ชีวิตกับความพอเพียง : 10. การพึ่งพาตนเอง


แม้ว่าจะคิดเป็นตัวเงินได้ไม่มาก แต่มีผลทางด้านคุณค่าอย่างมากมาย

          เคยเขียนบันทึกเกี่ยวกับการฝึกอยู่อย่างพอเพียง  ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วผมก็เพียงแต่เร่มต้นเท่านั้นเอง  ชาวบ้านในชนบทส่วนใหญ่ก็ได้ดำรงชีพอยู่กันเช่นนี้อยู่แล้ว  เพียงแต่ไม่มีโอกาสมานำเสนอแนวคิดและวิธีการให้คนทั่วไปได้รับรู้เท่านั้นเอง

          แต่จะอย่างไรก็ตาม  ผมก็ยังอยากที่จะบันทึกส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของตนเองที่ได้ถลำตามกระแสของการเปลี่ยนแปลงไปไกลแล้ว  มุ่งที่จะทำงานหาเงิน  เพราะเคยเชื่อตามแนวคิดของโลกทุนนิยมที่ว่าเงินคือเป้าหมายของชีวิต   แต่เมื่อเวลาผ่านไป   เราได้พบปะแลกเปลี่ยน และเรียนรู้ชีวิตมากขึ้น  กลับพบว่าบางครั้งเงินตราก็ไม่ใช่คำตอบเสมอไป  เงินตราไม่ได้ซื้อได้หมดทุกอย่าง  และคนที่มีเงินมากๆ ก็ใช่ว่าจะเป็นคนที่มีความสุขมากกว่าคนอื่นเสมอไป

          เมื่อคิดได้  ก็หาทางที่จะวกกลับมาสู่วิถีชีวิตเดิมของสังคมบ้านเรา  แต่ก็กลับพบว่าคนส่วนใหญ่ของบ้านเรานั้นหาได้เห็นพ้องต้องกันกับวิถีของคนในอดีต  อาจเป็นเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาจากระแสของการพัฒนา  การเปลี่ยนแปลงของสังคมโดยทั่วไป  และเป็นข้อเตือนใจอย่างหนึ่งว่าหากเราจะหันกลับมาดำรงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของเราในอดีตนั้น  เราต้องเข้าใจและทำใจให้ได้ก่อนว่าอาจจะไม่เหมือนเดิม (เพราะทุกสิ่งทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว) แม้ว่าอาจจะไม่เหมือนเดิมทั้งหมด  แต่หากว่าเราตั้งใจและมุ่งมั่นจริง  เราก็สามารถปรับวิถีชีวิตให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้  ก็ยังดีกว่าเราไม่คิดที่จะทำอะไรเลยปล่อยไปตามยถากรรม

          ส่วนหนึ่งของการปรับเปลี่ยน/กลับตัว  อ่านได้จากบันทึกเหล่านี้

          เช้านี้ก็ได้บันทึกเพิ่มเติมอีกว่า  ผมได้ปรับตัวกับชีวิต 2 สถานะอย่างไร จากยันทึกชีวิตกับความพอเพียง : 9. ออกกำลังกาย  และยังมีประเด็นเล็กๆ น้อยๆ อีกมากมายที่เกิดขึ้นจากผลพวงของการปรับตัวเพื่อที่จะหันกลับไปอยู่อย่างพอเพียงเหมือนคนในสังคมชนบท  ซึ่งเราสามารถปรับตัวได้ โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องปรับเปลี่ยนไปเสียทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน  อาจจะค่อยเป็นค่อยไป

          บันทึกนี้อยากจะนำบางส่วนที่เป็นผลอันเกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติเพื่อการอยู่อย่างพอเพียง  หลังจากได้ดำเนินไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง  ผลที่เกิดขึ้นตามมาช่างบังเกิดผลอย่างมากมายมหาศาล  แม้ว่าจะคิดเป็นตัวเงินได้ไม่มาก  แต่มีผลทางด้านคุณค่าอย่างมากมาย  ผมพบว่าเราสามารถพึ่งพาตนเองได้แล้วในบางส่วน  โดยเฉพาะทางด้านอาหารครับ  เมื่อก่อนอธิบายว่าการผลิตอาหารสำคัญอย่างไรก็คงจะไม่มีใครใยดี ต่อเมื่อข้าวและพืชทางการเกษตรมีราคาแพงนั่นแหละคนถึงร้องอ๋อ 

          เพราะคนทุกคนอยู่ได้ด้วยอาหาร  คนไทยไม่ว่าจะอาชีพอะไรก็ต้องกินข้าว  กินทุกวัน  แต่ของอย่างอื่นเรายังพอเลี่ยงได้  แต่น้ำและอาหารหลีกเลี่ยงลำบาก  ผมมายืนยันครับว่าหากเราลงมือกันอย่างจริงจังเราจะสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยเฉพาะทางด้านอาหาร

  • หน่อไม้ผมปลูกไว้ร้อยกว่ากอ  มีเหลือกิน  หากมีที่ไม่มากปลูกซัก 2-3 กอต่อครัวเรือนก็พอ  ใช้พื้นที่ไม่มาก  ลงทุนไม่ถึงร้อยบาท หรือจะปลูกในกระถางก็ยังได้    รับรองว่าไม่มีอะไรในกอไผ่นอกจากหน่อไม้ครับหากท่านลงมือปลูก (ไม่เกิน 2 ปีได้กินแน่ๆ)


หนึ่งกอปีหนึ่งๆ มีหน่อไม้ให้รับประทานหลายสิบหน่อ


แค่นี้ก็กินกันได้ทั้งครอบครัว


ไผ่ตงศรีปราจีนมีอยู่หนึ่งกอกำลังขยายลงปลูกเพิ่ม นี่ก็หน่อเดียวได้หนึ่งหม้อแกงครับ


ดอกดาหลาปลูกไว้ดูอย่างเดียวก็คุ้มแล้วครับ

  • หากท่านใดจะเปลี่ยนแนวการแกงหน่อไม้ ผมใช้วิธี "สิงห์เหนือพบกับเสือใต้"  แกงหน่อไม้แบบคนทางภาคเหนือ แต่ใช้เครื่องปรุงไตปลาแห้งจากภาคใต้ (ไตปลาแห้งลอตนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากพี่ชัยพร-หนุ่มร้อยเกาะซื้อมาฝากจากสุราษฐานีครับ...อิอิ)

  • พริกขี้หนูเหล่านี้ผมไม่ได้ปลูก  แต่นกมาช่วยปลูกให้มีอยู่หลายต้นกระจายอยู่ตามใต้ต้นไม้ทั่วไป  ออกลูกเต็มต้นอยากกินเมื่อไรก็ไปเก็บได้ทุกเมื่อไม่มีวันหมด


  • ผลไม้ตามฤดูกาลมีกินมากบ้างน้อยบ้าง  ตามแต่ช่วงเวลาของแต่ละชนิด  ช่วงนี้ก็เงาะ ก่อนหน้านี้ก็มะม่วง  หมดเงาะก็จะเป็นมะม่วงรุ่นที่ 2   ขนุนก็มีเรื่อยๆ (กำลังคิดจะหาหมูป่ามาเลี้ยงเหมือนพ่อครูบาจะได้มาช่วยกินขนุน)  ฯลฯ

            เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นผลจากการกลับตัวปรับใจ  หันกลับมาหาทางพึ่งพาตนเองของผมและครอบครัว  หลายท่านอาจจะทำได้มากและดีกว่านี้  ก็ช่วยนำมาบอกเล่าแบ่งปันกันผ่านบล็อกด้วยนะครับ  อย่างน้อยก็ได้ช่วยกันยืนยันและตอกย้ำให้หลายๆ  คนได้หันมาลงมือปฏิบัติเพื่อการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร   และเป็นการฝึกการพึ่งพาตนเองตามวิถีแบบไทยๆ  อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ  เพราะฝรั่งที่ว่าแน่ๆ  ที่เราเคยเดินตามก้นเขาอยู่ก็หันมาอยู่กับธรรมชาติ  มาอยู่แบบไทยๆ แถวบ้านเราก็มากมายแล้ว  เดี๋ยวนี้เขาไม่ใช้เงินเป็นตัวชี้วัดกันเพียงอย่างเดียว  เขาวัดกันที่ความสุขและความพอเพียงกันแล้ว...

          ยังไม่สายเกินไปนะครับ  ....

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.

หมายเลขบันทึก: 190064เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2008 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

ขออภินันทนาการบทความนี้ด้วยหมูป่า1 คู่

จะส่งทาง EMS ไปรษณีย์ไม่รับ

 

  • มายิ้มๆๆ
  • พ่อครูบา
  • ส่งหมูป่าทาง EMS
  • น้องสนใจหน่อไม้ไผ่ตงศรีปราจีน
  • หน่อใหญ่มากๆๆ
  • ท่าทางจะอร่อยนะครับ

+ สวัสดดีค่ะ...

+ เป็นความคิดที่เยี่ยม จริง ๆค่ะ

+ อ่านแล้วชวนให้คิดถึงแม่...เหตุเกิดสัก 5 ปีที่แล้ว

+ ที่บ้านปลูกทุกอย่าง...พริก ขมิ้น ตะไคร้ มะกรูด ผืชผักสวนครัว

+ เพื่อนบ้าน...ชอบมาแบ่งปัน..ขมิ้นและ ตะไคร้ ของแม่พร้อมบอกว่าที่ซื้อมาตุนไว้ในตู้เย็นมันหมด...เลยมาแบ่งหน่อย

+ หลาย ๆ ครั้งเข้า...แม่เลยแบ่งขุดตะไคร้ ขุดขมิ้น และต้นมะกรูดน้อย..แล้วเดินไปบ้านเพื่อนบ้าน

+ ไปหาจอบมา...ไปเราไปปลูก ตะไคร้ และขมิ้น และต้นมะกรูดน้อยกัน...ที่หลังบ้านปล่อยว่างไว้ทำไม

+ แม่และเพื่อนบ้านช่วยกันขุดดินและปลูกตะไคร้ ขมิ้น...และต้นมะกรูดน้อยกัน

+ ทุกวันนี้ เพื่อนบ้านก็ไม่ต้องซื้อขมิ้น ไม่ต้องซื้อตะไคร้ ใบมะกรูดอีก และไม่ต้องมาแบ่งจากที่บ้านอีกเลย

+ ฮา ๆ เอิ้ก ๆ นี่แหละแมฉัน....ร้ายไหมค่ะ...ถึงร้ายก็รัก

  • เรื่องแบบนี้ถ้าไม่ทำแล้วเคยตัว....ขี้เกียจ
  • ไม่รู้จักคุณค่าของเงินและแผ่นดิน
  • เอ๊ะอะก็ซิ้อๆๆๆๆๆๆๆ.......ทั้งที่แผ่นดินว่าง
  • เคยได้ยินที่เขาว่าแผ่นดินร้องไห้ไหมครับ
  • เขาบอกว่ามันเสียใจที่เจ้าของไม่ยอมใช้ประโยชน์จากมัน
  • คนที่ทำก็มีความสุข..ความภูมิใจแล้วกินอร่อย..ปลอดภัยอีกต่างหาก
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีค่ะ น้องชาย
  • สนใจเรื่องปลูกไผ่ในกระถางค่ะ
  • ที่บ้านเคยเอาไผ่ประดับ(ไผ่เหลือง)มาปลูกในกระถาง
  • พอมันขึ้นแน่นมาก คุณสามีตัดยอดและใบซะเหี้ยนเหลือแต่กอ  สุดท้ายมันแห้งตายไปหมดเลยค่ะ
  • ไม่รู้เกิดอะไรขึ้น
  • ขอความรู้หน่อยซิค่ะ
  • ฝากความคิดถึงหลานๆ และน้องสาวด้วยค่ะ
  • กอดดดดดดดดดดดดด จุ๊บ จุ๊บ จุ๊บ น้องชายค่ะ

สวัสดีครับพี่

ว่าง ๆ จะแวะไปกินต้มหน่อไม้ที่กำแพงครับ

P

 

  • สวัสดีครับพ่อครูบา
  • กำลังมองหาอยู่เหมือนกันว่าจะหาหมูป่ามาเลี้ยงสัก 1 คู่
  • จะได้ให้ช่วยปราบหญ้าที่สวนไปในตัว
  • บางทีอาจจะเป็นห่านหรือเป็ดเทศก็ได้ 
  • ขอบพระคุณมากครับ

P

 

  • ไผ่ตงศรีปราจีน หน่อใหญ่มากครับ พอๆ กับหน่อไผ่ตงดำ
  • จะลองตอนดูนะครับ
  • เผื่อมีโอกาสจะนำไปฝากปลูก
  • อิอิ...แล้วจะตามไปกิน
  • ผมก็กำลังมองหาไผ่บงหวานอยู่เหมือนกัน 
  • จะหาไผ่มาปลูกหลายๆ สายพันธุ์
  • มีพืชอยู่ชนิดเดียวนี่แหละที่ไม่กลัวหญ้ามาแย่งอาหาร เพราะเขาคลุมพื้นที่ได้หมด

 

P

 

  • สวัสดีครับครู แอมแปร์
  • เป็นกระบวนการที่เนียนมากๆ
  • อิอิ.....
  • ในชนบทมีสิ่งดีๆ อยู่เต็มไปหมดนะครับ
  • ขอบคุณมากครับที่แวะนำสิ่งดีๆ มา ลปรร.

 

 

ถึงพม่าจะมาล้อมเมืองอีกสัก 2-3 เดือน สิงห์ป่าสักก็น่าจะอยู่ได้อย่างสบายแฮ

พอเพียงเนี่ย! ทำให้ผมนึกถึง ความสุขแบบเรียบง่าย เนาะ

เข้าทำนองว่าเข้าสู่ภาวะ "ป้า กะ ปู่ กู้อี้จู้"

แต่สถานการณ์ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ยังผจญกับ ความไม่พอเพียง เลยเข้าทำนองว่า "พ่อ กะ แม่ หนูกู้อิออน" แทนครับ

P

 

  • สวัสดีครับพี่ไมตรี
  • ผมเคยไปเยี่ยมเกษตรกร  เห็นสิ่งที่เขาปลูกเขาสร้าง  ล้วนแต่เป็นพืชอาหารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
  • วันหนึ่ง ๆ แทบจะไม่ต้องใช้จ่ายอะไรเลย
  • คิดว่านี่แหละใช่เลยการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
  • คนที่ทำได้ ผมว่าเขามีใจเป็นเบื้องต้นนะครับ
  • เมื่อคนมีใจที่เพียงพอ  คิดพึ่งพาตนเอง พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่   ส่วนการปฏิบัตินั้นย่อมติดตามมาอย่างแน่นอน
  • ขอบพระคุณมากครับ

P

 

  • สวัสดีครับคุณหมอเจ๊
  • ต้นไผ่ที่เขาปลูกเพื่อผลิตหน่อ  จะต้องตัดต้นที่แก่(ปีที่ 2) ที่ส่วนใหญ่จะอยู่ตรงกลางออกทุกๆ ปีครับ
  • กอจะห่างๆ ออกหน่อได้ดี  ดูแลง่าย
  • หากตัดใบก็คงไม่มีใบปรุงอาหาร...อิอิ  ตายแน่ๆ
  • ปลูกไผ่น่าจะลองใช้วงบ่อนะครับ  ดิน-อาหารจะได้เพียงพอ
  • ราคาวงบ่อขนาด 60- 80-100 ซ.ม ราคาจะถูกเมื่อเทียบกับกระถาง
  • อิอิ....จะเพิ่มโจทย์วิจัยให้สวนป่าลองดูก็ได้นะครับ  ขนาดไหน-จำนวนเท่าใด/พันธุ์อะไร/วิธีการให้น้ำ  ฯลฯ จึงจะเหมาะกับครัวเรือนของคนในเมืองของบ้านเรา
  • หรือท่านใดมีข้อมูลจะนำมาแบ่งปันก็ยินดีนะครับ
  • น้องไผ่บ่นอยากไปงานเฮฮาศาสตร์อีกครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

 

 

 

P

 

  • สวัสดีครับ อ.ภูคา
  • ยินดีมากเลยครับ
  • ช่วงนี้กำลังแย่งกันแทงหน่อ กินไม่ทัน
  • อ.ภูคาสบายดีนะครับ

P

 

  • สวัสดีครับ อ.ธวัช KMI
  • เช้าวันนี้ ดูรายการทางช่อง 5  รศ.รังสรรค์  แสงสุข อธิการบดี ม.รามคำแหง 
  • แนะนำในรายการให้คนไทยสร้างอาชีพสำรองไว้เผื่ออาชีพหลักมีปัญหา  ท่านเรียกว่าสร้างตาข่ายชีวิตไว้  เวลาตกจะได้รองรับและไม่เจ็บตัว
  • และท่านก็ได้พูดถึงการอยู่ในชนบทที่สามารถอยู่ได้อย่างมีความสุขได้  หากอยู่อย่างพอเพียง
  • ผมคิดว่าผมก็ได้ทำอย่างที่ท่านได้แนะนำไว้แล้วเช่นกัน
  • สบายดีนะครับไม่ได้เจอกันนานมาก
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน

-สวัสดีคับอ้ายสิงห์

-ไว้มีโอกาสคงได้ไปเยี่ยมชม "สวน" นะครับ

ไหว้สาเน่อครับ อ่านแล้วได้ความฮู้จาดนัก จะแวะเข้าอ่านบ่อยๆครับ

สวัสดีครับพี่สิงห์

การฝึกการพึ่งพาตนเองตามวิถีแบบไทยๆ จะมีคำว่าแบ่งปันแฝงอยู่ด้วยครับ อันนี้ที่ฝรั่งเขาไม่มี ของเราแบ่งปันกันตั้งแต่ผักริมรั้ว สวนครัวหลังบ้าน แบ่งข้าวปลาอาหารกินกันลอดรั้วถึงกัน แลกเปลี่ยนกันกินกันใช้ นี่น่าจะเป็นวิถีชีวิตพอเพียงที่เริ่มจากวิธีคิดที่เราเคยมีมานาน แล้วนะครับ

ยุคสมัยเปลี่ยนไปตอนนี้เราสามารถแบ่งปันผ่านระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมได้อีกทางแล้ว

ขอบคุณที่พี่ได้แบ่งปันความรู้ผ่านBlog  ครับ

สวัสดีครับอาจารย์สิงห์ป่าสัก วันนี้บล็อกเกอร์หน้าใหม่(คุณลิขิต2/2551)ได้รับกำลังใจจากพี่สิงห์ป่าสักมากเลยครับ

P

 

  • สวัสดีครับท่านเพชรน้ำหนึ่ง
  • ว่างๆ เชิญแวะไปช่วยตัดหญ้าบ้างก็ได้นะครับ
  • อิอิ...

P

 

  • สวัสดีครับพี่หนาน
  • ยินดีที่ได้ ลปรร.ครับ

P

 

  • สวัสดีครับครูอาราม
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยียมเยียนและให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ
  • บ้านเรามีของดีๆ อยู่แล้ว แต่เราอาจจะละเลยและหลงไปบ้าง
  • แต่ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังใช้ภูมิปัญญา และตามแบบแผนเดิม
  • ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนครับ  จะพยายามพัฒนายกระดับต่อไปเรื่อยๆ

P

 

  • สว้สดีครับพี่เบิร์ด
  • รุ่น 2 คงสนุกนะครับ
  • ส่งแรงใจผ่านบล็อกมาให้ทุกวัน
  • ของพระคุณมากครับ

*0* สวัสดีค่ะพี่สิงห์ป่าสัก

*0* แวะมาเยียม หน่อไม้น่ากินจัง

*0* ที่สหกรณ์การเกษตรประจันตคาม สมาชิกก็ปลูกหน่อไม้เหมือนกันค่ะ

*0* ถ้าไปสหกรณ์ฯ เมื่อไร จะแวะไปเยี่ยมพี่เจ้าค่ะ

P

 

  • สวัสดีครับ
  • ยินดีครับหากชาว G2K จะแวะมาเยี่ยมเยียน
  • ตอนนี้ B2B ผ่านบล็อกไปก่อน
  • ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท