ประกาศ ข่าว เกี่ยวกับการใช้และสร้างบล็อก จาก gotoknow


Knowledge management Thailand blog tag volution

วันนี้ผมขอนำข่าว ประกาศ จาก gotoknow โดย ดร.จันทวรรณ น้อยวัน ซึ่งได้ลงประกาศเกี่ยวกับคู่มือการใช้บล็อก เวอร์ชัน ใหม่นี้ เพราะมีรูปโฉม และรายละเอียดเกี่ยวกับบันทึก การนำไฟล์ขึ้น การใส่ป้าย การใส่รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับบล็อก มาขยายผลต่อเพื่อให้ชาวบล็อกทั้งมือเก่าและมือใหม่ มำทำความเข้าใจ และปฏิบัติได้ถูกต้องยิ่งขึ้นดังนี้ครับ รวมทั้งตัวกระผมเองด้วย ซึ่งจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปกับท่านครับ

KnowledgeVolution ระบบการจัดการความรู้แบบเปิดเผยรหัสต้นฉบับ ระบบแรกของไทย

จากความสำเร็จในการนำระบบบล็อก (Blog) นำมาประยุกต์ใช้สร้างสังคมออนไลน์สำหรับคนไทยเพื่อการจัดการความรู้ ณ GotoKnow.org โดยสมาชิกจะสร้างบล็อกหรือไดอารี่ เพื่อบันทึกและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ ประสบการณ์ ข่าวสาร และ ความคิดเห็นต่างๆ

หนึ่งปีแห่งการเฝ้าเก็บเกี่ยวความต้องการของผู้ใช้ในการนำบล็อกไปใช้เพื่อการจัดการความรู้ ประกอบกับ การเฝ้ามองติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกอินเตอร์เน็ตที่เน้นการนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการเติบโตของสังคมออนไลน์ต่างๆ

ในที่สุด ระบบการจัดการความรู้ระบบแรกของประเทศ ก็ได้รับพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบ ภายใต้ชื่อว่า KnowledgeVolution ซึ่งเกิดจากคำว่า Knowledge และคำว่า Evolution มาผนวกรวมกัน โดยความต้องการที่จะสื่อถึง การพัฒนาการของความรู้ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้งด้วยความร่วมมือกันของสมาชิกในสังคม และในขณะเดียวกัน Volution มีความหมายคือ วงจรของลายก้นหอยที่มุ่งเข้ามาสู่จุดศูนย์กลาง จึงเปรียบเสมือนกับ การจัดการความรู้ที่ต้องมีเป้าหมายเป็นหลักยึด

KnowledgeVolution ปัจจุบันได้นำมาแทนที่ระบบบล็อกเดิมที่เว็บไซต์เพื่อการจัดการความรู้GotoKnow.org เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2549 และจะเผยแพร่รหัสต้นฉบับ (Source code) ให้ผู้ที่สนใจดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรี! ในเร็ววันนี้ที่ http://KnowledgeVolution.com โดยระบบนี้เป็นลิขสิทธิ์แบบ GPL (Open-source) คือ การแก้ไขปรับปรุงระบบจะต้องแลกเปลี่ยนเผยแพร่กลับมาสู่สาธารณะ ภายใต้ลิขสิทธิ์ GPL เช่นกัน และผู้เป็นเจ้าของซอฟต์แวร์ KnowledgeVolution คือ สกว. และ สคส. ซึ่งเป็นผู้ให้ทุนพัฒนาและวิจัย

KnowlegeVolution มีความสามารถที่หลากหลายเพื่อตอบสนองกิจกรรมการจัดการความรู้ ซึ่งเน้นที่ก การบันทึกความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดหมวดหมู่ความรู้ การค้นหาความรู้ การสร้างแผนที่ความรู้ และ การสร้างเครือข่ายของกลุ่มผู้ชำนาญการในด้านต่างๆ หรือ กลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมต่อกัน

ความสามารถดังกล่าวนี้ ถูกถ่ายทอดออกมาเป็น features ที่มีให้ในเวอร์ชันล่าสุดของ KnowledgeVolution อันได้แก่ tag, blog, photo & file blog, planet, ask-me, bookmark, portal และ visitor statistics ซึ่งมีรายละเอียดโดยคร่าวดังนี้คือ

1. ป้าย (Tag)

ป้าย หรือ tag คือ การระบุคำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลชุดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น บันทึก ไฟล์ข้อมูล บล็อก แพลนเน็ต หรือแม้กระทั่ง ตัวสมาชิก ซึ่งการติดป้ายจะมีประโยชน์อย่างมากในการค้นหาความรู้และสร้างแผนที่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น ท่านสามารถค้นหาสมาชิกใน Gotoknow.org ที่เป็นนักวิจัยด้วยคำว่า “นักวิจัย” เป็นต้น

2. บล็อก (Blog)

บล็อกเป็น feature เดียวที่ได้นำมาประยุกต์ใช้เพื่อการบันทึกความรู้ในระบบเดิมของ Gotoknow.org ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดถึงประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำมาซึ่งการเข้าถึงความต้องการของผู้ใช้เพื่อการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ KnowledgeVolution

สำหรับความสามารถของบล็อกใน KnowledgeVolution ที่เพิ่มเติมเข้ามา นอกจากการเน้นถึงการระบุบันทึกด้วยป้ายแล้ว ก็คือ การเขียนและส่งบันทึกผ่านทางอีเมลมาเข้าบล็อกได้ และ เมื่อบันทึกใดมีข้อคิดเห็นฝากไว้ ระบบก็จะส่งอีเมลไปแจ้งให้เจ้าของบล็อกทราบได้โดยทันทีเพื่อการต่อยอดความรู้อย่างทันท่วงที

3. ไฟล์อัลบั้ม (Photo & File Blog)

สื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สำคัญมากพอกับการบันทึก คือ ไฟล์ข้อมูลและรูปภาพ ซึ่ง KnowledgeVolution เพิ่มความสามารถในการนำไฟล์ข้อมูลและรูปภาพขึ้นเก็บในพื้นที่ของแต่ละบุคคลที่กำหนดไว้ให้ และแสดงผลรูปภาพนั้นพร้อมกับป้ายและรายละเอียดของรูปและไฟล์ที่นำขึ้นเก็บ ตัวอย่างการนำ ไฟล์อัลบั้ม นี้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระหว่างการประชุมหนึ่งๆ ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนำรูปที่ถ่ายในงานขึ้น Photo Blog และกำหนดรูปแต่ละรูปด้วยป้ายหลักป้ายหนึ่ง เช่น มหกรรมการจัดการความรู้ และป้ายรองต่างๆ ตามความสมควร ซึ่งก็จะทำให้สามารถค้นหารูปที่มาจากหลากหลายผู้เข้าร่วมประชุมที่ถ่ายเก็บไว้ได้ทันที

4. แพลนเน็ต (Planet)

แพลนเน็ต หรือ Planet ก็คือ คำว่า ชุมชนบล็อก ของระบบเดิม แต่ใน KnowledgeVolution เราหันมาใช้คำที่ถูกต้องกว่า แต่ความเป็นชุมชนบล็อกที่มีอยู่เดิมนั้นก็ยังคงอยู่ และจะเพิ่มความสามารถของการเป็นชุมชนเข้ามาอีกมากมายในเวอร์ชันถัดๆ ไป เช่น Ask-us ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการเป็น Webboard ของเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น

แพลนเน็ตนั้นเป็นเหมือนกับระบบการรวบรวมบล็อกที่มีอยู่ในระบบเฉพาะที่สมาชิกแต่ละคนสนใจที่จะติดตามอ่านอยู่เป็นประจำ (Reading list) และเจ้าของบล็อกนั้นๆ จะสามารถติดตามได้ว่ามีสมาชิกท่านใดสมัครรับอ่านบล็อกของตนอยู่บ้าง หรือที่เรียกว่า วงจรแพลนเน็ต นั่นเอง

5. ถามตอบ (Ask-me)

Ask-me คือ feature ของการถามตอบ โดยผู้เยี่ยมชมสามารถสอบถามคำถามต่างๆ ไปยังสมาชิกคนหนึ่งๆ ได้โดยตรง เมื่อมีผู้เข้ามาถามคำถาม ระบบก็จะส่งอีเมลไปแจ้งให้สมาชิกทราบโดยทันที และสมาชิกเองก็สามารถตอบและแก้ไขคำตอบนั้นๆ ได้ตลอดเวลา ส่วนผู้เยี่ยมชมหรือสมาชิกท่านอื่นที่อยากให้คำตอบเสริมก็สามารถเขียนลงในส่วนของข้อคิดเห็นได้ด้วยเช่นกัน

6. เว็บอ้างอิง (Bookmark)

การรวบรวมแหล่งความรู้จากเว็บไซต์ต่างๆ ที่สมาชิกสนใจและเข้าไปเยี่ยมชมอยู่เป็นประจำนั้น สามารถนำมารวมเก็บไว้ที่ เว็บอ้างอิง หรือ Bookmark ได้ และยังสามารถกำหนดป้ายของ bookmark แต่ละอันได้อีกด้วย หากอยากทราบว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่ถูกจัดกลุ่มให้อยู่กลุ่มเดียวกัน หรือ กำหนดด้วยป้ายเดียวกัน นั่นเอง ก็สามารถค้นหาได้อย่างง่ายดาย หรือ อาจจะดูความ Popular หรือ จำนวนคนที่สนใจเว็บนั้นๆ ได้อีกด้วย

7. ศูนย์รวมข้อมูล (Portal)

ศูนย์รวมข้อมูล หรือ Portal คือ อีกหนึ่ง feature ที่เพิ่มขึ้นมาให้แก่สมาชิกเพื่อเอื้ออำนวยต่อการติดตามกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกท่านหนึ่งๆ กับสมาชิกท่านอื่น

ในศูนย์รวมข้อมูลจะแสดงข้อมูลล่าสุดต่างๆ ของสมาชิก เช่น บันทึกล่าสุด คำถามล่าสุด ไฟล์ที่นำขึ้นล่าสุด คำถามหรือข้อคิดเห็นที่สมาชิกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไว้ในที่ของสมาชิกท่านอื่น เป็นต้น

เรียกได้ว่า ศูนย์รวมข้อมูลเป็นสถานที่ประจำที่สมาชิกสามารถติดตามการต่อยอดความรู้ได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง

8. สถิติการเข้าชม (Visitor statistics)


ในแต่ละหน้าของระบบจะเก็บประวัติและแสดงผลการเข้าเยี่ยมชม เช่น จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมดและในแต่ละวัน รายการ IP address พร้อมกับรายการหน้าเพจที่นำผู้เยี่ยมชมเข้ามาถึงหน้าเพจ ณ ปัจจุบัน

หมายเลขบันทึก: 34596เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2006 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เรียน อาจารย์มานิต ที่เคารพอย่างสูง

          ได้รับความรู้เรื่อง การใช้บล็อกเวอร์ชั่นใหม่เพราะเป็นสมาชิกบล็อกมือใหม่  จะพยายามนำความรู้ที่ได้รับมาปรับปรุงของตนเอง

           ขอบคุณค่ะ

          อรชร  มิ่งส่วน  C.I.6.1  เลขที่48

เรียนท่านอาจารย์มานิตที่เคารพอย่างสูง

    ได้รับความรู้จากบล็อกใหม่ท่านอาจารย์  และจะนำไปพัฒนาการทำงานของตัวเองค่ะ  ถึงแม้ว่าจะทำความเข้าใจได้ค่อนข้างช้า    แต่ก็จะพยายามค่ะ

                                           ขอบคุณค่ะ

            รุ่งนภา   โกกะพันธ์   เลขที่  33 C.I.  6.1  

  เรียน  อาจารย์มานิต  ที่เคารพ

      ดีใจมากที่ไม่ต้องเสียเวลาค้นความรู้ในการสร้างบล็อก version ใหม่ของ gotoknow  อาจารย์สมกับคำว่าครูของครูจริงๆค่ะ เพราะบางเรื่องหนูก็ไม่รู้เพื่อนๆก็ยังมีปัญหาในการเขียนบล็อกต่ออยู่พอดีค่ะ

      วันที่ 17  มิถุนายน  2549 ที่ผ่านลูกศิษย์ของอาจารย์  C.I 6.1   จัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ที่ห้องกาบบัว  หนูมีภาพเด็ดๆอยากให้อาจารย์ดูค่ะ

http://gotoknow.org/saisin1

                           สายสิน

เรียน  อาจารย์มานิต  ที่เคารพ

KnowledgeVolution ระบบการจัดการความรู้แบบเปิดเผยรหัสต้นฉบับ ระบบแรกของไทย
ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากมาย จะพยายามศึกษาและสร้างสรรค์ผลงานตลอดไปค่ะ
เรียน อาจารย์มานิต ยอดเมืองที่เคารพ ดิฉันได้เข้าเยี่ยมชมบล๊อกของอาจารย์แล้วน่าสนใจมาก ได้รับความรู้เรื่อง การใช้บล็อกเวอร์ชั่นใหม่เพราะเป็นสมาชิกบล็อกมือใหม่ จะพยายามนำความรู้ที่ได้รับมาปรับปรุงของตนเองให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆค่ะ ขอขอบพระคุณมากค่ะ สำรวย รัตนบรรดาล c.i.6.1 http://gotoknow.org/blog/sumruay
เรียน อาจารย์มานิต ยอดเมืองที่เคารพ ดิฉันได้เข้าเยี่ยมชมบล๊อกของอาจารย์แล้วน่าสนใจมาก ได้รับความรู้เรื่อง การใช้บล็อกเวอร์ชั่นใหม่เพราะเป็นสมาชิกบล็อกมือใหม่ จะพยายามนำความรู้ที่ได้รับมาปรับปรุงของตนเองให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆค่ะ ขอขอบพระคุณมากค่ะ สำรวย รัตนบรรดาล c.i.6.1 http://gotoknow.org/blog/sumruay

ยินดีที่ GotoKnow เป็นประโยชน์ต่อทุกท่านคะ และขอบคุณที่ร่วมกันเข้ามาสร้างคลังความรู้ของประเทศเรานะคะ

หากเวลาใช้ GotoKnow แล้ว ติดขัดประการใด ก็สามารถอ่านคู่มือการใช้ได้ที่หน้าแรกของ GotoKnow นะค่ะ

ขอบคุณคะ

จันทวรรณ

เป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ  ขอบพระคุณมากครับ
ดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับบล็อกเป็นอย่างดีและจะนำบล็อกที่สมัครนำเสนองานไปใช้ให้เกิดประโยชน์ที่สุดค่ะ

เรียนอาจารย์มานิตที่เครพ 

  วันนี้อาจารย์ไม่สบาย  ผมเลยมาสร้างบันทึก  มา สร้างเเพลนเน็ตใหม่   ผมสนใจบล็อกของอาจารย์ ผมเลยเก็บไว้ในแพลนเน็นผม

    ขอบคุณที่นำความรู้และประสบการณืใหม่ ๆ  มาเล่าให้ฟังนะครับ

    ขอบคุณครับ

นางสาวอาภัสสร กลางประพันธ์

ข้าพเจ้านางสาวอาภัสสร  กลางประพันธ์ ได้เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของอาจารย์แล้วเป็นบล็อกที่ให้ความรู้มากเลยค่ะ

http://Learner.In.th/j-jumjung

นางสาวอาภัสสร  กลางประพันธ์ เลขที่ 40 ค.บ.4.5

สร้าางยังไง หาฟังก์ชันการสร้างบล็อกไม่เจอ

ดาวน์โหลดได้ที่ไหนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท