อาจารย์ยม
อาจารย์ อาจารย์ยม บทบาทนักวิชาการ คือการชี้ทางสว่างให้สังคม นาคสุข

ภาวะโลกร้อน-ทรัพยากรมนุษย์


ข่าวสาร สาระน่ารู้เกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อน ผลกระทบ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโลก ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ มาตรการช่วยเหลือ ป้องกันปัญหาที่เป็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ซึ่งเกิดจากน้ำมือมนุษย์ การจะให้ปัญหาที่บรรเทาลงได้ต้องอาศัยความร่วมมือของทรัพยากรมนุษย์ทั้งโลก และนี่คือทิศทางใหม่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่ไม่มีอะไรไกลตัวคนไทยอีกต่อไป

 ภาวะโลกร้อน-ทรัพยากรมนุษย์

ยม

 ภาวะโลกร้อน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน 

ผมเปิด Blog นี้ขึ้นมาเพื่อ

  1. เป็นที่รวบรวมสาระ ข่าวสาร บทความน่ารู้เกี่ยวกับ ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากน้ำมือของทรัพยากรมนุษย์
  2. เพื่อเป็นสังคมการเรียนรู้เกี่ยวกับ ภาวะโลกร้อน และทรัพยากรมนุษย์ ผลกระทบ-แนวทางป้องกันและแก้ไข
  3. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ ร่วม ด้วย ช่วยกันแก้ไข ปัญหา ภาวะโลกร้อน  

 ภาวะโลกร้อน 2

ผลกระทบที่เกิดจาก ภาวะโลกร้อนจะย้อนกลับมาสร้างความเสียหายอย่างไรกับทรัพยากรมนุษย์

การที่จะบรรเทา ภาวะโลกร้อนและบรรเทาปัญหาที่เกิดจากภาวะโลกร้อน จะต้องอาศัยความร่วมมือของทรัพยากรมนุษย์ทั้งโลก ในการให้ร่วมมือกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง  

ภาวะโลกร้อน หายนะที่กำลังเกิดขึ้น มหันตภัยร้ายแรงที่จะเกิดกับมนุษยชาติกำลังคืบคลานเข้ามา สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวคนไทยอีกต่อไป

ภาวะโลกร้อน 3

ทรัพยากรมนุษย์ทั้งโลกต้องร่วมมือกัน  การบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งโลกให้เห็นความสำคัญของปัญหาและร่วมกันแก้ไข ป้องกัน เป็นสิ่งท้าทายผู้นำโลก ผู้นำประเทศที่มีวิสัยทัศน์  การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์แนวใหม่ จึงไม่ใช่เรื่องภายในท้องถิ่น ไม่สนใจกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อีกต่อไป  

"ภาวะโลกร้อน เป็นอย่างไร มีผลกระทบอย่างไรฯ" เชิญท่านผู้อ่านติดตามสาระที่เป็นประโยชน์ใน Blog นี้ และหากท่านผู้อ่านมีบทความ มีสาระที่เป็นประโยชน์ใด ๆ เชิญร่วมแชร์ แบ่งบันกัน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการมีส่วนร่วมช่วยเหลือโลกในฐานะเป็นชาวโลก  

และเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกันทำความดีถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาส ทรงมีพระชนม์มายุ 80 พรรษา ด้วยการช่วยกันค้นหาบทความเกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อนมาร่วมเผยแพร่ ให้แก่ผู้สนใจ เยาวชนไทย และร่วมด้วยช่วยกันเสนอแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหา บอกต่อกันไป

ขอความสวัสดีจงมีแด่ผู้สนใจทุกท่าน

Business Week

หมีขั้วโลก หนีร้อน

 Map

 ข้อมูล ภาวะโลกร้อน

ข้อมูลภาวะโลกร้อน

หมายเลขบันทึก: 88572เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2007 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)
มิชลิน(ชาวโลกคนหนึ่ง)

นิตยสาร สารคดี ฉบับล่าสุด เป็นเรื่องโลกร้อน ความจริงที่ทุกคนต้องรู้ 

แต่ยังไม่ได้อ่านเพราะหนังสือยังไม่มาส่ง

http://www.sarakadee.com
 

และคอลัมน์นึงในมติชนรายสัปดาห์ก็กล่าวถึงไว้ว่า

ภาวะโลกร้อนที่ญี่ปุ่นทำให้ดอกซากุระบานเร็วกว่าปรกติด้วย..

"ยูเอ็น"เตือนโลกร้อนฉบับที่ 2 ทำเสียหายมหึมา-เอเชียหนัก"[1]



"ยูเอ็น"สรุปภาวะโลกร้อนฉบับที่ 2 สร้างค่าเสียหาย 23,700 ล้านดอลลาร์ ถึง 3.2 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ชี้ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายเพิ่มระดับน้ำขึ้น 1 เมตร เสียหายในเชิงเศรษฐกิจมากถึง 944,000 ล้านดอลลาร์ เกือบครึ่งหนึ่งเกิดขึ้นในเอเชีย วอนทุกชาติร่วมมือ เตรียมแถลงเป็นทางการ 6 เม.ย.



เมื่อวันที่ 31 มีนาคม สำนักข่าวเอเอฟพีเผยแพร่เนื้อหาบางส่วนของร่างรายงานวิจัยสำรวจว่าด้วยภาวะโลกร้อนฉบับที่ 2 ของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งกำหนดจะมีการเผยแพร่อย่างเป็นทางการที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ในปลายสัปดาห์หน้านี้
 

รายงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจวิจัยเพื่อทบทวนข้อเท็จจริงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศระหว่างประเทศ (ไอพีซีซี) ที่เป็นการระดมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายประเทศทั่วโลกมาเป็นผู้จัดทำและกำหนดจะเผยแพร่เป็น 3 ฉบับ โดยเผยแพร่ฉบับแรกไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์เนื้อหามุ่งเน้นสำรวจวิจัยและคาดการณ์ถึงผลกระทบทางกายภาพของโลกอันเนื่องมาจากสภาวะโลกร้อนในช่วง 1 ศตวรรษนี้

ในขณะที่ฉบับที่ 2 จะเป็นการประเมินค่าความเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทั้งนี้ ถือว่าเป็นโครงการศึกษาวิจัยด้านนี้ใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการนำเสนอรายงานของยูเอ็นไปเมื่อปี 2534 ที่ผ่านมา

ในร่างรายงานฉบับที่ 2 ของยูเอ็นระบุชัดเจนว่าผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภาวะอากาศของโลกอาจมีมูลค่ามหึมาได้หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุและไม่มีการ เตรียมการที่ดีพอเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
 

โดยความเสียหายดังกล่าวจะเกิดขึ้นจาก

  •  ภาวะการขาดแคลนน้ำ,
  • ความเสียหายจากพายุฤดูร้อน,
  • ความเสียหายจากภาวะแห้งแล้งจัด,
  • การสูญเสียสัตว์และพืชบางสายพันธุ์ และ
  • การเกิดโรคใหม่ๆ หรือ
  • การแพร่ระบาดของโรคในหมู่มนุษย์ที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ

รายงานของยูเอ็นฉบับนี้ระบุว่า ความเสียหายในเชิงเศรษฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนนั้นจะเท่ากับประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลกในทุกๆ 2-3 องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น

รายงานดังกล่าวสรุปไว้ว่าค่าเสียหายโดยประมาณของโลกนั้นจะอยู่ที่ระหว่าง 300-400 ดอลลาร์ต่อปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตัน ที่เราปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศของโลก

ทั้งนี้ หากคำนวณจากปริมาณของก๊าซดังกล่าวที่ถูกปล่อยขึ้นไปสู่บรรยากาศในช่วงปี 2548 ที่มีปริมาณรวม 7,900 ล้านตันแล้ว มูลค่าความเสียหายดังกล่าวจะอยู่ระหว่าง 23,700 ล้านดอลลาร์ ถึง 3.2 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี

ตอนหนึ่งของรายงานชิ้นนี้ระบุว่า ภายในปี 2080 (พ.ศ.2623) จะมีประชากรบนโลกอยู่ในสภาพขาดแคลนน้ำระหว่าง 1,100-3,200 ล้านคน อีก 200-600 ล้านคน จะอยู่ในสภาพอดอยากหิวโหย และจะมีคนไร้ที่อยู่เพราะเกิดสภาพน้ำท่วมพื้นที่ชายฝั่งจากภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นทุกปีในอัตรา 2-7 ล้านคนต่อปี

รายงานตอนหนึ่งระบุว่า ภาวะที่จะก่อให้เกิดความเสียหายเชิงเศรษฐกิจมากที่สุดคือภาวะอากาศแบบสุดโต่ง อาทิ พายุ ภาวะแห้งแล้ง และน้ำท่วมแบบรุนแรง ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้มากอย่างยิ่งว่าจะเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งกว่าเดิม และเกิดขึ้นรุนแรงกว่าเดิม

ในกรณีที่ภาวะโลกร้อนทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายนั้น รายงานฉบับนี้ระบุว่า ในกรณีที่มีการเพิ่มระดับน้ำขึ้น 1 เมตร จะสร้างความเสียหายในเชิงเศรษฐกิจให้กับโลกมากถึง 944,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งความเสียหายราวครึ่งหนึ่งของปริมาณดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย

โดยรายงานชิ้นนี้ระบุว่าถ้าหากมีการเตรียมการเพื่อการรับมือไว้ก่อนหน้าจะบรรเทาความเสียหายให้ลดลงได้มาก อย่างเช่น ในกรณีที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 65 ซม. จะก่อความเสียหายให้กับจีนราว 5,200 ล้านดอลลาร์ แต่ถ้าหากมีการเตรียมการเพื่อป้องกันไว้ตั้งแต่ตอนนี้จะใช้เงินเพียง 400 ล้านดอลลาร์เท่านั้นเอง

ร่างรายงานดังกล่าวนี้จะถูกนำเข้าสู่ที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติเป็นเวลา 4 วัน เพื่อสรุปถ้อยคำและเนื้อหาที่จะเผยแพร่อย่างเป็นทางการในวันที่ 6 เมษายนนี้ต่อไป

สำหรับความเคลื่อนไหวอื่นๆ ที่น่าสนใจที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะโลกร้อนนั้นปรากฏว่า เมื่อเวลา 19.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นในนครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย (16.30 น.ตามเวลาไทย) ของวันเดียวกันนี้ ทางนครซิดนีย์ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศออสเตรเลีย ได้ปิดไฟมืดทั่วทั้งเมืองโดยสมัครใจเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตามการรณรงค์ของกองทุนโลกเพื่อสิ่งแวดล้อม (เวิร์ลด์ไวด์ไลฟ์ ฟันด์) ที่ใช้เวลาเตรียมการนานถึง 10 เดือน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักและตื่นตัวเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและการขาดแคลนพลังงานในอนาคต

เอเอฟพีระบุว่า ทางการนครซิดนีย์เห็นพ้องกับการรณรงค์ดังกล่าวเช่นเดียวกับประชากรส่วนใหญ่จากจำนวน 4 ล้านคนของนครแห่งนี้ที่จะปิดไฟในบ้านทุกดวง นอกจากนั้น โรงละครโอเปร่าในอ่าวซิดนีย์ และสะพานฮาเบอร์บริดจ์ อันเลื่องชื่อจะตกอยู่ในความมืดมีเพียงแสงจันทร์เท่านั้นตลอดเวลาการรณรงค์ นอกเหนือจากนั้นโครงการนี้ยังได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากบริษัทห้างร้านต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้สัญลักษณ์โคคา-โคลา ที่เป็นไฟนีออนขนาดใหญ่ที่ย่านคิงครอส ของนครซิดนีย์จะดับสนิทเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ติดตั้งไว้เมื่อปี 2517 เรื่อยมา

นอกเหนือจากการดับไฟดังกล่าวแล้วในวันเดียวกันนี้ นายจอห์น โฮเวิร์ด นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งเอเชียแปซิฟิก (เอเปค) ประจำปีนี้ในเดือนกันยายนที่จะถึง แถลงว่า ภาวะโลกร้อนจะเป็นประเด็นสำคัญที่สุดในการประชุมสุดยอดเอเปคครั้งนี้อีกด้วย

ด้านนายสุชาติ ศรีสุวรรณ ผู้จัดการสำนักพิมพ์มติชน ซึ่งจัดพิมพ์หนังสือ "โลกร้อน...ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง" ของนายอัลกอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐ ให้สัมภาษณ์ว่า ความจริงเรื่องของภาวะโลกร้อนมีผลการวิจัย ผลการศึกษาจากกลุ่มต่างๆ มานานแล้ว หรือ เรื่องปรากฏการณ์เรือนกระจก มีการให้ความรู้กันมานาน 10 กว่าปีแล้ว แต่ว่าคนทั่วโลกก็ยังไม่ตระหนักถึงภัยที่เกิดจากภาวะโลกร้อน เพราะว่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ขณะนี้สภาพของสิ่งแวดล้อมโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด มีภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงเกิดขึ้นหลายครั้ง สร้างความเสียหายรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน มีเชื้อโรคเก่าๆ ที่กลับมาระบาดใหม่ ที่อันตรายมากขึ้น ทำให้ผู้คนรู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น

นายสุชาติกล่าวว่า ผู้ที่จะอธิบายเรื่องนี้ได้ดีที่สุดในเวลานี้ คือ อัลกอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐ อเมริกา ในยุคสมัยของบิล คลินตัน ซึ่งเมื่ออัลกอร์ หมดหน้าที่ทางการเมือง เขาก็ได้รณรงค์เรื่องภาวะโลกร้อน โดยการรวบรวมผลวิจัย และสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลกอย่างละเอียด โดยมีการนำเสนอเป็นสื่อหลายแขนง ส่วนหนึ่งเป็นการนำเสนอเป็นหนังสารคดี โดยมีตัวเขาเป็นพรีเซ็นเตอร์เอง ซึ่งล่าสุดได้รับประกาศรางวัลออสการ์ ได้รางวัลสารคดียอดเยี่ยม หากใครได้ดูสารคดีนี้ก็จะเห็นว่าภาวะโลกร้อนเป็นอันตรายต่อมวลมนุษยชาติจริงๆ

นายสุชาติบอกว่า นอกจากหนังแล้ว อัลกอร์ ยังนำเสนอในรูปแบบของหนังสือ ชื่อ AN INCONVENIENT TRUTH หรือ โลกร้อน...ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง ซึ่งหนังสือเล่มนี้ทางสำนักพิมพ์มติชนได้ลิขสิทธิ์มา และได้แปลเสร็จแล้ว วางจำหน่ายครั้งแรกในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม ถึง 10 เมษายน ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

"หนังสือเล่มนี้จะเป็นการให้ข้อมูลอย่างละเอียดทั้งเรื่องความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ตั้งแต่การละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก มีการวิเคราะห์ทางวิทยาศาตร์ เพื่อให้เห็นว่าถ้าปล่อยสภาวะแบบนี้ให้เกิดขึ้นในโลก มันจะทำลายมนุษย ชาติ และโลกอย่างไร"

นายสุชาติกล่าวว่า เราจัดพิมพ์เป็นหนังสือ 4 สี ทั้งเล่ม เป็นกระดาษอาร์ตอย่างดี ขายลดราคาพิเศษในงานนี้ จากการเปิดขายมาเมื่อวานกับวันนี้ ที่บู๊ธมติชน ปรากฏว่า ได้รับความสนใจจากผู้อ่านค่อนข้างมาก โดยเป็นหนังสือที่ขายดีในอันดับแรกๆ ของสำนักพิมพ์มติชน แสดงว่าความตื่นตัวเรื่องภัยจากโลกร้อนก็เริ่มกระทบต่อความรู้สึกของคนทั่วไปแล้ว


ตอนนี้ที่จังหวัดเลยก็ร้อนมากๆๆเผาป่าเตรียมทำไร่กันเยอะ
ต้นไม้ที่กรมป่าไม้ปลูกไว้โดนย่ำยีหมดแล้ว สงสารคนปลูกนะคะ
อยากให้ทุกคนช่วยกัน  ทะเลภูเขาขอขอบคุณ ที่นำเรื่องดีๆอย่างนี้มาให้อ่าน

โลกร้อน-ทะเลทรายแล้ง ยูเอ็นเตือน-อีก 50 ปีอยู่ไม่ได้[1]            
ภูมิอากาศโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง ภาวะขาดแคลนน้ำที่รุนแรงมากขึ้นและแม้แต่การท่องเที่ยว ล้วนสร้างความกดดันให้กับระบบนิเวศวิทยาทะเลทรายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
 
แต่ทะเลทรายซึ่งปัจจุบันกินพื้นที่ 1 ใน 4 ของผิวหน้าโลกและถูกมองว่าเป็นที่ดินไร้ค่า จะกลายเป็นแหล่งตักตวงผลประโยชน์มหาศาลในอนาคตได้ หากมีการจัดการที่ดีพอ

 รายงาน "Global Deserts Outlook" ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ชี้ว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ระบบนิเวศวิทยาทะเลทรายจะเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านชีววิทยา เศรษฐกิจและวัฒนธรรม

ปัจจุบันพืชและสัตว์ทะเลทราย คือแหล่งทรัพยากรมีคุณค่าสำหรับผลิตยาและธัญญาหารใหม่ๆ ที่ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองน้ำและยังมีช่องทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น การทำฟาร์มกุ้งและบ่อปลาในทะเลทรายรัฐอาริโซนาและทะเลทรายเน เจฟในอิสราเอล 
           
อย่างไรก็ตาม ทะเลทรายที่มีอยู่ 12 แห่งทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัว แต่เป็นความแห้งแล้งเนื่องจากโลกร้อน ธารน้ำแข็งซึ่งส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทะเลทรายในอเมริกาใต้กำลังละลาย น้ำใต้ดินเค็มขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งหากไม่มีการลงมือป้องกันอย่างทันท่วงที ระบบนิเวศวิทยาและสัตว์ป่าในทะเลทรายจะสูญหายไปภายใน 50 ปีข้างหน้า

ในอนาคตประชากร 500 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตทะเลทรายทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและน้ำถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนดื่มไม่ได้ ซึ่งประเทศที่มีทะเลทรายอย่างสหรัฐอเมริกาและสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ที่จำนวนประชากรในรัฐทะเลทรายเพิ่มมากขึ้นก็เริ่มพบภาวะขาดแคลนแหล่งน้ำแล้ว 
           
 ความฝันทันสมัยของนักคิดในศตวรรษที่ 20 ที่จะสร้างสีเขียวให้ทะเลทรายด้วยการเปลี่ยนทางน้ำและการทำทางน้ำใต้ดิน จะกลายเป็นเรื่องเพ้อฝัน

แต่รายงานก็เสนอว่า ในศตวรรษหน้า ทะเลทรายซึ่งเป็นแหล่งรับพลังงานแสงอาทิตย์จะกลายเป็นโรงไฟฟ้าขนาดยักษ์ เช่น ทะเลทรายสะฮารา แค่เพียง 496 ตารางกิโลเมตรของเนื้อที่ทั้งหมด 640,000 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งรับพลังงานสุริยะที่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าป้อนคนทั้งโลก

ส่วนภาวะน้ำใต้ดินเค็มเกิดขึ้นแล้วในจีน อินเดีย ปากีสถานและออสเตรเลีย โดยในลุ่มแม่น้ำทาร์มของจีนสูญเสีญพื้นที่ทำนาเนื่องจากดินเค็มไปแล้วมากกว่า 8,000 ตารางกิโลเมตร ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

รายงานแนะว่า ประเทศในตะวันออกกลางอย่างซาอุดีอาระเบียซึ่งใช้น้ำจากทะเลทรายอย่างไม่เหมาะสม โดยใช้น้ำไปกับการเพาะปลูกข้าวสาลีและมะเขือเทศ ซึ่งเป็นอาหาารหลักของประชาชน ควรจะใช้น้ำเฉพาะกับสิ่งที่ให้มูลค่าสูงอย่างการปลูกอินทผลัมและการทำบ่อปลาเท่านั้น

แต่ปัญหาใหญ่ที่คุกคามคนและสัตว์ที่อาศัยอยู่ใกล้ทะเลทรายคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีผลกระทบใหญ่หลวงต่อพื้นที่ทะเลทรายมากกว่าภูมิประเทศอื่นๆ

โดยทะเลทรายดาชติ คบีร์ ในอิหร่านมีปริมาณฝนลดลง 16% ในช่วง  25 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ทะเลทรายคาลาฮารี ลดลง 12% ทะเลทรายอัตตาคามาในชิลีลดลง 8%

ทะเลทรายส่วนใหญ่จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 5-7 องศาเซลเซียส ภายในสิ้นศตวรรษนี้ ขณะที่ปริมาณน้ำฝนจะลดลง 10-20% ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเพิ่มปริมาณการระเหยและพายุทรายมากขึ้นและจะส่งผลให้ทะเลทรายเคลื่อนเข้าใกล้ชุมชนที่คนอาศัยอยู่มากขึ้นด้วย
ขอบคุณ  คุณมิชลิน(ชาวโลกคนหนึ่ง) และ คุณทะเลภูเขา ที่ให้ความสนใจ เข้ามาเยี่ยมชม และ เขียนข้อความเข้ามาครับ
โลกร้อน...สัญญาณหายนะมนุษยชาติ(1) (สกู๊ปแนวหน้า)[1] 

ร้อนๆๆ....

ย่างเข้าเดือนเมษายน ทุกผู้คนย่อมหลีกหนีไม่พ้น "อากาศร้อน" ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่านับวันสภาพอากาศจะยิ่งร้อนจน "ปรอทแทบแตก" โดยในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปี คือ ปี 2533 2538 และ 2540 ซึ่งหลายฝ่ายบอกว่านี่คือสภาวะที่เรียกว่า "วิกฤติโลกร้อน"!!! ที่นับวันจะส่ง "สัญญาณหายนะ" ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะรายงานล่าสุดของผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงของ "องค์การสหประชาชาติ" ที่ออกมาเตือนถึงภยันตรายจาก "วิบัติภัยโลกร้อน" ที่กำลังคุกคามชาวโลกอย่างรุนแรงขึ้นจนน่าวิตก.....

โลกร้อน : มหันตภัยแห่งอนาคต

"ระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น อุณหภูมิสูงขึ้น ธารน้ำแข็งละลาย มหาสมุทรร้อนขึ้นระ ดับน้ำทะเลสูงขึ้น น้ำแข็งทะเลบางลง ชั้นดินเย็นแข็งคงตัวละลาย เกิดไฟป่าบ่อยขึ้น ทะเลสาบเล็กลง หิ้งน้ำแข็งพังทลาย ทะเลสาบจับตัวเป็นน้ำแข็งช้าลง แห้งแล้งยาวนาน ธารน้ำในเขตภูเขาเหือดแห้ง ปริมาณหยาดน้ำฟ้าเพิ่มขึ้น ฤดูหนาวไม่หนาวจัด ฤดูใบไม้ผลิมาถึงเร็วขึ้น ฤดูใบไม้ร่วงมาถึงช้าลง ต้น ไม้ออกดอกเร็วขึ้น.....

ช่วงเวลาอพยพเปลี่ยนแปลง ถิ่นอาศัยเปลี่ยนไป นกทำรังเร็วขึ้น โรคภัยไข้เจ็บลุกลาม ปะกา รังฟอกขาว การทับถมของหิมะลดลง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหายไป พืชและสัตว์ต่างถิ่นรุกราน แนวชายฝั่งสึกกร่อน ป่าในเขตภูเขาสูงแห้งแล้ง อุณหภูมิในเขตละติจูดสูงพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว.....ฯลฯ"

นี่คือภาวะที่ชี้ให้เห็นว่า "มหันตภัยแห่งอนาคต : สัญญาณเตือนภัยจากปรากฏการณ์โลกร้อน" มีมนุษย์เป็นสาเหตุสำคัญ และในขณะนี้ปรากฏการณ์ต่างๆที่เคยเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปใน "ธรณีกาล" กลับใช้เวลาเพียงชั่วอายุคนเท่านั้นเอง.....

จากรายงานเรื่อง "CARBON CREDIT โลกสีดำจากพิธีสารเกียวโต" ที่เขียนโดย "กรรณิการ์ กิจติเวชกุล" และเรียบเรียงโดย "สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์" ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อมจำนวนมากพยายามชี้ให้เห็นถึงปรากฏการณ์ต่างๆที่ผิดปกติ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ทุกคนตระหนักในปัญหาที่ตัวเองมีส่วนร่วมก่อ โดยเฉพาะการบริโภคแบบ "สุดๆ" ที่ทำให้ต้องขุด "พลังงานฟอสซิล" ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินขึ้นมาใช้ อันเป็นสาเหตุสำคัญของ "ภาวะเรือนกระจก" และเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยด่วน ก่อนที่จะสายเกินแก้

ขณะที่ "องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก"(WMO) ของสหประชาชาติ ซึ่งถ้าไม่ถึงขั้นวิกฤติคงไม่ออกมาเตือนว่าสภาพอากาศของปี 2546 ทั้งในยุโรป อเมริกาและเอเชีย "เลวร้าย" อย่างน่าตระหนก มีทั้งอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุด ปริมาณฝนมากที่สุดและเกิดพายุมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในหลายส่วนของโลก ซึ่งสอดคล้องกับการพยากรณ์เกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน

"เช่นเดียวกับรายงานลับที่เพนตากอนส่งถึงประธานาธิบดีบุช เมื่อต้นปี 2547 ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของโลกในอีก 20 ปีนับจากนี้จะเป็นหายนะครั้งใหญ่ของโลกยิ่งกว่าภัยจากการก่อการร้าย จะคร่าชีวิตผู้คนหลายล้าน ทั้งจากภัยธรรมชาติและสงครามเพื่อความอยู่รอด เมืองใหญ่ในยุโรปจะตกอยู่ในสภาวะอากาศแบบไซบีเรีย หลายเมืองสำคัญที่อยู่ริมฝั่งน้ำจะจมน้ำ เกิดความแห้งแล้งและอดอยาก จนนำไปสู่การจลาจลและสงครามในที่สุด.....

กระนั้นคำเตือนของผู้เชี่ยวชาญระดับโลกทั้ง 2 ชิ้น ก็ไม่ได้ทำให้ผู้นำประเทศสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย 2 ประเทศมหาอำนาจที่ใช้พลัง งานมากที่สุดในโลก คือรวมกันมากกว่า 1 ใน 4 ของโลกเปลี่ยนท่าที"

พิธีสารเกียวโต : ความหวังครั้งใหม่?

ภายหลังการลงนามในอนุสัญญาให้มีผลบังคับใช้ของ "พิธีสารเกียวโต"(Kyoto Protocol) ซึ่งเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ใช้ดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายในการรับมือกับภาวะโลกร้อน โดยประ กาศในข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Framework Convention on Climate Change-UNFCCC) ซึ่ง "พิธีสาร" ที่ผ่านความเห็นชอบในปี 2540 ที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่นนี้ คือ อนุสัญญาเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศนานาชาติฉบับเดียวที่มีจุดประสงค์เพื่อหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นต้นตอปัญหา แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ โดย "ศรีสุวรรณ ควรขจร" เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(กป.อพช.) ระบุว่า.....
 "ชาวโลกยังคาดหวังมันเกินฐานะที่เป็นจริง"!!!

จากความมุ่งหวังอย่างยิ่งยวดที่จะให้ทุกประเทศร่วมรับผิดชอบลดปริมาณการปล่อย "ก๊าซเรือนกระจก" โดยเฉพาะ "คาร์บอนไดออกไซด์" ให้ได้ แต่เป้าหมายกลับต่ำเตี้ยเพียงว่าในช่วงที่หนึ่ง คือ ภายในปี 2555 "กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม" จะต้องเป็นผู้นำการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์ลงเพียง 5.2% ของปริมาณที่ปล่อยในปี 2533 ส่วนประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเริ่มปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไม่กี่ทศวรรษ ค่อยไปร่วมรับผิดชอบลดการปล่อยในช่วงที่สอง ซึ่งยังไม่รู้ว่าเมื่อ ไร ทั้งๆที่นักวิทยาศาสตร์มีข้อสรุปกันมาหลายปี ว่า.....

ถ้ามนุษยชาติจะหลีกเลี่ยง "หายนะภัย" ทางสิ่ง แวดล้อมอันเป็นผลมาจาก "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" ให้ได้นั้น ปริมาณการปล่อยต้องลดลงถึง 70-80% ไม่ใช่แค่ 5-6% และต้องดำเนินการโดยเร็ว คือ ภายใน 1-2 ปีนี้ ไม่ใช่ค่อยๆลดในอีกหลายสิบปีข้างหน้า!!!

แต่หลายปีที่ผ่านมาในการเจรจาต่อรองที่กลุ่มประเทศต่างๆต้องชิงไหวชิงพริบ เพื่อรักษาผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตน โดยประเทศอุตสาหกรรมเป็นฝ่ายได้เปรียบด้วยความเหนือกว่าประ เทศกำลังพัฒนา ในกระบวนการเจรจาต่อรอง บวกกับอิทธิพลของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทำลายสิ่ง แวดล้อมสูง เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ที่เริ่มเข้าครอบงำกระบวนการของการประ ชุม.....

"ผลที่ได้ คือ เนื้อหาในพิธีสารที่อ่อนปวกเปียก และมองประเด็นการสร้างภาระต่อบรรยากาศที่ไม่เท่าเทียมกันนี้ว่าเป็นเรื่องชอบธรรม เพราะเขารวยจึงมีสิทธิทำได้ นั่นคืออนุญาตให้ใครจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เท่าไรก็ได้ ตราบเท่าที่เขาสามารถไปซื้อคาร์บอนเครดิตที่เกิดจากการดูดกลับคาร์ บอนด้วยวิธีการบางอย่าง หรือที่ในพิธีสารเรียกว่ากลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) เช่น การปลูกต้นไม้ซึ่งอ้างว่าจะดูดคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปเป็นเนื้อไม้หรือใบไม้ ดังนั้นโรงไฟฟ้าถ่านหินอยากจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ล้านตันต่อปีก็ปล่อยไป ตราบเท่า ที่โรงไฟฟ้านั้นปลูกต้นไม้หลายพันต้น"

วิธีการที่ว่านี้ไม่เพียง "ไม่แก้ปัญหา" แต่ยังเพิ่ม "ความอยุติธรรม" ด้วยการปล่อยให้ประเทศและคนที่ใช้พลังงานอย่างบ้าคลั่งลอยนวล โดยไม่ได้สร้างความตระหนักรู้ให้ผู้บริโภคว่าเขาต้องลดการใช้พลังงานถ้าต้องการเห็นโลกดีขึ้น เพื่อลูกหลานในวันข้างหน้า แต่การปลูกต้นไม้นี้กลับนำไปสู่ปัญหาเรื่องการยื้อแย่งที่ดินและน้ำ โดยเฉพาะในประเทศซีกโลกใต้

ในเมื่อประเทศรวยอยาก "ผลาญ" ต่อ.....ประเทศยากจนก็อยากได้เงินจากการขาย "คาร์บอนเครดิต" สิ่งที่เราจะเห็นในไม่ช้า คือ รัฐบาลประเทศที่จ้องจะขายคาร์บอนเครดิตจะไล่คนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นออกจากแผ่นดินของตัวเอง ตัดป่าธรรมชาติเพื่อสร้างสวนป่าด้วยไม้ตัดต่อพันธุกรรม ระบบนิเวศถูกตัดตอนลดความซับซ้อน ความหลากหลายทางชีวภาพถูกทำลาย ฯลฯ

นี่เป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าชาวโลกมิอาจนิ่งนอนใจกับภาวะ "วิกฤติโลกร้อน" ต่อไปได้อีกแล้ว แต่ทั้งหมดข้างต้นถือเป็นข้อมูลเพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง "โลกร้อน" ณ ปัจจุบันยังเกิดจากปัจจัยอีกหลายส่วน โดยเฉพาะจาก "ความเห็นแก่ตัว" ของคนบางกลุ่มกำลัง "หากิน" กับ "ภาวะโลกร้อน" อย่างขมีขมัน ซึ่งต้องติดตามในฉบับหน้า.....
ภาวะโลกร้อน...สัญญาณหายนะมนุษยชาติ(2)
โลกร้อน...สัญญาณหายนะมนุษยชาติ(2) [1]  "ภาวะโลกร้อน".....

เป็นภัยพิบัติที่มาถึง โดยที่เราทุกคนต่างทราบถึงสาเหตุของการเกิดเป็นอย่างดี นั่นคือ การที่มนุษย์เผาผลาญ "เชื้อเพลิงฟอสซิล" เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงาน กระทั่งมีการลงนามในอนุสัญญาให้มีผลบังคับใช้ของ "พิธีสารเกียวโต" ซึ่งเป็นอนุสัญญาเกี่ยวกับสภาพภูมิ อากาศนานาชาติฉบับเดียวที่มีจุดประสงค์ เพื่อหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นต้นตอปัญหา แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ และชาวโลกยังคาดหวังกับมันเกินฐานะที่เป็นจริง.....

อย่างไรก็ดี ทั้งเรื่องการเผาพลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างไร้ขีดจำกัด ไล่มาถึง "ความล้มเหลว" ของ "พิธีสารเกียวโต" เป็นต้นตอเพียงบางส่วนที่ทำให้โลกตกอยู่ในภาวะ "วิกฤติโลกร้อน" เท่านั้น เพราะในความเป็นจริงมันเกิดจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะจาก "ความเห็นแก่ตัว" ของคนบางกลุ่มกำลัง "หากิน" กับ "โลกร้อน" อย่างขมีขมัน.....

Carbon Trade Fair

"คาร์บอนกำลังจะเป็นสินค้าสุดฮอตในตลาดโลก และจะเป็นสินค้าที่มีตลาดใหญ่ที่สุดด้วย"

นี่ไม่ใช่การวิเคราะห์ที่ไกลความเป็นจริง ผู้ที่มีโอกาสเข้าไปร่วมประชุมเกี่ยวเนื่องกับสาระของ "พิธีสารเกียวโต" หลายครั้ง ต่างรู้สึกตรงกันว่ามันไม่ใช่เวทีประชุมเพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนอีกต่อไป แต่เป็น "มหกรรมแสดงสินค้า" ที่เรียกว่า "คาร์บอน" หรือ "Carbon Trade Fair" มากกว่า

กลุ่มเครือข่ายผู้สนับสนุนสิ่งเหล่านี้ต่างคุยว่าด้วยโครงการปลูกป่าเพื่อ "คาร์บอนเครดิต" จะเป็นการเพิ่มการลงทุนในชนบทและสามารถช่วยลดความยากจนได้ แต่ในความเป็นจริง "คาร์บอนเครดิต" กลับเป็นช่องทางทำกินของคนบางกลุ่ม.....

"บรรษัทอุตสาหกรรม" ซึ่งผูกติดอยู่กับการทำเหมืองและการบริโภคเชื้อเพลิงฟอสซิล พยา ยามขวางไม่ให้ตัวแทนสหรัฐผูกมัดตัวเองกับการลดการปล่อยก๊าซพิษ โดยในการเจรจา "พิธีสารเกียวโต" บรรษัทเหล่านี้ได้สั่งให้ตัวแทนสหรัฐและประเทศร่ำรวยอื่นๆ ยืนยันที่จะยอมให้มีการแลกเปลี่ยนค้าขายสิทธิ หรือ "เครดิต" ในการปล่อยได้ เพื่อเป็นหนทางหนึ่งที่จะลดให้ได้ตามเป้าหมาย พวกเขาให้เหตุผลว่าอย่างน้อยนี่จะเป็นการ "ถ่วงเวลา" หรือหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำธุรกิจ....."บริ ษัทผลิตไฟฟ้า" มองการปลูกป่าว่าเป็นวิธีการราคาถูกและง่ายที่จะโน้มน้าวให้เจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้บริ โภคเห็นว่าพวกเขากำลังลดอยู่

"บริษัทพลังงาน" บางรายยืนยันที่จะ "ผลาญพลังงาน" ต่อไป โดยหวัง "ไถ่บาป" ด้วยการ "ปลูกป่า" แทน บริษัทอเมริกันบางแห่งที่ปล่อย "คาร์บอนไดออกไซด์" ได้เซ็นสัญญามูลค่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐ กับคอสตาริกา เพื่อจ้างชาวนาให้ปลูกต้นไม้และดูแลเป็นเวลา 15-20 ปี เช่น "อเมราดาแก๊ส" ที่ได้รับยี่ห้อ "Climate Care" จากการปลูกป่าที่ยูกันดา , "ซันคอร์อีเนอร์จี" บริษัทขุดเจาะกลั่นและขายน้ำมันของแคนาดา ร่วมกับ "เซาเธิร์นแปซิฟิกปิโตรเลียม" และ "เซ็นทรัลแปซิฟิกมิเนอรัลส์" ในโครงการปลูกต้นไม้พื้นเมือง 180,000 ต้น ในรัฐควีนส์แลนด์ เพื่อ "ชดเชย" คาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา....."บริษัทนายหน้าและธนาคาร" คาดหวังจะได้ "ค่าคอมมิชชั่น" จากการเป็นนายหน้าตาม "ตลาดคาร์บอน"

องค์กรอย่าง "สหพันธ์กักเก็บคาร์บอนนานาชาติ" และ "อเมริกันฟอร์เรสท์" ก็กำลังวางแผนการตลาดค้า "คาร์บอนเครดิต" ไม่เว้นกระทั่ง "นักวิชาการเพื่ออุตสาหกรรม" ที่มองว่า แนวโน้มต่างๆเหล่านี้เป็นโอกาสให้มีการตั้งสถาบัน สร้างงานและเกียรติยศให้กับมืออาชีพจำนวนมากที่อยากทำวิจัย รับรองและบริหารโครงการปลูกป่า
บริษัทที่ปรึกษาต่างๆ สามารถกอบโกยผลประโยชน์ในการตรวจ สอบและรับรองโครงการเหล่านั้น 

"เอ็นจีโอ"บางกลุ่ม...นายหน้าคาร์บอน

"ธนาคารโลก" หวังประโยชน์ 2 ต่อจากการสนับสนุนการพัฒนาเชื้อเพลิงฟอสซิลในประ เทศกำลังพัฒนา แล้วคอย "เก็บกวาด" ทีหลังจากโครงการปลูกป่า แล้วยังใช้เงินทุนสนับสนุนจากบริ ษัทไฟฟ้ากับรัฐบาลยุโรปเหนือเพื่อพัฒนา "กองทุนคาร์บอนต้นแบบ"(Clean Development Fund-CDF) ที่มีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ "ตลาดก๊าซเรือนกระจกของโลก"

และมีโครงการต่างๆ สำหรับประเทศทางใต้อยู่เต็มมือ โดยวางแผนจะผลักดันให้มี "ธนาคารคาร์บอน" หรือตลาดแลกเปลี่ยนคาร์บอนขึ้นมา อีกทั้งใน "เอกสารลับ" ยังระบุว่าจะกิน "หัวคิว" 5% จากการซื้อขาย "คาร์ บอนเครดิต" ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา

"นักวิชาการ" จากมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก กับ มหาวิทยาลัยฟลอริดา ก็กำลังขะมักเขม้นอยู่กับการหาวิธีรับรองและตรวจสอบการดูดซับคาร์บอน หรือแม้แต่ "นักวิชาการไทย" ด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมท่านหนึ่งยังเคยกล่าวว่า "หากประเทศไทยรับโครงการ CDF แต่ละหน่วยงานจะต้องไปหาซื้อเซฟใหญ่มาเก็บเงินที่จะไหลมาเทมา"

"แม้แต่เอ็นจีโอบางกลุ่ม ซึ่งตั้งตัวเองเป็นนายหน้าคาร์บอน และผู้เชี่ยวชาญการดูดซับคาร์บอน ก็หวังว่าจะได้การยอมรับจากผู้สนับสนุนหรือเพื่อนพ้องในรัฐบาลและธุรกิจว่าเป็นผู้สนับสนุนแนวทางตลาดเสรีที่กำลังเป็นกระแสหลักในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม"

ภาวะโลกร้อน...ภาวะสิ้นหวัง

ขณะที่คนหลายกลุ่มกำลัง "หากิน" กับภาวะโลกร้อนอย่างขมีขมัน โลกก็ไม่ได้อยู่เฉยให้พวกเขากอบโกย เพราะ "ระเบิดเวลาทางนิเวศน์กำลังเดินต่อไป" โดยหนังสือพิมพ์ดิ อินดิเพนเดนท์ ของอังกฤษ รายงานว่า
ถึงภาวะ "นับถอยหลัง" สู่ "หายนะ" อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยโลกอาจเข้าสู่จุดที่ไม่สามารถกลับตัวได้ ภายในเวลาไม่เกิน 10 ปี

ข้อมูลข้างต้นมาจากรายงานเรื่อง "การเผชิญความท้าทายของสภาพอากาศ" ของ 3 สถาบันคือสถาบันเพื่อการวิจัยนโยบายสาธารณะของอังกฤษ ศูนย์เพื่อความก้าวหน้าของอเมริกา และสถาบันออสเตรเลีย ซึ่งระบุว่า.....

"จุดอันตรายจะส่งสัญญาณเมื่ออุณหภูมิสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส เหนืออุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี 1750 ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม"!!!

ขณะที่ในปัจจุบันอุณหภูมิเฉลี่ยได้สูงขึ้นจากช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว 0.8 องศา และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผลที่จะเกิดตามมาจากการเพิ่มขึ้นต่างๆ เหล่านี้อาจรวมถึง "ความล้มเหลวทางการเกษตร" ความแห้งแล้งครั้งใหญ่ ตลอดจนโรคระบาดชุกชุม ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และป่าไม้แห้งตาย
 ผนวกกับข่าวร้ายพืดน้ำแข็ง(ice sheet) ขนาดมหึมาในด้านตะวันตกของแอนตาร์กติก มีมวลน้ำ แข็งถึง 3.2 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร ที่กำลังสูญเสียเสถียรภาพ ถ้าละลายทั้งหมดจะยกระดับน้ำทะเลทั่วโลกให้สูงขึ้นอีก 16 ฟุต หรือ 4.8 เมตร และถ้ารวมกับน้ำแข็งที่กรีนแลนด์และขั้วโลกเหนือที่กำลังหลอมละลายอย่างรวดเร็ว จะทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นอีก 20 ฟุต หรือ 5-6 เมตร.....

รวมเหนือ-ใต้แล้วอาจทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น 12 เมตร!!!

ปัญหาด้าน "สุขภาพ" ก็เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จาก "ภาวะโลกร้อน" เนื่องจากอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้นส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของ "ยุง" มากขึ้น ซึ่งนำมาสู่การแพร่ระบาดของ "ไข้มาเลเรีย" และ "ไข้ส่า" นอกจากนี้โรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น "อหิวาตก โรค" ซึ่งจัดเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโรคหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวด เร็วและต่อเนื่อง จากอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้น

"คำเตือน" จากองค์การสหประชาชาติ เกี่ยวกับ "วิกฤติโลกร้อน" จึงถือเป็นสัญญาณเบื้องต้นที่บอกให้รู้ว่าสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้ปรากฏขึ้นอย่างแจ้งชัด ดังนั้นสมควรหรือไม่ที่จะรอจนกว่าจะค้นพบข้อมูลมากขึ้น หรือมีความรู้ในการแก้ไขมากขึ้น ซึ่ง ณ เวลานั้นสายเกินไปแล้วที่จะแก้ไขได้!!!
 

"ก๊าซเรือนกระจก" ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อ "ก๊าซเรือนกระจก" มีปริมาณมากขึ้น ก๊าซเหล่านี้จะทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น และสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่ง "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" จะทำให้ฤดูหนาวสั้นลง ส่วนฤดูร้อนจะยาวนานขึ้น และอาจทำให้พื้นดินบางแห่งบนโลกกลายเป็นทะเลทราย

 

ในเขตร้อนอาจจะมีพายุบ่อยครั้ง และรุนแรง ส่วนที่บริเวณขั้วโลก ความร้อน จะทำให้หิมะละลาย เมื่อหิมะละลาย ปริมาณน้ำในทะเลก็จะเพิ่มขึ้น มีผลต่อการเกิดอุทกภัย

 นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อพืช และสัตว์ เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ทำให้ปากใบของพืชปิด ไม่สามารถรับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำได้ การสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง สัตว์บางชนิดอาจได้รับความกระทบกระเทือนต่อเนื้อเยืื่อตา ผิวหนัง และเป็นเหตุัให้สัตว์ต่าง ๆ สูญพันธุ์ไปในที่สุด
ผู้ผลิต "ก๊าซเรือนกระจก"
ผู้ผลิต "ก๊าซเรือนกระจก" สิ่งที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้แก่พืชต่างๆบนพื้นโลกและในน้ำทะเล

ตัดมาฝาก

14 กลเม็ดง่ายๆ กู้วิกฤติโลกร้อน![1]

โดย ไทยรัฐ วัน อาทิตย์ ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2550 11:07 น.

 
 

ขณะที่ผู้คนทั่วโลก กำลังตื่นตัวอย่างหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน และเหล่าผู้นำโลกตั้งหน้าตั้งตาถกกันเครียดเพื่อหาทางรับมือกับวิกฤตการณ์ใหญ่จากโกลบอล วอร์มมิ่ง คุณเชื่อหรือไม่คะว่า ด้วยกลเม็ดง่ายๆ และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตเล็กๆ น้อยๆ ประชากรโลกธรรมดาๆอย่างพวกเรา ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะ เรือนกระจก หรือกรีนเฮาส์ เอฟเฟกต์ ได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านักวิทยาศาสตร์ผู้ปราดเปรื่อง!!

ในนิตยสารไทม์ฉบับล่าสุด วันที่ 9 เมษายน 2007 มีการนำเสนอ
แนวทางการชะลอวิกฤตการณ์โลกร้อนฉบับประชาชน ไว้อย่างน่าสนใจหลายประการ เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แพร่หลายไปทั่วโลก โดยแต่ละไอเดียเป็นเรื่องจับต้องได้ใกล้ๆตัว และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงไม่ยากจนเกินไป!!



ไอเดียแคนดูแรกในการพิทักษ์โลกให้รอดพ้นจากภาวะโลกร้อนคือ เปลี่ยนอาหารให้เป็นเชื้อเพลิง ในระยะหลายปีมานี้ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกทุ่มเทเวลาอย่างจริงจังให้กับการคิดค้น หาวิธีผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชพันธุ์ธรรมชาติ ไล่ตั้งแต่ ข้าวโพด, ถั่วเหลือง, น้ำมันหุงต้ม ไปจนถึงเศษขยะ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ทดแทนพลังงานจากน้ำมัน ซึ่งนับวันมีแต่จะร่อยหรอลงเรื่อยๆ!! เห็นได้ชัดจากความเคลื่อนไหวของกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา ที่เพิ่มงบประมาณเป็นสองเท่า สำหรับการทำวิจัยคิดค้นเชื้อเพลิงชีวภาพโดยเฉพาะ และดูเหมือนว่าเชื้อเพลิงที่ผลิตจากข้าวโพดเป็นก๊าซอีธานอลจะมาแรงแซงทางโค้ง กว่าใครเพื่อน เพราะ ทั้งเซฟเงินในกระเป๋า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต



เปลี่ยนหลอดไฟใหม่เป็นแบบประหยัด คือวิธีเซฟค่าไฟในบ้านที่ฮิตฮอตที่สุดของที่สุด แม้รูปร่างหน้าตาของหลอดไฟซีเอฟแอล ที่เรียกกันติดปากในบ้านเราว่า หลอดไฟตะเกียบ ออกจะแปลกตาสักหน่อย แต่ประสิทธิภาพไฮโซมาก!! เพราะช่วยประหยัดไฟได้มากกว่าหลอดไฟธรรมดาๆถึง 3-5 เท่า แถมยังมีอายุการใช้งานนานกว่าหลายเท่าตัว ปัจจุบันมีให้เลือกใช้มากมายหลายขนาด ทั้งหลอดไฟขนาด 26 วัตต์, 40 วัตต์ ไปจนถึง 100 วัตต์

จัดระเบียบการซักผ้าใหม่ ผลการศึกษาล่าสุดของสถาบันอุตสาหกรรมการผลิต มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ค้นพบว่าขั้นตอนการซักผ้าและอบผ้าให้แห้ง กินพลังงานถึง 60% ของการผลิตเสื้อผ้าทั้งหมด และเสื้อยืดธรรมดาๆตัวหนึ่ง ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกือบ 4 กิโลกรัม!! คงไม่ถึงกับขอร้องคุณๆให้หยุดการซักผ้ารีดผ้าหรอกนะคะ!! แต่ถ้าอยากช่วยพิทักษ์โลกสีเขียวก็สามารถทำได้ง่ายๆด้วยการจัดระเบียบการซักผ้ารีดผ้าใหม่ เช่น เปลี่ยนจากการซักผ้าด้วยน้ำอุ่นเป็นน้ำเย็น หรือไม่ก็รวบรวมเสื้อผ้าให้ได้กองโตพอสมควรก่อน ค่อยนำไปซักทีเดียว อย่างบ้านเรา แดดเปรี้ยงแรงดีอยู่แล้ว แค่นำเสื้อผ้าตากแดดตากลมให้แห้งตามธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องอบผ้าให้กินไฟและทำลายสิ่งแวดล้อม

จัดบ้านใหม่ให้สอดคล้องกับหลักธรรมชาติ เชื่อหรือ ไม่คะว่า 16% ของพลังงานที่ใช้ภายในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เป็นตัวการก่อให้เกิดการแพร่กระจายก๊าซกรีนเฮาส์ในอเมริกา ฉะนั้น ลองหาเวลาว่างจัดบ้านใหม่ให้สอดคล้องกับหลักธรรมชาติ และทิศทางลม แทนที่จะพึ่งเทคโนโลยีไฮเทคตลอดเวลา เพราะการใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายโลว์เทคๆช่วยเซฟพลังงานในบ้านได้ถึง 40%



ใส่เสื้อผ้ามือสองพิทักษ์โลก ในนิตยสารไทม์ฉบับล่าสุด ระบุไว้ว่า เสื้อผ้ามือสองเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเสื้อผ้าใหม่ เพราะการซื้อเสื้อผ้ามือสองช่วยหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง จากการผลิต และขนส่ง อันเป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ยิ่งยุคนี้วินเทจ ลุคเป็นที่นิยมอยู่ด้วย ช่วยกันคนละนิดนะคะ ทั้งอินเทรนด์ แถมยังลดวิกฤติโลกร้อน!!

 

อีกหนึ่งวิธีเซฟ เดอะ เวิลด์ที่เวิร์กมากๆ เห็นจะเป็น การจัด สรรให้พนักงานทำงานใกล้บ้านที่สุด ฟาสต์ฟู้ดใหญ่ๆทั่ว อเมริกานำวิธีนี้มาใช้อย่างได้ผล!! เพราะแทนที่หนุ่มสาวคนทำงานจะสูญเสียพลังงานจากการขับรถไกลๆมาทำงานในแต่ละวัน ทำไมเราไม่หาสาขาที่ทำงานใกล้บ้านให้แมตช์กับพนักงานละคะ!! หรือถ้าฟังดูยุ่งยากเกินไปก็อาจตั้งเป้าหมายไปเลยว่า ต่อไปนี้ฉันจะหางานทำเฉพาะทำเลที่อยู่ใกล้บ้านเท่านั้น!!

 

ถ้าคุณเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตัวจริงละก็ ทิ้งบ้านหลังใหญ่ แถบชานเมือง ย้ายเข้ามาอยู่ในกรุงด่วนจี๋!! เพราะเมืองใหญ่ๆอย่างแมนฮัตตัน, โตเกียว หรือลอนดอน ถือเป็นโซนของพลเมืองโลกหัวใจสีเขียวขนานแท้!! ชาวกรุงน้อยคนนักจะขับรถไปทำงาน ส่วนใหญ่นิยมเดิน, ขี่จักรยาน หรือไม่ก็ใช้บริการขนส่งมวลชน ซึ่งรวดเร็วและเปี่ยมประสิทธิภาพมากกว่า!!

 

จ่ายบิลค่าใช้จ่ายทางอินเตอร์เน็ต การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ หันมาจ่ายบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ามือถือ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต จะช่วยกู้วิกฤติโลกร้อนได้ อย่างมโหฬาร!! อย่างน้อยๆก็ช่วยลดการใช้กระดาษ ซึ่งนำไปสู่การตัดไม้ ทำลายป่า แถมยังช่วยลดความสิ้นเปลืองพลังงานจากการขนส่งกระดาษทั้งทางเครื่องบิน และรถบรรทุก รู้ไหมคะว่าวิธีนี้นอกจากจะประหยัดเวลาและเงินในกระเป๋าของคุณเห็นๆแล้ว ยังช่วยลดปริมาณขยะลงถึงปีละ 1,450 ล้านตัน และจำกัดการแพร่กระจายของก๊าซกรีนเฮาส์ ปีละ 1.9 ล้านตัน

 

เปิดหน้าต่างรับลมแทนการเปิดแอร์ วิธีนี้ง่ายและคนไทยคุ้นเคยกันดี ผลการศึกษาของอเมริกาบ่งชี้ว่า 22.7 ตัน ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แพร่กระจายอยู่ในอากาศมาจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ลองลดการใช้พลังงานและทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยการเปิดหน้าต่างภายในบ้านเพื่อรับลม แทนที่จะเปิดแอร์ทั้งวันทั้งคืน เพราะลมธรรมชาติจากภายนอกจะทำให้อากาศภายในบ้านเย็นสบายขึ้นในช่วงฤดูร้อน และอุ่นขึ้นในช่วงฤดูหนาว

 

ปิดคอมพิวเตอร์ทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้ เรื่องนี้ควรรณรงค์ อย่างจริงจังในทุกออฟฟิศ เพราะการเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ ไม่เพียงแต่จะเปลืองไฟ แต่ยังก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากจะปิดทิ้งหลังใช้ เสร็จทุกครั้งแล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านการประหยัดพลังงานยังแนะนำว่า การปิดคอมพิวเตอร์, โทรทัศน์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ โดยใช้ปุ่มสแตนด์บาย พาวเวอร์ กินไฟในบ้านแบบไม่รู้ตัวถึง 75%...ปุ่ม off เท่านั้นที่เราต้องการ!!

 

ปิดไฟทุกครั้งที่เสร็จงาน ไม่เฉพาะแต่ช่วงพักกลางวัน หรือหลังเลิกงานที่ควรรณรงค์เรื่องการปิดไฟในออฟฟิศ แต่บางออฟฟิศในเมืองใหญ่ๆยังขอความร่วมมือจากพนักงานให้ปิดไฟทุกครั้งที่ทำงานเสร็จ แม้บรรยากาศในออฟฟิศอาจดูมืดๆทึมๆไปบ้าง แต่ก็ช่วยเซฟพลังงานได้อีกหลายเท่าตัว เรื่องประหยัดไฟต้องยกให้ สมเด็จพระบรมราชินีเอลิซาเบธที่สองแห่งอังกฤษทรงเป็นต้นแบบของโลก!!

 

ทายสิคะว่า ระหว่างการขับรถ BMW กับการกิน เบอร์เกอร์บิ๊กแมค อะไรก่อให้ เกิดภาวะโลกร้อนหนักกว่ากัน!! คำตอบก็คือบิ๊กแมคค่ะ!! จากรายงานของนิตยสารไทม์ ระบุว่า อุตสาหกรรมผลิตเนื้อทั่วโลกก่อให้เกิดการแพร่กระจายก๊าซกรีนเฮาส์ ในชั้นบรรยากาศมากถึง 18% เลิกบริโภคเนื้อสเต็ก เถอะนะคะ เพื่อให้ลูกหลานมีอากาศดีๆ ไว้หายใจในอนาคต!!

 

ปฏิเสธถุงพลาสติกลูกเดียว!! ใน แต่ละปีมีถุงพลาสติกถูกผลิตออกสู่ตลาดมากกว่า 50,000 ล้านถุง และมีเพียง 3% ของถุงพลาสติกที่นำไปรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง โดยถุงพลาสติกแต่ละใบต้องใช้เวลาถึงพันปีกว่าจะย่อยสลายหมดไปจากโลก!! ทางที่ดีช่วยกันรณรงค์งดใช้ถุงพลาสติกจะดีกว่า แล้วหันมาพกถุงผ้าส่วนตัวไปช็อปปิ้งตามซุปเปอร์มาร์เกตแทน!!

 

ปลดเนกไท-ถอดสูททิ้ง บริษัทใหญ่ๆในญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มการประหยัดพลังงานแนวใหม่ ด้วยการไฟเขียวอนุญาตให้พนักงานใส่เสื้อเชิ้ตธรรมดาๆ โดยไม่ต้องสวมสูทและผูกเนกไทมาทำงานในช่วงฤดูร้อนตับแตก เพื่อประหยัดค่าแอร์!! ปรากฏว่าได้ผลมาก เพราะฤดูร้อนที่ผ่านมา พี่ยุ่นสามารถลดการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้มากถึง 71,700 ตัน.


เตือนมหาวิบัติภัย ยัน "ภาวะโลกร้อน" ของจริง

"สมิทธ" เตือนมหาวิบัติภัย ยัน "ภาวะโลกร้อน" ของจริง [1]

สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต


          
เมื่อวานนี้(1 เมษายน) นายสมิทธ ธรรมสโรจน์ อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยถึงรายงานวิจัยสำรวจภาวะโลกร้อนฉบับที่ 2 ขององค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ว่า มีความเป็นไปได้สูงมาก ที่จะเกิดภัยพิบัติต่างๆ คร่าชีวิตมวลมนุษย์ชาติ เนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค พายุฤดูร้อน น้ำท่วม ภาวะแห้งแล้ง โลกภัยไข้เจ็บ พืชและสัตว์สูญพันธ์ น้ำทะเลจะขึ้นสูงอีก1เมตร และเหตุการณ์ดังกล่าวคาดว่าจะเกิดขึ้นในทศวรรษนี้โดยครึ่งหนึ่งจะเกิดขึ้นแถบเอเซีย โดยเฉพาะในพื้นที่ประเทศไทย จะอยู่ในช่วงระหว่าง 15 ปี และช้าสุดไม่เกิน 20 ปี 



           ส่วนในพื้นที่ชานเมืองของกรุงเทพฯ ที่อยู่ติดกับทะเล อาทิ อ.พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร จะได้รับผลกระทบเป็นพื้นที่แรก เนื่องจากพื้นดินบริเวณดังกล่าว อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล อาจส่งผลถึงระบบเศรษฐกิจ ระบบการท่องเที่ยว การเกษตรกรรม การขนส่ง ภายในประเทศด้วย 



           "หากปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบไปทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเกษตรกร ที่อยู่ในพื้นที่ จ.นนทบุรี อ.บางพลี อ.บางบ่อ ก็จะเพาะปลูกไม่ได้ ส่วนประชาชนที่อยู่ในเขตกทม. ก็จะใช้น้ำประปาไม่ได้ เพราะน้ำทะเลหนุนสูงและทะลักเข้าสู่คลองประปา และที่สำคัญกว่านั้น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิก็จะถูกน้ำท่วม ระบบเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว การคมนาคม ขนส่งก็จะได้รับผลกระทบ จนประเมินค่าความเสียหายไม่ได้" นายสมิทธ กล่าว 



           อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ยังได้เสนอแนะมาตราการป้องกันเบื้องต้นว่า นอกจากประชาชนจะร่วมกันตระหนักถึงผลมหาวิบัติที่ใกล้จะมาถึงแล้ว รัฐบาลต้องหาวิธีป้องกัน อาทิ การสร้างเขื่อน หรือประตูระบายน้ำ เพราะไม่งั้นอาจเกิดการสูญเสียยิ่งกว่ามหาวิบัติภัยสึนามิที่ผ่านมาได้ 



           ด้าน กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศประเทศไทยราย 3 เดือน(เมษายน-มิถุนายน2550)ว่า เดือนเมษายน ประเทศไทยตอนบนอยู่ในช่วงฤดูร้อน อากาศอบอ้าว อุณหภูมิสูงสุด 40-43องศาเซลเซียส ในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง และในบางช่วงจะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ส่วนเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน ก็เข้าสู่ภาวะปกติ แต่อาจจะเจอกับพายุ จากทะเลจีนใต้

 
ภาวะโลกร้อน จุดพลิกผัน และวันโลกาวินาศ

ภาวะโลกร้อน จุดพลิกผัน และวันโลกาวินาศ [1]

 

 วันศุกร์ที่ 02 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ในการกล่าวคำปราศรัยประจำปีต่อรัฐสภาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช พูดถึงภาวะโลกร้อนว่า เป็นปัญหาร้ายแรง

นั่นเป็นการเปลี่ยนท่าทีของเขาเป็นครั้งแรก เพราะในช่วงเวลา 6 ปีที่เขาเป็นประธานาธิบดี รัฐบาลอเมริกันไม่เคยใส่ใจในปัญหานี้อย่างจริงจังเลย ร้ายยิ่งกว่านั้น รัฐบาลของเขายังทำตัวเป็นผู้เอาเท้าราน้ำ เมื่อผู้อื่นพยายามจะพายเรือโดยไม่ยอมลงนามในพิธีสารเกียวโต ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกอีกด้วย

 

สหรัฐจึงเป็นเพียงหนึ่งในสองประเทศเท่านั้น (อีกประเทศหนึ่งคือออสเตรเลีย) ที่ไม่ยอมร่วมลงนามในพิธีสารดังกล่าว การเปลี่ยนท่าทีของประธานาธิบดีบุช อาจอ่านได้หลายแง่ เช่น สหรัฐกำลังพ่ายแพ้สงครามในอิรักอย่างน่าอับอาย เขาจึงหาทางเบี่ยงเบนความสนใจไปสู่ประเด็นอื่น ตอนนี้ปัญหาโลกร้อนกำลังได้รับความสนใจจากชาวอเมริกันอย่างกว้างขวาง

 

 

ดังจะเห็นได้จากก่อนที่ประธานาธิบดีบุชจะกล่าวคำปราศรัย บรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ได้นัดพบกันในกรุงวอชิงตัน เพื่อกดดันให้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับโลกร้อน และเมื่อตอนกลางปีที่แล้วรัฐต่างๆ ได้ฟ้องศาลให้รัฐบาลกลาง เปลี่ยนโยบาย

 

 ฉะนั้นจึงต้องดูกันต่อไปว่ารัฐบาลอเมริกันจะเปลี่ยนนโยบายในเร็ววันนี้ หรือว่าการพูดของประธานาธิบดีบุชเป็นเพียงการเบี่ยงเบนประเด็นและเพื่อหาคะแนนนิยม 

พร้อมๆ กันกับการกล่าวคำปราศรัยของประธานาธิบดีบุช การประชุมทางเศรษฐกิจประจำปี ที่เมืองดาวอส ก็นำเรื่องภาวะโลกร้อน ขึ้นมาปรึกษากัน นอกจากนั้น รัฐบาลออสเตรเลีย ถูกโจมตีอย่างหนักจากนักวิชาการชาวออสเตรเลีย เช่น Tim Flannery ด้วย

 

ก่อนนั้นเพียงสัปดาห์เดียวกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ด้านปรมาณูได้เลื่อนเข็มนาฬิกาแห่งวันโลกาวินาศ (Doomsday Clock) ให้เข้าใกล้เวลา "เที่ยงคืน" เข้าไปอีก 2 นาที นั่นหมายความว่า ในความเห็นของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้โลกเหลือเวลาอีกเพียง 5 นาทีก่อนที่จะถึงวันโลกาวินาศ หนึ่งในปัจจัยที่กระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์เปลี่ยนเข็มนาฬิกาดังกล่าวได้แก่ภาวะโลกร้อน

  

เป็นไปได้ว่า ในไม่ช้ารัฐบาลอเมริกันและรัฐบาลออสเตรเลีย จะเปลี่ยนนโยบายไปในทางที่โลกต้องการ ผู้ที่อ่านหนังสือเรื่อง The Chaos Point ของ Irvin Laszlo และเชื่อในคำทำนายของเขาคงเฝ้ารอการเปลี่ยนนั้นอย่างใจจดใจจ่อ เพราะการเปลี่ยนนโยบายดังกล่าว จะเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันมิให้โลกเดินเข้าสู่จุดพลิกผันอันสำคัญยิ่งในปี 2555

  Irvin Laszlo ได้ใช้ทฤษฎีโกลาหล (Chaos Theory) ทำนายไว้ว่า จากวันนี้ถึงปี 2555 หากชาวโลกยังยึดพฤติกรรมดังที่ทำกันมา รวมทั้งการใช้พลังงานมากมาย จนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย โลกจะเดินเข้าสู่ทางล่มสลายแบบกู่ไม่กลับในปี 2555

 

 

อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่าขณะนี้ยังไม่สายเกินไป ชาวโลกยังมีเวลาเหลืออีก 5 ปี ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งจะทำให้โลกเปลี่ยนไปเดินเข้าสู่ทางแห่งความยั่งยืนกลับมาที่ภาวะโลกร้อน ตอนนี้มีหนังสือพิมพ์ออกมามากมาย เช่น Berger, John J. Beating the Heat : Why and How We Must Combat Global Warming ; Flannery, Tim. The Weather Makers : How Man Is Changing the Climate and What It Means for Life on Earth ; Gelbspan, Ross. Boiling Point : How Politicians, Big Oil and Coal, Journalists, and Activists Have Fueled the Climate Crisis-and What We Can Do to Avert Disaster ; Gelbspan, Ross. The Heat Is On : The High Stakes Battle over Earth's Threatened Climate ; Gore, Al. An Inconvenient Truth :The Planetary Emergency of Global Warming and What We Can Do about It ; Kolbert, Elizabeth. Field Notes from a Catastrophe : Man, Nature, and Climate Change ; Linden, Eugene. The Winds of Change : Climate, Weather, and the Destruction of Civilizations ; Lovelock, James. The Revenge of Gaia : Earth's Climate Crisis & The Fate of Humanity ; Lynas, Mark. High Tide : The Truth about Our Climate Crisis ; Michaels, Patrick J. Meltdown :

The Predictable Distortion of Global Warming by Scientists, Politicians, and the Media ; Michaels, Patrick J. and Robert C. Balling, Jr. The Satanic Gases : Clearing the Air about Global Warming ; Weart, Spencer R. The Discovery of Global Warming.

 

 

หนังสือที่อ่านง่ายที่สุดได้แก่ของอดีตรองประธานาธิบดี Al Gore เรื่อง An Inconvenient Truth ซึ่งนำเสนอแบบง่ายๆ พร้อมกับมีรูปถ่ายสวยๆ ประกอบตลอดทั้งเล่ม รวมทั้งรูปชาวนาไทยในจังหวัดปัตตานีด้วย หนังสือเล่มนี้มีภาพยนตร์ประกอบซึ่งเคยเข้ามาฉายในเมืองไทยแล้ว ส่วนเล่มอื่นมีความยากง่ายต่างกัน

 

ผู้ที่คิดจะไปอ่านควรทราบก่อนว่า สองเรื่องที่ Patrick Michaels เขียนคือ Meltdown กับ The Satanic Gases นั้น ไม่เชื่อว่าภาวะโลกร้อนเป็นความจริงหรือร้ายแรงอะไรมากนัก นอกจากเป็นเพียงสถานการณ์ "กระต่ายตื่นตูม" ของพวกต่อต้านความก้าวหน้า อย่างไรก็ตาม มีข่าวว่าเขารับเงินจากบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ จนกลายเป็นพวกเมธีบริกรซึ่งก็มีอยู่บ้างในอเมริกา

 

ภาวะโลกร้อนจะนำโลกไปไหนยังไม่มีใครรู้แน่นอน เพราะในช่วงหนึ่งแสนปีที่ผ่านมา โลกไม่เคยร้อนเท่าในปัจจุบัน หากเรามองว่าภาวะโลกร้อนเป็นผลของกิจกรรมที่มนุษย์ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปอย่างใหญ่หลวง เราอาจใช้การศึกษาอารยธรรมที่ล่มสลายไปในอดีตเพราะการทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นกรอบอ้างอิง

 

 

สำหรับผู้ที่พอมีเวลาและอ่านภาษาอังกฤษได้ ขอแนะนำให้อ่านเรื่อง The Winds of Change ของ Eugene Linden และอีกสองเรื่องคือ Collapse : How Societies Choose to Fail or Succeed ของ Jared Diamond และ One with Nineveh : Politics, Consumption, and the Human Future ของ Paul และ Anne Ehrlich

 

เรื่องเหล่านี้จะบอกว่าการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้อากาศเปลี่ยนแปลงจนเป็นเหตุให้สังคมล่มสลายได้อย่างไรจากการได้เห็นข้อมูลในหนังสือเหล่านี้ และในที่อื่นอีกมากมาย ผมแน่ใจว่าปัญหาโลกร้อนหนักหนาสาหัส จนอาจทำให้เกิดจุดพลิกผันที่จะนำโลกไปสู่วันโลกาวินาศได้จริง แต่อย่าเชื่อผม ลองไปศึกษาดูให้รู้แน่แก่ใจเสียก่อนจะดีกว่า

 

 

ผมเชื่อมั่นว่า เมื่อศึกษาจนเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้แล้ว ทุกคนจะเต็มใจหันไปดำเนินชีวิตแบบ "พอเพียง" หรือแบบ "เป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ผู้อื่นจะได้อยู่ได้ด้วย" ตามคำแนะนำของท่านมหาตมะ คานธี

 

 เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ ไม่รู้ภาษาอังกฤษอย่างแตกฉาน เรามาช่วยกันเผยแพร่ประเด็นนี้จะดีไหม ? ตามคำทำนายของ Irvin Laszlo เราเหลือเวลาอีก 5 ปีที่จะทำเช่นนั้น
"ภาวะโลกร้อน" ท็อปเท็นข่าววิทย์ปี 49
"ภาวะโลกร้อน" ท็อปเท็นข่าววิทย์ปี 49[1] 

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และ รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกันแถลงข่าวการจัดอันดับ 10 ข่าวดังด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2549 ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมกับชมรมนักเขียนผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต จัดอันดับ



ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการจัดอันดับ 10 ข่าวดังด้านวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2535 ถึงปัจจุบัน 14 ปีมาแล้ว เพื่อสร้างกระแสความนิยมและส่งเสริมความสนใจข่าวสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในหมู่เยาวชนและสังคมไทย



ผลจากประชามติ ข่าวดังด้านวิทยาศาสตร์

อันดับ 1 คือ ข่าวภาวะโลกร้อน-ปรากฏการณ์ลานีญา ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เช่น น้ำท่วมที่จังหวัดอุตรดิตถ์ พบปะการังสีทองในทะเล และอากาศที่เปลี่ยนแปลงในประเทศที่เคยหนาวกลับไม่หนาว แต่ประเทศไทยอย่างกรุงเทพฯ กลับหนาวเย็นมากขึ้น



อันดับ 2 คือ ข่าว "10 เทคโนโลยีอุบัติใหม่" นำความก้าวหน้าสู่สังคม



อันดับ 3 ข่าวไบโอเทค/สวทช.-ศิริราช ผลิตวัคซีนต้นแบบสำหรับป้องกันโรคไข้หวัดนกในคนได้สำเร็จในระดับห้องปฏิบัติการ



อันดับ 4 ข่าวการใช้นิติวิทยาศาสตร์ โดยแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ตรวจหาพยานหลักฐานคดีการหายตัวไปของนายสมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม



อันดับ 5 ข่าว สวทช. สร้างกระแสกระตุ้นเยาวชนเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้วยรายการ Mega Clever ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี



อันดับ 6 ข่าววิกฤตการณ์นิวเคลียร์ ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันสำหรับทั่วโลก เกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ที่จะนำมาเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก และกรณีปัญหานิวเคลียร์เกาหลีเหนือ/อิหร่าน และผลทดสอบการทุจริตโครงการนิวเคลียร์ของสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ



อันดับ 7 ข่าวนักวิจัยไทยกับผู้เชี่ยวชาญเยอรมนีสำรวจทะเลไทย พบโคลนภูเขาไฟใต้ทะเลห่างจากภูเก็ต 200 กิโลเมตร



อันดับ 8 ข่าวเสื้อซิลเวอร์นาโน ฉลองครองราชย์ 60 ปี ภายใต้แบรนด์ I-TEX



อันดับ 9 ข่าวเจลลดไข้ ชาวบ้านเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์จากต่างดาว



และอันดับ 10 ข่าวสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ลงมติตัดดาว "พลูโต" ออกจากการเป็นดาวเคราะห์ตามนิยามใหม่




ที่มา กรุงเทพธุรกิจ 

ประเทศไทยเราก็น่าจะมีกลุ่มองค์กรอะไรซักอย่างที่ส่งเสริมการแก้ไขภาวะวิกฤติเช่นนี้ หรือนโยบายสิ่งแวดล้อมของกระทรวงวิทย์และสิ่งแวดล้อมน่าจะกำหนดไว้ หลายประเทศทำแล้วแต่เราเมืองไทย ก็ยังคงช้าและไม่ค่อยมีใครสนใจอยู่ดี ผมเห็นด้วยและจะพยายามเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ไปสู่บุคคลอื่นๆ

Global Warming IS a Fact[1] 
The planet IS warming.Over the last century, the world's average temperature has increased about 1° Fahrenheit.

In the Northern Hemisphere, spring thaw begins 9 days earlier than it did 150 years ago, and the fall freeze starts 10 days later.

The hottest years on record are 1998, 2002, 2003, 2001, and 1997. 
There is more warming at higher latitudes.
In the past 50 years, average temperatures have increased 4 -7° Fahrenheit in Alaska, western Canada, and eastern Russia.

In Barrow, Alaska, average temperatures have risen 4° Fahrenheit in 30 years -- almost twice the global average.

The United Nations' Intergovernmental Panel on Climate Change says global temperatures will rise up to 10° Fahrenheit by century's end. 
Arctic ice is at risk.
Rising temperatures have a dramatic impact on Arctic ice, which serves as an "air conditioner" at the top of the world. Since 1978 Arctic sea ice area has not only thinned, but it's shrunk 9% per decade.

ACIA projects that at least half of the Arctic's summer sea ice will melt by century's end, and that the Arctic region is likely to warm 7-13°s
Fahrenheit during the same 
The Arctic impacts affect people and animals.
Coastal Indigenous communities report shorter periods of sea ice, causing more ocean storms and coastal erosion.

Increased snow and ice melt causes rivers to rise.
Thawing permafrost ruins roads and other infrastructure. Some communities have been forced to move from historic coastline locations.
Sea ice loss is devastating for animals like polar bears and ringed seals in the Arctic and Antarctic penguins. They depend upon that environment to live.

Greenland's ice sheet could melt. Over the very long term, Greenland's massive ice sheet holds enough melt water to raise sea level by about 23 feet. The ACIA predicts this ice sheet will melt throughout the 21st century. 
Global warming affects plants, birds and amphibians also.
Since the 1950s, many European plants flower a week earlier and lose their leaves 5 days later.

Birds and frogs are breeding earlier in the season.
Some butterflies now range 2 - 150 miles farther north than they did a few decades ago.
 Warming could cause plant and animal extinction.
By 2050, carbon dioxide and other greenhouse gases could force the extinction of more than 1,000,000 of Earth's land-dwelling plants and animals. 

What You Can Do To Help!

  1. Reduce Carbon Dioxide Emissions by about 500 pounds per year:  Replace your current washing machine with a low-energy, low-water-use machine. (440 pounds).  Wash your laundry in warm or cold water, instead of hot. (60 pounds).
  2. Reduce Carbon Dioxide Emissions by about 1,000 pounds per year:  Wrap water heaters older than 5 years in an insulating jacket.
    3.
  3. Reduce Carbon Dioxide Emissions by about 550 pounds per year:  Keep your water-heater thermostat no higher than 120° F.
  4. Reduce Carbon Dioxide Emissions by about 450 pounds per year:  Replace old, energy inefficient appliances with newer efficient models. For list of energy-efficient appliances, visit: (www.energystar.gov).
  5. Reduce Carbon Dioxide Emissions by about 1,000 pounds per year:  Reduce your garbage by 25% and reduce carbon dioxide emissions.
  6. Reduce Carbon Dioxide Emissions by about 850 pounds per year: Recycle aluminum cans, glass bottles, plastic, cardboard, and newspapers.
  7. Reduce Carbon Dioxide Emissions by about 1,000 pounds per year:  Caulk and weather strip around doors and windows to plug up leaks.
  8. Reduce Carbon Dioxide Emissions by 1,590 pounds per year:  Leave your car at home two days a week and walk, bike, or take public transit.
  9. Reduce Carbon Dioxide Emissions With your Car:  Find a car that gets more miles to the gallon. The potential carbon dioxide reduction for a car that gets 32 miles per gallon is 5,600 pounds per year.
  10. Make the Right Mov:  Move closer to work and reducing your commute.
  11. Turn Off:  Turn off your TV, video player, stereo, computer, and lights when you aren't using them, and you start saving within a minute or two.
  12. Baby your Car:  Tune-up your car and could boost your miles per gallon from 4- 40%.
    A new air filter could increase mpg by 10%.
    Take your roof rack off your car when you aren't using it.
 

http://reference.aol.com/nowyouknow/culture?id=20050729163209990001

เห็นด้วย กับคุณ  mr. สุมิตรชัย คำเขาแดง  ขอบใจที่ส่งข้อความมาว่า  “ประเทศไทยเราก็น่าจะมีกลุ่มองค์กรอะไรซักอย่างที่ส่งเสริมการแก้ไขภาวะวิกฤติเช่นนี้ หรือนโยบายสิ่งแวดล้อมของกระทรวงวิทย์และสิ่งแวดล้อมน่าจะกำหนดไว้ หลายประเทศทำแล้วแต่เราเมืองไทย ก็ยังคงช้าและไม่ค่อยมีใครสนใจอยู่ดี ผมเห็นด้วยและจะพยายามเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ไปสู่บุคคลอื่นๆ”  หวังว่า รัฐบาลคงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ 

คนหลายพันล้านจะเผชิญกับภัยพิบัติโลกร้อน[1]


 



คอลัมน์ โลกสามมิติ

โดย บัณฑิต คงอินทร์ [email protected]
 คนหลายพันล้านจะต้องเผชิญกับการขาดแคลนอาหารและน้ำและภัยพิบัติจากน้ำท่วมมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของอากาศหรือภาวะโลกร้อน

นี่คือข้อสรุปอันน่าเศร้าของผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมหลายร้อยคนจาก 100 กว่าประเทศ ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือ "ไอพีซีซี" (UN Intergovernmental Panel on Climate Change - IPCC)


ไอพีซีซีได้เผยแพร่รายงานฉบับที่สองซึ่งเป็นผลการศึกษาของคณะทำงานของไอพีซีซีชุดที่ 2 (PCC Working Group II) ที่ชื่อว่า Climate Change 2007: Climate Change Impacts,Adaptation and Vulnerability เมื่อวันศุกร์ที่ 6 เมษายน 2007 ภายหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมของไอพีซีซีที่             กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม


รายงานนี้เตือนว่า การเปลี่ยนแปลงของอากาศไม่ใช่ปัญหาในอนาคตแต่เป็นปัญหาในปัจจุบันที่จะต้องจัดการโดยทันที และชี้ให้เห็นรายละเอียดผลกระทบต่อมนุษย์จากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิตั้งแต่ 0-5 องศาเซลเซียส และมาตรการในการแก้ไขปัญหาไว้ด้วย


ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส จะทำให้ผลิตผลทางการเกษตรลดลงในแถบเส้นละติจูดต่ำ


ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นในระหว่าง 2-3 องศาเซลเซียส จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรในบริเวณแถบเส้นละติจูดสูงเพิ่มขึ้น


ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียสจะทำให้พันธุ์สัตว์และพืชต้องสูญพันธุ์ประมาณ 30% และถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3 องศาเซลเซียสจะทำให้ปะการังชายฝั่งตายในบริเวณกว้าง


ทวีปแอฟริกาจะได้รับผลกระทบมากที่สุด คนแอฟริกันประมาณ 75-250 ล้านคนทั่วทวีปแอฟริกาจะต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป การเกษตรที่อาศัยน้ำฝนจะลดลงกว่า 50% ในบางประเทศของทวีปแอฟริกา


ในเอเชียผลผลิตจากพืชจะเพิ่มมากกว่า 20% ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ลดลงกว่า 30% ในเอเชียกลางและเอเชียใต้


ประมาณ 20-30% ของพันธุ์พืชและสัตว์จะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นระหว่าง 1.5-2.5 องศาเซลเซียส และธารน้ำแข็งและหิมะจะละลายมากขึ้นจนทำให้ขาดแคลนน้ำจืดในบางประเทศ


รายงานยังระบุด้วยว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือคนยากจนซึ่งมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศน้อยที่สุด


"ประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศยากจนจะได้รับผลกระทบที่เลวร้ายจากผลของการเปลี่ยนแปลงของอากาศ" ผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมประชุมคนหนึ่งกล่าว


ขณะที่ ราเจนทรา ปาเชารี ประธานไอพีซีซี บอกว่า มันรวมถึงคนยากจนในประเทศร่ำรวยด้วย และว่า คนยากจนเหล่านั้นมีเครื่องไม้เครื่องมือหรืออุปกรณ์น้อยที่สุดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอากาศ


มาร์ติน พาร์รี ประธานร่วมของคณะทำงานชุดที่ 2 บอกว่า หลักฐานที่มีอยู่แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของอากาศกำลังส่งผลโดยตรงกับสัตว์ พืช และน้ำ


พาร์รีซึ่งเป็นหนึ่งนักวิทยาศาสตร์จำนวน 441 คนที่ทำวิจัยให้ ไอพีซีซีเป็นเวลา 5 ปี ยังบอกว่า "เมื่อ 5 ปีก่อนเราบอกว่าเราสามารถตรวจพบบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศได้ ทว่า ขณะนี้เราพิจารณาชุดของข้อมูลจำนวนถึง 29,000 ชุด แล้วพบว่า 90% ของข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลกนั้นมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ"
 


การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้รวมถึงปรากฏการณ์ไม้ดอกออกดอกก่อนฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงในผลิตผลการเกษตร การอพยพของแมลง และคลื่นความร้อนและพายุที่รุนแรง


มีโอกาสมากกว่า 90% ที่จะเกิดคลื่นความร้อนมากขึ้น ผลกระทบของมันคือทำให้ผลิตผลทางการเกษตรลดลง มีความต้องการใช้น้ำมากขึ้น และเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็ก


ภัยพิบัติอีกอย่างหนึ่งที่มีโอกาสเกิดมากกว่า 90% นั่นคือน้ำท่วม
ซึ่งจะทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาย และไม่สามารถใช้ดินในการเพาะปลูกได้เพราะน้ำได้กัดเซาะหน้าดินจนดินไม่มีคุณภาพนอกจากนั้นยังทำให้น้ำใต้ดินถูกปนเปื้อน น้ำท่วมยังทำให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทัพย์สิน ตลอดจนโรคภัยอีกด้วย

รายฉบับนี้ได้เสนอมาตรการแก้ไขปัญหาโดยให้รัฐบาลวางมาตรการในการอพยพประชาชนไปตั้งถิ่นฐานใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ อาทิ ผลกระทบจากผลผลิตทางการเกษตรลดลง พายุที่มีความรุนแรงมากขึ้น ความแห้งแล้งและคลื่นความร้อน และการขาดแคลนน้ำจืดจากการละลายของธารน้ำแข็ง


อีกมาตรการหนึ่งคือการสร้างเขื่อนป้องกันไม่ให้น้ำทะเลที่สูงขึ้นเข้าท่วมชายฝั่ง และสร้างเขื่อนหรือคลองระบายน้ำในพื้นที่ที่ธารน้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการตัดต่อพันธุกรรมพืชให้มีความต้องการน้ำน้อยลง


นักการเมืองและนักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ออกมาตอบรับรายงานฉบับนี้ สตาฟโรส ไดมาส กรรมาธิการสิ่งแวดล้อมของยุโรปกล่าวว่า รายงานนี้ให้จุดเน้นเพิ่มขึ้นทั้งในเรื่องว่าจะดำเนินการอย่างเร่งด่วนอย่างไรเพื่อบรรลุข้อตกลงในการลดก๊าซเรือนกระจก และมีความสำคัญอย่างไรที่เราจะต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศที่เป็นอยู่


เซอร์ มาร์ติน รีส์ ประธานราชสมาคม (Royal Society) บอกว่า นี่เป็นการปลุกให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ภาคอุตสาหกรรม และปัจเจกชนตื่นอีกครั้งหนึ่ง และว่าขณะนี้เรามีสิ่งชี้วัดผลกระทบที่เป็นไปได้จากภาวะโลกร้อนชัดเจนมากขึ้น และผลกระทบบางอย่างก็หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว


"ความท้าทายในขณะนี้ก็คือการค้ำจุนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มั่นคงมากที่สุดเพื่อให้พวกเขาสามารถที่จะปรับตัวและส่งเสริมวิถีชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น" เขากล่าว


รายงานของไอพีซีซีจัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศของโลกจำนวนหลายพันคน และนำเสนอต่อที่ประชุมไอพีซีซีเพื่อพิจารณาซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศต่างๆ 190 ประเทศ


ไอพีซีซีจะจัดประชุมเพื่อพิจารณารายงานฉบับที่ 3 ที่ชื่อว่า "Climate Change 2007:Mitigation of Climate Change" ที่ศึกษาโดยคณะทำงานชุดที่สาม ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2007 ที่กรุงเทพมหานคร โดยคณะทำงานชุดที่สามจะประชุมกันก่อนในระหว่างวันที่ 30 เมษายน-พฤษภาคม 2007



รายงานฉบับนี้จะเน้นไปที่แนวทางการหยุดการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกและอุณหภูมิของโลก

 


 

ปัญหาภาวะโลกร้อน ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง
โลกร้อน !! ความจริง ที่ไม่มีใครอยากฟัง[1]  

ประเทศไทยเพิ่งคว้าตำแหน่ง "ประเทศที่อากาศร้อนที่สุดในโลก"



เพิ่มเติมข้อมูลอีกนิด 28 เมษายนนี้ เมืองหลวงของเราจะร้อนที่สุดในรอบปี ผลจากการที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนทำมุมตั้งฉากกับเมืองแห่งนี้พอดิบพอดี

 

โลกร้อนขึ้นทุกวัน เรื่องนี้เห็นจะจริงเป็นอย่างยิ่ง แต่ทว่าสิ่งสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับความจริงที่ไม่ค่อยมีใครยอมรับคือ *เราเองนี่แหละ* ที่เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้ดาวสีฟ้านี้ร้อนระอุ

 

การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ให้พลังงาน วิถีชีวิตที่เน้นการบริโภคอย่างบ้าคลั่งเกินเลยจำเป็น ยิ่งช่วยเร่งสร้างมลภาวะอย่างก๊าซเรือนกระจกไปห่อหุ้มโลก ทำให้ความร้อนไม่อาจหลุดลอดออกไปภายนอกโลกได้

 

หากเปรียบไปก็เหมือนกับกบที่อยู่ในหม้ออบ อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่กว่าจะรู้ตัวว่าร้อนจนเป็นอันตราย ก็สายไปเสียแล้วสำหรับเจ้าสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำตัวนี้

 

หากเปลี่ยน *กบ* เป็น *มนุษย์* จะมีไหมมือจากเพื่อนต่างดาวที่มาฉุดเราให้หลุดรอดไป เมื่อไม่อาจคาดหวัง

 

ดังนั้น การปรับเปลี่ยนที่ตัวเราเองจึงดูเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายกว่า

 

ตามกลไกทางวิทยาศาสตร์ พลังงานจากดวงอาทิตย์จะแผ่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกในรูปของคลื่นแสง ให้ความร้อนแก่โลก พลังงานบางส่วนทำให้โลกอบอุ่น ก่อนจะถูกแผ่กลับออกในห้วงอวกาศในรูปรังสีอินฟราเรด

 

แต่ก็มีบางส่วนที่ชั้นบรรยากาศโลกกักเก็บเอาไว้ ซึ่งนั่นเป็นข้อดี เพราะจะทำให้โลกมีอุณหภูมิไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป

 

เพราะถ้าเปรียบกับ *ดาวศุกร์* ที่มีก๊าซเรือนกระจกหนาก็จะทำให้ร้อนมาก หรืออย่าง *ดาวอังคาร* ที่แทบไม่มีก๊าซเรือนกระจกเลย ก็จะเย็นจัดจนสิ่งมีชีวิตเฉกเช่นมนุษย์ไม่อาจอาศัยอยู่ได้

 

ทว่า ในความเป็นจริงที่เป็นอยู่ นับวันชั้นบรรยากาศโลกจะเก็บกักความร้อนเอาไว้มากขึ้น อันเนื่องจากปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ห่อหุ้มชั้นบรรยากาศไว้ มีชั้นความหนาที่เพิ่มขึ้นจนน่าตกใจ ทำให้รังสีอินฟราเรดที่ควรจะหลุดลอดออกคล้ายถูกกำแพงสกัดกั้น คาร์บอนไดออกไซด์ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน), ก๊าซมีเทน จากการทับถมขยะ การเลี้ยงปศุสัตว์, ไนตรัสออกไซด์ จากการใช้ปุ๋ยและเผาป่า-เผาไร่หลังฤดูเก็บเกี่ยว

 

เหล่านี้คือตัวอย่างเพียงเล็กน้อยของต้นตอที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก และแน่นอน อาจต้องก้มหน้ายอมรับว่า นี่เป็นผลจากการกระทำของมนุษย์

 

มีตลกร้าย (ที่ขำไม่ค่อยออก) เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่อยากเล่าให้ฟัง

 

วันหนึ่ง บนโต๊ะอาหารเช้า ลูกสาวตัวน้อยถามคุณพ่อ "คุณพ่อค่ะ เราจะแก้ปัญหาเรื่องโลกร้อนกันอย่างไร?"

 

พ่อเผยยิ้ม แล้วว่า "ท่านประธานาธิบดีก็คงจะทำเหมือนที่พ่อทำให้หนูทุกเช้า คือเอาน้ำแข็งก้อนมาหย่อนในแก้วน้ำให้มันเย็นลง ท่านคงลงทุนให้ตัดน้ำแข็งก้อนมหึมาจากขั้วโลก แล้วใช้เฮลิคอปเตอร์ผูกเชือกโยง ขนส่งมาหย่อนลงกลางมหาสมุทร ทีละก้อนๆ ให้อุณหภูมิผิวทะเลเย็นลงยังไงละ"

 

เรื่องเล่าข้างต้นอยู่ในภาพยนตร์เรื่อง "An Inconvenenient Truth" ที่เพิ่งได้รับรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมปีล่าสุด ที่บัดนี้ หนังสือในชื่อเดียวกัน ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยแล้วโดยสำนักพิมพ์ "มติชน"

*ผู้เขียนคือ อัล กอร์*

*ผู้แปลคือ คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์*

และสำหรับชื่อในภาคภาษาไทย "โลกร้อน ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง" อยากให้ฟัง *คุณากร* อธิบายถึงที่มา

"จริงๆ แล้วก็แปลมาจากชื่อต้นฉบับนั่นแหละ คือตอนแรกผมก็พยายามที่จะไม่ใช้ชื่อนี้ เพราะชื่อ "ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง" นี้กลัวมันจะไม่ติดหูคน แต่สุดท้ายผมก็ต้องกลับมาใช้ชื่อที่แปลมาจากคำว่า An Incovenient truth โดยตรง เนื่องมาจากสาเหตุอย่างหนึ่งคือ ในหนังสือ เวลาพูดถึงประเด็นอะไรก็แล้วแต่ มันจะกลับมาพูดถึงสิ่งที่คนไม่ค่อยจะเชื่อ"

สอดคล้องกับภาษิตของ มาร์ก ทเวน ที่ *อัล กอร์* หยิบมาโควตไว้ในหนังสือ...

*"สิ่งที่คุณไม่รู้ไม่ได้สร้างปัญหาให้คุณ สิ่งที่คุณมั่นใจว่ารู้แต่กลับรู้ไม่จริงต่างหากที่เป็นปัญหา"*

 

ดังนั้น ใครต่อใครจึงพยายามที่จะปัดความรู้นี้ออกไป ความรู้ที่ว่าเราเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างมลภาวะให้กับโลก บ้างละเลย แกล้งหลงลืม เพียงเพื่อที่จะได้ไม่ต้องมีส่วนรับผิดชอบกับการกระทำของตนเอง

 

หนังสือ "โลกร้อน ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง" ประเด็นหลักจึงไม่ใช่เรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างที่มีให้เห็นมากมาย แต่ทว่า มันคือเรื่องของ "จริยธรรม" เพราะความจริงที่หนังสือบอก บางเรื่องเราอาจเคยรับรู้รับฟังมาบ้างแล้ว แต่เราก็ปล่อยวางไม่สนใจ ตราบเมื่อไม่มีคนตาย ไม่มีความเสียหาย ผู้คน รวมถึงสื่อมวลชนต่างๆ ก็ไม่พูดถึง

"กรณีศึกษาต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้บอกว่าเราต้องใส่ใจนะ เพราะมันเกี่ยวเนื่องกับเรา มันเป็นเรื่องของสำนึก ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้ก่อปัญหา และเราเองนี่แหละที่จะต้องเป็นผู้ร่วมแก้ปัญหานี้ ซึ่งในหนังสือเองก็บอกแล้วว่าเราสามารถทำได้ ตั้งแต่วิธีการเล็กๆ ไปจนถึงวิธีการใหญ่ๆ ไม่มีข้อแม้ใดๆ ที่จะมาบอกว่า ฉันตระหนักกับปัญหา แต่ฉันแก้มันไม่ได้ ก็เลยปล่อยให้เป็นไป เรื่องของเรื่องคือว่า คุณจะแก้มันหรือเปล่านั่นแหละ นี่คือประเด็นทางจริยธรรม" คำพูดของคุณากรนั้นเข้มข้นจริงจัง

 

มาทางฟากฝั่งของผู้เขียน ความประทับใจของ อัล กอร์ เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในประเด็นโลกร้อนนั้น เกิดขึ้นในสมัยเรียนระดับปริญญาตรี เขาได้มีโอกาสศึกษากับ รีเจอร์ รีวิลล์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันที่ค้นพบแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก โดยอาศัยการวิเคราะห์ผลตรวจวัดจากสถานีวิจัยบรรยากาศ กลางมหาสมุทรแปซิฟิก ณ เกาะหลัก หมู่เกาะฮาวาย

 

อัล กอร์ ชื่นชอบและเห็นความสำคัญของเรื่องนี้

 

เมื่อศึกษาเรื่องนี้จนตระหนัก และคิดว่าเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ทุกคนต้องรับรู้ อัล กอร์ จึงตระเวนไปฉายสไลด์และพูดตามที่ต่างๆ ไม่หยุดหย่อน

 

ไม่ใช่เฉพาะในอเมริกา เขายังเดินทางมาประเทศในเอเชีย อย่างจีน ซึ่งทราบกันดีว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น พร้อมๆ กับการแข่งขันพัฒนาตัวเองของประเทศ

 

เขาเขียนไว้ในหน้าบทนำของหนังสือ ตอนหนึ่งว่า *"เชื่อกันว่าการสูญพันธุ์ที่กวาดล้างไดโนเสาร์เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว เกิดจากดาวเคราะห์น้อยพุ่งปะทะโลก แต่การสูญพันธุ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นครั้งใหม่นี้กลับมีมนุษย์เป็นต้นเหตุ"*

 

จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้อีกอย่างหนึ่งคือ การที่ผู้เขียน คือ อัล กอร์ ซึ่งไม่ได้เป็นนักวิชาการ เป็นผู้เล่าเรื่อง ดังนั้น เขาจึงไม่ได้ผูกติดกับภาษาที่เป็นวิชาการ ตลอดจนกรอบการเขียนใดๆ หนังสือเล่มนี้จึงถูกออกแบบมาให้เหมาะกับบุคคลทั่วไป อ่านทำความเข้าใจได้ง่าย และข้อมูลที่ให้ก็ตรงกับที่นักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัยทำการศึกษาอยู่

*เนื้อหาทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลจริง*

 

อ่านสนุก อ่านเพลิน แต่ที่อยากย้ำ *นี่คือเรื่องจริงไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์*

 

อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้หนังสือเล่มนี้มีเสน่ห์คือลูกเล่น และวิธีการเล่าเรื่อง การที่ผู้เขียนตัดสลับชีวิตของตัวเองเข้ามาเป็นช่วงๆ แม้อาจดูเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ทว่านี่แหละที่ทำให้อดีตรองนายกรัฐมนตรีสมัยประธานาธิบดี บิล คลินตัน ผู้นี้ดูเป็นคนธรรมดา

 

ชีวิตของ อัล กอร์ ก็เหมือนกับบุคคลอื่นทั่วไป สุข ทุกข์ วิ่งวนเป็นวัฏจักรไม่ได้ต่างอะไรไปจากเราๆ ท่านๆ ต่างก็แต่วิกฤตในชีวิตของเขาหลายๆ ครั้ง ได้รับการแปรเปลี่ยนเป็นโอกาส

 

การเกือบสูญเสียลูก กับการตระหนักว่าเราจะต้องสูญเสียโลก

 

การสูญเสียพี่สาว ด้วยโรคมะเร็งปอดผลจากการสูบบุหรี่จัด กับความรับผิดชอบของตระกูลกอร์ที่เลิกปลูกยาสูบไปตลอดกาล

 

นั่นคือความธรรมดาที่จะทำให้เรารู้สึกร่วมไปกับหนังสือ

"อัล กอร์มีบุคลิกพิเศษ คือเขาเล่าเรื่องโดยเอาตัวเองมาเป็นแกนกลาง ทำให้คนติด ทำให้มันดูมีชีวิต อย่างกรณีลูกประสบอุบัติเหตุ หรือการที่เขาต้องสูญเสียพี่สาว ก็เอามาเปรียบเทียบกับโลก ทำให้หนังสือมีเลือดเนื้อ

"ชีวิตของเขานี่แหละที่ยึดตรึงเรื่องให้อยู่ด้วยกัน มีเอกภาพ การทำแบบนี้ทำให้เรื่องราวไม่ไกลไปจากจากชีวิตผู้อื่น มันเป็นประสบการณ์สากล" ผู้แปลพูดถึงผู้เขียน

 

หนังสือ "โลกร้อน ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง" ไม่เพียงแต่ฉายปรากฏการณ์ หรือการนำเสนอที่หวือหวาด้วยรูปภาพ กราฟข้อมูล แต่ยังบอกถึงวิธีการแก้ปัญหาอย่างสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยรวบรวมมา ซึ่งจะเห็นว่า เราเองสามารถทำได้ แค่เพียงเปลี่ยน...

...เปลี่ยนเป็นถอดปลั๊กเมื่อปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า, เปลี่ยนเป็นใช้บริการขนส่งมวลชน, เปลี่ยนเป็นลดสินค้าฟุ่มเฟือย, เปลี่ยนเป็นใช้ผลิตภัณฑ์ที่หมุนเวียนมาใช้ใหม่ได้, เปลี่ยนเป็นบริโภคเนื้อให้น้อยลง, เปลี่ยนเป็นใช้สินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น ฯลฯ

 

ยังมีอีกหลายวิธีการที่เราสามารถช่วยโลกใบนี้ได้

*อยู่ที่ว่าจะเปิดใจยอมรับ และยอมเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า เท่านั้นเอง*
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมบล๊อคผมครับ
มหันตภัยโลกร้อน : ฝันร้ายของภาคเกษตร

มหันตภัยโลกร้อน : ฝันร้ายของภาคเกษตร[1]



ขณะนี้วงการวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นมหันตภัยร้ายที่เป็นผลพวงมาจาก "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" หรือที่เรียกกันว่า greenhouse effect



ซึ่งนับวันจะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ จากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของคนเราที่ส่งผลให้เกิดก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกอย่างต่อเนื่อง อาทิ คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซมีเทน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ ซึ่งก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้จะห่อหุ้มผิวโลก กั้นการสะท้อนกลับของรังสีอินฟราเรดจนความร้อนในโลกไม่อาจสะท้อนออกไปนอกโลก เกิดเป็นภาวะโลกร้อนที่คุกคามความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนโลก



ความจริงที่โลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ คือโลกกำลังร้อนขึ้น อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงขึ้น 0.6 องศาเซลเซียส ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบจากภาวะการณ์นี้ อากาศแปรปรวน ฝนตกหนักมากขึ้นจนเป็นพายุฝน ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เกิดภาวะแล้งมากขึ้นและเร็วขึ้นรวมทั้งนานขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าภาวะเช่นนี้ต้องส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในส่วนของไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมการติดตามและศึกษาผลกระทบที่จะมีต่อบ้านเราในด้านเกษตรกรรม จึงนับเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญอย่างมาก



ในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก : ผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย" จัดโดย โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนโดย Danish International Development Agency (DANIDA) สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์ก ประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น มีการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย รวมทั้งเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริหารระดับท้องถิ่น ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบจากภาวะโลกร้อนต่อไป



นายสหัสชัย คงทน นักวิชาการสำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดินกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกต่อภาคเกษตรกรรมว่า สาขาการผลิตที่ผูกพันกับสภาพธรรมชาติมากยิ่งเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ภาคเกษตรจึงมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้มาก

ไทยเป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่พึ่งพาสาขาเกษตร โดยเฉพาะด้านกสิกรรม มีพืชเศรษฐกิจหลายชนิดที่เป็นสินค้าส่งออกและเป็นสินค้าเริ่มต้นเพื่อการผลิตในสาขาอื่นในประเทศ เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย สภาพดินฟ้าอากาศจึงมีผลต่อการผลิตของพืชเหล่านี้เป็นอย่างมาก การศึกษาเพื่อประเมินผลกระทบต่อภาคเกษตรจึงมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการปรับตัวแต่เนิ่นๆ เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น



นายสหัสชัยกล่าวว่า จากการศึกษาในเอเชียรายงานของสถาบัน United States Environmental Protecttion Agency's ชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกว่ามีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว ซึ่งเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 2 รองจากข้าวสาลี และเป็นพืชที่มากกว่า 90% ปลูกอยู่ในเอเชีย คาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้น



สรุปได้ว่า ผลผลิตข้าวในเอเชียมีแนวโน้มลดลง-3.8% ภายใต้สภาวะภูมิอากาศในศตวรรษหน้า การลดลงของผลผลิตจะเกิดขึ้นในพื้นที่ประเทศไทย บังกลาเทศ จีนตอนใต้ ทางตะวันตกของอินเดีย นอกจากการลดลงของผลิตข้าวแล้วลักษณะทางสรีรวิทยาของพืชก็มีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการ เช่น ในบริเวณเส้นรุ้งที่สูงขึ้นไปอุณหภูมิจะสูงขึ้นทำให้พืชมีฤดูปลูกที่ยาวนานขึ้น ต้องมีการปรับวันปลูกของพืชบางพันธุ์ รวมถึงการปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป



ส่วนการศึกษาในประเทศไทย นักวิชาการคนเดียวกัน กล่าวว่า ภาพรวมพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากปริมาณก๊าซที่สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้นมีแนวโน้มที่จะทำให้ผลผลิตของพืชลดลงเรื่อยๆ แต่ขนาดของผลกระทบแตกต่างกันไปในแต่กรณี เช่น พื้นที่ปลูกข้าวใน จ.สุรินทร์ มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากกว่าพื้นที่ จ.ร้อยเอ็ด พื้นที่ปลูกข้าวโพดใน จ.นครราชสีมา ก็มีความอ่อนไหวมากกว่าพื้นที่ จ.นครสวรรค์ เกษตรกรที่ปลูกพืชโดยใช้ปุ๋ยเคมีมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงน้อยกว่าเกษตรกรที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมี



"
ถ้าโลกร้อนและฝนแล้ง คาดว่าดินขาดความชื้น อินทรีย์วัตถุสลายตัวเร็วขึ้น ระดับน้ำใต้ดินต่ำ พื้นที่ผลิตพืชที่เหมาะสมมีน้อยลง และผลผลิตต่ำเพราะสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม คุณภาพผลผลิตเลวลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อพืชผักที่เป็นสินค้าส่งออกแน่นอน แหล่งปลูกพืชก็น้อยลงเพราะพื้นที่ชลประทานมีจำกัด  

จะมีโรคแมลงระบาดเพราะอากาศอบอุ่นขึ้น วัชพืชร้ายแรงแพร่ขยายสู่พื้นที่การเกษตร แต่ถ้าโลกร้อนและฝนชุกหน้าดินถูกชะล้างพังทลาย น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม แหล่งน้ำตื้นเขิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ สูญเสียธาตุอาหารพืช ผลผลิตต่ำ ทั้งยังเกิดโรคระบาดสัตว์ ส่วนพื้นที่ปลูกพืชไร่ไม้ผลจะน้อยลงเพราะถูกน้ำท่วมขัง อากาศชื้นส่งผลให้ผลผลิตเสียหาย สิ้นเปลืองพลังงานในการอบเมล็ดให้แห้ง" นายสหัสชัยวิเคราะห์ผลกระทบให้ฟัง และสรุปว่า "ผลผลิตข้าวมีแนวโน้มลดลง ข้าวโพดจะลดลงเมื่อคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น 1.5 เท่า และจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อคาร์บอนไดออกไซด์เป็น 2 เท่า ผลผลิตมันสำปะหลังมีแนวโน้มลดในปีที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ผลผลิตอ้อยแนวโน้มเพิ่มขึ้น"

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการผู้นี้ได้ให้แนวทางบรรเทาปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ตลอดจนวิธีการที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกว่า ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความร้อนทำให้ปริมาณน้ำในดินลดลง ระดับน้ำใต้ดินต่ำ ควรจัดสร้างแหล่งน้ำในไร่นาและปลูกพืชคลุมดิน ปรับเปลี่ยนชนิดพืชปลูกบางพื้นที่ที่มีฝนตกชุกเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มต้องมีการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อชะลอการไหลบ่าของน้ำ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลาดเทต้องหยุดการตัดไม้เผาป่า เกษตรกรต้องไม่เผาทำลายฟางข้าวหรือใบอ้อย เนื่องจากเป็นการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ควรเปลี่ยนมาทำปุ๋ยหมักแล้วนำไปใช้ในไร่นา



การระบาดของแมลงศัตรูพืชและโรคพืช การแพร่กระจายของวัชพืชร้ายแรงเข้าสู่พื้นที่การเกษตรเป็นเหตุให้ผลผลิตถูกทำลาย ฤดูกาลที่ยาวนานขึ้นหรือมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นจะมีแนวโน้มทำให้เพิ่มผลในบางพื้นที่ บางพื้นที่อาจแล้งยาวนาน นักส่งเสริมเกษตรหรือนักวิชาการเกษตรต้องให้คำแนะนำการปลูกพืชที่เฉพาะเจาะจงกับชนิดดินและพื้นที่  

ขณะเดียวกันนักปรับปรุงพันธุ์พืชต้องพัฒนาพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับท้องถิ่นและชนิดปัญหา นอกจากนี้การวางแผนการใช้ที่ดินจะบรรเทาผลกระทบได้ รวมถึงปรับปรุงการจัดการดินและน้ำ การจัดการดินและธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ พัฒนาพันธุ์พืช ปรับเปลี่ยนฤดูปลูก ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต้องนำมูลสัตว์มาใช้เป็นก๊าซหุงต้มและนำกลับไปเป็นอินทรีย์วัตถุให้กับพืช และท้ายสุดสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือการให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชนในภาคเกษตรนั่นเอง

 อย่างไรก็ตามนักวิชาการก็ยังไม่ด่วนสรุปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลกระทบต่อภาคเกษตร จำเป็นต้องวิจัยหาคำอธิบายหรือคำตอบกันต่อไป
มหันตภัยที่มนุษย์อาจต้องเผชิญในอนาคตไว้ 7 อันดับ
"ภาวะโลกร้อน" บนหน้าหนังสือ[1]

16 เมษายน 2550 20:11 น.

 
 

นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกได้จัดอันดับมหันตภัยที่มนุษย์อาจต้องเผชิญในอนาคตไว้ 7 อันดับตั้งแต่น้อยที่สุดไปจนถึงมากที่สุด อันดับ 7 "การแผ่รังสีแกมมาจากการยุบตัวของดาวฤกษ์และหลุมดำ"

  • อันดับ 6 "เครื่องจักรมีความคิด"
  • อันดับ 5 "อภิมหาภูเขาไฟ"
  • อันดับ 4 "ดาวเคราะห์น้อยชนโลก"
  • อันดับ 3 "สงครามนิวเคลียร์"
  • อันดับ 2 "โรคระบาด" และ
  • อันดับ 1 "ภาวะโลกร้อน"

ภาวะอันตรายที่ถูกจัดลำดับความรุนแรงและความเป็นไปได้ไว้ลำดับแรกสุดนี้ เป็นสิ่งที่มีการพูดถึงตั้งแต่ไหนแต่ไรมา นักวิทยาศาสตร์และนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมพยายามส่งสัญญาณเตือนครั้งแล้วครั้งเล่า หากวิถีประจำวันของมนุษย์ส่วนใหญ่ก็ยังเข้ารูปรอยเดิม ไม่รู้ร้อนรู้หนาวใดๆ กระทั่งบุคคลระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา ชาติที่ได้ขึ้นชื่อว่าปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนเป็นอันดับ 1 ของโลก อย่าง อัล กอร์ ออกมาเปิดโปงวิกฤติสิ่งแวดล้อมผ่านภาพยนตร์สารคดีเรื่อง "An Inconvenient Truth (แอน อินคอนวีเนียน ทรูธ)" กระแสความรุนแรงของภาวะโลกร้อนจึงเริ่มเป็นที่กล่าวถึงมากขึ้นเรื่อยๆ

 

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา หลังจากเวทีออสการ์ประกาศให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นสารคดียอดเยี่ยม วงการสิ่งพิมพ์เมืองไทยก็เริ่มมีผลงานตอบรับกระแสดังกล่าว นิตยสารสารคดีฉบับเดือนมีนาคม นำเสนอสกู๊ปขึ้นปกเรื่องภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับมหภาคจวบจนถึงชายฝั่งทะเลเมืองไทย ซึ่งมีประเด็นน่าเป็นห่วงว่าที่ดินย่านสมุทรปราการจมหายไปใต้น้ำอย่างต่อเนื่องนับพันไร่ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา

 

ต่อด้วยงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งล่าสุด มีการเปิดตัวหนังสือแปลจากสำนักพิมพ์มติชน "An Inconvenient Truth โลกร้อน ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง" ที่อัล กอร์ ผู้เขียนประมวลเรื่องราวจากภาพยนตร์ แปลโดย คุณากร วาณิชย์วิรุฬ และหนังสือจากสำนักพิมพ์ฟรีมายด์ "มหันตภัยโลกร้อน" รวบรวมสถานการณ์ภาวะโลกร้อนพร้อมข้อมูลวิเคราะห์หลากหลายด้านจากนักวิชาการไทย เรียบเรียงโดย สุพัฒนา แซ่ลิ่ม

 

"กระแสโลกต่างก็กล่าวถึงปัญหาเรื่องนี้ นิตยสารไทม์ ฉบับล่าสุด (เมษายน) ก็พูดถึงเรื่องโลกร้อน หลังจากเคยกล่าวถึงมาแล้วหลายครั้ง เราเองก็เอาข้อมูลมาใช้อ้างอิงด้วย" เป็นคำบอกเล่าของ อิศวเรศ ตโมนุท คนหนุ่มรุ่นใหม่ หนึ่งในผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ฟรีมายด์ และยังเป็นหนึ่งในทีมข้อมูลหนังสือมหันตภัยโลกร้อนด้วย

 

อิศวเรศ บอกต่อว่า แม้สำนักพิมพ์ของเขาจะเน้นเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะเพื่อคนรุ่นใหม่ แต่หลังจากได้ติดตามเรื่องราวภาวะโลกร้อนจาก ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา นักวิทยาศาสตร์ผู้ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ ทำให้ทางสำนักพิมพ์ไม่ลังเลที่จะทำเรื่องนี้ และเมื่อได้ทำการศึกษาก็พบว่าข้อมูลที่มีจำนวนมากมายนั้น ส่อถึงความรุนแรงที่ทวีขึ้นทุกขณะ

 

"ที่น่าสนใจก็คือ ประเด็นนี้มีนักวิทยาศาสตร์ไทยหลายท่านเคยพูดถึงมาหลายสิบปีแล้ว และก็มีหนังสือเขียนถึงไว้ด้วย แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่าไม่มีคนสนใจ จนล่วงเลยมาถึงปัจจุบัน เพิ่งจะมีคนพูดถึง มีนักวิทยาศาสตร์บางท่านเห็นว่า มันสายเกินไปกว่าที่จะทำอะไรกันแล้ว แต่อย่างน้อย ตอนนี้สิ่งที่เราพอทำได้เราก็อยากทำ เพื่อให้มนุษย์หันมาหาทางแก้ไข ในหนังสือเล่มนี้ นอกจากแหล่งข้อมูลนักวิชาการที่เราได้สัมภาษณ์แล้ว ก็ยังมีข้อมูลในอีกหลายๆ แหล่งทั้งจากเมืองไทยและต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่อัพเดทตลอดเวลา ซึ่งถ้าเราทำภาพรวมทั่วโลกมันก็จะดูไกลตัว ฉะนั้น เราจึงเน้นเจาะเฉพาะในประเทศไทย" เป็นคำกล่าวเสริมจาก สานุพันธ์ ตันติศิริวัฒน์ ผู้บริหารสำนักพิมพ์อีกหนึ่งราย

 

ด้วยราคาหนังสือเพียงเล่มละ 195 บาท ข้อมูลรูปเล่ม ย่อยให้อ่านง่าย ภาพสีประกอบ เป้าหมายของพวกเขาคือเพื่อให้เกิด "ผลกระทบ" ในระดับบุคคล หวังว่าคนที่ได้อ่านหนังสือแล้วจะเริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ช่วยกันประหยัดพลังงานเพื่อโลก โดยหนังสือยังสรุปด้วยว่าหลัก "ความพอเพียง" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นหัวใจสำคัญยิ่งในการแก้ปัญหานี้

 

"ด้วยข้อมูลที่อาจจะค่อนข้างหนัก เราคิดว่าจะทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่มองว่ามันน่าสนใจ จึงพยายามทำออกมาให้มันเป็นนิยายชีวิตเรื่องหนึ่ง ที่คนอ่านเขาจะต้องได้รู้ว่ากลไกของโลกเป็นอย่างไร ซึ่งพ็อคเก็ตบุ๊คเป็นสื่อที่อยู่นาน สามารถหยิบมาอ่านได้เรื่อยๆ ด้วย เหมาะกับการเสนอประเด็นนี้" สานุพันธุ์ กล่าว ก่อนที่สองหนุ่มจะช่วยกันสรุปว่า เชื่อว่าต่อไปจะมีคนหันมาทำหนังสือแนวนี้มากขึ้น เพราะทุกคนเริ่มเห็นว่ามันเป็นสิ่งใกล้ตัวมากขึ้น แต่นับว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะกระตุ้นให้คนหันมาสนใจปัญหา และหนังสือเล่มอื่นๆ อาจจะเสนอในมุมที่ลึกกว่า กว้างกว่านี้ เพราะประเด็นเรื่องภาวะโลกร้อนมีหลายมุมมาก อีกทั้งสถานการณ์ก็เริ่มเลวร้าย และรุนแรงขึ้นทุกที ถ้าคนไทยไม่ตระหนักถึงเรื่องนี้ ปัญหาก็จะเข้ามาใกล้เรามากขึ้นเรื่อยๆ

 

ขณะที่หนังสืออีกเล่ม อาจกล่าวได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกลุ่มเป้าหมาย ด้วยราคาที่สูงถึง 490 บาท แลกด้วยกระดาษอาร์ตและภาพสีสี่ รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์ หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือต่างประเทศ สำนักพิมพ์มติชน บอกถึงกระแส "An Inconvenient Truth โลกร้อน ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง" เล่มนี้ว่า ถ้ามองโดยเนื้องาน รูปเล่ม ราคา ประกอบกับสภาพบ้านเมือง สภาพเศรษฐกิจที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้ ตอนแรกทุกคนมองว่าอย่างไร ตลาดต้องซบเซาแน่ๆ เธอเองก็ห่วงเหมือนกันว่าจะขายยาก ทว่า หนังสือกลับขายดีเป็นอันดับ 1 ของบูธสำนักพิมพ์อย่างพลิกความคาดหมาย

 

"หนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นหนังสือด้านสิ่งแวดล้อมเล่มแรกของสำนักพิมพ์มติชนเลยก็ว่าได้ และเป็นการประกาศว่า เราจะมารณรงค์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จะมีหนังสือเล่มต่อไปตามมาอีก ซึ่งทั้งหมดเริ่มจากสมัยที่คุณปานบัว บุนปาน นั่งเป็นบรรณาธิการบริหารของสำนักพิมพ์ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์สึนามิขึ้น เขารู้สึกว่าโลกและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปเยอะ แม้แต่ในกรุงเทพฯ เองอากาศก็เปลี่ยนแปลงไปมาก และด้วยความที่เราเป็นสื่อด้วย จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้คนตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม จนได้มาเจอหนังสือเล่มนี้"

 

รุจิรัตน์ อธิบายเพิ่มว่า หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจากหนังสารคดี โดย อัล กอร์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ให้เรื่องสิ่งแวดล้อมไปถึงคนทั่วโลก ด้วยจุดประสงค์อยากให้คนทั้งโลกร่วมมือกัน ประกอบด้วยข้อมูลที่ อัล กอร์ ศึกษาจากศาสตราจารย์โรเจอร์ รีวิลล์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ว่าสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง และนำมาย่อยให้อ่านง่าย พร้อมมีภาพมายืนยันเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจน โดยทางสำนักพิมพ์ยังคงปก รูปเล่ม ขนาดตัวหนังสือ ให้เป็นแบบเดียวกับฉบับภาษาอังกฤษ ประกอบกับสภาพอากาศที่แปรปรวนในขณะนี้ ทั้งหมดล้วนช่วยสร้างกระแสให้เสียงตอบรับต่อหนังสือดีมาก

 

"ถึงแม้จะโชคดีด้านการขาย แต่ตอนนี้โลกของเราก็แย่แล้ว จริงๆ อยากให้สำนักพิมพ์อื่นช่วยด้วย ใครมีข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยรณรงค์ให้คนทั่วไปสนใจจะเป็นรูปแบบไหนก็ได้ ไม่ถือว่าที่ไหนเป็นคู่แข่งเลย เพราะถ้ายิ่งทำให้คนสนใจมาก ความรู้จะยิ่งขยายออกไปมาก ก็จะเป็นผลดี" รุจิรัตน์ กล่าว

 

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์มีส่วนสร้างมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมด้วยเช่นกัน แต่รุจิรัตน์มองว่า ทุกอุตสาหกรรมล้วนมีส่วนทำลายโลกทั้งสิ้น แต่ต้องชั่งน้ำหนักว่า คุณประโยชน์ที่ได้มาจากความสูญเสียนั้นคุ้มค่าแค่ไหน ข้อมูลที่คนได้รับรู้หลังจากการสูญเสียทรัพยากรนั้นจะมีความหมายเพียงใด

 เพราะถ้ามองย้อนกลับไปแล้ว การสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมฉบับของ อัล กอร์ และการประกาศถอนตัวไม่ร่วมพิธีสารเกียวโตเพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อน ด้วยเกรงว่าเศรษฐกิจประเทศตัวเองจะฟีบแฟบของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ต่างก็มาจากขั้วความคิดของคนชาติอเมริกันเหมือนกันนี่เอง  

สวัสดีค่ะอาจารย์

เป็นข้อมูลความรู้ที่ดีมาก ๆ เลยค่ะ กำลังจะทำโครงการอบรมเรื่อง "โลกร้อน :สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางลดปัญหา" กลุ่มเป้าหมายก็จะเป็นนักศึกษาและอาจารย์ในโปรแกรมวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ และจะเชิญครูผู้สอนด้านสิ่งแวดล้อม โรงเรียนในจังหวัดชัยภูมิด้วย อยากขอคำแนะนำจากอาจารย์ ในวิธีการอบรมที่จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรม เกิดความตระหนักและช่วยกันหาแนวทางแก้ปัญหา และเป็นแกนนำในการปฏิบัติจริงเพื่อลดปัญหาโลกร้อน  รวมทั้งอยากทราบแหล่งข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้ด้วย ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

ฝนลูกเห็บ กทม. สัมพันธ์โลกร้อน

ฝนลูกเห็บกทม.สัมพันธ์โลกร้อน น้ำทะเลอันดามันสูงเกือบ 1 ซม.[1]





เมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวภายในการฝึกอบรม "สื่อไทยเท่าทันภาวะโลกร้อน" ว่า   ปัจจุบันอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลสูงขึ้น จากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่า ระดับน้ำทะเลในอันดามันสูงประมาณปีละ 7-8 มิลลิเมตร ขณะที่ระดับน้ำทะเลอ่าวไทยสูงประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าวตามหลักทฤษฎีเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน  

 

อย่างไรก็ตาม จะตรวจวัดระดับน้ำทะเลทั้งสองบริเวณอีกครั้ง โดยใช้เครื่องตรวจวัดการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งของพื้นโลก เพื่อศึกษาว่าแผ่นดิน ณ ที่ตรวจเกิดการทรุดตัวหรือไม่ คาดว่าภายใน 1 ปี จะสามารถยืนยันความถูกต้องของระดับน้ำทะเลได้



 

ดร.อานนท์กล่าวอีกว่า จากการศึกษาแบบจำลองสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยล่วงหน้า 30-80 ปี หากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 540 ppm จากปัจจุบันที่ 370 ppm จะส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝน โดยเฉพาะพื้นที่ตะวันออก อย่างจังหวัดอุทัยธานีและตราดจะมีฝนตกมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรม และหากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น 2 เท่า อุณหภูมิรายวันจะเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด คือ จำนวนวันร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 33 องศาเซลเซียส จะยาวนานขึ้นประมาณ 60 วัน และบางพื้นที่จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากเดิมอีก 1-2 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง ภูเขาสูง และพื้นที่ชายฝั่งทะเล ส่วนจำนวนวันที่อากาศเย็นซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส จะสั้นลงกว่าเดิมถึง 50 วัน โดยเฉพาะพื้นที่ฝั่งตะวันตก

 

ดร.อานนท์กล่าวว่า การเกิดฝนลูกเห็บบริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศ หลายคนเข้าใจว่า อาจมีส่วนสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน ซึ่งหากพิจารณาแล้วก็อาจเกี่ยวข้องแต่ไม่โดยตรง อันที่จริงฝนลูกเห็บเกิดจากพายุฤดูร้อน ซึ่งเกิดจากมวลอากาศร้อนที่มีความชื้นและลอยสูงขึ้นไปปะทะกับมวลอากาศเย็น จนเกิดปฏิกิริยากลายเป็นน้ำแข็งตกลงมาเป็นฝนลูกเห็บ ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวหากเกิดถี่ในแต่ละปีก็อาจมีส่วนสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน แต่จำเป็นต้องศึกษาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี จึงจะสรุปได้ชัดเจน

 

"อันที่จริงกรุงเทพฯ มีสิทธิเกิดฝนลูกเห็บได้เช่นกัน ยิ่งช่วงนี้พายุฤดูร้อนเข้ามาภาคกลางทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองก็อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งเรื่องนี้พยากรณ์ยากมาก ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ แต่ภูมิปัญญาชาวบ้านจะสังเกตโดยดูว่าช่วงไหนที่อากาศร้อนอบอ้าวมากๆ รู้สึกว่าตัวเหนียวเหนอะหนะ หมายความว่ามวลอากาศร้อนได้ลอยขึ้นข้างบน ซึ่งอาจไปปะทะกับมวลอากาศเย็นจนเกิดลูกเห็บได้ แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้อยู่ดี" ดร.อานนท์กล่าว

 
โลกร้อนคุกคามความมั่นคงเอเชีย

โลกร้อนคุกคามความมั่นคงเอเชีย[1]



มะกัน-ยูเอ็นชี้นำไปสู่"เฟลด์สเตท"



*นักวิชาการสหรัฐอเมริกา-คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น ยอมรับภาวะโลกร้อนอาจส่งผลต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง ทวีความรุนแรงนำไปสู่ภาวะ"รัฐที่ล้มเหลว"ได้ทั้งในเอเชีย-ละตินและแอฟริกา*



ซีเอ็นเอ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาให้กับรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาก่อตั้งและดำเนินงานแบบไม่แสวงหาผลกำไรโดยบรรดานายทหารเกษียณอายุระดับสูงเผยแพร่รายงานชิ้นหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่า ภาวะโลกร้อนจะเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของโลก บ่มเพาะให้เกิดกลุ่มก่อการร้ายขึ้นทั่วโลก และส่งผลให้กองกำลังของสหรัฐอเมริกาต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งด้วยอาวุธทั้งในแอฟริกา, เอเชีย และละตินอเมริกา



รายงานของซีเอ็นเอระบุว่า ภาวะโลกร้อนจะทำหน้าที่เป็นตัวขยายความรุนแรงให้ทบทวีขึ้นในภูมิภาคที่ความมั่นคงเปราะบางอยู่แล้วของโลก และจะเป็นภัยคุกคามอย่างสำคัญต่อสันติภาพและความมั่นคงทั่วโลกในหลายทศวรรษข้างหน้านี้ ความเสี่ยงที่เกิดจากภาวะดังกล่าวนี้ควรได้รับการแก้ไขในตอนนี้ ไม่เช่นนั้นอาจเลวร้ายมากยิ่งขึ้นหากชะลอช้าไป



ในรายงานดังกล่าวระบุว่า ภาวะแล้งจัด ความล้มเหลวในการเพาะปลูก และการระบาดของโรคเขตร้อนที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน จะทำลายเสถียรภาพของรัฐบาลในเอเชีย ละตินอเมริกา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกา โดยอาจนำไปสู่ภาวะ "เฟลด์ สเตท" หรือ "รัฐที่ล้มเหลว" ขึ้นซึ่งจะกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะของกลุ่มก่อการร้ายอย่างอัลเคด้าและอื่นๆ
 

ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นอาจทำให้ประเทศริมฝั่งอย่างเช่น บังกลาเทศ และเวียดนาม มีผู้อพยพภายในประเทศเองนับล้านคน ที่จะก่อความตึงเครียดให้กับทั้งรัฐบาลของประเทศนั้นๆ และประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง



รายงานข่าวระบุว่า 1 วันหลังจากรายงานชิ้นนี้เผยแพร่ออกมา สมาชิกในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้หยิบยกเรื่องภาวะโลกร้อนขึ้นมาหารือกันเป็นกรณีพิเศษ นางมาร์กาเร็ต เบ็คเค็ตต์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ กล่าวภายหลังจากการหารือดังกล่าวระบุว่า ประเด็นเรื่องภาวะโลกร้อนเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงของทั้งโลกอย่างแท้จริง แต่นายหลิว เจิ้นหมิน เอกอัครราชทูตจีนประจำสหประชาชาติ กลับเห็นว่า แม้ว่ากรณีดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงอยู่ด้วยก็จริง แต่ควรนำไปหารือกันในสมัชชาสหประชาชาติมากกว่าที่จะเป็นเรื่องของคณะมนตรีความมั่นคง



ความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของนายเจมส์ เซนเซนเบรนเนอร์ ส.ส.รีพับลิกันจากวิสคอนซิน ที่ไม่เข้าใจว่าทำไมจู่ๆ เรื่องโลกร้อนจึงกลายเป็นประเด็นทางด้านการทหารและความมั่นคงของรัฐไปแล้ว โดยให้ความเห็นในการประชุมคณะกรรมาธิการพิเศษเพื่อพิจารณาประเด็นนี้ของรัฐสภาสหรัฐว่า ภาวะโลกร้อนกลายเป็นเรื่องที่มีการตระหนักกันมากขึ้นก็จริง แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เด็กๆ อเมริกันแตกตื่นกับเรื่องนี้มากจนเกินจำเป็นไป (เอพี)

สวัสดีครับ  ท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

เป็นข่าวดี ที่ทางราชการเริ่มให้ความสนใจ กับปัญหาภาวะโลกร้อน  โดยเฉพาะ ผู้นำท้องถิ่น กรุงเทพมหานครฯ และมีโครงการที่จะนำปัญหานี้ร่วมประชุมในระดับกระทรวง ทบวงกรม มากขึ้น 

 อย่างไรก็ตาม นโยบายของรัฐควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น ผมอ่านข่าว พบว่า ทาง กทม. เริ่มรณรงค์ ส่งเสริมให้ประชาชน มีมาตรการแก้ไข ป้องกันผลกระทบจากภาวะโลกร้อน  ขอฝากไว้ว่า มาตรการที่จะรณรงค์แก้ไขปัญหาดังกล่าวให้กับประชาชน ขอให้ทำด้วยความรอบรู้ มีคุณธรรม มีเหตุมีผล พอประมาณ และมีภูมิคุ้มกัน ครับ  ขอให้ท่านผู้อ่านโชคดี  

สวัสดีครับ

**********************

 

ส่งเสริมคนกรุงปลูกต้นไม้บนอาคารแก้ภาวะโลกร้อน[1]  กทม. ตื่นตัวแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ส่งเสริมประชาชนร่วมกันทำส่วนแนวตั้ง ปลูกต้นไม้บนอาคาร ช่วยลดอุณหภูมิ ดักฝุ่นละออง เพิ่มปอดให้เมือง เตรียมผลักดันร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมให้มีการรณรงค์ และมาตรการทางกฎหมาย เพื่อลดภาวะโลกร้อน ขณะกำชับทุกสำนักงานเขตตรวจสอบความแข็งแรงป้ายโฆษณา เข้มงวดการคลุมผ้าใบก่อสร้าง และล้างถนนลดฝุ่นละออง

 

นายอภิรักษ์  โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารกทม. ระดับหัวหน้าหน่วยงานว่า ได้มอบนโยบายให้ผู้อำนวยการเขต และสำนักที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ได้ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกร้อน โดยร่วมกันรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ประชาชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เช่น     การประหยัดพลังงาน ตลอดจนการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้ ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง มีภูมิทัศน์ที่ร่มรื่นสวยงามแล้ว ต้นไม้ยังสามารถช่วยลดอุณหภูมิที่ร้อนแรงลงได้ ซึ่งจะส่งผลเรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและดักฝุ่นละอองในอากาศได้อีกทางหนึ่งด้วย

สำหรับวิธีการปลูกต้นไม้นั้น สำนักงานเขตและสำนักงานสวนสาธารณะ กทม. ได้ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกไม้ดอก ไม้ประดับบนอาคาร ดาดฟ้าหรือที่ว่างต่างๆ ที่เรียกว่า สวนแนวตั้งซึ่งสามารถปลูกได้ในพื้นที่จำกัด โดยขณะนี้มีหลายตึกในบางพื้นที่ เช่น   เขตบางรักเริ่มปลูกต้นไม้บนดาดฟ้า เป็นภาพที่สวยงามสดชื่นมากเมื่อมองลงมาจากตึกสูง หรือสะพานลอย หากประชาชนทุกพื้นที่ร่วมกันปลูกต้นไม้ก็จะทำให้กรุงเทพฯ สดชื่นและเป็นเมืองน่าอยู่

 

นายอภิรักษ์ฯ กล่าวด้วยว่า ด้านการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนนั้นจะมีการกำหนดเป็นวาระร่วมกัน โดยจะมีการประชุมหารือระหว่างกทม. กระทรวงการพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม ในช่วงต้นเดือน พ.ค. นี้ เพื่อหาข้อสรุปมาตรการแก้ไขปัญหากำหนดเป็นปฏิญญา เช่น การมีกฎหมายบังคับใช้เฉพาะ และการรณรงค์ เป็นต้น โดยข้อสรุปนั้นจะนำเข้าที่ประชุมระดับชาติ และระดับผู้นำเมืองจากประเทศต่างๆ ต่อไป

 นอกจากนี้ ผู้ว่าฯกทม. ยังได้มอบนโยบายให้ผู้อำนวยการเขต และสำนักงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะช่วงนี้เริ่มมีพายุฝน และลมกรรโชกแรง จึงให้ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงป้ายโฆษณา การเข้มงวดกับ  สถานที่ก่อสร้างซึ่งต้องมีผ้าใบคลุม ป้องกันปัญหาเศษวัสดุและฝุ่นละอองปลิวกระจาย ตลอดจนปรับแผนการล้างทำความสะอาด ถนนเพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองด้วย
พลิกวิกฤต"โลกร้อน" เรื่องฮ็อตที่ต้องช่วยกัน
พลิกวิกฤต"โลกร้อน" เรื่องฮ็อตที่ต้องช่วยกัน[1]



ทันทีที่การประชุมสุดยอดผู้นำเมืองใหญ่ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (C40 Large Cities Climate Leadership) ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 14-17 พฤษภาคมที่ผ่านมา เสร็จสิ้น นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. นางบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าฯกทม. นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัด กทม. และนายนิคม ไวยรัชพานิช ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) ก็เปิดแถลงผลการประชุมทันที

นายอภิรักษ์แถลงว่า จากการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green house) แต่มหานครต่างๆ ทั่วโลก ก็ได้รับผลกระทบด้วย โดยเฉพาะเมืองชายฝั่งทะเล ที่มีปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงเช่นเดียวกับประเทศไทย

"บรรดาสุดยอดผู้นำทั้ง 40 เมืองทั่วโลก เห็นพ้องกันว่าภาวะโลกร้อน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข แม้ว่าจะต้องใช้เงินลงทุนมากก็ตาม เพราะหากล่าช้าจะเป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และระบบเศรษฐกิจที่สำคัญจะทำให้ต้นทุนในการแก้ไขปัญหายิ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะเมืองใหญ่ที่มีส่วนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูง จะต้องมีแผนในการแก้ไขที่ชัดเจนและดำเนินการอย่างจริงจัง เพราะหากไม่ดำเนินการใดๆ คาดว่าอีก 50 ปีข้างหน้า อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นอีก 1.6-5 องศาเซลเซียส"

สำหรับ กทม.ได้มีการสรุปแผนปฏิบัติการแก้โลกร้อนระยะ 5 ปี (2550-2555) 5 แนวทาง ได้แก่

1.พัฒนาระบบขนส่งมวลชน รถไฟฟ้า รถเมล์ด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) ปรับปรุงเส้นทางสัญจร เชื่อมทางจักรยาน และส่งเสริมการขนส่งทางน้ำ

2.การใช้พลังงานทางเลือก หรือพลังงานสะอาด เช่น ก๊าซธรรมชาติ NGV หรือการแปรรูปน้ำมันพืชใช้แล้วให้เป็นพลังงานไบโอดีเซล การใช้รถแบบผสมผสาน เช่น รถยนต์ Hybrid ที่เครื่องยนต์ใช้ได้ทั้งพลังงานเชื้อเพลิงและพลังงานไฟฟ้า โดยจะเร่งสำรวจว่าปัจจุบันในกรุงเทพฯ มีรถยนต์กี่คัน ที่ยังไม่ได้ใช้พลังงานสะอาด จากจำนวนรถยนต์ในกรุงเทพฯ ทั้งหมด 5.5 ล้านคัน เพื่อจัดกิจกรรมจูงใจให้เจ้าของรถหันมาใช้พลังงานสะอาดแทน

3.ปรับปรุงอุปกรณ์ไฟฟ้า สิ่งอำนวยความสะดวก ภายในอาคาร สำนักงาน บ้านเรือนต่างๆ ให้ประหยัดไฟฟ้า เช่น ใช้หลอดตะเกียบ ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ 25 องศาเซลเซียส หรือออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน มีช่องระบายอากาศ

4.การบริหารจัดการขยะ น้ำเน่าเสีย ต่อไปจะมีการตั้งคณะกรรมการดำเนินการศึกษาการนำขยะมาแปรรูปเป็นพลังงานทางเลือก โดยร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กระทรวงพลังงาน เป็นต้น

5.ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ปลูกป่าชายเลน เพื่อลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ที่เขตบางขุนเทียน

ภายในสัปดาห์นี้จะมีการหารือและวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับเครือข่ายจาก 36 องค์กร เพื่อกำหนดกิจกรรมรณรงค์

นายอภิรักษ์แถลงว่า ธนาคารโลกสนับสนุนให้ กทม.เข้าโครงการ "คาร์บอนฯ ไฟแนนซ์" โดยมีสถาบันการเงินขนาดใหญ่ 5 ราย ได้แก่ เอบีเอ็น แอมโร, ซิตี้แบงก์, ดอยช์แบงก์, เจพีมอร์แกน และยูบีเอส และมูลนิธิคลินตัน (Clinton Climate Initiative : CCI) สนับสนุนเงินแห่งละ 1,000 ล้านดอลลาร์ ผ่านกองทุนธนาคารโลก ให้กับประเทศที่สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไทยเป็น 1 ใน 15 ประเทศ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการนี้

"กทม.วางแผนจะนำเสนอโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย และโครงการรถเมล์ด่วนบีอาร์ที ซึ่งเป็นระบบขนส่งพลังงานไฟฟ้า และพลังงานธรรมชาติ โดยจะมีการติดตามวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนฯ เป็นเวลา 1 ปี หากลดลงจริง ธนาคารโลกจะสนับสนุนเงินทุนให้ประเทศไทยพัฒนางานอื่นๆ ต่อไป และในเดือนมิถุนายนนี้ จะส่งนักวิชาการศึกษาลักษณะเมือง เพื่อจัดระบบขนส่งมวลชน วางผังเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานสะอาด การแก้ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียน

ตามดูต่อไปว่าผลจากการประชุมนี้ โฉมใหม่ของกรุงเทพฯ จะเป็นอย่างไร
โลกร้อนให้คุณแถบซีกโลกเหนือ ชาติยากจนซีกโลก ใต้กลับได้โทษ

โลกร้อนให้คุณแถบซีกโลกเหนือ ชาติยากจนซีกโลก ใต้กลับได้โทษ[1]

  นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า แม้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจะส่งผลร้ายแรงต่อโลก แต่ประเทศในแถบซีกโลกเหนือจะได้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศร่ำรวยทางยุโรปเหนือ รัสเซีย และสหรัฐฯ  นายยาน กุนนาร์ วินเธอร์ ผู้อำนวยการสถาบันขั้วโลกนอร์เวย์ กล่าวระหว่างเข้าร่วมการประชุมภาวะโลกร้อนที่เมืองทรอมโซของนอร์เวย์ ว่า สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจะทำให้ประเทศร่ำรวยแถบซีกโลกเหนือได้เปรียบ ขณะที่ประเทศยากจนแถบซีกโลกใต้จะเสียเปรียบ ปลาหลายชนิดจะว่ายไปทางเหนือเพิ่มขึ้น การปลูกต้นไม้สำหรับอุตสาหกรรมป่าไม้จะขยายขึ้นไปทางเหนือได้มากขึ้น รวมถึงการท่องเที่ยวที่ผู้คนจะหนีอากาศร้อนแถบยุโรปใต้ขึ้นไปยังยุโรปเหนือ แม้แต่ประเทศที่ไม่มีชื่อเสียงด้านการผลิตไวน์อย่างอังกฤษก็จะปลูกองุ่นได้คุณภาพสูงขึ้น ขณะที่แหล่งปลูกองุ่นชื่อดังในฝรั่งเศสอาจมีคุณภาพลดลงเพราะอากาศร้อนขึ้น  ด้านนายปาล เพรสตรัด ผู้จัดทำรายงานของสหประชาชาติว่าด้วยหิมะและน้ำแข็งละลาย ระบุว่า การเพาะปลูกแถบตอนเหนือของแคว้นไซบีเรียและแคนาดาจะง่ายขึ้นกว่าเดิม เพราะโลกที่ร้อนขึ้นทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น นายเพรสตรัดระบุว่า ประโยชน์ทำเงินมากที่สุดของภาวะโลกร้อน คือเปิดทางให้คนเข้าไปสำรวจน้ำมันและก๊าซบริเวณขั้วโลกเหนือได้ง่ายขึ้น ทางการสหรัฐฯประมาณว่า ขั้วโลกเหนือมีแหล่งน้ำมันถึง 1 ใน 4 ของแหล่งน้ำมันทั่วโลกที่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์
 
 

การลดโลกร้อนอย่างจริงจัง ทำอย่างไรดีครับ เริ่มต้นที่ใครดี

เขาว่ามีขอเสนอวิธีลดภาวะโลกร้อนดังนี้

1. ลดการปรุงแต่ง

- ลดใช้สีทั้งปวง ลดเสื้อผ้า ลดเครื่องประดับ ลดเครื่องสำอาง ลดความเพลิดเพลิน ลดสุรา ลดท่องเที่ยว

2. ลดการให้กำเนิดมนุษย์

- มนุษย์เกิดมาทานอะไรเข้าไปบ้างจนกว่าจะจากโลกนี้ไป ถ้าหายไปสักคนจะลดอะไรลงไปได้บ้าง

3. ลดการบริโภคอาหาร

- เดิมมนุษย์เรามิได้ทานอาหาร 3 มื้อ ถ้าลดเหลือสักคนละ 2 มื้อจะลดอะไรได้บ้าง

ถ้าเห็นว่าพอเป็นแนวคิดหนึ่งได้ ช่วยขยายต่อด้วย

ช่วยขยายต่อด้วย

การช่วยกันลดปัญหาผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน

การลดปัญหา ภาวะโลกร้อน ดีที่สุดคือเริ่มที่ตัวเรา  เราช่วยกัน  ช่วยกันเผยแพร่ความรู้  ในเว็บhttp://www.eppo.go.th/encon/encon-108-T.html  และะช่วยกันปฏิบัติ เป็นตัวอย่าง  ผมคิดว่าในเบื้องต้น หากคนไทย เราช่วยกัน และขยายผลไปยังประเทศเพือ่นบ้าน ทั่วเอเซีย ก็ช่วยกันขยายผลไปทั้งโลก ก็น่าจะช่วยได้ครับ

ผมดีใจที่หลายท่าน ให้ความสนใจเกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อนมากขึ้น รวมทั้งคุณสมคิด ที่เขียนบันทึกมา  และมีผู้ให้ความสนใจ ตอบแทนผมได้ดี  ครับ  ผมเห็นด้วยที่จะเชิญชวนทุกท่าน ช่วยกันลดปัญหาภาวะโลกร้อน โดยศึกษา จากเว็บhttp://www.eppo.go.th/encon/encon-108-T.html

และช่วยกันเผยแพร่ต่อ ขยายผล ลงมือปฏิบัติ ให้เป็นต้นแบบ เป็นตัวอย่างที่ดี  การปฏิบัติที่ดี และช่วยกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เครือข่ายร่วมกันรณรงค์ ช่วยกันลดปัญหาภาวะโลกร้อน ตามที่เขียนไว้ในเว็บดังกล่าว ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหา ภาวะโลกร้อน  ครับ

สวัสดีคับผมเป็นนักศึกษา มหาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ครับในกลางเดือนสิงหาคมผมและสมาชิกในห้องจะจัดโครงการรณรงค์ภาวะโลกร้อนให้กับน้องๆ ป5,6ประมาณ600คนได้ครับ คือตอนนี้ทางห้องของผมไม่ค่อยมีสื่อสักเท่าไรครับ เช่น ภาพที่ให้เห็นถึงเหตุที่เกิดจากภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบทั่วโลก วีซีดีที่ให้เห็นว่าโลกร้อนเกิดจากสาเหตุอ่ะไรความรุนแรงของภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบกับธรรมชาติ และก็ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง ถ้าผู้ใดมีข้อมูลดังกล่าวข้างต้นผมขอความกรุณาส่งข้อมูลมาทางMailได้เลยครับหรือติดต่อมาก็ได้ครับ [email protected] ขอบคุณครับ

ดีครับ  สิ่งที่น้องวัลลภ ทำเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุนเป็นอย่างมาก  ผม  แนะนำให้เข้าไปชมภาพเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนได้ที่  http://images.google.co.th/images?hl=th&q=global+warming&btnG=%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E&gbv=2  นอกจากนี้ อาจจะเข้าไปศึกษาจากเว็บของทางราชการที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาภาวะโลกร้อน

ปัญหาภาวะโลกร้อน อันเกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจาก ... ปัจจุบัน ปัญหาภาวะโลกร้อนได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับภาคีโลก ...
knowledge.eduzones.com/knowledge-2-2-28355.html - 189k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

Why world hot : หยุด! ภาวะโลกร้อน » ปัญหาภาวะโลกร้อน

จึงได้ร่วมกับ WWF และเครือข่ายพันธมิตรร่วมกันรณรงค์ลด ปัญหาภาวะโลกร้อน โดยในปีนี้ กทม. และเมืองใหญ่ อีก 23 แห่งทั่วโลก ได้แก่ ซิดนีย์ เพิทธ์ เมลเบินน์ ...
www.whyworldhot.com/search/ปัญหาภาวะโลกร้อน - 38k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

Why world hot : หยุด! ภาวะโลกร้อน » การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

เว็บไซต์เกี่ยวกับ ภาวะโลกร้อน รวมทั้ง ปัญหาภาวะโลกร้อน และ วิธีในการแก้ไขปัญหา โลกร้อน.
www.whyworldhot.com/search/การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน - 30k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

แนวทางการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนจากนิตยสาร Time

แนวทางการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนจากนิตยสาร Time. นิตยสาร Time ฉบับวันที่ 9 เมษายน 2007 ได้แนะนำ คู่มือการเอาชีวิตรอดจากภาวะโลกร้อน (The Global Warming Survival ...
laic.dpu.ac.th/exhibition2008/solution.html - 7k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

ปัญหาภาวะโลกร้อน

ปัญหาภาวะโลกร้อนสิ่งแวดล้อม ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา ปัญหาภาวะโลกร้อน อันเกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจาก ...
blog.eduzones.com/winny/3659 - 67k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

สภาวะโลกร้อน (Green House Effect)

การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นการแก้ปัญหาในระดับสังคมเมือง แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมากขึ้นสุด คือ ...
203.155.220.217/dopc/hotworld/hotworld.htm - 1k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

เกร็ดความรู้ เรื่อง โลกร้อน ซึ่ง ปัญหา ภาวะโลกร้อน อาจส่งผลให้คน ...

เกร็ดความรู้ สาระน่ารู้ เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ โลกร้อน ทั้งนี้จากปัญหา ภาวะโลกร้อน อาจทำให้ผู้คนทั่วโลกต้อง ตกงาน กันนับล้าน ด้านผู้อำนวยการยูเอ็นอีพี ...
hilight.kapook.com/view/17309 - 86k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

ปัญหาภาวะโลกร้อน - จิตนวัตกรรม(ปภาวดี) - นิดมาแล้วจ้า - จิต ...

และปัญหาภาวะโลกร้อน ยังเกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจาก การเผาไหม้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานรูปแบบต่างๆ ทั้งการผลิตภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง ...
learners.in.th/blog/paphavadee/54936 - 33k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

ปัญหาภาวะโลกร้อน [Powered By iGetWeb.com]

ปัญหาภาวะโลกร้อน. ... บทความเรื่อง : ปัญหาภาวะโลกร้อน. อ่านแล้ว : 1574. ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases). โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ในรูปของพลังงานแสง ...
oho.igetweb.com/index.php?mo=3&art=86433 - 116k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

Zickr! - ปัญหาภาวะโลกร้อน

หัวข้อ : เรื่องจริง/สารคดี ป้าย : โลกร้อน สภาวะโลกร้อน ปัญหาโลกร้อน ภาวะเรือนกระจก ปัญหาภาวะโลกร้อน. ภาวะโลกร้อน ( Global Warming ) หรือ ภาวะ ...
www.zickr.com/tag/ปัญหาภาวะโลกร้อน - 23k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน


ปัญหาภาวะโลกร้อน ไม่ใช่แค่ "โลกร้อน"

4 ต.ค. 2007 ... เมื่อปัญหาภาวะโลกร้อน ไม่ใช่แค่ "โลกร้อน". มุมมองบ้านสามย่าน .. ทัศนวิจารณ์ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550 07:00:00 ...
www.ftawatch.org/news/view.php?id=12137 - 36k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

Yahoo! รู้รอบ - คุณมีวิธีลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างไร?

เป็นเพราะระยะนี้อากาศแปรปรวนเหลือเกิน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน เดี๋ยวหนาว (ในบางพื้นที่) นั่นสืบเนื่องจากภาวะโลกร้อน คุณคิดเห็นอย่างไรต่อคำว่า ภาวะโลกร้อน ...
th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080217064942AAdc0hp - 54k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

Bloggang.com : PIWAT : บุชตัดลดก๊าซเรือนกระจก สู้ปัญหาภาวะโลกร้อน

บุชยอมตัดลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อต่อสู้ปัญหาภาวะโลกร้อน คมชัดลึก 8 มิถุนายน 2550 ที่ประชุมสุดยอดจี-8 บรรลุข้อตกลงสำคัญเพื่อการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน ...
www.bloggang.com/viewdiary.php?id=piwat&month=06-2007&date=08&group=14&gblog=19 - 68k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

ข่าวปัญหาภาวะโลกร้อน

รวมข่าวออนไลน์จากทุกเว็บไซต์ tag ปัญหาภาวะโลกร้อน.
www.newswit.net/tag/ปัญหาภาวะโลกร้อน/ - 34k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

แนวทางการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

แนวทางการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน. 1. ใช้พลังงานชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล์ เอธานอล ให้มากขึ้น 2. ลดการใช้พลังงานในบ้าน (การใช้ไฟฟ้าในที่พักอาศัย มีส่วนทำให้เกิด ก๊าซ ...
blog.spu.ac.th/tom-tamka/2008/06/29/entry-2 - 36k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

KRU - โครงการนิเทศฯ รุ่น 8 รณรงค์ลดปัญหาภาวะโลกร้อน

นักศึกษานิเทศศาสตร์ แขนงวิชาการประชาสัมพันธ์ ชั้นปีที่ 4 ได้จัดทำโครงการ นิเทศ ฯ รุ่น 8 รณรงค์ลดปัญหาภาวะโลกร้อนขึ้น โดยกิจกรรมดังกล่าวได้จัดขึ้นในวันที่ 5 ...
www.kru.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=149&Itemid=88 - 64k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ - จี 8 ร่วมถกปัญหาภาวะโลกร้อน

กลุ่มผู้นำประเทศประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ (จี 8) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ปัญหาภาวะโลกร้อนจะเป็นประเทศที่ครอบงำการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 8 ...
www.nsm.or.th/modules.php?name=News&file=article&sid=1302 - 12k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน | CenterPoint

10 เม.ย. 2008 ... ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของประชากรบนโลก เราสามารถช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ...
centerpoint.exteen.com/20080410/entry - 21k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

เมื่อปัญหาภาวะโลกร้อน ไม่ใช่แค่ "โลกร้อน"

เมื่อปัญหาภาวะโลกร้อน ไม่ใช่แค่ "โลกร้อน". มุมมองบ้านสามย่าน : น.ส.ณัฏฐาภรณ์ เลียมจรัสกุล กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 04 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ...
www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q4/2007october04p3.htm - 11k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน

บันเทิง : "เบิร์ด - ป๊อป - มาช่า''ร่วมแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

ร้อยเอ็ด ที่แห้งแล้งจนเกือบเหมือนทะเลทราย เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ล้วนเกิดจากปัญหาภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้เหล่าศิลปินดัง นำโดย เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ...
entertainment.thaiza.com/เบิร์ด%20-%20ป๊อป%20-%20มาช่าร่วมแก้... - 36k - หน้าที่ถูกเก็บไว้ - หน้าที่คล้ายกัน


หรือเข้าไปที่ http://www.google.co.th/search?gbv=2&hl=th&pwst=1&q=%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99&start=20&sa=N

 

ครับ น่าจะได้ข้อมูลที่ตรงกับที่น้องวัลลภค้นหาอยู่ ครับ

โครงการรณรงค์ภาวะโลกร้อน

อยากให้คุณครูทุกท่านให้ความสำคัญ แทรกเรื่องของภาวะโลกร้อนเข้าไปในการจัดการเรียนการสอนมากบ้างน้อยบ้างก็คงจะเป็นการดีกว่าเราไม่ทำอะไรเลยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท