ถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์(4)


 ผู้เขียนขอเขียนต่อจากบันทึกนี้นะครับ ที่หมู่บ้านน้ำทรัพย์ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มีข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภูมิธรรม และภูมิสังคม จากข้อมูลเดิมของชุมชนพบว่า

-ในปี  2530  เข้าไปประสานเรื่องไฟฟ้า    ปี  2532  ได้ใช้ไฟฟ้าและได้ถนนลูกรัง  2  เส้น

-สมัยก่อนมีวัดอยู่  5  แห่ง

  1. โบสถ์ทางน้ำ
  2. เขาเขียว
  3. ชายท่าน้ำ
  4. ทางเข้าหมู่บ้านด้านบน
  5. ที่ป่าชุมชน

  ต่อมาหลวงพ่อมาจากวัดกรุ  ได้ช่วยเหลือการศึกษาเน้นเรื่องการช่วยเหลือชาวบ้าน  ปัจจุบันไม่มีวัดแต่ไปทำบุญที่วัดลำตะเคียน  ในปัจจุบันได้ดำเนินการสร้างวัดโดยเป็นวัดสาขาของวัดอรุณราชวรารามจากกรุงเทพมหานคร

จุดเปลี่ยนเมื่อมีไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้าน

 
- เริ่มขยายพื้นที่ในเชิงปริมาณ  ทำการเกษตรมากขึ้นจากการปลูกข้าวโพด  20  กระสอบ  เพิ่มเป็น  50  กระสอบ  เพิ่มมากขึ้น  ในปี  พ.ศ.  2535  เริ่มปลูกเต็มพื้นที่ 

-เป็นหนี้สินเรื่องค่ายา  ค่าสินเชื่อ  โดยการนำยามาใช้ก่อน  ได้ผลผลิตมากแต่ก็ไม่คุ้มค่ากัน  มีบางคนที่ไม่ใช้ยาก็มีเงินเหลือ

-ขาดการทำบัญชี

จากการวิเคราะห์ของชาวบ้านพบวิธีการทำให้เหลือไม่ขาดทุนคือ

 

-ทำด้วยกำลังตนเอง  เหลือให้คนอื่นยืมบ้างบางครั้งก็ไม่ได้คืน  ปลูกทั้งไม้ดอก  ไม้ประแดกได้(สำนวนชาวบ้านหมายถึงไม้ที่นำมาเป็นอาหารได้)  ปลูกมะนาว  ช่วงแรกปลูกมะม่วง  ทำทุกอย่างที่มี  ต่อมาก็ปลูกยางพารา  50  ไร่

-ในหมู่บ้านน้ำทรัพย์มีไม้มหาพรหมมากที่สุด  หนาแน่นที่สุด  เป็นไม้มงคล  ปลูกเป็นไม้ประดับ  ประโยชน์ใช้ทำไม้คาน

 

ผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำ: ได้เห็นจุดเปลี่ยน วิกฤติเสียหายนำสิ่งที่เกิดขึ้นมาคิดวางแผนในการเข้ามารับตำแหน่งใหม่ ๆ

1.การออม  แหล่งเงินทุน  จนปัจจุบันเป็นสหกรณ์ที่จดทะเบียนเมื่อปี  พ.ศ.  2547

บันทึกข้อความขอบคุณจากจังหวัดในการแก้ปัญหายาเสพติด

2.ยาเสพติด  มองเรื่องการพัฒนาคนโดยการถามชาวบ้านว่าจะแก้อย่างไร  โดยการเปิดอกคุยกัน  ได้มีการตั้งกฎระเบียบของหมู่บ้าน  มีการประชาคม  ในปี  พ.ศ.  2541  ได้เป็นหมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติ  มีกระบวนการสร้างจิตสำนึก  ติดธงทุกครัวเรือนหลังจากการทำกิจกรรม (คำว่า หมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติปลอดยาเสพติด)  หมายความว่าไม่มียาเสพติดใช่ไหม   ตอบ  มี  ถ้ารู้ว่าคนในหมู่บ้านเสพยาก็จะหาวิธีการแก้ไข   ผู้ใหญ่มีการตรวจตราตลอดเวลา  (ตาสับปะรด)  และให้ความสำคัญในเรื่องปลอดยาเสพติอย่างต่อเนื่อง  เมื่อปี  พ.ศ.  2541  พาชาวบ้านไปอบรมสาอาสมัครราษฎรพิทักษ์ป่า 

 

1. มีอาชีพเสริมของศูนย์ศิลปะอาชีพ (โครงการปลูกหม่อนเลี้ยงใหม่อันเนื่องมาพระราชดำริของบ้านน้ำทรัพย์)  ในปี  พ.ศ.  2544  ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมราชินีนาถ  ณ  เขาเต่า   เป็นหมู่บ้าเดียวในการถวายพระพร   การดูแลรักษาป่า ไม่มีไฟไหม้ตั้งแต่ปี  พ.ศ.  2541  เป็นต้นมา

 

2.เศรษฐกิจพอเพียง  มีการทำตั้งแต่การทำบัญชีครัวเรือน ใครทำบัญชีครบ  100  %  มีรางวัลให้และสามารถเก็บหลักฐาน   

               

ดร.ปาน  กิมปี: ตั้งคำถามกับผู้ใหญ่ว่าให้ กศน.ทำอะไรต่อ  (การทำบัญชีครัวเรือน)   แนวการวิเคราะห์รายรับ – รายจ่าย  ด้านไหนควรตัดเมื่อมีเงินเหลือทำอะไรต่อ

ผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำ :  บอกชาวบ้านว่า  ถ้าเปลี่ยนชีวิตให้เปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน  ถ้าใครทำบัญชีครอบครัวจะลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้  มีการตรวจเครดิต  ตรวจคุณภาพการเงิน  โดยนำบัญชีครอบเรือน  โดยให้ปัจจัยการผลิต  เช่น  การเลี้ยงหมู ซื้อหมูให้และซื้ออาหารให้

 

-การเป็นหนี้เกิดจากการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์  คือเป็นประโยชน์ของตนเอง  และของสหกรณ์ด้วย

-ถ้าใครคิดนอกกรอบก็จะได้เพิ่มแต่ต้องผ่านคณะกรรมการเห็นชอบ

-โครงการปลูกหม่อนเลี้ยงหยุดเนื่องจากไม่มีน้ำ

 

ดร.ปาน  กิมปี: ถามถึงฐานการเรียนรู้   9  ฐาน  มีความเป็นมาอย่างไร

 

ผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำ: เป็นฐานเรียนรู้ที่ทำเป็นกิจวัตรประจำวัน  คุยกับคนที่ทำจริง ๆ  หันมาดูที่ต้นทุน  ผลผลิต  กำไรอยู่ที่ตัว

  การแก้ปัญหายาเสพติด  ผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำ  ไม่ได้ทำคนเดียวแก้โดยการเฝ้าระวัง  ถ้ากลัวจะไม่ทำ  ทำก็จะไม่กลัว  โดยชาวบ้านมีส่วนร่วม  ผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำ   ดำเนินการเอง  หรือจะให้ตำรวจดำเนินการ  (ให้ลูกบ้านเลือก)  ใช้วิธีภายในก่อน  ถ้าตำรวจเข้าผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำ   จะพาไปเอง

 

นายวรวิทย์   กิตติคุณศิริ : 1.คนภายนอกมีส่วนเสริมอย่างไร   เริ่มจากการมีวินัยของตนเอง  เลือกโครงการ  ส่วนราชการจะมีเรื่องด่วนเด่นมา  เช่น  กศน.  มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง  ประสบความสำเร็จ  เรื่องเงื่อนไข เรื่องมีของแจกมาที่หลัง เงินก็มาที่หลังใช้โครงการเป็นตัวตั้งไม่ใช่เงินเป็นตัวตั้ง  เงินมาที่หลัง

-หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่  เข้ามาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก็สามารถมาตามได้ที่บ้านน้ำทรัพย์  จึงเป็นที่เดียวเข้ามาทำได้

-เป็นการสร้างจิตสำนึก  สร้างค่านิยมไปด้วย  และเอาใจมาก่อน

 

ดร.ปาน  กิมปี : ได้ให้ผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำ  สะท้อนถึงเรื่องต่าง ๆ ว่ากำไรอยู่ที่ตัวว่าทำแล้ว ยิ่งฟังผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำ  พูด ซาบซึ้งว่า แก่งกระจาน  สิ่งสำคัญ  เกียรติยศ  คนรากหญ้า  อยากจะเขียนหนังสือว่า “ยอดคนรากหญ้าเมืองเพชร”  ชื่นชมผู้ใหญ่ชูชาติ  วรรณขำ  เป็นอย่างมาก  ฐานเรียนรู้ที่คน  กศน.ทำไม่ใช่ตั้งฐานแล้วอยู่กับที่

-บัญชีครัวเรือน  ในสำนักงานมีการทำบัญชีครัวเรียนไหม  ถ้าเราดูละคร  แล้วก็ย้อนหลับมาดูตัวเอง

วันนี้ผู้อ่านจะเห็นประเด็นการพูดคุยกับผู้ใหญ่ชูชาติ เรื่องปัญหาของชาวบ้าน การแก้ปัญหาของชาวบ้านที่แก้ปัญหาโดยใช้คณะกรรมการหมู่บ้าน หน่วยราชการมีส่วนสนับสนุนโดยไม่ใช่เป็นการสั่งให้ชาวบ้านทำแต่เป็นการทำร่วมกับชาวบ้าน หน่วยงานราชการต้องทำงานเชิงลุก(ลุกออกจากที่ทำงาน)  ผู้เขียนเองมีความคิดว่า คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน(อย่าเพิ่งเชื่อผู้เขียนนะครับ อาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง)

  ผู้ที่จะรู้ปัญหาได้ดีที่สุดของหมู่บ้านคือ ชาวบ้านเอง  แต่การที่จะให้ชาวบ้านช่วยกันระดมความคิด การแก้ปัญหา เอาปัญหามาเป็นบทเรียนเพื่อจะได้แก้ปัญหาที่ใกล้เคียงกันต่อไปในอนาคตต้องมีหน่วยงานราชการไปชวนให้ชาวบ้านคิด ชาวบ้านจะได้เรียนรู้ ได้ใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาของชุมชนของตนเอง ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน…

หมายเลขบันทึก: 390652เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2010 08:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

สวัสดีครับ  ได้ความรู้ดีจริง ๆ ครับ ที่ดีมาก ๆ คือได้บทเรียนการถอดบทเรียนที่เป็นแบบอย่างได้ดีที่สุด  ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

ขอบคุณคุณธนามากครับ มาไวมากๆๆ ผมได้เรียนรู้จากชุมชนด้วยครับ ดีกว่าเรียนรู้ในหนังสืออย่างเดียว

มาชม มาเชียร์ บรรยากาศเลิศจริงๆค่ะ ฮามากเลย เราไปเรียนอะไรนอกโลกมากมาย สุดท้ายคำตอบในชีวิต วิถีชนบทพอเพียง เหมือนในบันทึกอ. แสวงฯ ;) ... ท่านพี่มีคิวเดินสายทั้งปีไหมคะ ๕ ๕ ;)

เรียนท่านอาจารย์Ico32ที่นับถือ

   เห็นบรรยากาศแบบนี้แล้ว อยากร้องดังๆว่า"คึดฮอดบ้านเด้"ลง Bl0g แล้วกลับบ้านดีฝ่า ไปกันโลด ปิ๊วๆๆ

สวัสดีค่ะ

*** ได้ความรู้การบทเรียนการถอดบทเรียนที่เป็นแบบอย่างได้ดี

*** ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ รักาสุขภาพด้วยนะคะ

ขอบพระคุณมากครับ

เป็นชุมชนที่เข้มแข็งมากครับ...

สวัสดีค่ะ Aj.ขจิต

  • ละเอียดยิบๆเลย
  • พาลงชุมชนเลยนะคะคราวนี้

ขอบคุณน้องปู คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน ถ้าชุมชนเข้มแข็งก็ประสบผลสำเร็จครับ

ขอบคุณคุณยาย กลับบ้าดโลดครับ ฮ่าๆๆๆ

ขอบคุณพี่กิติยา ได้เรียนรู้ในหลายบริบทของชุมชนมากกว่าเรียนในหนังสือครับ

ขอบคุณคุณ phornphon มากครับ ชุมชนนนี้เข้มแข็งครับ

ขอบคุณคุณน้อง ลงไปหลายชุมชนแต่ไม่ค่อยมีเวลาเขียนครับ เวลาหมดไปกับการเดินทาง คุณน้องสบายดีนะครับ

ช่วงเดือนตุลาคม -ธันวาคม 2553 หมู่บ้านจะมีการอบรมประชาชน

โดยเริ่มจากการปรับวิธีคิด แล้วค่อยลงมือทำ (คุยกับผู้ใหญ่เมื่อวาน แล้วมาช่วยกันนะค่ะ) เหนื่อยนักพักก่อนๆ

ข้อมูลที่ขอกำลังรวบรวมเพิ่มเติม เยี่ยม จริงอาจารย์ขวัญใจคนน้ำทรัพย์เชี่ยวนะ มาทีหลังแซงครูเหงี่ยมซะแล้ว ฮิ ฮิ ฮิ ...

อ.ครับ ประเด็นนี้  เป็นคำตอบในการทำงานในระบบราชการได้เป็นอย่างดีครับ

    หน่วยราชการมีส่วนสนับสนุนโดยไม่ใช่เป็นการสั่งให้ชาวบ้านทำแต่เป็นการทำร่วมกับชาวบ้าน หน่วยงานราชการต้องทำงานเชิงลุก(ลุกออกจากที่ทำงาน) 

ขอบคุณครูเสงี่ยม วันนี้ได้พักหนึ่งวัน วันเสาร์แห่งชาติ ฮ่าๆๆ อยากไปครับ แต่ต้องจัดการงานที่มหาวิทยาลัยให้เสร็จก่อน ชาวบ้านที่น้ำทรัพย์เป็นชาวบ้านที่มีคุณภาพครับ

ขอบคุณท่านรองฯ จริงๆๆด้วยครับ หน่วยงานราชการต้องปรับการทำงาน

สวัสดีคะ น้องขจิต เป็นการถอดบทเรียน ที่เยี่ยมยอด เพราะในสมัยพี่สุเป็นนักศึกษา อาจารย์ก็ให้ไปถอดแบบนี้แหละคะ เริ่มตั้งแต่เดินสัมภาษณ์ความเป็นอยู่ชาวบ้าน เป็นครอบครัว ความเป็นอยู่ การทำมาหากิน พืชเศรษฐกิจ นำจุดเด่นจุดด้อย มาเสวนากัน  และพร้อมถามเขา ว่าหลวงมีนนโยบายมาช่วยแก้ปัญหาอะไร แก้ได้ไหม ไม่ได้เพราะอะไร แล้วนักศึกษาก็ต้องมาวิเคราะห์ ทำรายงาน นำเสนอหน้าชั้น

-แล้วการที่เราไปทำแบบนี้ ตามหมู่บ้าน ที่เขาทำตามหลักเศรษฐกิจพอ เพียงแบบไหน หัวข้อใด 3 ห่วง 2 เงื่อนไข แล้วนักศึกษามาวิจารณ์  ถ้าเป็นนักศึกษาเป็นผู้นำชุมชน จะช่วยเขาได้อะไร อย่างไรบ้าง  

-ตามจริง ถ้าอยากให้หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน มีความเป็นอยู่ที่ดี ต้องเอาหมู่บ้านเป็นหลัก เป็นศูนย์กลาง หาปัญหา แล้วแก้ปัญหาให้ถูกจุด

-ซึ่งสมัยแต่ก่อน มีแต่หลวงเป็นศูนย์กลาง สั่งลงมาให้ทำตาม โดยไม่ได้วิเคราะห์ว่า เป็นความจำเป็น หรือความต้องการของชุมชนนั้นหรือไม่ ทำโครงการก็พอได้ถ่ายรูปเสร็จ หมดเงินงบพัฒนา ลอยหายไปตามน้ำแล้ว ก็เงียบหายไป เพราะไม่ได้เกิดจากความต้องการหรือความจำเป็นของประชาชน

-เป็นการถอดบทเรียนที่ดีมาก ถ้าเป็นสมัยนักศึกษา มาเอารูปแบบ แบบอย่างเลย

-และถ้าหาก มีคนมาถอดบทเรียนแล้วบันทึกไว้ สามารถเป็นความรู้ เก็บเป็นตำนานอ้างอิงได้  และรับรองว่า จะมีนักศึกษามาเอาแบบอย่างการถอดบทเรียนแน่นอนคะ

จะชวนกันไปสำรวจ พื้นที่แล้ว ทำงานหนักมาก 5555

มาชม

มีสาระน่าสนใจนะครับผม

ไม่แน่ใจว่าเป็นโบสถ์ที่สร้างอยู่กลางน้ำที่ ภาคอีสานเรียกว่า..สิม..นั้นรึเปล่านะ...

สวัสดีค่ะน้องอาจารย์ ดร.

  • บทเรียนนี้มีประโยชน์มากจริงๆ
  • เป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆได้เป็นอย่างดี
  • โดยเฉพาะผู้ใหญ่บ้าน มีความคิดดีดี ช่วยเหลือชาวบ้านได้ยอดเยี่ยม
  • มาเป็นกำลังใจคนหนุ่ม(น้องอาจารย์) ที่สละเวลาในการถอดบทเรียนของชุมชน
  • ชื่นชมจริงๆค่ะ

             คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

สวัสดีวันหยุดค่ะ มากระโดดข้ามบันทึกก่อนมาถึง 4 เลยแร่ะ ติดตามการลงพื้นที่ อิอิ จะคุ้นเคยเหมือนการนำเสนอสอนถือไมค์ไฟส่องหน้าอ่ะป่าวน้อท่านอาจารย์ เห็นภาพแล้วบรรยากาศดีจังเลยธรรมชาติสวยมากค่ะ

มาเรียนรู้แนวทางถอดบทเรียนจากท่านเพื่อรายงานวัฒนธรรมจังหวัดครับ น่าจะเป็นแนวทางได้เป็นอย่างดีครับ

สบายดีนะครับท่าน

ขอบคุณพี่สุ ตั้งใจจะเขียนเอาไว้ให้ชุมชนบ้าน้ำทรัพย์ อย่างน้อยได้หนังสือของชุมชน ได้รวบรวมเอกสารให้ชุมชนครับ

ขอบคุณท่านอาจารย์ยูมิมากครับ ทางใต้ฝนตกหนักไหมครับ เคยเห็นสิมของอีสานเป็นภูมิปัญญาที่น่าสนใจนะครับ

ขอบคุณพี่ดาวเรืองมากครับ พยายามเขียนให้ได้ดีที่สุด แต่ยังต้องปรับสำนวนอีกครับ

ขอบคุณพี่ครู rinda อ้าวข้ามมาเลย ต้องไปอ่านตอนรแกๆเผื่อได้ความคิดไปทำที่ภาคเหนือนะครับ

ขอบคุณท่าน ผอ.พรชัยมากครับ ในอีสานน่าสนใจมาก เริ่มจากข้อมูลที่พี่หนานเกียรติ ให้นักเรียนเก็บเลยดีไหมครับ

อาจารย์ครับ..

องค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ การวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในหมู่บ้านน้ำทรัพย์นี้

น่าจะเป็นประโยชน์.. เป็นบทเรียนที่มีคุณค่า... และเป็นตัวอย่างที่ดี

ให้แก่หมู่บ้านและชุมชนอื่นๆ ต่อไปนะครับ

ขอบคุณครับ

อิ อิ ท่านพี่เหงา จึงเห็นหินเป็นน้องแพนเค้ก ๕ ๕  วันนี้ไม่เดินสายไปหลอกเด็กหรือคะ ;)

น้องไปถอดบทเรียนน้ำทรัพย์ 4 แล้ว

พี่ยังถอดตัวเองไม่ออกเลย ฮา..

บ้านน้ำทรัพย์มีสระมรกตด้วย..ปิ๊งๆ

ภาพมีอีกหลายมุมคิด กำลังหาเวลาย่ออยู่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

พายเรือมาหา

สนับสนุนค่ะว่าคำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน ต้องค้นหาทุนหลากหลายที่มีอยู่ในชุมชนของตัวเองให้เจอ คนนอกเป็นเพียงสิ่งสนับสนุน หรือช่วยเหนี่ยวนำให้เขาได้ค้นพบ เห็นปัญหา อยากแก้ และแก้ที่ตนเองก่อน

ที่ไร่พนมทวนมีดอกไม้นี้ไหมคะ พี่อยากทราบว่าดอกอะไร ขึ้นอยู่ที่นาของชาวบ้านไม่ไกลจากบ้านพี่ค่ะ

  • ขอบคุณอาจารย์ นุ
  • มากครับ
  • เป็นประโยชน์แก่ชุมชนอื่นมากเลยครับ
  • ขอบคุณน้องปู
  • ไปแซวคุณหมอมาสนุกมาก
  • แพนเค็ก ผิดคาดนึกว่า ดารา
  • ขอบคุณพี่ครูต้อย
  • เป็นบ้านลุงส่ง
  • ตอนนั้นพี่ต้อยไปดูที่โรงเรียนใช่ไหม
  • รอพี่ต้อยเขียนอีก
  • ขอบคุณพี่นุช
  • น้องว่าคุ้นๆๆ
  • ขอไปถามแม่ก่อนนะครับ
  • มีคล้ายที่ไร่เลย
  • ขอบคุณท่านเกษตรมากครับ
  • กำลังลดน้ำหนัก
  • ฮ่าๆๆ
  • ตามมาชมชีวิตชาวบ้านค่ะ ... แบบสบายๆ ดีจัง ไม่เครียดนิ
  • เข้ามาเรียนรู้ต่อเนื่อง
  • หากขยายไปทั่วประเทศประชาชนคงเข้มแข็ง
  • ประเทศชาติมั่นคง มีคุณค่ายิ่ง
  • ขอบพระคุณที่มอบสิ่งดีดีให้ได้เรียนรู้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท