เตรียมถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์(1)


 ตอนนี้ผู้เขียนอยู่ที่อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี  วันนี้มีเตรียมการถอดบทเรียนของบ้านน้ำทรัพย์ อำเภอแก่งกระจานของท่าน ผอ.สุนันทา พี่ครูต้อยคงกำลังเดินทางมาร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรมวันนี้ด้วย

    วันนี้เข้าใจว่าจะมีชาวบ้าน ครูกศน.ของอำเภอแก่งกระจาน และผู้เข้าร่วมประชุมจากที่ต่างๆมาเรียนรู้ร่วมกันกับผู้เขียนในเรื่องการจัดการความรู้(Knowledge management)  วันนี้ตั้งใจเป็นวิทยากรกระบวนการ(Facilitator) เพื่อให้ครูกับชาวบ้านของหมู่บ้านน้ำทรัพย์ได้นำเอากระบวนการไปใช้ในการถอดบทเรียนที่หมู่บ้านน้ำทรัพย์

   ผู้เขียนได้เตรียมเอกสาร สำหรับคู่มือการถอดบทเรียนสำหรับวิทยากรกระบวนการไว้ที่นี่ครับ  หน้าปกและคำนำที่นี่

               เอาภาพห้องประชุมก่อนทำกิจกรรมมาให้ดูก่อน ครั้งแรกเป็นห้องแบบมีระเบียบ ผู้เขียนจัดใหม่เป็นแบบนี้

วันที่ 4 สิงหาคม 2553

 

08.00-08.30  -ลงทะเบียน

08.30-09.00  -พิธีเปิด

09.00-10.30  -การถอดบทเรียนคืออะไร

                   -ความสำคัญของการถอดบทเรียน

                   -วงจรการถอดบทเรียน               

10.30-10.45 เบรคเช้า(Morning break)

 

10.45-12.00 -การพัฒนาทีมของวิทยากรกระบวนการ

                   -ความสำคัญของวิทยากรกระบวนการ

                   -บทบาทวิทยากรและการประยุกต์ใช้

                   -การพัฒนาทักษะวิทยากรกระบวนการ

                   -บทบาทวิทยากรกระบวนการในการถอด

                     บทเรียน

12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน(Lunch Time)

 

13.00-14.00 - การดำเนินการถอดบทเรียน

                   - การสร้างบรรยากาศในการถอดบทเรียน

                   - การกำหนดกติกา

                   - การจัดกิจกรรมเสริมพลัง

                   - การนำเข้าสู่ประเด็นในการถอดบทเรียน

                   - การสรุปการถอดบทเรียน

 

14.00-15.30 –เครื่องมือและเทคนิคสำหรับใช้ในการ

                     ถอดบทเรียน

                   - แผนที่ความคิด(Mind mapping)

                   - Word café

                   - การวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ

                     (After Action Review :AAR)

                   - การสะท้อนกลับ (Reflection)

15.30-16.30  -ฝึกปฏิบัติจริงและประเมินผล(Evaluation)

18.00-21.00 น. -กิจกรรมภาคกลางคืน

 

    ตอนนี้ผู้เขียนรอพี่ครูต้อย และรอไปที่อุทยานฯแก่งกระจาน   จะเอาภาพกิจกรรมมาให้ดูนะครับ  ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน…

 

หมายเลขบันทึก: 381319เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2010 07:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (50)

สวัสดีค่ะอาจารย์ ดร.ขจิต ฝอยทอง

เข้ามาอ่านบันทึกแล้วอยากเห็นบรรยากาศของแก่งกระจานในฤดูฝนค่ะ

ฝนตก อากาศเย็น ...รักษาสุขภาพด้วยนะคะอาจารย์

จะเข้ามาติดตามอ่านอีกค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 วาว ท่านพี่ฯค่ะ เมื่อวานเพิ่งทายทักพี่เดี่ยวสุนันทา กะพี่ต้อย  ฝากกอดน้อยๆ ด้วยความคิดถึงอย่างแรงหน่อยค่ะ .. วันนี้เปลี่ยนบรรยากาศอีกแบบ อิ อิ อย่าทำให้ พี่ ลุง ป้า น้า อา เค้าขำขันกัน จนขากรรไกรจะค้างนะคะ ๕ ๕ ไปแก่งฯอีกแล้วจะรอของฝากจากท่าน ฟา ฟ่า ฟ้า ค่ะ ;)

ขอบคุณครู Dala อากาศดีมากครับ

ขอบคุณน้องปู กำลังเอาภาพขึ้นครับ

สำเนาคู่มือถอดฯ ไว้แล้วค่ะ อ่านสารบัญคร่าว ดีจังเลยมีครบเครื่อง ไม่ต้องเติมพริกกะเหรี่ยงเลย ๕ ๕ จับนกได้ ว่างๆ เชิญไปชมค่ะ

   เรียนท่านอาจารย์ขจิต

  •  คุณยายเพิ่งเสร็จภาระกิจออกเดินสายให้ HE.ผู้มารับบริการและทำกิจกรรมออกกำลังกายมาค่ะ ก็เลยแวะพักเหนื่อยก่อนลุยงานต่อ
  • เห็นภาพกิจกรรมที่อาจารย์อบรมแล้วเกิดกิเลสขึ้นมาอย่างยากที่จะระงับค่ะ(อยากได้มากกกกกกกกกกกกกกก) แฮ่ ๆ อาจารย์มีภาพเคลื่อนไหวมั๊ยคะ? ทำบุญทำทานกับคนแก่หน่อยนะ( โอ้โฮ ! นี่เล่นขอกันดื้อๆแบบนี้เลยเหรอครับคุณยาย )เมื่อสัปดาห์ที่แล้วพี่กานดาก็กรุณาส่งหนังสือน้ำมันมะพร้าวไปให้ ดีใจมากๆ ยังไม่ได้ตอบแทนพระคุณเลยค่ะ
  • อากาศที่แก่งกระจานตอนนี้คงเย็นสบายดีเนาะเพราะอยู่ท่ามกลางแมกไม้และสายธาร ยังไงก็ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ คุณยายเป็นห่วงนะ ขอบอก

                    

  •      
  • สวัสดีครับอาจารย์
  • สบายดีหรือเปล่าครับ
  • พวกผมสอบกัน 4 วันติดต่อเลยครับ
  • สวัสดีครับอาจารย์
  • สบายดีหรือเปล่าครับ
  • พวกผมสอบกัน 4 วันติดต่อเลยครับ

น่าสนใจนะค่ะกับการอบรมแบบนี้

ย้ายทำเลไปแล้วหรือครับอาจารย์ขจิต

เหมือนยิบซีทางวิชาการเลยนะนี่

สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

แหม..เข้ามาได้จังหวะพอดีเลยครับอาจารย์...เลยได้ตำราที่อาจารย์แปะเอาไว้ ขออนุญาตนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับนักพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรีนะครับ...

มาดูค่ายกิจกรรม สว.(สวยสมวัย)..มีความสุขทุกท่านนะคะ..มีเมฆฝนหน้าบ้านมาฝากค่ะ..

ขอบคุณน้องปู ขอบคุณคุณยาย ดูสนุกมากๆๆ ขอบคุณมากครับวศินแล้วพบกัน ขอบคุณคุณธนิดา ขอบคุณอาจารย์โสภณ ขอบคุณหนุ่มเอม หายไปนาน

ขอบคุณพี่ใหญ่ ภาพเมฆสวยมากๆๆๆ

สวัสดีค่ะ

มาส่งกำลังใจค่ะ  รักษาสุขภาพนะคะ  ส่งเสื้อมาให้แล้วนะคะ

สวัสดีครับอาจารย์

แวะมาเยี่ยมเยียนทักทายด้วยความระลึกถึงครับ

วันนี้เป็นไงไม่รู้...หิวสเต๊ก

ประทับใจค่ะ

ทำงานด้วยใจแบบนี้ขอคารวะ 1 คู่ (ขนมครก)อร่อยมาก

เดี๋ยวเราจะบุกหมู่บ้านน้ำทรัพย์กัน

พี่ตั้งใจจะศึกษาภาพรวม แล้วเจาะล฿กไปที่เห็ดภูฏาน

แล้วขอจบด้วยการขี่ม้า อิอิ

  • ยังคงทำงานหนัก แบบไม่มีวันหยุดเช่นเคยนะครับ
  • ไปชะอำหลายเที่ยว แต่ไม่เคยไปแก่งกระจานเลย ไปจ่อๆอยู่ปากทางอยู่ครั้ง แล้วก็ถอย เพราะขณะนั้น เส้นทางนั้น เป็นทางลูกรัง (ฮา)
  • อาจารย์ขจิตคงสบายดีนะครับ..

ขอบคุณครูคิม ยังอยู่ต่างจังหวัดอยู่เลย

พี่หนานครับ ถ้ามาแถวเกษตรศาสตร์ บอกได้เลยครับ

ขอบคุณมากครับ พี่ครูต้อยมาตอนไหนเนี่ย

ขอบคุณมากครับ พี่ครูธนิตย์ เดี๋ยวนี้เป็นลาดยางแล้ว หายไปไหนมาครับ นานมากๆๆ

อย่าปล่อยมุขมากนักนะน้องขจิต..

เดี๋ยวผู้เข้ารับการอบรมขากรรไกรค้าง...เดือดร้อนอี๊ก...

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต

* มาส่งความคิดถึงมากมายค่ะ  ไม่ได้มาทักทายอาจารย์นานมากๆ  อืมครึ่งเดือนแล้วนะคะ  ตอนที่ไปหาหมอที่ รพ.จุฬา ผอ.สุนันทาบอกเหมือนกันค่ะว่าอาจารย์จะไปจัดค่ายอีก... นึกอิจฉาชาวแก่งกระจานซะแล้ว... นี่ถ้าครูใจดีเชิญอาจารย์ขจิตมาเป็นวิทยากรที่ค่ายวิทย์ของครูใจดี คงชนกันโครมใหญ่เลยนะคะ (แต่เกรงใจ... ค่ะเพราะไม่ใช่ภาษาอังกฤษ.... แต่ครูใจดีก็ไม่ใช่ครูวิทย์ แต่ต้องมาทำเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์เต็มตัวเลย... งงตัวเองเหมือนกัน  ฮา...)

* 4-6 สค. ครูใจดีจัดค่ายโครงงานวิทยาศาสตร์ค่ะ นักเรียน 50 คน  งานนี้เป็นเจ้าของโครงการเอง... เหนื่อยเอาการอยู่ เพราะลุกขึ้นมาทำงานใหญ่ทั้งๆ ที่สุขภาพยังไม่เต็มร้อย  วันนี้วันที่ 2 แล้วค่ะ  เหลือพรุ่งนี้อีก 1 วัน  ถ้าสุขภาพดีขึ้น คิดว่าจะนำมาลง Blog เหมือนกัน...

* เอาไว้ค่ายภาษาอังกฤษ ค่อยเชิญอาจารย์ก็แล้วกันนะคะ  พี่ หน.กลุ่มสาระภาษาอังกฤษท่านว่าจะจัดภาคเรียนที่ 2 ค่ะ

* มาขอบคุณอาจารย์นะคะ ที่ไปเยี่ยมถามไถ่อาการ  ช่วงนี้ดีขึ้นบ้างแล้ว คุณหมอประจำตัวกลับมาจากต่างประเทศแล้ว แต่การที่ไม่ได้หยุดพัก อาการเลยไม่เต็มร้อย อยู่หน้าคอมพ์นานยังไม่ได้ค่ะ  คุณหมอก็บ่นให้คือเทศนายาว...  แต่มันจำเป็น งานที่เป็นหน้าที่ มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้   โม้ยาวอีกแล้ว...

* ฝากความคิดถึงให้ ผอ.สุนันทาด้วยนะคะ.... และขอส่งแรงใจให้กิจกรรมค่ายของอาจารย์มีแต่ความสุข สนุกสนาน ได้รับความรู้กันอย่างเต็มที่ค่ะ

* คิดถึงค่ะ

 

สงสัยท่านพี่จะปล่อยมุขมากไป ๕ ๕ มิน่าเงียบเลย ฟื้นเร็วๆ นะคะคนของประชาชี ;)

ถึงบ้านแล้วจ้า

ลืมบอกพี่แวะบ้านดินด้วย ชมเรือนเสวยของสมเด็จพระเทพฯ

และฐานเรียนรู้เศรฐกิจพอเพียง

อิอิ บันทึกนี้ครวญเพลง น่าสงสารจัง ก๊ากกก

ไปเก็บทุเรียนบ้านพี่หนูรีมาฝาก มาเยี่ยมผู้ป่วยค่ะ อะจึ๊ย หายไวเด้อค่า

เร่ร่อน...เอ้ย...เดินทางอีกแล้วเหรอคะ?

ทำงานหนักตลอดเลย..อย่าลืมรักษาสุขภาพด้วยนะคะ

เสาร์อรุณสวัสดิ์ค่ะท่านพี่ขาหญ่ายย หายป่วยแล้วนะคะ วันนี้วันพิเศษพี่รหัสใครก็บ่ฮู้ ชวนไปชมนก ย้ายที่ใหม่จับนกได้เยอะเลยค่ะ

ขอบคุณทุกๆๆท่านครับ วันนี้มีค่ายที่มหาวิทยาลัยแล้วจะเอาภาพมาให้ดูครับ เย้ๆๆ

ขอขอบคุณคลื่นลูกใหม่ ไฟแรง และสวยงาม ที่มอบสิ่งดีๆให้กับการประสบการณืที่บ้านน้ำทรัพย์ และยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ดีมาก ๆ เลยครับอาจารย์ จะได้องค์ความรู้ไว้เผื่อแผ่ชมชุมอื่น ๆ ด้วยครับ ...          อยากชวนอาจารย์มาถอดบทเรียนที่ประจวบคีรีขันธ์บ้าน มีหลายหมู่บ้านที่น่าสนใจ เช่น บ้านหนองกลางดง หมู่ที่ 7 ตำบลศิลาลอย อำเภอสามร้อยยอด (มีนายโชคชัย    ลิ้มประดิษฐ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน) เรื่องแผนชุมชนและสภาผู้นำหมู่บ้าน (สภา 59) และ    บ้านทุ่งยาว หมู่ที่ 14 ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ (มีนายรวบ          เปรมประสิทธิ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน) เรื่องสถาบันการเงินตำบลอ่าวน้อย ที่บริหารจัดการ     การเงินของชุมชน ด้วยชุมชน

 

ผู้ใหญ่ยอดเยี่ยมได้รับรางวัลแหนบทองของหมู่บ้านน้ำทรัพย์ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ผู้ใหญ่ชูชาติ วรรณขำ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2553

ขอแสดงความยินดีกับผู้ใหญ่บ้านน้ำทรัพย์ด้วยค่ะที่ได้รับรางวัล

 

 

ผู้ใหญ่ชูชาติ

สวัสดีครับ.. ท่านอาจารย์ ดร.ขจิต ดีใจจัง.เข้ามาหาอาจารย์ได้แล้ว ขอขอบคุณสำหรับ fhotoscape/ถอดบทเรียน/ปรับปรุง www

วันที่24-25 ส.ค.นี้ ผมและทีมงานจะไป ม.เกษตรกำแพงแสน รายการของ ธกส.จะรวมของอาจารย์ในวัที่26 ส.ค.ด้วยได้ไหม ขอรับ

ขอบคุณทุกๆๆท่านครับ ผู้ใหญ่ครับ จะมากี่ท่านครับ

สวัสดีครับอาจารย์ พรุ่งนี้ 4คนครับ

  • ดีใจที่เข้ามาเรียนรู้ในบันทึกนี้ เต็มเปี่ยมมาเลยค่ะท่านอาจารย์

สวัสดีครับ..

"ขอให้มีความสุข และสนุกกับการถอด...บทเรียนนะครับ

ประเทศชาติพัฒนา..ด้วยความขยันของอาจารย์.."

ขอบคุณครับ

เมื่อปี พ.ศ. 2521 ได้มีโอกาส ไปออกค่ายอาสาพัฒนาชนบท ( ออกช่วงเดือน ตุลาคม 2521 )ได้สร้างโรงเรียนบ้านน้ำทรัพย์ ลักษณะโรงเรียนเป็นรูปหกเลี่ยมโดยจะมีลักษณะมีโดมอยู่ข้างบนโดมนี้เป็นห้องพักครูตอนนั้นได้ร่วมกับเพื่อนๆ ชมรมผู้บำเพ็ญประโยชน์วิทยาลัยเทคโนโลยี่และอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ (ในขณะนั้น) นอกจากนั้นยังได้รับความร่วมมือกับทหารที่ ค่ายฝึกการรบพิเศษ แก่งกระจาน โดยผู้กองนิกร (พี่โต) ทุนที่สร้างโรงเรียนก็ได้รับจากลูกเสือชาวบ้าน จังหวัดสมุทรปราการ โดยพี่โตเป็นผู้ติดต่อให้ ในขณะนั้น บ้านน้ำทรัพย์ เป็นแหล่งชุมชนเล็กๆ ยังไม่เติบโตเหมือนทุกวันนี้ ตอนนั้นเท่าที่ทราบ ทราบมาว่า ถ้าได้สร้างโรงเรียนเสร็จ บ้านน้ำทรัพย์ จะได้ตั้งเป็นหมู่บ้าน และเท่าที่ทราบ ผู้ที่นั่งแท่น จะได้เป็นผู้ใหญ่คือ คุณน้าวี และคุณน้าวีผู้นี้ก็เป็นกำลังสำคัญคนหนึ่งในการสร้าง โรงเรียนบ้านน้ำทรัพย์ หลังจากการสร้างโรงเรียนเสร็จ ผู้ว่าราชการจังหวัด ฯ มาเป็นผู้รับมอบ ในตอนนั้น การเดินทางเข้าโรงเรียนลำบากมาก ท่านเลยต้องเดินทางมาโดย " เฮอร์ลิคอปเตอร์ " เออ...ผู้ว่าราชการจังหวัดขณะนั้น ชื่อ จำไม่ไม้ได้ครับ จำได้แต่ ฉายาว่า " ผู้ว่าจอมน้ำหมาก. '

..ตอนนั้น นักศึกษาที่ไปสร้างโรงเรียน ยังได้รับ รูปปั้นปูนปาสเตอร์ สมเด็จพุฒาจารย์โต จากวัดถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป็นวัด " ตะเคียนงาม " แต่.......พอมาอ่านประวัติ ของหมู่บ้านน้ำทรัพย์ ก็ค่อนข้างจะสงสัยว่า ทำไมเพิ่งมาตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อ พ.ศ. 2530

ขอบคุณทุกๆๆท่านครับ ขอบคุณคุณบัณฑิตมากๆๆครับ ที่มาเพิ่มข้อมูล จะไปหาข้อมูลเพิ่มให้ครับ

ข้อมูลจากที่นี่เลยครับ

http://bumpen-btc.pantown.com/ เลือก เล่าขานตำนานค่าย

จากข้อมูลตอนนั้น บ้านน้ำทรัพย์ อยู่ ต.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง จ. เพชรบุรี ครับ

ขอเล่าเรื่องให้อาจารย์ฟังต่ออีกแล้วกัน

เออ….พอจะจำได้แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดตอนนั้น น่าจะชื่อ “ ฉลอง วงษ์ษา “

( ท่านที่อ่านเรื่องต่างๆที่เราได้เขียนเล่านี้ อย่าเบื่อน่ะ เพราะ วิญญาณชาวค่ายฯ ได้เข้าสิงเราแล้ว และคิดถึงเมื่อ 32 ปีที่แล้ว )

การเดินทางในขณะนั้นลำบากมาก ถนนที่เข้ามายังไม่มี เป็นทางดิน ดังนั้น ถ้าฝนตก รถจะไม่สามารถเข้าได้ ขนาดรถบรรทุกของทหาร จาก ค่ายฝึกการรบพิเศษแก่งกระจานยังเข้าไม่ได้เลย ถ้าวันไหนฝนตกดังกล่าว พวกเราจึงต้องใช้ทางเรือ โดยจะไปซื้อขาวสาร อาหารสด ที่ตลาดท่ายาง มาปรุงเพื่อเลี้ยง นักศึกษาและทหารที่มาช่วยกันสร้างโรงเรียน ในขณะนั้นน้ำที่อยู่ในแก่ง ได้รับทราบจากชาวบ้านว่า น้ำ เพิ่งขึ้นมา ท่วมไร่ข้าวโพด ดังนั้นน้ำที่ใช้ ทางทหาร จะใช้เครื่องสูบมาใส่ถัง 200 ลิตร แล้วใช้สารส้มแกว่ง ให้น้ำใสขึ้น นอกจากนี้ เรายังขอความร่วมมือไม่ให้นักศึกษาผู้หญิง ลงอาบน้ำ กลางคืนในแก่งโดยเด็ดขาด เพราะเราได้เตรียมที่อาบน้ำไว้ให้ต่างหากแล้ว สาเหตุที่ห้ามก็เพราะว่า มี่จระเข้ ซึ่งเคยมีเข้ามาอยู่ห่างจากจุดที่สร้างโรงเรียนไม่มาก เราจึงกลัวอันตรายจะเกิดขึ้นทางทหารใช้ถัง 200 ลิตรวางเรียงกัน แล้วใช้ไม้กระดานวางพาด ออกไปเพื่อให้ไกลฝั่ง และต่อท่อไปสูบน้ำตรงปลายกระดานเพื่อที่จะได้น้ำมาใช้ได้สะอาดกว่าน้ำที่ใกล้ฝั่ง

น้ำที่สูบ ขึ้นมาใช้ ถึงแม้จะได้ใช้สารส้มแกว่งแล้ว แต่…ก็ยังมีกลิ่นอยู่ ก็เนื่องจากน้ำเริ่มจะไม่ดีแล้ว ก็เนื่องจาก ภายใต้น้ำเป็นไร่ข้าวโพดซึ่งเริมเน่าแล้ว

อาหารที่ชาวบ้านนำเป็นสินน้ำใจที่มอบให้กับเราในฐานะที่พวกเรามาสร้างโรงเรียนให้ลูกหลานเขาก็ไม่มีอะไรมาก แต่…ก็สูงค่าด้วยน้ำใจจากชาวบ้านเหล่านั้น ก็คือ ปลาในแก่ง (ของคาว ) ข้าวโพด ( หลังอาหาร) ซึ่งมีเกือบทุกวัน นี่แหละคือ น้ำใจอันบริสุทธ์ ที่ชาวบ้านมีให้ พวกเรา

ตอนนั้น ตอนกลางคืน ใช้เครื่องปั่นไฟฟ้า ก็จากทหารค่ายฝึกการรบพิเศษแก่งกระจาน นั่นแหละ จึงมีไฟฟ้าใช้กันบ้าง และตอนกลางคืน จะมีแมงกวาง มาเล่นไฟกันจำนวนมาก ก็เป็นอาหารอันโอชะสำหรับเพื่อนเราบางคนและพี่ๆทหารจับนำมาคั่วใส่เกลือ เคี้ยวกันอย่างเอร็ดอร่อย หนอยแน่ะ มองหน้าเราส่งให้ บอกว่า “ อร่อยน่ะไม่ลองบ้างหรือ….” อ้ายเราได้แต่…ส่ายหัว

อย่างที่เคยบอกเล่าแล้ว ว่า ถ้าวันไหน ฝนตก ( เนื่องจากไปออกค่ายกันในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็น ฤดู ฝน) รถไม่สามารถเข้าได้ ดังนั้นมีอยู่วันหนึ่ง ฝนตกรถเข้าไม่ได้จึงต้องใช้ทางเรือ ตอนนั้น เพื่อนเราเป็นฝ่ายไปซื้อของที่ตลาดท่ายาง เมื่อกลับมาถึงเพื่อนเล่าให้ฟังว่า “ เห็นไหม ตรงจุดที่เป็นเกาะ และมีกระท่อมอยู่ น่ะ ตรงที่มี ขอนไม้แห้ง ลอยอยู่ ตอนเรือเข้ามาผ่านตรงนั้น ได้เห็น ลูกจระเข้ ตัวยาวประมาณ 30 – 40 cm. นอน อ้าปาก ตากแดด อยู่บนขอนไม้อยู่ “ เราได้แต่ รับฟังเฉยๆ พอโรงเรียนสร้างเสร็จ และวันมอบโรงเรียน ก่อนที่มอบ เราได้พายเรือออกเที่ยวในแก่งกับเพื่อนๆ เนื่องจากระหว่างที่สร้างโรงเรียนไม่มีเวลาออกไปไหนเลย ทำงานสร้างโรงเรียน ทั้งวันทุกวันตลอดเวลาที่ออกค่าย ฯ พอหลังจากโรงเรียนสร้างเสร็จและได้พายเรือเที่ยวในแก่งกัน ไปถึงจุดขอนไม้ที่เพื่อนเคยเล่า เพื่อนว่า พร้อมทั้งชี้มือให้ดู “ เฮ้ย…ขอนไม้นี้ไงที่วันนั้น G U เห็น ลูกจระเข้ ขึ้นมาอ้าปากนอนผึ่งแดด “ ….. เรานี้สันหลังเย็น

วาบ ยื่นหน้าออกไปดูนอกเรื่อ มองลงไปในน้ำ เพราะน้ำค่อนข้างใส เพราะคิดว่า มีลูกก็น่าจะมีแม่ แต่ ไม่เห็นอะไรนอกจากต้นข้าวโพดที่เริ่มเน่าแล้ว เลยบอกให้เพื่อนรีบพายเข้าฝั่งปลอดภัยกว่า

พูดถึงเรื่อง จระเข้ มีอยู่วันหนึ่ง เราได้ยินพี่ ๆหหารคุยกันพอจับใจความได้ ว่า มี จระข้ ตัวยาวประมาณ เมตรครึ่ง มาว่ายอยู่ในแก่งห่างจากบริเวณที่สร้างโรงเรียนไม่มาก” พอพี่เขา หันมาเห็นเรา หน้าพี่เขาเปลี่ยน สีไปเลย บอกกับเราว่า “ น้องไม่มีอะไรหรอก…. เราบอกว่า “ เรื่อง จระเข้ ผมทราบว่ามีตั้งแต่…มาวันแรกแล้ว ครับ “

มีเรื่องเล่าว่า ขณะที่ออกค่ายฯ เส้นทางถนนที่มาโรงเรียนซึ่งเป็นดินขณะนั้น มีอยู่วันหนึ่งมีชาวบ้านถูกหมีควายตะปบเกือบตาย

พูดถึงการสร้างโรงเรียน ในขณะนั้น โครงสร้างโรงเรียนสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะเหลืออยู่ก็ การเทพื้นอาคาร คอนกรีตเสริมไม้ไผ่ ไม่ใช่เสริมเหล็ก การเทพื้นอาคาร เราใช้ไม้ไผ่ลำเท่านิ้วชี้โดยประมาณ มาขัดกันเป็นแผงเพื่อให้ปูนต์ซีเมนต์เกาะกับแผงไม้ไผ่เพื่อความคงทนแข็งแรง แต่..เราเป็นเพียงนักศึกษาประมาณ 30 คน และพี่ๆทหารอีกไม่กี่คน ทำงานมา นานหลายวันแล้ว ร่างกายแต่ละคนก็เริ่มเหนื่อยล้า เวลาก็กะชั้นชิดเข้ามาทุกวัน คือใกล้เปิดภาคเรียนแล้ว การสร้างโรงเรียนก็ต้องให้เสร็จตามกำหนด ทาง ผู้ใหญ่วี ( พวกเราตั้งให้กันเอง) ก็เลยประกาศให้ชุมชนบ้านน้ำทรัพย์มาร่วมมือกันช่วยเทปูนต์ การเทปูนต์พื้นอาคาร ก็สำเร็จโดยรวดเร็ว โดยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน ไม่ใช่แต่ การเทปูนต์เท่านั้น งานไม้อื่นๆเช่นตัวอาคาร ก็ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านมาร่วมทำด้วย เช่นกัน

ตอนนั้นมีอยู่วันหนึ่งมีชาวบ้านนำของมาเลี้ยงพวกเราใส่หาบมาเป็นเด็กสาวในหมู่บ้านหาบของมา ก่อนหน้านั้นฝนตก เจ้าเพื่อนเราเห็นเข้าหวังดี วิ่งเข้าไปช่วยเด็กสาวหาบ อะไรเกิดขึ้นละครับ เนื่องจาก ดินแฉะหาบก็ไม่เคยหาบ ก็พวกเราเป็นเด็กเทบ (กรุงเทพ)นี่ครับ เพื่อนเราเลย เดิน เฉไปเฉมา ดีน่ะที่ไม่ล้ม เด็กสาว เลยว่า “ พี่ค่ะหนูหาบเองสะดวกกว่ามั้ง…. เลยส่งหาบให้เด็กสาวหาบต่อ ปรากฎว่า เด็กสาวหาบเดินตัวปลิวเลย ฮา …..

  • ขอบคุณคุณบัณฑิต บุญกลั่น
  • มากครับที่มาเพิ่มข้อมูล
  • เยี่ยมมากๆๆเลย

 

  • เข้าไปดูข้อมูลแล้วครับคุณบัณฑิต
  • เป็นประโยชน์มากๆๆ
  • ขอไปสืบถามชาวบ้านก่อนนะครับ
  • เป็นค่ายนี้
  • ค่ายที่10 โรงเรียนบ้านน้ำทรัพย์ อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี พ.ศ. 2521 (อาคารเรียน)

download คู่มือแล้วค่ะ ไปช่วยถอดบทเรียนเรื่อง HIV/AIDS หลายพื้นที่ ขออนุญาตินำเรื่องของอาจารย์ไปแลกเปลี่ยนด้วยค่ะ ขอบคุณ

ขอบคุณอาจารย์อมรมากครับ ดีใจที่เป็นประโยชน์ครับ

ขอเพิ่มเติม (อย่าเพิ่งเบื่อน่ะครับ )

ในเดือนกรกฏาคม ช่วง วัน อาสาฬหฯและวันเข้าพรษา ปี พ.ศ. 2521 ตอนนั้นมีวันหยุดติดกัน 4 วัน นักศึกษา ชมรมผู้บำเพ็ญประโยขน์ วิทยาลัยเทคโนลี่ยี่และอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ (ในขณะนั้น) ได้ไปสัมมนาที่เขื่อนแก่งกระจาน จ. เพชรบุรี โดยพักกันที่เขื่อนเพชร ในระหว่างสัมนา ได้ไปเยี่ยมค่ายทหารที่แก่งกระจานคือ ค่ายฝึกการรบพิเศษแก่งกระจาน โดย ผู้กองนิกร (พี่โต) ในขณะนั้น เป็นผู้อำนวยความสะดวกและ บรรยายความรู้ให้ตลอด และพี่ทหารอีก 1 ท่าน คือ พี่เหรีญ (พี่ท่านอื่นๆ จำชื่อไม่ได้ครับ ถ้าได้เข้ามาอ่านเจอ ต้องขอกราบ อภัย มา ณ. ที่นี้ด้วย ) สำหรับพี่เหรีญเป็นครูฝึกหทารในด้านวัตถุระเบิด ในระหว่าที่สัมนานั้น ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ผู้กองนิกร ทางผู้กองนิกร จึงได้ทราบว่า นักศึกษาที่มาสัมนาในครั้งนี้เป็น ชมรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ และงานหลักของชมรมก็คือ…. “ ออกค่ายอาสาพัฒนา ชนบท ” … โดยการสร้างโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร หรือชนบท ซึ่งต้องการโรงเรียน และในหมู่บ้านหรือชุมชนยังไม่มีโรงเรียน ซึ่งใน ขณะนั้น รุ่นพี่ๆ ได้ดำเนินการสร้างโรงเรียนมาแล้ว จำนวน 9 แห่ง ข้อมูลที่นี่เลยครับ http://bumpen-btc.pantown.com/ เลือกเล่าขานตำนานค่าย ทางซ้ายมือ

ผู้กองนิกร ก็ยังได้ทราบจากพวกเราอีกว่า ในปีนี้ ( 2521) ทางชมรม ฯ ยังไม่มีโครงการไปออกค่ายที่ไหนเนื่องจาก ยังไม่มีทุน ฯ ในการออกค่าย ฯ เพราะขาดการ สอนงาน สร้างประสบการณ์ ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง [ ด้วยเหตุผลทางการเมือง ถ้าได้เข้าไปใน WEB . ของชมรม ฯ จะเห็นได้ว่า ทางชมรม ฯ ขาดการออกค่าย อาสาฯ 2 ครั้ง ครั้งแรก ในปี เดือนตุลาคม พ.ศ. 2519 ทางชมรม ฯ มีโครงการไปออกค่าย ฯ ที่ จ. สุโขทัย ทั้งๆ ที่ เตรียมของทุกอย่างไว้เรียบร้อยแล้ว แต่….เนื่องจาก ก่อนออกค่าย ฯ เกิดเหตุการณ์ ไม่สงบทางการเมือง ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางรัฐบาล จึงห้ามการชุมชุม ในตอนนั้นทางชมรม ฯ จึงไม่สามารถออกค่าย ฯ ได้ แต่ ทางชมรมได้นำอุปกรณ์ในการสร้างโรงเรียน ไปมอบให้ชาวบ้านร่วมกันสร้างโรงเรียนเอง ค่ายอาสาฯ ครั้งนั้นจึงมีอันต้อง แท้ง ไป แหม…..เรียกเหมือนการคลอดลูกเลย คือ แท้ง… ปี พ.ศ. 2520 ก็ยังไม่มีการออกค่ายอาสา ฯ แต่ ชมรมผู้บำเพ็ญประโยขน์

ยังมีอยู่ ] เนื่องจากยังไม่มีทุนในการออกค่ายอาสา ฯ ทางผู้กองนิกรฯ เลยเสนอว่า ขณะนี้ทางชมรมลูกเสือชาวบ้าน จ. สมุทรปราการ มีทุนอยู่ก้อนหนึ่ง สำหรับให้ทุนด้านนี้โดยเฉพาะ สนใจไหม ตอนนั้นสมาชิกชมรม ฯ ไม่สามารถตัดสินใจได้ จึงยังไม่ตอบตกลง เพียงแต่…แจ้งว่า ต้องนำเรื่องกลับไปให้กรรมการชม ฯ พิจารณาก่อนในที่ประชุม

ผลการพิจรณาในที่ประชุม ตอนนั้น กรรมการชมรมแบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายที่ไปสัมนา และฝ่ายที่ไม่ไปสัมนา และจำนวนก็เท่ากันด้วยซิ ฝ่ายที่ไปสัมนา ต้องการให้ไปสร้าง ฝ่ายที่ไม่ไปสัมนาไม่ต้องการให้ไปสร้าง ( คำว่า ไปสร้าง คือการออกค่ายอาสา ฯ ) ผลการประชุมปรากฏว่า ฝ่ายที่ไม่ต้องการให้ไปสร้าง ชนะ 1 คะแนน เนื่องจาก กรรมการฝ่ายที่ให้ไปสร้าง มาประชุมมาไม่ทัน เนื่องจาก เรียนอยู่รอบบ่าย นอกนั้นเขาเรียนอยู่รอยเช้าทั้งนั้น แหม…อุตสาห์ รีบมาแล้ว ทั้งๆที่เข้าเรียน 14.00 น. เขาประชุมกัน 12.00 น. เดินทางมาถึง เขาลงคะแนนเสียงกันแล้ว ก็เลยต้องทำหนังสือแจ้งให้ผู้กองนิกรทราบ

เมื่อผู้กองนิกรทราบ จึงเดินทางมากรุงเทพ ฯ และขอเชิญคณะกรรมการชมรม ฯ ประชุม แต่… ก่อนการประชุม ผู้กองได้ให้ข้อคิดว่า โดยสรุปว่า ในการออกค่ายอาสา ฯ ในทุกๆครั้งที่ผ่านมาทุนที่ได้จากการออกค่าย ฯ นั้นเงินทุกบาททุกสตางค์ ได้จากหยาดเหงื่อของพวกน้องๆ และหลังจากได้สร้างโรงเรียนได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว น้อง ๆ คงภูมิใจมาก ว่า โรงเรียนแห่งนี้ สร้างสำเร็จเพราะพวกน้อง ๆ เพียวฝ่ายเดียว แต่…ในปีนี้ ในเมื่อยังไม่มีเงินทุนไปออกค่าย ฯ ที่ไหน ก็นำเงินก้อนนี้ไปก็ได้ การทำความดีทุกอย่าง ทำที่ไหน เมื่อใด ก็ได้ เหมือนอย่างการปิดทอง การทำความดีของน้อง ไม่ใช่ปิดทองหลังพระหรอก เพราะ…..ถ้า ปิดทองหลังพระ ถ้าผู้คนเดินออ้มไปข้างหลังพระ จะเห็นได้ว่า มีการการปิดทอง แต่…การทำความดีของน้องเปรียบเหมือนการ ..ปิดทองก้นพระ…ฯ หลังจากผู้กองนิกรพูดเสร็จ คณะกรรมการชมรม ฯ ก็ลงคะแนนเสียงกันใหม่ คราวนี้ กรรมการฯ ทุกคนให้ไหออกค่ายอาสา ฯ หมดทุกคน การออกค่ายอาสา ฯ ครั้งนั้นก็ เสร็จสมบูรณ์ ดูข้อมูลที่ http://bumpen-btc.pantown.com/ เลือกเล่าขานตำนานค่าย ทางซ้ายมือ

ค่าย 10 ออกที่ บ้านน้ำทรัพย์ ต. แก่งกระจาน อ. ท่ายาง (ในขณะนั้น) จ . เพชรบุรี

อนึ่ง...... เมื่อเวลาเปิดภาคเรียน ตอนนั้น การสร้างโรงเรียนยั้งไม่เสร็จสมบูรณ์ ( มีภาพประกอบ แต่ ยังส่งไม่ได้ครับ ) แต่….เกือบเสร็จแล้ว จะอยู่สร้างให้เสร็จก็ไม่ได้ อาจารย์ที่ปรึกษาชมรม ฯ ที่มาด้วยกันไม่ยอม บอกว่า ต้องให้กลับ ไปวิทยาเขต ฯ ก่อน แล้วค่อยว่ากัน จึงจำเป็นต้องเดินทางกลับ ขณะนั้น ชาวบ้านและพี่ๆทหารก็ช่วยกันทำต่อ เมื่อเดินทางกลับถึง กรุงเทพ ฯ ก็ต่างคนต่างส่งใบ แผนกใครแผนกมัน เดินทางกลับไปสร้างโรงเรียนต่อโดยเฉพาะ เพื่อนๆ ที่เรียนมาด้านก่อสร้าง (ของถนัดอยู่แล้ว ) เพื่อนกลุ่มนี้ จะเดินทางกลับไปเป็นพวกแรก หลังจากนั้น ก็เดินทางกลับไป กันทั้งหมด จนสร้างโรงเรียนเสร็จ พร้อมทั้งส่งมอบโรงเรียน

อาจารย์ ขจิต ครับ ถ้าผมจะส่ง FILE ในรูป jpg . และ pdf. หรือ ต้องสมัครเป็นสมาชิค ก่อน ครับ

ขอเพิ่มเติม (อย่าเพิ่งเบื่อน่ะครับ ) ก่อนจะได้สรัางโรงเรียน บ้านน้ำทรัพย์ ( ขอส่งซ้ำน่ะครับ ก่อนหน้านี้ลืมพิมพ์ ตรงนี้ เพื่อจะได้ทราบความเป็นมาในการสร้างโรงเรียนละเอียดที่สุด) ในเดือนกรกฏาคม ช่วง วัน อาสาฬหฯและวันเข้าพรษา ปี พ.ศ. 2521 ตอนนั้นมีวันหยุดติดกัน 4 วัน นักศึกษา ชมรมผู้บำเพ็ญประโยขน์ วิทยาลัยเทคโนลี่ยี่และอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ (ในขณะนั้น) ได้ไปสัมมนาที่เขื่อนแก่งกระจาน จ. เพชรบุรี โดยพักกันที่เขื่อนเพชร ในระหว่างสัมนา ได้ไปเยี่ยมค่ายทหารที่แก่งกระจานคือ ค่ายฝึกการรบพิเศษแก่งกระจาน โดย ผู้กองนิกร (พี่โต) ในขณะนั้น เป็นผู้อำนวยความสะดวกและ บรรยายความรู้ให้ตลอด และพี่ทหารอีก 1 ท่าน คือ พี่เหรีญ (พี่ท่านอื่นๆ จำชื่อไม่ได้ครับ ถ้าได้เข้ามาอ่านเจอ ต้องขอกราบ อภัย มา ณ. ที่นี้ด้วย ) สำหรับพี่เหรีญเป็นครูฝึกหทารในด้านวัตถุระเบิด ในระหว่าที่สัมนานั้น ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ผู้กองนิกร ทางผู้กองนิกร จึงได้ทราบว่า นักศึกษาที่มาสัมนาในครั้งนี้เป็น ชมรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ และงานหลักของชมรมก็คือ…. “ ออกค่ายอาสาพัฒนา ชนบท ” … โดยการสร้างโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร หรือชนบท ซึ่งต้องการโรงเรียน และในหมู่บ้านหรือชุมชนยังไม่มีโรงเรียน ซึ่งใน ขณะนั้น รุ่นพี่ๆ ได้ดำเนินการสร้างโรงเรียนมาแล้ว จำนวน 9 แห่ง ข้อมูลที่นี่เลยครับ http://bumpen-btc.pantown.com/ เลือกเล่าขานตำนานค่าย ทางซ้ายมือ ผู้กองนิกร ก็ยังได้ทราบจากพวกเราอีกว่า ในปีนี้ ( 2521) ทางชมรม ฯ ยังไม่มีโครงการไปออกค่ายที่ไหนเนื่องจาก ยังไม่มีทุน ฯ ในการออกค่าย ฯ เพราะขาดการ สอนงาน สร้างประสบการณ์ ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง [ ด้วยเหตุผลทางการเมือง ถ้าได้เข้าไปใน WEB . ของชมรม ฯ จะเห็นได้ว่า ทางชมรม ฯ ขาดการออกค่าย อาสาฯ 2 ครั้ง ครั้งแรก ในปี เดือนตุลาคม พ.ศ. 2519 ทางชมรม ฯ มีโครงการไปออกค่าย ฯ ที่ จ. สุโขทัย ทั้งๆ ที่ เตรียมของทุกอย่างไว้เรียบร้อยแล้ว แต่….เนื่องจาก ก่อนออกค่าย ฯ เกิดเหตุการณ์ ไม่สงบทางการเมือง ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางรัฐบาล จึงห้ามการชุมชุม ในตอนนั้นทางชมรม ฯ จึงไม่สามารถออกค่าย ฯ ได้ แต่ ทางชมรมได้นำอุปกรณ์ในการสร้างโรงเรียน ไปมอบให้ชาวบ้านร่วมกันสร้างโรงเรียนเอง ค่ายอาสาฯ ครั้งนั้นจึงมีอันต้อง แท้ง ไป แหม…..เรียกเหมือนการคลอดลูกเลย คือ แท้ง… ปี พ.ศ. 2520 ก็ยังไม่มีการออกค่ายอาสา ฯ แต่ ชมรมผู้บำเพ็ญประโยขน์ ยังมีอยู่ ] เนื่องจากยังไม่มีทุนในการออกค่ายอาสา ฯ ทางผู้กองนิกรฯ เลยเสนอว่า ขณะนี้ทางชมรมลูกเสือชาวบ้าน จ. สมุทรปราการ มีทุนอยู่ก้อนหนึ่ง สำหรับให้ทุนด้านนี้โดยเฉพาะ สนใจไหม ตอนนั้นสมาชิกชมรม ฯ ไม่สามารถตัดสินใจได้ จึงยังไม่ตอบตกลง เพียงแต่…แจ้งว่า ต้องนำเรื่องกลับไปให้กรรมการชม ฯ พิจารณาก่อนในที่ประชุม ผลการพิจรณาในที่ประชุม ตอนนั้น กรรมการชมรมแบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายที่ไปสัมนา และฝ่ายที่ไม่ไปสัมนา และจำนวนก็เท่ากันด้วยซิ ฝ่ายที่ไปสัมนา ต้องการให้ไปสร้าง ฝ่ายที่ไม่ไปสัมนาไม่ต้องการให้ไปสร้าง ( คำว่า ไปสร้าง คือการออกค่ายอาสา ฯ ) ผลการประชุมปรากฏว่า ฝ่ายที่ไม่ต้องการให้ไปสร้าง ชนะ 1 คะแนน เนื่องจาก กรรมการฝ่ายที่ให้ไปสร้าง มาประชุมมาไม่ทัน เนื่องจาก เรียนอยู่รอบบ่าย นอกนั้นเขาเรียนอยู่รอยเช้าทั้งนั้น แหม…อุตสาห์ รีบมาแล้ว ทั้งๆที่เข้าเรียน 14.00 น. เขาประชุมกัน 12.00 น. เดินทางมาถึง เขาลงคะแนนเสียงกันแล้ว ก็เลยต้องทำหนังสือแจ้งให้ผู้กองนิกรทราบ เมื่อผู้กองนิกรทราบ จึงเดินทางมากรุงเทพ ฯ และขอเชิญคณะกรรมการชมรม ฯ ประชุม แต่… ก่อนการประชุม ผู้กองได้ให้ข้อคิดว่า โดยสรุปว่า ในการออกค่ายอาสา ฯ ในทุกๆครั้งที่ผ่านมาทุนที่ได้จากการออกค่าย ฯ นั้นเงินทุกบาททุกสตางค์ ได้จากหยาดเหงื่อของพวกน้องๆ และหลังจากได้สร้างโรงเรียนได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว น้อง ๆ คงภูมิใจมาก ว่า โรงเรียนแห่งนี้ สร้างสำเร็จเพราะพวกน้อง ๆ เพียวฝ่ายเดียว แต่…ในปีนี้ ในเมื่อยังไม่มีเงินทุนไปออกค่าย ฯ ที่ไหน ก็นำเงินก้อนนี้ไปก็ได้ การทำความดีทุกอย่าง ทำที่ไหน เมื่อใด ก็ได้ เหมือนอย่างการปิดทอง การทำความดีของน้อง ไม่ใช่ปิดทองหลังพระหรอก เพราะ…..ถ้า ปิดทองหลังพระ ถ้าผู้คนเดินออ้มไปข้างหลังพระ จะเห็นได้ว่า มีการการปิดทอง แต่…การทำความดีของน้องเปรียบเหมือนการ ..ปิดทองก้นพระ…ฯ หลังจากผู้กองนิกรพูดเสร็จ คณะกรรมการชมรม ฯ ก็ลงคะแนนเสียงกันใหม่ คราวนี้ กรรมการฯ ทุกคนให้ไหออกค่ายอาสา ฯ หมดทุกคน การออกค่ายอาสา ฯ ครั้งนั้นก็ เสร็จสมบูรณ์ ดูข้อมูลที่ http://bumpen-btc.pantown.com/ เลือกเล่าขานตำนานค่าย ทางซ้ายมือ ค่าย 10 ออกที่ บ้านน้ำทรัพย์ ต. แก่งกระจาน อ. ท่ายาง (ในขณะนั้น) จ . เพชรบุรี อนึ่ง...... เมื่อเวลาเปิดภาคเรียน ตอนนั้น การสร้างโรงเรียนยั้งไม่เสร็จสมบูรณ์ ( มีภาพประกอบ แต่ ยังส่งไม่ได้ครับ ) แต่….เกือบเสร็จแล้ว จะอยู่สร้างให้เสร็จก็ไม่ได้ อาจารย์ที่ปรึกษาชมรม ฯ ที่มาด้วยกันไม่ยอม บอกว่า ต้องให้กลับ ไปวิทยาเขต ฯ ก่อน แล้วค่อยว่ากัน จึงจำเป็นต้องเดินทางกลับ ขณะนั้น ชาวบ้านและพี่ๆทหารก็ช่วยกันทำต่อ เมื่อเดินทางกลับถึง กรุงเทพ ฯ ก็ต่างคนต่างส่งใบ แผนกใครแผนกมัน เดินทางกลับไปสร้างโรงเรียนต่อโดยเฉพาะ เพื่อนๆ ที่เรียนมาด้านก่อสร้าง (ของถนัดอยู่แล้ว ) เพื่อนกลุ่มนี้ จะเดินทางกลับไปเป็นพวกแรก หลังจากนั้น ก็เดินทางกลับไป กันทั้งหมด จนสร้างโรงเรียนเสร็จ พร้อมทั้งส่งมอบโรงเรียน อาจารย์ ขจิต ครับ ถ้าผมจะส่ง FILE ในรูป jpg . และ pdf. หรือ ต้องสมัครเ

ขอเปลี่ยนจากพักที่เขื่อนเพชร เป้นเขื่อนแก่งกระจาน ครับ

และขอวิธี ส่ง File ภาพถ่าย และ File เอกสารด้วยครับ

ขอบคุณอย่างสูงครับ

คุณบัณฑิตครับ ทึ่งมาก ตอนนี้ผมเพิ่งลงมาจากน้ำทรัพย์ จะหาภาพมาให้ดูนะครับ ถ้าจะสงภาพสมัครสมาชิกได้เลยครับ หรือจะ link ไปที่อื่นก็ได้ครับ เดี่ยวผมตามไปดู ขอบคุณมากๆๆ อยากเอาภาพให้ดูจัง เสียดายลืมถ่ายภาพอาคาร 6 เหลี่ยม แต่ผมถ่ายภาพโรงเรียนไว้ อยากติดต่อคุณบัณฑิตได้จัง ขอเมล์ได้ไหมครับ

  • วันนี้มาแก่งกระจาน
  • เอาป้ายโรงเรียนมาให้ดูก่อนนะครับ
  • มีข่าวร้ายแจ้งคุณบัณฑิตว่า ผู้กองนิกร ได้เสียชีวิตแล้ว
  • หลังจากที่ผมได้คุยกับผู้ใหญ่
  • ผู้ใหญ่บอกว่าท่านเสียชีวิตแล้ว

E- mail ของผมครับ [email protected]

เรื่องผู้กองนิกร ผมได้ทราบจากผู้ใหญ่ แล้ว ครับ ได้ทราบจากทาง WEB. ของผูใหญ่ และ ก็ทราบว่า ผู้ใหญ่ก็เป็นผู้ที่ได้ช่วยสร้างโรงเรียนด้วยครับ ดูสภาพป้ายโรงเรียนแล้ว ตอนนี้โรงเรียนคงเจริญขึ้นมาก รวมทั้งบ้านน้ำทรัพย์ ซึ่งได้เป็นหมู่บ้านแล้ว เจิญขึ้นอย่างมาก ผิดหูผิดตา ไม่เหมือนเมื่อ 32 ปี้แล้วเลย

ข้อมูลเต็มที่เลยนะคะ สมกับเป็นชาวค่ายจริง ๆ เพราะมักจะมีเรื่องราวเล่าสูกันฟังได้ไม่รู้จบ ขอรับรู้เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ ถึงแม้ไม่ได้ไปพบเห็นด้วยตนเองนะคะ ^_^

จะไปศึกษาดูงานที่หมู่บ้านน้ำทรัพย์ ติดต่อใครได้บ้าง ต้องการเบอร์ดทรศัพย์ติดต่อด่วนครับ หรือจะโทรมาเบอร์นี้ก็ได้ครับ ผมเป็นผู้รับผิดชอบโรงการ 0868859003

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท