อบรมเกษตรกรคลื่นลูกใหม่


       ตอนนี้ผมกำลังอยู่ที่สถาบันเอชียตะวันออกศึกษา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) เพราะได้มาเข้ารับการอบรมตามโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ รุ่นที่ 7 ระหว่าง  25-30  สิงหาคม  2551  ซึ่งความเป็นมาและรายละเอียดนั้นสามารถอ่านได้เพิ่มเติมที่ เว็บไซต์ของเกษตรกรคลื่นลูกใหม่คลิกที่ http://www.newwavefarmer.com/

       ช่วงเช้าของวันนี้ได้มีโอกาสฟัง ศ.ดร.คุนิยะโก๊ะ (อาจเขียนผิดต้องขออภัย)  ซึ่งเป็นคนญี่ปุ่นได้กล่าวในพิธีเปิด (แปลโดย รศ.ดร.สามชาย  ชคตระการ) ส่วนหนึ่งของคำกล่าวซึ่งผมเห็นว่าน่าสนใจมาก  เป็นทั้งการให้กำลังใจ  และกระตุ้นผู้เข้ารับการอบรม ที่เกือบทั้งหมดเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ของบ้านเรา ที่มาจากทุกภาค (ส่วนพวกผมมาอบรมร่วมในฐานะพี่เลี่ยงของแต่ละจังหวัด) ความตอนหนึ่งของคำกล่าวพอจะสรุปได้ดังนี้ครับ

  • ประเทศญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญต่ออาชีพการเกษตรกรรมมาก  แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่มีความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมก็ตาม
  • หากย้อนหลังไปดู ในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม หรือการพัฒนาเศรษฐกิจจะมีความสำคัญ  แต่ฉากหลังหรือเงาหลังที่สำคัญของประเทศก็คือการเกษตรของประเทศนั่นเอง
  • ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมของโลกจะได้รับผลกระทบตฃจากการพัฒนาอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นคนที่กำลังเพิ่มขึ้น  หรืออาหารที่กำลังเข้าขั้นวิกฤติ ล้วยเกี่ยวข้องกับการเกษตรทั้งสิ้น
  • การผลิตของภาคการเกษตรในเมืองไทย  ที่สำคัญก็คือมือ (อุเด๊ะ) ของทุกๆ ท่าน คืออยู่ที่มือของเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ทุกท่าน
  • ขอยืนยันเป็นครั้งสุดท้ายว่า  การผลิตของประเทศไทย  จะยั่งยืน  การเกษตรจะเป็นพลังอันแข็งแกร่ง  ล้วนอยู่ที่มือของพวกท่าน มือของพวกท่านที่กำอนาคตของประเทศไทยไว้.....

         แม้จะฟังจากการแปล  แต่ผมคิดว่าเป็นการให้กำลังใจ และกระตุ้นให้เกษตรกรคลื่นลูกใหม่ ได้เป็นอย่างดี  ให้ตระหนักถึงความสำคัญของอาชีพการเกษตร  ที่เป็นอาชีพหลักของคนไทยมาช้านาน  ...แต่ปัจจุบันคนรุ่นใหม่กำลังมองข้ามอาชีพนี้  ต้องขอขอบพระคุณ ศ.ดร.คุนิยะโก๊ะ กรมส่งเสริมการเกษตรและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ได้จัดการอบรมโครงการนี้ขึ้น

        แม้ว่าหลักสูตรจะออกแบบไว้ให้กับเกษตรกรคลื่นลูกใหม่  แต่ผมก็ไม่ได้คิดว่าเมื่อเรามาร่วมการอบรมแล้วเราจะไม่ได้อะไรกลับไป    แต่หากว่าเราทำตัวเป็น "น้ำที่ไม่เต็มแก้ว  เราก็จะได้รับการเติมความรู้อยู่ตลอดเวลา" และได้เรียนรู้อะไรใหม่อยู่ตลอดเวลาเพราะความรู้นั้นมีอยู่ทุกๆ ที่และในทุกๆ คน

หมายเลขบันทึก: 203356เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2008 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
  • โอโหพี่สิงห์ป่าสัก
  • ได้ทั้งความรู้เกษตร
  • แถมได้ภาษาญี่ปุ่นด้วย
  • ฮ่าๆๆๆ
  • ที่สำคัญก็คือมือ (อุเด๊ะ)
  • งง งง link พี่ไม่มาครับ
  • สงสัยผิดพลาดทางอาชีวะ
  • อิอิๆๆ

P

 

  • บ่ายนี้เรียนรู้การใช้คอมฯ ครับ
  • เลยสบายๆ ฟังไปอ่านบล็อกไป(แอบเขียนไปด้วย)
  • ตอนนี้เลยลดอายุมาครับ ปนๆ ไปกับนักศึกษา
  • แต่มีความรู้สึกเหมือนว่าอยู่ต่างประเทศครับ
  • เหมือนญี่ปุ่นหรือเกาหลี อะไรประมาณนั้น
  • เพราะไม่ว่าจะดูหน้าตา การไว้ทรงผมหรือการแต่งกาย
  • อิอิ....สมัยนี้เขาฮิตกันอย่างนี้เนาะ เรารุ่นเก่าแก่..เลยดูแปลกๆ ตา
  • ดีใจด้วยครับที่ได้โต้คลื่นลูกที่ 7
  • ประเทศญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญต่ออาชีพการเกษตรกรรมมาก 
  • แต่ประเทศไทย....
  • (ก็ให้ความสำคัญกับการเกษตร..มากกกกกก...เช่นกัน ฮิ ฮิ..)

P

 

  • สวัสดีครับท่านเกษตร(อยู่)จังหวัด
  • จุ๊ ๆ ๆ....อย่าพูดดังไป
  • 555...แม่นแล้วครับ
  • มาดูคลื่นลูกใหม่
  • ลูกใหญ่มากเปล่า
  • น้ำชาเต็มถ้วย......ถ้วยดีไม่รั่ว น้ำเลยเน่า..อิอิ
  • ป่วยไม่รักษา.....มีพลังภายในสูงรักษาตัวเองได้..ตายเลยเร็วดี...5555
  • ท่านเล่นเติมน้ำใหม่เรื่อย
  • แบบนี้น้ำท่านก็สดใสสะอาด บริสุทธิ์
  • คุณภาพคับแก้ว 
  • ขอชื่นชม

คิดว่าญี่ปุ่นจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้เราเรียนรู้เรื่องนี้นะคะ เพราะเขาคำนึงถึงคุณภาพทั้งของเกษตรกร ผลผลิต และสิ่งแวดล้อม เวลาดูสารคดีประเทศญี่ปุ่นเกี่ยวกับการเกษตรและชีวิตชนบทชอบมากเลยค่ะ

แล้วจะมาตามอ่านสรุปสาระการประชุมค่ะ

  • สวัสดีครับ ผอ.ประจักษ
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาแลกเปลี่ยนและให้กำลังใจเสมอมา

P

 

  • สวัสดีครับอาจารย์ คุณนายดอกเตอร์
  • ผมก็คิดเหมือนกับอาจารย์เลยครับ
  • แม้ว่าเขาจะเจริญทางด้านวัตถุ  แต่เขาก็ยังรักษาจิตวิญญาณของเขาเอาไว้อย่างเหนียวแน่น
  • น่าชื่นชมมากเลยครับ
  • แต่ของเราก็ต้องช่วยกันนะครับ เพราะเราก็มีของดีอยู่มากมายและมีความหลากหลายอยู่พอสมควร

คุณครู

  • ป้ามีได้มีโอกาสไปดูเกษตรกรที่ญี่ปุ่นทำนา...
  • เทคโนโลยีทันสมัยมาก ๆ
  • ถึงกระนั้น...พวกเขาก็ไม่ทอดทิ้งการอนุรักษ์ธรรมชาติ
  • มีระเบียบ วินัย
  • ญี่ปุ่นเป็นต้นแบบที่ดีในการพัฒนาการเกษตร+เทคโนโลยี
  • ติดตามดูครับว่าเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ จะไปทางไหน
  • ขอบคุณครับ

P

 

  • สวัสดีครับ คนเมืองน้ำดำ
  • ไม่ได้เจอกันนานเลยนะครับ
  • เห็นด้วยมากเลยครับ เพราะญี่ปุ่นเขาไม่ละทิ้งสิ่งดีๆ
  • ขอบคุณมากครับที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียน

ดีด้วยนะ อาจารย์ยุทธที่เข้าร่วมอบรมเกษตรกรคลื่นลูกใหม่รุ่นที่ ๗ แล้ว

ผมผ่านมาแล้วเห็นด้วยที่ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมต่อภาคเกษตรกรรมดีกว่าหลายประเทศ

  • สวัสดีอ.สิงห์ป่าสัก
  • ขออภัยที่ไม่ได้สื่อสารถึงอ.สิงห์
  • ความจริงช่วงนี้ผมพักที่เอมีน่าเฮ้าส์
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งการอบรมไม่ว่าหลักสูตรใดๆหากผู้เข้ารับการอบรมทำตัวแบบน้ำเต็มแก้ว ก็จะไม่ได้อะไรกับมา
  • ขอบคุณ ที่นำมาข้อคิดดีๆมาแบ่งปัน
  • สวัสดีครับท่าน "คนบนดอย"
  • เงียบหายไปนานเลยนะครับ
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน

P

 

  • สวัสดีครับ อ.เขียวมรกต
  • ไปหลายวันคิดถึงสำนักงานบ้างไหมครับ
  • อบรมนานๆ ....อิอิ

 

สวัสดีครับสิงห์ป่าสัก ห่างเหินไปนานมีแต่งานยุ่ง ๆ วันนี้พอมีโอกาสเลยแวะมาให้กำลังใจคนเก่งนะ

P

 

  • สวัสดีครับคุณพิทักษ์
  • เนื้อหาการอบรมภาพรวมน่าจะมีสองแนวนะครับ
  • 1) แนวเดิมคือทุนนิยม เงินเป็นตัวตั้ง และ
  • 2) แนวที่เป็นของเราแท้ คือกลับคืนสู่วิถีของไทๆ
  • คลื่นลูกใหม่น่าจะสับสนบ้าง  ผมคิดว่าส่วนใหญ่คงเห็นแต่แนวที่ 1) ครับ
  • ส่วนสรุปแนวที่ 2 รออ่านบันทึกต่อไปนะครับ

 

P

 

  • สวัสดีครับ คนตักสิลานคร
  • หายไปนานเลยนะครับ
  • เขียนบันทึกมาแลกเปลี่ยนกันบ้างนะครับ

สวัสดีครับผมรุ่นที่9ครับ ผมเลี้ยงพันธุ์ครับที่สำคัญพิษผึ้งสามารถต่อยรักษาโรคปวดตามข้อหือตามเส้นเอ็นได้ผลอย่างดีเยี่ยม กล้าลองกล้าหาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท