เครื่องดนตรีไทยประเภทตีที่ทำจากไม้


ตีที่ทำจากไม้

ประเภทเครื่องตีที่ทำด้วยไม้ 
เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตีที่ทำด้วยไม้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 7 ชิ้น ดังนี้
            1. ระนาดเอก
            2. ระนาดทุ้ม
            3. เกราะ
            4. โกร่ง
            5. กรับคู่
            6. กรับพวง
            7. กรับเสภา      
 
ระนาดเอก  เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้ ประเภทดำเนินทำนอง   มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งบอกว่าเกิดขึ้นเมื่อสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาบรรเลงผสมในวงปี่พาทย์เครื่องห้า  เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ตามลำดับ     มีหน้าที่เป็นผู้นำวง  ตีเก็บ  ตีกรอเป็นพื้นฐาน   ตีรัวในแบบต่างๆในบางโอกาส เดิมเรียกว่า " ระนาด "     ต่อเมื่อภายหลังมีระนาดทุ้มเกิดขึ้น     จึงเรียกระนาดชนิดนี้ว่า " ระนาดเอก " มีส่วนประกอบดังนี้

รางระนาด      ทำด้วยไม้เช่นไม้สัก ไม้มะริด  ไม้มะเกลือ ไม้ประดู่ ฯ  เป็นต้น      รูปร่างคล้ายเรือดั่งสมัยโบราณ    ตอนกลางป่องเป็นกระพุ้งเล็กน้อย       เพื่อให้เสียงก้องกังวาน      ตอนหัวและท้ายโค้งขึ้นเรียกว่า  " ฝาประกบ " มี 2 แผ่น                                          
โขนระนาด   ทำด้วยไม้ 2 แผ่น ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์   ติดประกบไว้ที่หัวและท้ายของไม้ฝาประกบ  โดยเฉพาะด้านในตอนบน จะติด  " ขอระนาด "  ซึ่งทำด้วย  ด้วยโลหะ สำหรับคล้องเชือกขึงผืนระนาด     ใช้ไม้แผ่นบางๆปิดใต้ล่างยาวตลอด  เพื่อยึดฝาประกบ   และโขน ให้ติดเข้าด้วยกันเรียกว่า " ไม้ปิดใต้ท้องระนาด "       ซึ่งจะทำให้อุ้มเสียงกังวานมากขึ้น
เท้าระนาด   ทำด้วยไม้หนา  ลักษณะสี่เหลี่ยม  คล้ายพาน   กลางเป็นคอคอก        บนโค้งเว้าไปตามท้องราง เรียกว่า  " เท้าระนาด "   ติดอยู่ที่กลางลำตัวของราง เพื่อให้หัวและท้ายของรางลอยตัว  ฐานล่างนิยมแกะ สลักเป็น "ลายกระจังกลีบบัว" (ทั้ง ๔ ด้าน) ที่ไม้ฝาประกบ ตอนบนและตอนล่าง   จะใช้ไม้ติดประกบโดยตลอดเรียกว่า " คิ้วขอบราง " นิยมทาสีขาว หรือดำ เพื่อตัดกับของแล็คเกอร์ที่ตัวราง  บนคิ้วขอบราง  ด้านบนทั้งสองข้าง   จะใช้หวายเส้น มีผ้าพันโดยรอบมาติดเป็นแนวยาวตลอด  เพื่อรองผืนขณะที่ลดผืนลงจากขอ และรักษาใต้ท้องผืน  เมือเชือกร้อยผืนหย่อนลง  นอกจากทาสีที่คิ้วขอบรางแล้ว ที่ไม้ฝาประกบยังนิยมเดินเส้นดำหรือขาวไปตามขอบคิ้วรางทั้งล่างและบนและรวมไปถึงที่โขนระนาดด้วย  บางรางเดินเส้นเดียว บางรางเดินคู่สองเส้น   
            การสร้างรางระนาด   ได้มีการพัฒนาให้สวยงามขึ้น  โดยขอบคิ้วประกอบงาหรือตัวรางทั้งหมดแกะลวดลายต่างๆประดับด้วยมุข หรือแกะลวดลายเดินล่องชาด และลงรักปิดทอง
            เมื่อเกิดวงมโหรีขึ้น     เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ต้องย่อสัดส่วนให้เล็กลงกว่าเดิม         เรียกรางชนิดนี้ว่า  " รางมโหรี "   ซึ่งมีส่วนประกอบเช่นเดียวกับรางระนาด เดิมทุกอย่าง และมีทั้งรางทาน้ำมัน รางงาและรางมุขเหมือนกัน

ผืนระนาด เดิมนิยมทำด้วยไม้ไผ่ตง หรือไผ่บง  นำมาตัด  เหลาด้วยความปราณีตเป็นลูกๆ มี 21 ลูกขนาดลดหลั่นกันตามลำดับเรียกว่า "ลูกระนาด" ที่ลูกระนาดแต่ละลูก เจาะรูเล็กๆ 4 รู ด้านละ 2 รู เพื่อร้อยเชือกเรียงชิดติดกันเรียกว่า " ผืนระนาด "      สำหรับแขวนที่ขอทั้ง 4  ติดกัน  เมื่อจะใช้ตี ใต้ลูกระนาดทั้ง 21 ลูกจะติดตะกั่ว  ( ซึ่งทำด้วยตะกั่วและขี้ผึ้งผสมกัน )     เพื่อถ่วงเสียงให้ได้เสียงสูงต่ำตามที่ต้องการ โดยติดข้างละก้อน  น้อยหรือมากแล้วแต่เสียงที่ต้องการ   ลูกที่ติดมากเสียงจะต่ำลง    ที่ติดน้อยเสียงจะสูงขึ้น ต่อมาภายหลังนิยมนำไม้ชิงชันหรือไม้มะฮาด  มาเหลาเป็นผืนระนาด      ซึ่งจะมีเสียงเล็กแหลมขึ้นกว่าผืนที่ทำจากไม้ไผ่ตง   นอกจากนั้นในสมัยปัจจุบันได้เพิ่มลูกระนาดเอกให้มี 22 ลูก           ทั้งนี้เพื่อให้บรรเลงกับวงปี่พาทย์มอญได้สะดวก แต่ในวงปี่พาทย์เสภาเดิมไม้นิยม
ไม้ตีระนาด  ก้านทำด้วยไม้ไผ่  เหลากลมเล็ก 2 อัน    หัวไม้ตี   ทำด้วยด้ายพันด้วยผ้า   ชุบรัก  ลักษณะเป็นปื้นกลม   เวลาตีจะมีเสียงดัง   แข็งกร้าว  เรียกว่า " ไม้แข็ง " อีกแบบ  ทำด้วยผ้า ทาแป้งเปียก  พันด้วยด้ายสีเส้นเล็กๆ โดยรอบอย่างสวยงาม    เวลาตีมีเสียงนุ่มนวล   ไพเราะ   เรียกว่า " ไม้นวม "   ซึ่งใช้ตีกับระนาดเอกในวงปี่พาทย์ไม้นวม  หรือวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
            หลักการตีระนาดเอก
            ผู้ตีนั่งในท่าขัดสมาธิ หรือ พับเพียบ ตัวตรง   อยู่กึ่งกลางของราง   โดยให้มือขวาอยู่ทางเสียงสูง   และมือซ้ายอยู่ทางซ้ายเสียงต่ำ   จับไม้ด้วยมือทั้งสองข้างละอัน  ในท่า " ปากกา " อันเป็นพื้นฐาน  ตีลงบนผืนระนาดให้เป็นทำนองเพลง   ซึ่งมีวิธีการตีที่เรียกว่า " ทางระนาด "     คือการตีเก็บเป็นคู่แปด  ดำเนินกลอนระนาดในรูปแบบต่างๆ และยังมีวิธีตีระนาดในรูปแบบต่างอีก เช่น

ตีเป็นคู่แปด  ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้น คือการตีลงพร้อมกันทั้งสองมือ   มือซ้ายกับมือขวาห่างกัน 7 เสียง   เรียกว่า " คู่ "   โดย ที่มือขวาเป็นเสียงสูง  มือซ้ายเป็นเสียงต่ำ เรียกว่า " คู่แปด "
ตีเก็บ    คือการตีคู่แปดไปพร้อมๆกัน    ด้วยพยางค์และเสียงถี่ๆติดกันตลอด
ตีเก็บเป็นทางระนาด   คือการตีที่เป็นคู่แปด  ที่มีพยางค์ถี่ๆ ติดต่อกันตลอด  โดยใช้กลุ่มเสียงที่มีความไพเราะ   รับส่งสัมผัสกันในท่วงทำนองเป็นกลุ่มๆ   ตามปกติ จะแบ่งเป็น 2 วรรค     คือวรรคแรกจะยาวหนึ่งจังหวะฉิ่ง - ฉับ  วรรคสองก็จะยาวหนึ่งจังหวะฉิ่ง-ฉับเช่นกัน  ซึ่งเรียกว่า " กลอนระนาด "  แต่ละกลอนจะมีเสียงสูงต่ำอย่างไร ขึ้นอยู่กับทำนองหลัก  ตลอดจนความสามารถของผู้บรรเลงเป็นสำคัญ
ตีกรอ    คือการตีสองมือสลับกันด้วยพยางค์ถี่ ๆเป็นคู่แปดหรือคู่สอง สาม ห้า การกรอนี้ถ้าสามารถทำพยางค์ให้ถี่มาก หรือละเอียดมาก    จะถือเป็นสิ่งที่ดี                         
ตีกวาด   คือการใช้ไม้ตีลากไปบนลูกระนาด    จากล่างไปหาบน หรือจากบนไปหาล่างก็ได้
ตีสะบัด    คือการตีแทรกเสียงพยางค์เข้ามา  ในขณะที่บรรเลงเก็บอีกพยางค์หนึ่ง   สะบัดจะมีทั้งสะบัดขึ้นและสะบัดลง  โดยปรกติสะบัดจะมีเสียงเป็น 3 พยางค์ ซึ่งบางครั้งเป็นการสะบัดเพื่อขึ้น      หรือลงของทำนองเพลง
ตีขยี้    คือการตีที่เพิ่มเติมเสียง    สอดแทรกแซงให้มีพยางค์มากกว่าเก็บอีกเท่าหนึ่ง
ตีรัว     คือการตีที่สองมือสลับกันหลายๆพยางค์ สั้นๆ  และถี่ๆ    ซึ่งจะมีทั้งรัวลูกเดียว และรัวหลายๆลูก  บางครั้งรัวเป็นทำนอง
            วิธีการตีของระนาดดังกล่าว  ถือเป็นวิธีการตี  ที่เป็นพื้นฐาน ยังมีการตีที่พิเศษอีกมากมาย  เช่นการตีให้มีเสียงต่างๆ    โดยเฉพาะในการตีเดียวของระนาดเอก  จะพบวิธีตีในรูปแบบต่างๆอีกมากมาย  ทั้งนี้ต้องอยู่กับความสามารถของผู้บรรเลงด้วย       
     
 
 ระนาดทุ้ม   เป็นเครื่องดนตรีประเภททำทำนองที่ทำด้วยไม้ ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเพิ่มมาให้เป็นคู่กับระนาดเอก ในวงปี่พาทย์เครื่องคู่  เวลาตีมีเสียงทุ้มกว่าระนาดเอก     จึงเรียกว่า  " ระนาดทุ้ม "       มีหน้าที่ตีหยอกยั่วเย้าไปกับทำนองเพลง เปรียบเสมือนตัวตลกของวง ตีมือละลูก มือละหลายๆลูก    ตีลงก่อนจังหวะ     หรือหลังจังหวะ   ตีด้วยการห้ามเสียง   อันเป็นแบบฉบับของการตีทุ้ม (เสียงดูด) ระนาดทุ้มมีส่วนประกอบดังนี้

รางระนาดทุ้ม      ทำด้วยไม้ เช่น ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะเกลือ ไม้มะริดเป็นต้น  ส่วนประกอบต่างๆคล้ายคลึงกับระนาดเอก   เพียงแต่มีบางส่วนที่มีลักษณะแตกต่างออกไป คือ ตัวรางนั้นมีลักษณะคล้ายรางข้าวหมู  โขนทุ้ม  ปลายผายออก โค้งเล็กน้อย  ด้านในเจาะรู  เพื่อติด " ตะขอ "   ซึ่งทำด้วยโลหะ   ด้านหัวเป็นตะของอ    ด้านปลายตีเกลียวแหลม  มีแผ่นเหล็กกลมกั้นยึด         
โขนระนาดทุ้ม   ทั้งสองข้างติดยึดไว้กับ " ไม้ฝาประกบ " 2 อัน   และมีไม้แผ่นอีกอันหนึ่ง  ปิดใต้ท้องรางโดยตลอด  เพื่ออุ้มเสียงให้ดังก้องกังวาน   ที่ไม้ปิดท้องรางด้านล่าง  มีไม้ทำเป็นขารองรับตัวราง 4 เท้า ติดอยู่ที่มุมทั้งสี่ด้าน  ที่ไม้ฝาประกบด้านบนและล่าง   จะมีไม้ทำเป็นคิ้วขอบรางประกบติดโดยตลอด และบนคิ้วขอบรางตอนบน  ใช้หวายต้นเล็กๆพันด้วยผ้า ตอกติดเพื่อรองรับผืนเรียกว่า "หมอน"            นอกจากจะทาน้ำมันลงแล็คเกอร์แล้ว  ยังตีเส้นสีดำ หรือสีขาว เดินตามขอบคิ้ว      ตลอดถึงโขนทุ้มทั้งสองด้วย   
            เมื่อรางระนาดเอกได้ประดิษฐ์ พัฒนาขึ้นให้สวยงาม โดยประกอบงา  แกะสลักประดับมุข   หรือแกะเป็นลวดลาย ปิดทองลงรัก    รางระนาดทุ้มก็สร้างขึ้นให้เป็น
เช่นเดียวกัน เพราะเป็นของคู่กัน  และตั้งอยู่หน้าวง

ผืนระนาดทุ้ม      ทำด้วยไม้ไผ่ตง  หรือไผ่บง  ตัดเหลาเป็นลูกๆ   มีขาดใหญ่กว่าลูกระนาดเอก     ซึ่งมี ทั้งหมด 17 ลูก แต่ละลูกเจาะรูด้านละ๒รู     เพื่อร้อยเชือกให้เป็นผืน  สำหรับแขวนบนราง    เพื่อให้ได้เสียงสูง-ต่ำที่  จะติด " ตะกั่ว" (ตะกั่วผสมขี้ผึ้ง) ที่ด้านล่างของลูกทุ้มแต่ละลูก  และเพื่อให้เสียงต่ำลง      จะคว้านลูกทุ้มด้านล่างให้เว้า เข้าไป   และถ้ายังต่ำไม่พอ ก็จะติดตะกั่วเพิ่มขึ้นอีก                                
            ต่อมาใช้ไม้ชิงชิน หรือไม้มะฮาด   มาทำเป็นผืนทุ้ม    ปรากฏว่าเสียงก้องกังวานไพเราะ    แต่สั้น ไม่ลึกเท่าผืนที่ทำด้วยไม้ไผ่ตง

ไม้ตีทุ้ม  ก้านไม้ทำด้วยไม้ไผ่ 2 อัน       เหลาให้กลม เล็ก   ตอนหัวพันด้วยผ้า  ชุบแป้ง      และด้ายเส้นเล็กโดยรอบ  ให้เป็นปื้นใหญ่   เพื่อตีให้มีเสียงทุ้มนุ่มนวล    โดยปกตินิยม  พันด้วยด้ายที่มีสีสันต่างๆด้วยศิลปการพันที่สวยงาม
            หลักการตีทุ้ม
            นั่งในท่าขัดสมาธิ หรือพับเพียบ ตัวตรง  อยู่กึ่งกลางระหว่างราง   ให้มือขวาอยู่ทางเสียงสูง    และมือซ้ายอยู่ทางเสียงต่ำ มือทั้งสองจับไม้ทุ้มในท่าแบบปากกา  อันเป็นท่าพื้นฐาน ตีลงบริเวณกลางผืน โดยตีให้เป็นทางทุ้ม   ซึ่งจะหยอกยั่วเย้าไปกับทำนองเพลง                                      
            วิธีการตีระนาดทุ้ม
            จากหลักการตีดังกล่าว    ก่อให้เกิดลักษณะการตีทุ้ม  อันที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้นดังนี้
            1. ตีไล่เสียงทีละมือ                                                                
            2. ตีเป็นคูแปด หรือคู่ต่างๆ                                                     
            3. ตีกรอ หรือกรอคู่ต่าง                                                          
            4. ตีผสมมือขึ้นลง 3 4 5 6 พยางค์                                           
            5. ตีเรียงซ้าย-เรียงขวา ( 4 พยางค์ทีละมือ)                              
            6. ตีดูด                                                                                    
            7. ตีถ่าง                                                                                  
            8. ตีลักจังหวะ                                                                                    
            9. ตีกวาด                                                                                
         10. ตีโขยก        
     
 
 เกราะ  เป็นเครื่องตีที่ทำด้วยไม้ไผ่    เดิมเป็นเครื่องตีสำหรับขานยาม    ไม่ปรากฏว่านำมาใช้ร่วมในวงการดนตรี       แต่ในการเล่นโขนละครตอนพักทัพที่อยู่เวรยาม  และตอนที่หัวหน้าหมู่บ้านใช้ตีเป็นอาณัติสัญญาบอกเหตุอันตราย หรือตีเพื่อนัดหมายชุมนุมลูกบ้าน

            เกราะ ทำด้วยไม้ไผ่ตัด   เป็นปล้อง ไว้ข้อหัวท้าย   ด้านล่างผ่าเจาะเป็นแนวยาวไปตามลำ   ใช้ไม้ซีกหรือไม้แก่นเหลาขนาดพอเหมาะมือทำเป็นไม้ตี       โดยผูกเชือกให้ติดไว้กับกระบอก บางทีก็เจาะทะลุที่ข้อทั้งสอง ข้าง สำหรับร้อยเชือกผูกแขวนหรือห้อย

            วิธีตีเกราะ 
            มือซ้ายจับเชือกให้เกราะตั้งขึ้น   มือขวาจับไม้ตี  ตีบริเวณตรงกลางปล้อง  หรือถัดมาทางล่างของปล้อง 
      
 
 โกร่ง  เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะที่ทำด้วยไม้ไผ่  เช่นเดียวกับเกราะ   แต่ยาวกว่า      ตั้งอยู่บนขา 2 ขา  เคยเห็นใช้ตีตามชนบท ในฤดูการงานสงกราณต์ เด็กๆและหนุ่มสาวใช้ตีประกอบการร้องที่เรียกว่า " ร่ำ " คือการตีควบไปกับการร้องในการเชิญทรงเจ้าเข้าผี และรำแม่ศรี เป็นต้น   ที่ใช้ในวงการดนตรีก็คือ  การตีร่วมกับการแสดงหนังใหญ่ และโขนละคร   โดยเฉพาะในการบรรเลงเพลงกราวตรวจพล  แต่ในการแสดงโขน ของกรมศิลปากร จะใช้โกร่งร่วมตีในวงปี่พาทย์ในการแสดงโขนกลางแจ้ง  ถ้าเป็นการแสดงภายในจะไม่ใช้เพราะเสียงดังเกินไป
            โกร่ง    ทำด้วยไม้ไผ่ยาว 4 หรือ 4 ปล้อง ตัดปาดหัวท้ายเหลือปล้องไว้ เจาะเป็นช่องระบายไปตามปล้อง โดยเจาะปล้องเว้นปล้อง   หัวและท้ายจะมีไม้ทำเป็นขารองรับ เวลาตีจะวางราบขนานไปกับพื้น ใช้ไม้ตี ซึ่งด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก   คล้ายกรับไม้ 2 อัน    มาตีลง  ระหว่างกึ่งกลางปล้อง   ผู้ตีจะนั่งตีพร้อมกัน 2 หรือ 3 คนตีไปตามจังหวะใหญ่ ของทำนองเพลง   โดยเฉพาะในเพลงกราวตรวจพล ซึ่งจะทำให้ผู้แสดงโขนฟังจังหวะได้ชัดเจน สามารถเต้นตามจังหวะได้พร้อมเพรียงกัน   
    
 
กรับคู่ ทำด้วยไม้ไผ่ซีก 2 อันเหลาให้เรียบและเกลี้ยง  หนาตามขนาดของเนื้อไม้  หัวและท้ายกว่าใหญ่ลดหลั่นกันเล็กน้อย  ตีด้วยมือทั้งสองข้าง  โดยจับข้างละอัน ให้ด้านที่เป็นผิวไม้กระทบกัน ตีลงบริเวณใกล้กับตอนหัว   มีเสียงดัง กรับ กรับ  โดยมากจะใช้ตีกำกับจังหวะในวง ปี่พาทย์ชาตรี ประกอบการแสดงละครชาตรี โดยเฉพาะ   ในเพลงร่ายต่างๆ   ในวงกลางยาวก็นิยมใช้กรับคู่ไปตีกำกับจังหวะหนัก ที่เรียกว่ากรับคู่คงเป็นเพราะมีเป็นคู่ 2 อัน บางทีก็เรียกว่า " กรับไม้ "                     
              
 
กรับพวง เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะที่ทำด้วยไม้  ผสมโลหะ  ร้อยเชือกติดกันเป็นพวง ทั้งไม้และโลหะทำเป็นแผ่นบางๆสลับกัน โดยชิ้นนอกสุด 2 ชิ้น  จะเหลาหนา หัว และท้ายงอนโค้งงอน ด้านจับเล็ก ตอนปลายใหญ่ ร้อย เชือกทางด้านปลาย ให้หลวมพอประมาณ    เวลาตีมือหนึ่งจะจับกัมตอนปลาย ให้หัวตีลงบนมืออีกข้างหนึ่ง ซึ่งจะมีเสียงไม้กับโลหะกระทบกัน      เดิมใช้ตีเป็นอาณัติสัญญาณ เช่นในการเสด็จออกท้องพระโรงของพระเจ้าแผ่นดิน   ที่เรียกว่า  " รัวกรับ "   โดยเฉพาะในเรือสุพรรณหงส์   พระราชพิธีทอดผ้าพระกฐินทางชลมารค  เจ้าพนักงานจะรัวกรับ  เพื่อบอกฝีผายทำความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และออกเรือ
            ในวงการดนตรี  จะใช้กรับพวงตีร่วมในวงปี่พาทย์     ประกอบการแสดงละคอนนอก  ละครใน   ตลอดจนโขน  ละคอนที่แสดงภายใน โดยเฉพาะเพลงร่าย                   
          
 
 กรับเสภา  เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะอีกชนิดหนึ่ง  ที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง โดยเฉพาะไม้ชิงชัน เหลาให้เป็นสี่เหลี่ยม ด้านบนลบเหลี่ยมเล็กน้อย  เพื่อไม่ให้บาดมือและสามารถกลิ้งตัวของมันเอง    กลอกกระทบกันได้สะดวก ด้านล่างนูนโค้งเล็กน้อย  เดิมใช้ขยับตีในการขับเสภา ดังที่เรียกว่า " ขยับกรับขับเสภา "     ซึ่งผู้ขับ เสภาจะเป็นผู้ขยับเอง  โดยใช้กรับ 2 คู่    ขยับคู่ละมือ  ขับเสภาไปพลาง   ขยับกรับสอดแทรกไปกับทำนองขับ   ซึ่งมีวิธีการขยับกรับได้หลายวิธี   อันถือเป็นศิลปชั้นสูงอย่างหนึ่งในการขยับกรับขับเสภา  ซึ่งนิยมเล่นกันมากในสมัยโบราณ
            ในปัจจุบันคนขยับขับเสภาลดน้อยลง  การเล่นปี่พาทย์เสภาก็เลือนหายไป คงเหลือกรับไว้สำหรับตีกำกับจังหวะหนักในวงปี่พาทย์  ซึ่งลดเหลือคู่เดียว  เวลาตีมือหนึ่งจับกรับคว่ำมือลง   อีกมือหนึ่งจับกรับหงายมือขึ้นตีกระทบกัน  ที่ถูกต้องควรตีให้มีเสียงกล่ำกันเล็กน้อย เสียงจะดังไพเราะ       

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ตีที่ทำจากไม้
หมายเลขบันทึก: 168041เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2008 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
นางสาวเนตรนภา สวนคล้าย

อยากได้บุคคลสำคัญทางด้านระนาดทุ้มณจ

นางสาวนวลอนงค์ อิ่มจันทึก

อยากได้ประวัติบุคคลสำคัญของระนาดทุ้ม

อยากได้ข้อความประวัติวิธีการบรรเลงวิธีการดูแลรักษา

มี

วันหลังสรุปให้น้อยกว่านี้นะ่ เราจดไม่ไหวทำอย่างไรดีนะ

ถ้าดีต้องมีรูปภาพด้วยะน

ถ้าจะให้ดีต้องมีรูปภาพ และบรรยายไม่ยาวหนูจะได้ปริ้นไปส่งคุณครู ไปอ่านหน้าชั้นเรียน

ทำไมไม่มีรูปภาพประกอบเลยครับ

หนุอยากรู้ว่าดนตรีที่ทำมาจากโลหะมีอะไรบ้าง

ขอสั้นสาสสสสสสควายแม่มึงตาย


วิธีทำไม้ระนาด

 

เนื้อหาดีอย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท