สัมมนาเกษตรต้นแบบจังหวัดกำแพงเพชร ( 2 )


มีการลุ้นด้วยว่าดินในแปลงนาของตนเองจะมีธาตุอาหารมากน้อยแค่ไหน

    ต่อจากบันทึกนี้ สัมมนาเกษตรต้นแบบจังหวัดกำแพงเพชร (25 มีนาคม  2552)

          หลังจากช่วงเข้าที่การสัมมนาเกษตรกรต้นแบบ (ครูติดแผ่นดินข้าว) ของจังหวัดกำแพงเพชร ทั้ง 9 คน   ได้ร่วมกับจัดเก็บข้อมูลครูติดแผ่นดินข้าว และบันทึกเคล็ดวิชาของแต่ละคน พร้อมทั้งได้บันทึกภาพกันเรียบร้อยแล้วในช่วงเช้า


ภาพบรรยากาศช่วงเช้า

         ช่วงบ่าย  เป็นของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ของครูติดแผ่นดินข้าวทั้ง 9 คน จาก 9 อำเภอ และนักส่งเสริมการเกษตรทั้งในระดับอำเภอและจังหวัด  ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความอบอุ่น  มีการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน  หลายคนต่างเล่าถึงองค์ความรู้และประสบการณ์ในความสำเร็จในการปลูกข้าวของตนเอง


ครูติดแผ่นดินข้าวของจังหวัดกำแพงเพชร


ครูติดแผ่นดินข้าวของจังหวัดกำแพงเพชร(2)

          บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปลูกข้าวของครูในแต่ละอำเภอ ในช่วงบ่าย หากมีเวลามากว่านี้  ซักหนึ่งวันอาจจะไม่พอเสียด้วยซ้ำ


แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของครูติดแผ่นดินข้าว

         กิจกรรมสุดท้ายก็คือการฝึกตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินอย่างง่าย  ซึ่งได้รับความสนใจจากนักส่งเสริม ฯ และครูติดแผ่นดินข้าวเป็นอย่างดียิ่ง  มีการลุ้นด้วยว่าดินในแปลงนาของตนเองจะมีธาตุอาหารมากน้อยแค่ไหน

          ในการจัดสัมมนาเกษตรกรต้นแบบ  เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันของเจ้าหน้าที่ และครูติดแผ่นดินข้าวครั้งนี้  จะสำเร็จลุล่วงไปไม่ได้  หากไม่ได้รับความร่วมมือจากนักส่งเสริมจากหลายส่วนมาช่วยกันทั้ง

  • คุณเสนาะ  ทนันชัย  นักวิชาการฯ ที่มาร่วมชี้แจงทำความเข้าใจและเป็นคุณบันเทิงบ้างในบางโอกาส
  • คุณสายัณห์  ปิกวงค์ นักวิชาการจากฝ่ายยุทธศาสตร์  ที่มาหน้าที่เป็นคุณอำนวยให้ครูคชติดแผ่นดินได้บันทึกองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
  • คุณดรรชนี  เมธเศรษฐ  นักวิชาการจากกลุ่มคน  ที่มาเตรียมพร้อมเพื่อแนะนำการใช้เครื่อ GPS
  • นักส่งเสริมฯ ที่มาบรรจุใหม่อีก 3 คน  ที่มาช่วยเก็บภาพ  และทำหน้าที่เป็นคุณลิขิต  และช่วยในขั้นตอนต่างๆ รวมไปถึงการตรวจวิเคราะห์ดิน ด้วย

       การสัมมนาในครั้งนี้  ผู้ที่มาร่วมสัมมนาทั้งจากเกษตรกรและนักส่งเสริมในระดับอำเภอ  ต่างก็สะท้อนว่าได้เรียนรู้  ได้ความรู้ใหม่ๆ มากจากการสัมมนา  มาเพียง 1 วัน ได้อะไรกลับไปพัฒนา-ทำงานอีกเยอะ

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.

วีรยุทะ  สมป่าสัก

 

หมายเลขบันทึก: 251123เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2009 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ดีจังที่เรื่องครูติดแผ่นดินยังอยู่ในใจคนทำงานระดับอำเภอ จังหวัด หลายๆที่
  • เห็นด้วยจริงๆ กับเรื่องครูติดแผ่นดิน และการลดต้นทุนการผลิต ปุ๋ยสั่งตัด ฯลฯ
  • ทำเรื่องนี้ให้เป็นองค์ความรู้ที่จำเป็นในการปฎิบัติงานก็ได้
  • แต่ทำไมหลายคนไม่ยอมเข้าใจ ฮึ
  • บ่น...จริงก็อยากจะมองโลกในแง่ดีนั้นแหละค่ะ
  • แต่เวลา เจอว่าอะไรที่กรม ฯ คิด มันเป็นเรื่องที่ทำให้จบๆ ไป แล้วค่อยมาบ่นว่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ แล้วรู้สึกแย่จัง
  • บางคนเขาคงคิดว่าถ้าทำตามที่กรม สั่ง ใช้วิธีที่กรม ฝึกให้ ...ไม่เก่ง มั้งเนาะ...
  • สวัสดีค่ะ
  • ครูติดแผ่นดินข้าวแต่ละคน มาดเหมือนนักวิชาการเลยค่ะ
  • น้อง evergreen
  • เป็นการแลกเปลี่ยนนะครับ
  • ยินดีมากๆ ที่มาแลกเปลียน 
  • ไม่คิดว่าเป็นการบ่น
  • อิอิ...
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับคุณ มุ่ยฮวง
  • หากต่อเวลาได้น่าจะมืดเลยนะครับเมื่อวาน
  • แต่ละคนเก่งๆ กันทั้งนั้น
  • ขอบคุณครับที่แวะมาเยียมเยียน
  • สวัสดีครับพี่
  • "มาช้า" ยังดีกว่า "ไม่มา"
  • เห็นบรรยากาศที่อบอุ่นแล้ว สร้าง "พลัง" ให้ผมได้เยอะเลยครับ
  • เหมือนกับตอนที่ไปบางบ่อ สมุทรปราการ "ผมจดไม่ทัน" ครับ( ฮา)
  • คนที่รู้เรื่องข้าว เข้าใจเรื่องข้าวที่ดีที่สุด อยู่ใน "ทุ่งนา" ครับ ไม่ใช่คนที่อยู่บน "ตึก" ... อิอิ
  • ขอบคุณมากครับ 
  • น้อง วิศรุต
  • ในเวทีแลกเปลี่ยน น้องๆ เขาก็จดไม่ทันเหมือนกันครับ
  • ความรู้จากเรื่องเล่ามากมายเหลือเกิน
  • ก็เลยได้บทเรียนว่าต่อไปว่าจะต้องอัดเสียงหรือถ่ายวีดีโอไว้
  • ใช่เลยน้องแก้ว..คนไม่ปลูกข้าวจะเก่งกว่าคนปลูกข้าวไปได้อย่างไร
  • อิอิ...
  • ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจ

สัมมนา ไปมาเหมือนกันครับ ได้รับความรู้ไปเต็มอิ่มเลย อาจารย์สอนสนุกมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท