การสอนงานมือใหม่ เดือนมกราคม 2549 (2)


เราในฐานะนักส่งเสริมการเกษตรต้องภาคภูมิใจในอาชีพของเรา

         เรื่องเล่าของคุณประสิทธิ์  อุทธา   (ลิงค์ตอนที่ 1)

           
            คุณประสิทธิ์  อุทธา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 ว จากสำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย  การศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาโท สาขารัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง  มีประสบการณ์ในการทำงานส่งเสริมการเกษตร มากกว่า 20 ปี
            เริ่มเรื่องเล่า โดยการเล่าความภาคภูมิใจและกระตุ้นให้มือใหม่เห็นความสำคัญของการทำงานเป็นนักส่งเสริมการเกษตร โดยในอดีตคุณประสิทธิ์ ได้เริ่มทำงานที่จังหวัดนครพนม ในสมัยที่ ผกค.กำลังต่อสู้ด้วยอาวุธกับทางราชการ สมัยนั้นสถานที่ราชการถูกโจมตีและถูกเผาเกือบหมด ยกเว้นสำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานการประถมศึกษาเท่านั้นที่ไม่ถูกเผา คุณประสิทธิ์ เล่าว่าแม้แต่ ผกค.ก็ยังให้ความสำคัญกับการเกษตร เพราะเรามีแต่ให้ ดังนั้นเราในฐานะนักส่งเสริมการเกษตรต้องภาคภูมิใจในอาชีพของเรา เป็นเรื่องเล่าที่ช่วยกระตุ้นและสร้างบรรยากาศได้ดีมากครับ
            นอกจากนั้นยังได้เน้นย้ำว่าการทำงานในพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น เป็นพื้นที่ที่ดีที่สุดในการทำงานของทุกคน เพราะเป็นจังหวัดที่น่าอยู่น่าทำงาน

                                        คุณประสิทธิ์ อุทธา นักส่งเสริมการเกษตรจากอำเภอพรานกระต่าย

            หลักการทำงานที่นำมาแลกเปลี่ยนกับมือใหม่

            หลักการ            จะทำงานโดยมีกฏ ระเบียบ ไม่ใช้ความรู้สึก

            คติประจำใจ       ขยัน  ประหยัด  ซึ่งสัตย์ และมีคุณธรรม
            ความมุ่งหวัง      อยู่เย็นเป็นสุขทุกคนถ้วนหน้า
            การทำงาน         ยึดหลักการครองตน  ครองคน และครองงาน

            กลยุทธ์ในการทำงานส่งเสริมการเกษตร
            และมีกลยุทธ์ในการทำงาน โดยเรียนรู้มาจาก ผกค. ซึ่งเป็นที่ถูกอกถูกใจของมือใหม่และทุกคน คือ
            แกมาข้ามุด              คือการทำงานต้องมีสติ
            แกหยุดข้าแหย่          คือการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา
            แกแย่ข้าตี                คือการเสนอทางเลือก / ความคิดเห็น
            แกหนีข้าตาม            คือยึดหลักเกษตรกรคือลูกค้าที่สำคัญที่สุด

          หลักคิดในการทำงาน

         ตัวเจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติงาน
         1)      ต้องมีจิตสำนึกที่ดี
         2)      มีความรู้ ทั้งในและนอกสถาบัน
         3)      มีสุขภาพ กายและสุขภาพจิตที่ดี
         4)      มีหลักการยอมรับ

          กลไก / เครื่องมือในการทำงาน คือ
         1)      ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
         2)      ภายใต้งบประมาณที่จำกัด
         3)      ยึดผู้นำท้องถิ่น
         4)      บูรณาการโครงการ
         5)      หน่วยงานรัฐ เอกชน
         6)      สถาบันกลุ่ม

         สรุปและฝากสุดท้ายแก่มือใหม่
         1) การจะให้ผู้อื่นยอมรับ เราต้องเคารพตัวเองก่อน
         2) ต้องทำงานเป็นทีม
         3) เน้นการมีส่วนร่วม
         4) รู้จักการพึ่งพาผู้มีอำนาจ บารมี มาช่วยเสริมการทำงาน
         5) การประสานงานทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง
         การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ของคุณประสิทธิ์ในวันนี้ น้องๆ นักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ ให้ความสนใจและเรียนรู้หลักการและกระบวนการทำงานเป็นอย่างยิ่ง เพราะคุณประสิทธิ์ เตรียมตัวมาดีมาก ทำประวัติ และหลักการทำงานมานำเสนอโดย Powerpoint ทำให้เห็นภาพประกอบที่ชัดเจน และเจ้าตัวเล่าอย่างภาคภูมิใจ และยินดีมาเล่าประสบการณ์ด้วยความเต็มใจ

         นี่ก็เป็นอีกบทเรียนหนึ่งที่พวกเรานักส่งเสริมการเกษตร ได้เรียนรู้และจะนำไปปรับใช้ในการทำงานพื้นที่ของพวกเราต่อไป  ผมบันทึกมาเพื่อเป็นการ ลปรร.ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก 13 / 01 / 49

หมายเลขบันทึก: 12343เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2006 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท