ส่งเสริมการเกษตรข้ามจังหวัด


เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไปการทำงานส่งเสริมการเกษตรก็ต้องปรับตัว

          เหตุมาจากบันทึกนี้ครับ  ตามรอยการเรียนรู้ :ไปดูชาวบ้านปลูกพริกเป็นอาชีพเสริม

          เมื่อวันจันทร์ที่  2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา  ผมได้รับการติดต่อจาก คุณสุทัศน์  ตาคำ  อตีดข้าราชการครูจากอำเภอเถิน  จังหวัดลำปาง   ขอพบปะเพื่อหารือแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการใช้พลาสติกคลุมแปลงปลูกพืช  ณ ที่ทำงานของผมที่สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร 

          ผมตอบรับ พร้อมยินดีที่จะได้พบปะเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ อ.สุทัศน์ อย่างเต็มใจยิ่ง  พร้อมทั้งสอบถามว่ารู้จัก หรือรู้ข้อมูลจากแหล่งใด  อ.สุทัศน์ ตอบว่า  หลังจากเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดจากอาชีพครู  ก็ทำการเกษตรเป็นอาชีพเสริม  พอดีมีที่ว่างคิดจะปลูกพืชเสริมโดยใช้เทคโลยีเข้าช่วย และสนใจที่จะใช้พลาสติกคลุมแปลงปลูก  แต่ยังไม่มีรายละเอียดและข้อมูล  บังเอิญไปค้นเน็ตเจอบล็อกที่ผมเขียนเล่าไว้ ในบันทึก ตามรอยการเรียนรู้ :ไปดูชาวบ้านปลูกพริกเป็นอาชีพเสริม  จึงหาข้อมูลและได้เบอร์ของผมจึงติดต่อมาถูก

         เมื่อทบทวนที่มาที่ไปก็พอจะเข้าใจ เพราะในบันทึกผมมีภาพการใช้พลาสติกคลุมแปลงปลูกพริกของเกษตรกรที่อำเภอพรานกระต่าย  ดังตัวอย่างภาพต่อไปนี้

        

       จนเวลาเกือบเที่ยงวัน  อ.สุทัศน์  จึงเดินทางมาถึงสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร  เป็นการแวะผ่านมาเพราะกำลังจะเดินทางต่อไปธุระที่ กทม. พอดี     ผมก็เลยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งในส่วนของการใช้พลาสติกคลุมแปลงปลูก  และเรื่องการเกษตรอื่นๆ เท่าที่จะพอมีความรู้  เนื่องจาก อ.สุทัศน์ จะรีบเดินทางต่อ  จึงไม่ได้พาไปดูแปลงของเกษตรกร ซึ่งจากการสอบถามข้อมูลเจ้าหน้าที่ในสนามพบว่ายังพอหาดูและ ลปรร.ได้

       ก่อนที่ อ.สุทัศน์  จะเดินทางต่อไปที่ กทม.  ยังได้มอบส้มเกลี้ยง จากสวนของอาจารย์  ซึ่งเป็นผลไม้ประจำถิ่นของอำเภอเถิน จังหวัดลำปางไว้ให้ผมตั้งหลายลูก  พร้อมทั้งจะขอติดต่อทางโทรศัพท์เพื่อปรึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทางโทรศัพท์ต่อไปในอนาคต  หากมีประเด็นใดที่ยังอยากเรียนรู้     ผมก็ตอบตกลง และยินดีเสมอหากสนใจและอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในโอกาสต่อไป


อ.สุทัศน์  ตาคำ กำลังบันทึกข้อมูล-ความรู้ /และส้มเกลี้ยงของดีเมืองเถิน

          เป็นอีกประสบการณ์หนึ่ง  ของการทำอาชีพนักส่งเสริมการเกษตรที่ได้ให้บริการประชาชน-เกษตรกร   แม้จะไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่เราทำงานอยู่  แต่นั่นไม่ใช่เงื่อนไข หรือขีดจำกัดในการทำงานนะครับ  เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไปการทำงานส่งเสริมการเกษตรก็ต้องปรับตัว  หรือแม้จะไม่เป็นงาน(ผลงาน)ที่ต้องนำเสนอเจ้านายเพื่อบอกให้รู้ว่าเราได้ทำงานอะไรไปบ้าง  ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญอีกนั่นแหละ   เพราะเจ้านายที่แท้จริงของเราคือชาวบ้าน-เกษตรกร  ที่เราจะต้องให้คำปรึกษา  เป็นคู่คิด ประสานให้เกิดการ ลปรร. สู่การพัฒนาอาชีพการเกษตรไปในทางที่ดีขึ้น   สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่เป็นประเด็นสำคัญ และต้องตระหนักอยู่เสมอ

     วันนี้ก็เป็นอีกงานหนึ่งที่ผมได้ให้คำปรึกษาหารือเกี่ยวกับอาชีพการเกษตร ได้ทำงาน และทำอย่างมีความสุขครับ

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

สิงห์...ป่าสัก  6  ก.พ. 52

หมายเลขบันทึก: 239992เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2009 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

มาทักทายพี่สิงห์ครับ กำลังประชุม...

  • สวัสดีค่ะพี่สิงห์ป่าสัก
  • ขอข้ามจังหวัดมาอ่านสิ่งดีๆค่ะ
  • ถูกใจกับประโยคนี้ค่ะ ---->"เพราะเจ้านายที่แท้จริงของเราคือชาวบ้าน-เกษตรกร"

กรมส่งเสริมการเกษตรมีคนอยู่ทั่วทิศ เป็นมิตรแท้เกษตรกร

..

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์สิงห์ป่าสัก  ขออนุญาตเรียกท่านว่าอาจารย์ ผมคงเป็นลูกศิษย์ที่แย่มาก มาแอบลักเอาวิชาความรู้ของท่านทั้งที่ท่านยังไม่ได้รับเป็นศิษย์ ผู้น้อยสมควรตาย แต่ด้วยท่านนั้นคือครูผู้วิเศษสำหรับผม ถึงตายก็ยอมครับ ขอบกราบขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง แต่ทุกครั้งที่นำสิ่งดีดีของท่านไปก็ได้กราบเรียนให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบว่าเป็นความรู้จากท่าน ขออำนาจคุณพระรัตนตรัยปกป้องคุ้มครอง ท่านจงพบแต่ความสุข ความเจริญ ตลอดไป.

Pagekkk8

  • สนใจส่งเสริมการเลี้ยงนกบ้างไหมครับ..ท่านสิงห์

พี่สิงห์  .เราคนรู้จักไปทั่ว

สมคำเล่าลือ..ยินดี ลปรร

ขอบคุณมากครับ

  • สวัสดีครับ อ.ขจิต ฝอยทอง
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาทักทายอย่างรวดเร็ว
  • นี่ขนาดประชุมยังแว๊ปเข้าบล็อกได้ เยี่ยมจริงๆ
  • นับถือ ๆ
  • สวัสดีครับน้อง-`๏’-..ตะวันอ้อมข้าว..-`๏’-
  • มีเจ้านายเก่าท่านสอนไว้ครับว่าให้เอาใจชาวบ้าน-เกษตรกร ไม่ต้องเอาใจท่าน
  • จึงยึดเป็นแนวทางในการทำงานตั้งแต่นั้นมา
  • ขอบคุณครับ

P

 

  • สวัสดีครับ คุณพิทักษ์
  • สโลแกนนี้น่าสนใจมากนะครับ
  • ร่วมด้วยช่วยหันนะครับ

 

P  

 

  • สวัสดีครับ ท่าน ผอ.ประจักษ์~natadee
  • กราบขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงครับ ที่ให้กำลังใจ
  • ผมก็เรียนรู้จากบล็อกของท่าน ผอ.ประจักษ์ไม่น้อยเช่นกันนะครับ
  • หากไปสุพรรณเมื่อไร จะแวะไปคาราวะท่านผู้อาวุโสนะครับ

 

P

  • สวัสดีครับท่าน เกษตร(อยู่)จังหวัด
  • อิอิ...หากสนใจจะพาไปเยือนขั้วโลกหรือเปล่าครับ
  • ขอคิดดูก่อนนะครับ เพราะเป็นคนขี้หนาวครับ  555
  • ขอบคุณครับ

 

P

  • สวัสดีครับท่านพี่ไมตรี เกษตรยะลา
  • ผู้อาวุโส ยกย่องมากไปแล้ว
  • อิอิ
  • สวัสดีครับ
  • มีโอกาสเยี่ยมกันได้ก็กลางคืนนี้แหละครับ

สวัสดีครับ

  • วิญญาน นักส่งเสริม พร้อมเสมอ...
  • เมื่อประมาณ 10 กว่าปีก่อน (ตอนที่ผมอยู่ที่ศูนย์ป้องกันกำจัดตั๊กแตนและศัตรูพืชพิเศษ จ.ลพบุรี) พี่อาทิตย์ เกลี้ยงกลม บอกว่า พี่เขาไม่ได้สูบบุหรี่หรอก แต่เขาจะพกไฟแช็ก ตลอด เพราะบางครั้งเข้าไปในพื้นที่ เกษตรกรขอไฟแช็กจุดบุหรี่ เคยเจอมาบ่อย
  • ยิ่งเป็นคนที่ มีคนรู้จัก กว้างขวางด้วยแล้ว..

  

  • ไม่ได้มาทักทายกันนานเลย เด็กๆและน้องสาวสบายดีนะคะ
  • ชื่นชมมากๆ กับการทำงานด้วยใจ..ที่ไม่ได้หวังเพียงที่ผลงานเพื่อนำเสนอค่ะ
  • สงสัยอยู่นานแล้วว่า การปลูกพืชโดยใช้พลาสติกคลุมนั้น เป็นการใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง หรือ ใช้ได้หลายครั้ง
  • แล้วถ้าทิ้ง เกษตรกรจัดการอย่างไร  ทำให้มีภาระกับการจัดการขยะประเภทนี้ตามมาหรือไม่
  • บางทีเวลาเดินทาง มักจะเห็นแปลงที่มีพลาสติกคลุมแบบนี้อยู่มากทีเดียว  โดยเฉพาะบางแห่งที่บุกเบิกป่าบนภูเขาเป็นลูกๆ
  • อดมีคำถามไม่ได้ค่ะ
  • หวัดดีค่ะพี่
  • สบายดีนะค่ะ
  • แวะมาทักทายค่ะ
  • สวัสดีครับพี่ ชาญวิทย์-นครศรีฯ
  • ยุคนี้คงไม่มีโอกาสได้เจอกันเลยนะครับ
  • แต่เจอกันทางบล็อกก็ยังดี
  • อิอิ..
  • สบายดีนะครับ
  • สวัสดีครับพี่ชัยพร หนุ่ม ร้อยเกาะ
  • กรณีของพี่อาทิตย์ เป็นอะไรๆ  ที่หลายคนไม่ให้ความสำคัญ
  • แต่เป็นมุมคิดที่สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่จริงๆ
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับครูอึ่ง dd_L
  • ครอบครัวผมทุกคนสบายดีครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • พลาสติกคลุมแปลงนั้นเป็นการลงทุนที่สูง
  • จึงนิยมในพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง และอายุยืนยาวกว่าพืชผักธรรมดา จึงจะคุ้มทุน หรือใช้หลายครั้ง(แต่อาจจะมีข้อจำกัดในการใช้บ้าง)
  • เท่าที่ผมเคยเห็นที่กำแพงเพชรใช้ในการปลูกพริก เกษตรกรใช้ได้ถึง 2 ปี
  • และเท่าที่ทราบข้อมูล   พลาสติกนี้จะย่อยสลายได้ง่ายกว่าพลาสติกทั่วๆ ไปครับ

 

  • สวัสดีครับ อ. สาวสวยมวยไทย
  • นามแฝงของอาจารย์เก๋มากๆ เลยครับ
  • ยินดีที่ได้ ลปรร.
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • สวัสดีครับน้อง อ้อยควั้น
  • สบายดีนะครับ
  • งานยุ่งไหมครับช่วงนี้
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน

ท่านใดที่สนใจการปลูกพริกส่งต่างประเทศ ราคาประกันขั้นต่ำ ที่ 30 บาท ขอให้เเจ้งรายละเอียดโดยด่วน เพราะช่วงนี้เป็นชุดสุดท้ายของรอบปีนี้ ด้วยจำนวนพื้นที่ คงหลือ เพียง 200 ไร่ ที่จะอนุญาติให้ปลูกในปีนี้

ขอเน้นย้ำนะครับ ท่านใดสนใจโปรดกรุณาทิ้งเมล์เบอร์โทรไว้ ถ้าไม่สนใจก็ไม่ต้องเเสดงความคิดเห็นในเเง่ลบนะครับ เพราะว่ามันจะบ่งบอกถึงความไร้ความคิดของท่าน

ท่านใดที่สนใจจริงก็ติดต่อกลับมาทางด้านล่างนี้นะครับ

ขอบพระคุณครับ

ท่านใดสนใจก็ให้ติดต่อมาด่วน

ว่าที่ร้อยตรี สราวุธ (โจ้)

081-1619935

086-3937829

[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท