ปั่น ปั่น ปั่น จนเป็นด้าย


การปั่นด้าย เป็นการนำเส้นใยมาปั่นเป็นเส้นด้าย
          สวัสดีค่ะ  วันนี้จะขอนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับการนำด้ายดิบมาทำให้เป็นก้อนๆ  หรือการปั่นด้ายนั่นเองค่ะ  เนื่องจากว่า  วันก่อนพี่แจ๋วแหววได้ถามเกี่ยวกับเรื่องต้นทุนของการทำให้ด้ายดิบเป็นก้อน  หรือก็คือต้นทุนของการปั่นด้ายนั่นเองค่ะ   ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้น  มาดูกันเลยดีกว่าค่ะ
 
 
          การปั่นด้าย เป็นการนำเส้นใยมาปั่นเป็นเส้นด้าย ส่วนใหญ่จะเป็นการผสมระหว่างใยฝ้ายและใยสังเคราะห์ ตามความต้องการของตลาด ซึ่งความต้องการด้ายฝ้ายยังมีอยู่ค่อนข้างมาก แต่เนื่องจากปัญหาปริมาณการผลิตด้ายฝ้ายขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและไม่สามารถควบคุมได้ การผลิตด้ายใยสังเคราะห์จึงพัฒนาทั้งปริมาณและคุณภาพขึ้นมาแทน ปัจจุบันสภาพเครื่องปั่นด้ายที่ใช้เป็นเครื่องจักรที่เก่าและล้าสมัย ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตค่อนข้างต่ำ และขนาดเส้นด้ายโดยเฉลี่ยที่ประเทศไทยสามารถผลิตได้อยู่ในช่วงเบอร์ 40-50 โดยเส้นด้ายที่มีขนาดเล็ก เช่น เบอร์ 80 ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่   ใช้วัตถุดิบในประเทศร้อยละ 80 คือเส้นใยสังเคราะห์ เส้นใยฝ้าย นอกนั้นร้อยละ 20 เป็นการนำเข้าเส้นใยคุณภาพสูงจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา เนื่องจากประเทศไทยไม่สามารถผลิตเส้นใยคุณภาพดีได้เท่าที่ควร
 
 
          เทคโนโลยีที่นิยมใช้ในการปั่นด้ายมี 2 ระบบ  ระบบแรก คือ การปั่นด้ายระบบวงแหวน (Ring-Spinning) ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่ทันสมัยที่สุดซึ่งไทยมีประมาณ 4 ล้านแกน แต่เป็นเครื่องจักรล้าสมัยถึงร้อยละ 70 ทำให้ด้ายที่ผลิตมีคุณภาพต่ำ และมีการสูญเสียวัตถุดิบในการผลิตสูง ระบบนี้จะมีข้อดีคือมีความคล่องตัวสูงในการเปลี่ยนขนาดของเส้นด้ายที่จะทำการผลิต และระบบที่สอง คือ ระบบปลายเปิด (open-end Spinning) เป็นระบบที่ปั่นด้ายด้วยความเร็วรอบสูงกว่าระบบวงแหวน  แต่มีข้อจำกัดคือ เหมาะสำหรับการปั่นด้ายขนาดใหญ่ เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงและมีความเหนียวของเส้นด้ายต่ำกว่าแบบวงแหวน ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญ คือ จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ปากีสถาน ไต้หวัน ซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องภาษีนำเข้าวัตถุดิบมากอย่างไทย ทำให้ไทยเสียเปรียบการแข่งขันกับต่างประเทศ และประเทศเหล่านี้มีเครื่องจักรที่ใหม่และทันสมัยกว่ามากในการผลิต
 
 
          ในอดีตที่ผ่านมา กระบวนการผลิตหรือการปั่นด้ายมีวิธีการที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก ผลิตภัณฑ์ที่ได้ส่วนใหญ่จึงปรากฏให้เห็นในรูปแบบธรรมดาที่มีผิวสัมผัสราบเรียบ แต่ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ทำให้ต้องนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้กันอย่างกว้างขวาง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และสร้างคุณภาพ ตลอดจนโครงสร้างถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงกระบวนการผลิตในแบบต่าง ๆ ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วได้ผลิตภัณฑ์ออกมามากมาย เช่น เส้นด้ายพองฟู (Slub yarn) เป็นปุ่มปมเล็กคล้ายจุดไข่ปลา (Nep or Spot yarn) เป็นห่วง (Loop yarn) พ่นสี (Top dyed yarn) และซีวีซี (CVC yarn) เป็นต้น
          โรงงานภายในประเทศหลายโรงงานเริ่มผลิตกันอย่างมากมาย เนื่องจากเป็นเส้นด้ายแฟชั่นที่เป็นสินค้ายอดฮิตในช่วงเวลาอันสั้น วิธีการผลิตไม่ยุ่งยากและวัตถุดิบที่นำมาใช้มีต้นทุนต่ำ แต่โครงสร้างด้านภาษีก็ทำให้ต้นทุนของการปั่นด้ายเพิ่มขึ้นทั้งการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักร
          เมื่อได้ทราบข้อมูลอย่างนี้แล้ว  คุณมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างคะ?
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 331761เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2010 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ทุกวันนี้เทคโนโลยีมีส่วนช่วยในการผลิตสินค้าจริงๆ ครับ

ช่วยประหยัดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำได้มากขึ้นจริงๆ

แต่เอ...?? ถ้ามีเส้นด้ายสักเส้นขาดเขาจะรู้ไหมอ่ะครับ หุหุ

"ขอบคุณข้อมูลดีๆ ครับ"

อันนิมิทราบเหมือนกันอ่าคร่ะ แต่เท่าที่เคยเจอ

ในม้วนไหมพรมเคยมีด้ายขาด ขนาดไม่ต่อเนื่องบ้างเหมือนกันนะคะ

แต่คิดว่าจากระบบนี้ หากมีเส้นด้ายเส้นใดขาด ในเครื่องจักรตัวที่ทันสมัยมากๆ น่าจะวิเคราะห์ได้นะคะ

อยากทราบแหล่งจำหน่ายด้ายดิบ ขอซื้อค่ะ

อยากได้เครื่องนี้มาใช้ผลิตเส้นฝ้ายในท้องถิ่นเพราะผ้าฝ้ายได้รับความนิยมสูง ต้นทุนการผลิตยังสูงเพราะขาดเทคโนโลยีมาเสริมในไทย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท