อบรมเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ 5. เกษตรกรรมนำชีวิต(การเกษตรไทยสดใสกว่าที่คิด)


"ใครมีอาหารคนนั้นคือคนที่อยู่รอดคนสุดท้าย"

          บันทึกนี้ขอนำสรุปจากการเล่าประสบการณ์ ของศาสตราจารย์ ดร.จรัล  จันทรลักขณา  เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกรคลื่นลูกใหม่ วันที่  29  สิงหาคม 2551 ในช่วงเช้า เวลา 3 ชั่วโมง  เนื้อหามีความหลากหลายมาก  ผมจึงขอนำประเด็น และรายละเอียดประกอบการเล่าที่สำคัญๆ มาบันทึกแลกเปลี่ยนเชิญอ่านได้เลยครับ

 


ศาสตราจารย์ ดร.จรัล  จันทรลักขณา 

 

          ศาสตราจารย์ ดร.จรัล  จันทรลักขณา  ได้เกริ่นในเบื้องต้นว่าจะเป็นการเล่าเพื่อเชื่อมโยงความเข้าใจ  จะไม่เน้นเทคโนโลยี เพราะเราสามารถไปค้นหาอ่านเพิ่มเติมเอาเองได้  เนื้อหาของการเล่าประสบการณ์ เรียงตามเนื้อหาดังนี้ครับ

          1. บทบาทการเกษตรในประวัติศาสตร์

         เป็นการเล่าถึงการเริ่มต้นของชนชาติไทย  ว่าเริ่มเป็นปึกแผ่นและตั้งเมืองหลวงกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย   จนถึงยุคกรุงศรีอยุธยา  ซึ่งเมืองไปสามารถพึ่งพาตนเองได้ และสร้างบ้านสร้างเมืองมาด้วยอาชีพเกษตรกรรม  เรารุ่งเรืองมาได้ด้วย "ข้าว" จนมาถึงกรุงเทพฯ  เราก็ยังอาศัยการเกษตร  สินค้าหลักของเราก็มาจากการเกษตร  "เราสร้างชาติมาด้วยข้าว"

         ดังนั้น อาชีพการเกษตรจะยังคงอยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป

          2.  อู่ข้าวอู่น้ำข้ามสหัสวรรษ

        แผนที่ของ FAO ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยมีสีเขียวเพียงประเทศเดียวในเอเชีย  เพราะเราเป็นประเทศที่สามารถผลิตอาหารได้เกินความต้องการ และมีการขายเป็นสินค้าออกเพื่อเลี้ยงพลเมืองของโลก  ดังนั้น ทุกประเทศจึงสนใจที่จะเข้ามาแย่งชิงในรูปแบบต่างๆ (โดยไม่ใช้อาวุธเหมือนอดีต) เพื่อครอบครองแหล่งผลิตอาหารอันสำคัญนี้

        ( อาจารย์ยังเล่าข้อมูลให้ได้คิดว่า เราเป็นเจ้าของที่ดิน  แต่โฉนดที่ดินอยู่ในธนาคาร  แต่ที่สำคัญธนาคารเป็นของต่างชาติไปเกือบหมดแล้ว.....? )

         นอกจากนั้นยังได้เชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ทั้งบวกและลบ ให้ได้เข้าใจ เช่น

·     ข้าว  ซึ่งอยู่คู่กับสังคมไทย  จะอย่างไรครนไทยก็ต้องกินข้าว  ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลมากมาย แต่ก็ไม่สามารถผลิตข้าวได้แม้แต่เมล็ดเดียว

·     ความเจริญตามรอยไถ  ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งสุดท้ายก็จะกลับมาสู่วิถีดั้งเดิม แม้ไม่ทั้งหมด

·     วัวควาย ฯลฯ  หายไปเกือบหมดแล้ว(เข้าโรงงานทำลูกชิ้น)

·     การเกษตรแบบวิถีชีวิต ก่อให้เกิด  ประเพณี  ภาษา  เกมส์  กีฬา  สันทนาการ ต่างๆ มากมาย

·     ศิลปวัฒนธรรม เพลง  การแสดง

          3. บทบาทของการเกษตรมีมากกว่าที่เห็น

          หากเราพิจารณาดีๆ จะทำให้เห็นว่า  ไม่มีผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลใดของบ้านเราที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเกษตร  ดังนั้นการเกษตรจึงมีความสำคัญยิ่ง ก่อให้เกิดสิ่งต่างๆ เหล่านี้

·     ปัจจัย 4 เพื่อชีวิต   เราอยู่ในภาคการผลิตอาหารที่สำคัญที่สุด(นะจะบอกให้) เพราะเงินกินไม่ได้  น้ำมันก็กินไม่ได้

·     การพึ่งพาตนเอง และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

·     ความมั่นคงของครอบครัว

·     สันติสุขของสังคม GDH

·     ความมั่นคงของชาติและสังคม เพราะ "ใครมีอาหารคนนั้นคือคนที่อยู่รอดคนสุดท้าย"

          4.  การเกษตรยุคปัจจุบัน

·     การเกษตรดั้งเดิม เพื่อชีวิต ยังสำคัญเสมอ และควรรักษาไว้ให้ลูกหลานสืบไป

·     เกษตรครัวโลก (ส่งออกสู่ตลาดโลก) เช่น ไก่ กุ้ง  ข้าว มันสำปะหลัง  ส่วนนี้ก็เป็นรายได้ที่สำคัญของชาติ

·     การเกษตรเพื่ออุตสาหกรรม (และพลังงาน)  เช่น ยาง  อ้อย  มันสำปะหลัง  ปาล์มน้ำมัน  สบู่ดำ

·     ความขัดแย้ง เช่น ไข้หวัดนก(เกษตรเชิงเดี่ยวเพื่อการค้า กับเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเอง)    อาหาร/พลังงาน การแย่งชิงอาหารจะเกิดขึ้นแน่นอนในอนาคต  เราจะมีความมั่นคง เพราะเราสามารถผลิตอาหารเลี้ยงตัวเองได้  ประเทศที่มีน้ำมัน เมื่อน้ำมันหมดก็จะไม่เหลืออะไร เพราะน้ำมันก็กินไม่ได้

          5.  การพัฒนาเกษตรไทย / ในอนาคต

·     การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน / ไม่ผลาญ

·     การตระหนักเรื่องคุณภาพ / สิ่งแวดล้อม / ไม่ก่อมลภาวะ

·     ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ : GMO , ข้าวไฮบริดจ์  สิ่งเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยงเพราะจะส่งผลต่อขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองของเราลดลง เพราะเป้นเทคโนโลยีของต่างชาติ  จะทำให้เราต้องพึ่งพาเขาตลอดไป

·     การสร้างความเข้มแข็ง แก่ชุมชนสันติสุข

·     ปราชญ์ชาวบ้าน  ภูมิปัญญาไทย  ยังมีอีกมากมาย เราสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศได้

·     การแปรรูปสินค้าเกษตร / อสก. เกษตร  (เพิ่มมูลค่า) : ไม่ทำไม่รอด  เราจะขายเป็นวัตถุดิบเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เพราะจะได้ผลตอบแทนน้อย

          6. การเพิ่มมูลค่าการเกษตร "คลื่นลูกใหม่"

        คลื่นลูกใหม่ลองวิเคราะห์ให้ดี เรามีสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว  และหากสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดก็จะทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดประโยชน์กับบ้านเรา เช่น

·     การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

·     วัวชน  ไก่ชน (กีฬาชาวบ้าน)

·     สมุนไพร

·     เกษตรอินทรีย์

·     ความสุขมีค่ามากกว่าเงิน

·     เศรษฐกิจพอเพียง / ทางสายกลาง / แห่งชวิต (การพัฒนาชีวิต และจิตวิญญาณ)

         7.  "เกษตรกรคลื่นลูกใหม่" นำสังคมไทยพัฒนา

·     นกกระจอก กับ นกอินทรีย์  เราต้องเป็นนกกระจอกที่ไม่กระจอก เพราะนกกระจอกนั้นอยู่กันเป็นสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  ไม่มีวันสูญพันธุ์  ต่างกับนกอินทรีย์ ที่ต่างคนต่างอยู่  แบ่งเขตกันอยู่  ในอนาคตมีแต่จะสูญพันธุ์

·     ตัวอย่างของคนไทยที่มีความสามารถ และสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เช่น ลุงยงค์  รณรงค์ : เครือข่าย ยมนา ที่นครศรีธรรมราช เป็นต้น

·     เกษตรธรรมชาติ เพราะแนวโน้มคนหันมาบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์  และการเกษตรก็ได้เปรียบเพราะเราได้อยู่กับธรรมชาติ ซึ่งประเทศที่เจริญแล้วไม่สามารถทำได้

·     ธรรมะของนักเกษตร "คลื่นลูกใหม่"

        * ลดโลภ
        * มีวินัย
        * ใผ่ประหยัด
        * ขจัดความเห็นแก่ตัว

·     คนไทยในทัศนะของ พระธรรมปฏก คือ 

          "มองใกล้  ใจแคบ  มักง่าย  ใฝ่ต่ำ"

·     เรามีตัวอย่างที่ดีอยู่แล้ว คือ พ่อของชาติ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรานั่นเอง

 

          รายละเอียดนั้นมีมากมายครับ  สุดท้ายได้ฝากข้อคิดให้แก่เกษตรกรคลื่นลูกใหม่ว่า

"ต้องคิดใหม่ทำใหม่  และคิดจริงทำจริง"

          ผมฟัง  ศ.ดรจรัล  จันทรลักขณา ไปก็ชื่นใจและอิ่มใจไปด้วย เพราะส่วนหนึ่งของแนวทางที่ว่ามานี้ผมมักจะใช้นำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรในเวทีหรือสถานการณ์ต่างๆ อยู่เสมอ  อาจจะไม่ครอบคลุมเหมือนกับที่บันทึกมานี้  แต่ก็ยังดีใจที่เราได้เรียนรู้อะไรๆ ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น  และน่าจะเกิดประโยชน์แก่ตัวเราเอง  ที่จะได้นำสิ่งเหล่านี้ไปแลกเปลี่ยนและพูดคุยกับพี่น้องเกษตรกรในโอกาสข้างหน้าเท่าที่จะอำนวย  เพื่อให้เกษตรกรบ้านเราได้ภาคภูมิใจในสิ่งที่เป็นตัวตนของเราอยู่ ณ ปัจจุบัน   ซึ่งข้อสรุปก็คือเราเป็นอยู่อย่างนี้นั้นดีอยู่แล้ว  ไม่ต้องไปดิ้นรนตามก้นฝรั่งไปเสียทุกเรื่องเสมอไป 

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.ครับ

 วีรยุทธ  สมป่าสัก

4 กันยายน  2551

หมายเลขบันทึก: 205541เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2008 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
  • "ต้องคิดใหม่ทำใหม่  และคิดจริงทำจริง"
  • เพราะสิ่งที่เราเห็นเกิดจากสิ่งที่เรามองไม่เห็น
  • จะแก้สิ่งที่เราเห็นต้องแก้ตรงสิ่งที่เรามองไม่เห็น
  • ตามมาดูครับพี่
  • ได้แนวคิดดีๆๆมาเลย
  • * ลดโลภ
            * มีวินัย
            * ใผ่ประหยัด
            * ขจัดความเห็นแก่ตัว

    ·     คนไทยในทัศนะของ พระธรรมปฏก คือ 

              "มองใกล้  ใจแคบ  มักง่าย  ใฝ่ต่ำ"

    ·     เรามีตัวอย่างที่ดีอยู่แล้ว คือ พ่อของชาติ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรานั่นเอง

     

              รายละเอียดนั้นมีมากมายครับ  สุดท้ายได้ฝากข้อคิดให้แก่เกษตรกรคลื่นลูกใหม่ว่า

    "ต้องคิดใหม่ทำใหม่  และคิดจริงทำจริง"

P

 

  • สวัสดีครับท่านเกษตร(อยู่)จังหวัด
  • ได้ฟัง ศ.ดร.จรัล  เพียง 3 ชั่วโมง ผมว่าคุ้มแล้วครับสำหรับ 6 วันที่เข้าอบรม
  • ช่วงพักผมมีโอกาสได้เสวนาช่วงสั้นๆ กับ ศ.ดร.จรัล ได้เรียนรู้มุมมองดีๆ กับงานพัฒนาการเกษตร-งานส่งเสริมอีกมากเลยครับ
  • ขอบคุณครับ

P

 

  • สวัสดีครับ อ.ขจิต
  • ทุกประเด็นล้วนเป็นของจริงที่สามารถนำไปใช้ได้เลยนะครับ
  • ท่านได้พูเกี่ยวกับฝรั่งไว้หลายประเด็นที่น่าคิดมาก
  • สรุปก็คือเราก็คือเรา อยู่อย่างไทเหมาะสมกับเรามากที่สุดว่างั้นเถอะ
  • ขอบคุณครับ
  • แวะมาเยี่ยมและมาอ่านบันทึกคนมีคุณภาพครับ
  • ความรู้แน่นครับ
  • ชอบครับ
  • สบายดีนะครับ
  • รักษาสุขภาพด้วยครับผม

"เราต้องเป็นนกกระจอก ที่ไม่กระจอก"

  • ชอบจังประโยคนี้
  • เพราะที่เจอมาก็คือ พ่อแม่บางครอบครัวที่มีอาชีพเกษตรกร บอกครูว่า ไม่อยากให้ลูกมาทำงานเหมือนพ่อแม่ มันลำบาก
  • แล้วก็เลยไม่สอนให้ลูกช่วยงานของที่บ้าน ให้เรียนหนังสืออย่างเดียว
  • ครูก็อยากให้เรียนรู้อาชีพ ได้ฝึกทำงาน อย่างน้อยก็ได้รับรู้ถึงคุณค่าของการทำงานบ้างก็ยังดี
  • มาโรงเรียนเลยต้องฝึกให้ทำงานซะมั่ง..555
  • นี่ก็พึ่งจะพาเด็กๆ ไปทัศนศึกษาที่ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวที่สันป่าตองมา  ก็อยู่ไม่ไกล  เลยขอความอนุเคราะห์เป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็กๆ ค่ะ
  • เดี๋ยวจะไปบอกให้มาอ่านบันทึกนี้กันหน่อย
  • ขอบคุณนะคะ สำหรับเรื่องดีๆ ที่เอามาฝาก
  • ชื่นชมกับเนื้อหาเรื่องราวที่อบรมมากครับ ที่กระตุ้นให้คนในแวดวงการเกษตร เห็นค่า ภูมิใจในความเป็นไทย เกษตรแบบไทยให้มากมากขึ้น

เรามีของดีๆ ภูมิปัญญาดี ๆ อยู่มากมาย แต่เรามองไม่เห็น ไม่นำมาใช้ เราต้องส่งเสริมคนไทย ภูมิใจกับความเป็นเกษตรไทยด้วยกันเอง

    เพราะคนไทยก็ไม่ด้อยกว่าชนชาติอื่นๆในโลกเลยหละครับ  ...

        "ต้องคิดใหม่ทำใหม่  และคิดจริงทำจริง"  ใช่เลยครับ

P

 

  • สวัสดีครับครูโย่ง
  • ผมฟังอาจารย์พูดไปก็ปลื้มใจไปครับ
  • เพราะมีน้อยคนที่จะมองได้ทะลุแบบนี้
  • ผมได้คุยกับอาจารย์เรื่องนี้เหมือนกันว่าส่วนหนึ่งเราลัดมาอยู่ตรงนี้ได้เลยงานพัฒนา/งานส่งเสริมการเกษตร
  • คืออยู่แบบพึ่งตนเอง/ธรรมชาติ (อยู่ในชนบท)
  • เพราะเราก็อยู่ของเราอย่างนี้อยู่แล้วมาตั้งนาน
  • แต่อาจจะมีบางส่วนที่แบ่งการผลิตเพื่อขาย/แข่งขัน
  • ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน

P

 

  • สวัสดีครับครูอึ่ง
  • แวะไปเยี่ยมบันทึกตามที่ลิงค์ไว้แล้ว เยี่ยมมากเลยครับ...ขอบอก
  • เด็กๆ คงตื่นเต้นกันน่าดู
  • เพราะเรื่องเหล่านี้ไม่ได้อยู่ห่างไกลเขาเลย
  • เพียงแต่อดีตเราอาจจะมองไม่ครอบคลุม เลยทำให้คิดแปลกแยกสิ่งเหล่านี้ออกจากวิถีแห่งการเรียนรู้
  • ดีใจที่ครูอึ่งคิดเช่นเดียวกับผม  เพราะสุดท้ายเราก็จะโหยหาธรรมชาติ  จะกลับมาอยู่กับธรรมชาติกันอยู่ดี
  • แต่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ขอวิ่งตามโลกของวัตถุไปก่อน
  • หากเราคิดได้และเข้าใจชีวิต ก็จะอยู่ที่เดิม อยู่กับปัจจุบัน  ตามวิถีของเรา(ฝรั่งตัวจริงก็ยังอิจฉา)
  • อิจฉาเด็กๆ ที่มงคลวิทยาที่ได้ซึมซับสิ่งเหล่านี้...
  • ขอแสดงความชื่นชมครับ

 

 

P

 

  • สวัสดีครับครูอาราม
  • เราต้องอยู่ตามแนวทางและวิถีชีวิตของเรานะครับ
  • แบบไทๆ
  • เหมือนพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ของเราในอดีต
  • อ.จรัลบอกว่า ท่านไปเรียนที่อเมริกาตั้งแต่ ป.ตรี-โท-เอก
  • ท่านบอกว่าไม่เห็นฝรั่งจะเก่งกว่าเราซักเท่าไร(บางทียังลอกงานอาจารย์เลย...อิอิ)
  • เราต้องเป็นนกกระจอกที่ไม่กระจอกนะครับ

 

P

  • แวะมาเยี่ยมครับพี่
  • ขอบคุณที่สรุปแนวคิดดีๆแบ่งปันอีกหลายคน
  • ผมาแวะช้านิดหนึ่งครับ
  • นำภาพสวยๆมาฝาก(ส่วนหนึ่งจากผลงานพี่นะ)

เยี่ยมมากเลยพี่ท่าน

ขอตามมาเยี่ยมเยียนนะ

ได้มีโอกาสฟังท่านอาจารย์ ดร.จรัล พูดเรื่อง ควายและการอนุรักษ์ที่ท่านอาจารย์ทำไว้ที่ จ.สุรินทร์ ผมรู้สึกภูมิใจมากที่เกิดเป็นคนไทย เพราะว่าเราเป็น "นกกระจอกที่ไม่กระจอก" นั้นเอง

P

 

  • สวัสดีครับท่านหนุ่มโลโซ
  • ขอบคุณมากครับที่นำภาพมาแบ่งปัน
  • อิอิ...ตอนนี้เราใกล้จะเป็นคลื่นกระทบฝั่งแล้วนะครับ
  • สวัสดีครับท่านคนบนดอย
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • ผมก็รออ่านบันทึกของท่านอยู่เสมอนะครับ...อิอิ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท