การวิจัยในชั้นเรียน(Action Research:3)


รูปแบบของการวิจัยในชั้นเรียนและกระบวนการวิจัยปฏิบัติการเป็นสิ่งสำคัญกับครูเพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอน
  รูปแบบของการวิจัยในชั้นเรียน
จากรูปแบบของการวิจัยในชั้นเรียน  ผู้เขียนขอนำเสนอรูปแบบการวิจัยในชั้นเรียนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  2542  ดังนี้

1. กระบวนการเรียนรู้
2. กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ

 1. กระบวนการเรียนรู้
  1.  การวางแผนจัดการเรียนรู้  (  Plan  )
ครูผู้สอนวางแผนจัดการเรียนรู้โดยการศึกษาและการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวกับการเรียนรู้โดยศึกษาและวางแผนดังนี้
 1.วางแผนจัดการศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล  (  Learning  Individual  )  และเป็นกลุ่ม  โดยจัดการเรียนรู้ในด้านพื้นฐานความรู้และรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน  (Learning  Style )
 2.วางแผนเชื่อมโยงมาตรฐานหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ตามมาตรฐานช่วงชั้นวิชา
 3.กำหนดสาระ  และมาตรฐานการเรียนรู้รายปี  และรายภาคตามสภาพปัญหาของแต่ละท้องถิ่น
 4.กำหนดเป้าหมาย  (  Goal  )  และวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความถนัดความสนใจของผู้เรียนและให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน
 2.  การจัดกิจกรรมการเรียน  (  Do  )
ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้  โดยดำเนินการดังนี้
 1.นำกิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนการเรียนรู้มาปฏิบัติจริงโดยครูผู้สอนใช้วิธีการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (  Student  -  Centered  )
 2.ทำการวิจัยในชั้นเรียน  (  Action  research  )  ตามแผนที่วางไว้โดยประเมินผลการเรียนรู้และรวบรวมข้อมูลต่างๆด้วยวิธีการที่หลากหลายและประเมินตามสภาพจริง  (Authentic Assessment  )  เช่น  การสังเกต  การตรวจสอบผลงาน  การบันทึกพฤติกรรม เป็นต้น
 3. การประเมินผลการเรียนรู้  (  Check  )
ครูผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ดังนี้
 1.ประเมินผลการเรียนตามแผนที่ได้วางไว้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
 2. ประเมินการเรียนรู้จากสภาพจริง(Authentic 
Assessment  )   เช่น ประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงานเป็นต้น  นอกจากนี้ต้องประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้รายภาคที่กำหนดไว้ในขั้นวางแผนด้วย
 4.  การนำผลการประเมินมาปรับปรุง  (  Act  )
ครูผู้สอนนำผลการประเมินมาปรับปรุงได้ดังนี้
 1. ครูผู้สอน  ผู้บริหาร  และผู้เกี่ยวข้องนำผลการประเมินมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
 2. ครูผู้สอนนำผลการประเมินมาปรับปรุงนักเรียนแต่ละคน  เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เกิดผลสูงสุด
  สรุปว่ากระบวนการเรียนรู้ประกอบไปด้วยการวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan)การจัดกิจกรรมการเรียนรู้  (Do)  การประเมินผลการเรียนรู้  (Check) และการนำผลการประเมินมาปรับปรุง  ( Act )  กระบวนการเรียนรู้ทั้ง  4  ขั้นตอนเมื่อสิ้นสุดลงแล้วได้ผลยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ครูผู้สอนสามารถเริ่มกระบวนการเรียนรู้ในขั้นวางแผนการจัดการเรียนรู้ใหม่จนครบ  4  ขั้นตอน เมื่อได้ผลเป็นที่น่าพอใจก็สามารถหยุดได้
  2. กระบวนการวิจัยปฏิบัติการมีรูปแบบดังนี้

 1. ขั้นการวางแผน  (  Plan  )  ครูผู้สอนวางแผนว่าจะทำวิจัยในชั้นเรียนหัวข้อใด  ใช้เครื่องมืออะไรเก็บรวบรวมข้อมูลใช้สถิติแบบใด  ในการทำวิจัยในชั้นเรียนครูผู้สอนอาจตั้งคำถามว่าใคร  (Who)  ทำอะไร  (What)  ที่ไหน  (Where) เมื่อไร( When )  และอย่างไร  (  How  )  การวางแผนต้องชัดเจน รัดกุม และสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม
 2. ขั้นการกระทำ หรือจัดกิจกรรม  (  Act  )  ครูผู้สอนทำการวิจัยตามแผนที่ได้วางไว้อย่างเป็นระบบ ในขั้นกระทำนี้ครูผู้สอนอาจใช้เครื่องมือที่คาดว่าจะแก้ปัญหาในชั้นเรียนของตนได้มาแก้ปัญหาโดยได้วางแผนในขั้นของการวางแผนมาดำเนินการในขั้นกระทำนี้  ครูผู้วิจัยต้องดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน  เช่น  ควรทำการทดสอบก่อนเรียน  (  Pre  -  test )  จัดกิจกรรมหรือดำเนินการสอนและทำการทดสอบหลังการเรียน(Post-test)
 3. ขั้นการสังเกต  (  Observe  )  ครูผู้สอนบันทึกผลการสอนหรือสังเกตปฏิกิริยาของผู้เรียน  อาจใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกวีดิทัศน์หรือเทปบันทึกเสียงก็ได้  ในขั้นการสังเกต  ครูผู้สอนอาจใช้แบบสังเกตหรือการบันทึกข้อมูล  การรวบรวมข้อมูลต้องทำอย่างเป็นระบบเพื่อให้ครูผู้สอนได้มีข้อมูลต่างๆที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนให้มากที่สุด
 4.  ขั้นการสะท้อนผล  (  Reflect  )      ครูผู้ทำวิจัยดูผลการวิจัยว่าเป็นอย่างไรมีผลต่อชั้นเรียนและนักเรียนอย่างไร  สามารถแก้ปัญหาในชั้นเรียนของตนได้หรือไม่  ถ้าได้เกิดผลดีอย่างไร  ถ้าไม่ได้มีข้อมูลบกพร่องตรงไหน  ถ้าครูผู้สอนพอใจในผลที่เกิดขึ้นก็หยุดทำการวิจัย  แต่ถ้าไม่พอใจก็สามารถทำวิจัยต่อไปจนกระทั่งได้ผลเป็นที่พอใจ  ในขั้นสะท้อนผล  (  Reflect  )  ครูผู้สอนอาจนำไปเขียนเป็นข้อสรุปการอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ  นอกจากการทำวิจัยในชั้นเรียนของตนได้ผลดีแล้วครูผู้สอนอาจเผยแพร่ผลงานของตนหลังจากที่ทำวิจัยในชั้นเรียนสิ้นสุดลงแล้วเพื่อให้เกิดผลดีแก่ครูผู้สอนอื่นๆ  หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่างๆ
 สรุป    ได้ว่ากระบวนการวิจัยปฏิบัติการประกอบด้วย ขั้นการวางแผน  (Plan)     ขั้นกระทำ (Act)ขั้นการสังเกต  (Observe)  และขั้นสะท้อนผล  (  Reflect  )  งานวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนสามารถสำเร็จลงได้ถ้าครูผู้สอนมีความตั้งใจจริงเพื่อแก้ปัญหาของชั้นเรียนตนและจะเป็นผลดีแก่การพัฒนาครูทางวิชาการให้ครูมีศักยภาพในอาชีพของตนเพื่อไปสู่การเป็นครูมืออาชีพในที่สุด

 เป็นอย่างไรบ้างครับ...อยากได้ข้อมูลย้อนกลับว่าพอจะมีประโยชน์กับคุณครูไหมครับ...ช่วยแจ้งด้วยครับผม...


 
คำสำคัญ (Tags): #แนวคิด
หมายเลขบันทึก: 30922เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006 00:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

จริงๆ แล้ว ข่าวสารเหล่านี้ ก็ดีกับทุกๆท่านนะคะ หากว่ามีการนำเอาไปทดลอง ปฏิบัติกับงานของตน การวจัยที่ไม่ใช่ทำเพื่อ ซี หรือตำแหน่งใดใด แต่เป็นการวิจัยที่ทำให้ชิน ให้เป็นชีวิตประจำวัน คิดและทำอย่างเป็นระบบ มีเหตุมีผล ปรับกระบวนการวิจัย สุ่วิถีชีวิตได้ ก็น่าจะดีไม่น้อย

  • ขอบใจคุณกัลยามากครับ ถ้าเป็นดังที่คุณกัลยาบอกครูและนักเรียนคงมีการพัฒนาด้านการเรียนการสอนมากกว่าปัจจุบันนะครับ

ทำไมตัวหนังสือในบันทึก  ตัวโตจัง

  • เรียนผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
  • เจตนาครับ เรื่องดูน่าเบื่อ เลยใช้ตัวหนังสือใหญ่ๆให้อ่านง่ายครับ

ขอบคุณเนื้อหาดีๆ ที่ได้รับครับ

จะนำไปพัฒนางานวิจัยครับผม

เรียน อ. ขจิต

พวกเรา กศน. สมัครเป็นลูกศิษย์อาจารย์ มานานและขอขอบพระคุณที่อาจารย์กรุณาแบ่งปันความรู้

อยากได้อาจารย์ตัวจริง เสียงจริง มาช่วย กศน. ตรังบ้าง ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ดอกศรีตรังทุกดอก ทุกช่อ ..ในกศน.ตรัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท