้ามาให้กำลังอย่างสม่ำเสมอ ช่วงนี้อาจหายไปบางวันเพราะอบรมคุณครูอยู่
  • ขอบคุณด้วยใจจริงครับผม

krutoiกำลังมองหา AR โชคดีจังสอนหนังสือเหนื่อยมา 5 วัน อาจเป็นเพราะฝนตกหนัที่มหาชัย นำท่วมห้องเรียนแถมฝนตกหลังคาโรงเรียนก็รั่ว นักเรียนก็ป่วยเป็นไข้หวัดขาดเรียนกันเป็นแถว เบื่อๆก็อยากหาวิธีแก้ปัญหาเรื่องทัศนคติของนักเรียนต่อการเรียนภาษาอังกฤษในชั้นเรียน

ขอบคุณคะที่นำสิ่งดีๆมาให้รู้คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท