ไปดูชาวนาเขาลดต้นทุนการทำ "นาแปง" โดยไม่ไถ-ไม่หว่าน


          ในพื้นที่การทำนาของจังหวัดกำแพงเพชร  มีส่วนที่อยู่ในเขตชลประทานมากเกินกว่า 5 แสนไร่  และพื้นที่เหล่านี้ชาวนาก็จะทำนากันตลอดปี  ไม่มีการว่างเว้น  ประละอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี  บางราย  5 ครั้งในรอบ 2 ปี  หรือสูงถึง  3 ครั้งต่อปีก็มี

          ในการทำนาโดยที่ไม่มีการพักดินเลยเช่นนี้  เป็นเรื่องที่เห็นกันบ่อยมาก และน่าจะเป็นเรื่องธรรมดาที่เห็นเกษตรกรในเขตชลประทานจะเร่งทุกอย่างเพื่อให้ทันต่อการทำนาในรอบต่อไป  ไม่ว่าจะเป็นการ

  • เผาตอซังและฟางข้าว เพื่อให้สะดวกในการไถ

  • ไม่หมักฟาง หรือปล่อยให้ฟางได้ย่อยสลายเป็นอินทรียวัตถุกลับลงคืนสู่แปลงนา  แม้จะรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ดีเพียงใด

  • ไม่ต้องให้ดินได้พักตัว  เกี่ยว-เผาฟาง-ไถ และหว่านกันทันที

  • ใช้ปุ๋ยเคมีและสารพัดยาที่คิดว่าช่วยให้เข้าโตไว  ไม่มีแมลงมารบกวน

  • ฯลฯ

          เคยถามชาวนาในหลายๆ อำเภอ  และก็ได้คำตอบที่ไม่แตกต่างกันที่ว่า

  • ไม่เร่งทำนาครั้งต่อไปไม่ได้ เพราะหนี้สินมันมาก  ต้องหมุนให้มีรายได้ให้พอใช้จ่ายด้วย

  • ไม่เผาฟางทำให้ไถยาก - รถปั่น(ไถแบบจอบหมุน)ไม่ยอมไถให้

  • เห็นเพื่อบ้านเขาทำก็ต้องทำตามเดี๋ยวจะไม่ทันกัน

  • หรือไม่ก็บอกว่าบางอย่างที่ทำก็เพราะเคยทำแล้วได้ผล

  • ฯลฯ

        ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนและเรียนรู้กับเกษตรกรต้นแบบในการทำนาหลายๆ  ท่าน  ได้เห็นการประยุกต์ และนำเอาวิธีการและองค์ความรู้ทั้งเก่าและใหม่ไปปรับใช้ และขยายผลแบ่งปันกับเพื่อชาวนาด้วยกันในหลายๆ พื้นที่ 

         "นาแปง"  หลายท่านอาจสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่   ที่จริงแล้วมันก็คือการทำนาครั้งที่ 3 ของชาวนานั่นเองครับ  การทำนาหากนับกันก็จะมี 2 ฤดู คือ "นาปี"  และ "นาปรัง"  แต่ครั้งที่ 3 ชาวนาเลยเรียกกันเล่นๆ ว่า "นาแปง"...อิอิ

           บันทึกนี้จึงจะขอนำผลของการนำเอาวิธีการทำนาของชาวนาภาคกลางที่ใช้แล้วได้ผล ก็คือ "การทำนาแบบล้มตอซัง" มาใช้ในการทำนาครั้งที่ 3 เพื่อลดระยะเวลาของการทำนาลง  ที่ชาวนาในเขตภาคกลางได้ทำและได้ผลกันมานานแล้ว  หลายท่านอาจเคยได้ทราบมาบ้างแล้ว  แต่ที่กำแพงเพชรยังไม่แพร่หลายครับ

          แปลงที่ผมได้ไปเยี่ยมเยียนนี้ เป็นเกษตรกรชาวนาของตำบลวังบัว  อำเภอคลองขลุง  จังหวัดกำแพงเพชร  ได้นำการทำนาแบบล้มตอซังมาลองปฏิบัติเพื่อให้ต้นทุนการปลูกข้าวที่ต่ำลง  และสามารถทำนาติดต่อกันได้ 3 ครั้งในรอบปี   โดยที่มีเป้าหมายหลักๆ นั้นอยู่ที่การลดระยะเวลาในการทำนาลงจากเดิมประมาณ 1 เดือน (เป็นข้อมูลที่ได้จากการสอบถามจากเกษตรกร ที่เคยทำ และเวลาก็รวมถึงเวลาที่ต้องเสียไปจากการเตรียมดิน ฯ)

 

        โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ครับ

  • เริ่มด้วยการย่ำตอซังและฟางข้าวด้วยเครื่อมือทำเองด้านล่างนี้  หลังจากที่เกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว 


เครื่องมือที่ประดิษฐ์เอง ไม่รู้เหมือนกันว่าเรียกว่าอะไร

 

  • เมื่อข้าวแทงต้นใหม่ออกมาก็ปล่อยน้ำเข้านาพร้อมๆ กับใส่น้ำหมักจากหน่อกล้วยเพื่อช่วยย่อยสลายฟาง

  • จากนั้นก็รอ...ดูแลตามปกติ


ไม่หว่านก็มีต้นข้าวไม่ต่างจากที่หว่าน

 


รากข้าว

 


ผลของการไม่ไถ-ไม่หว่านครับ.....รอเกี่ยว

 

 
นี่เป็นภาพอีกแปลงหนึ่งครับในหมู่เดียวกันที่ทำนาแบบไม่ไถ-ไม่หว่าน

 

          ผลพลอยได้จาการทำนาแบบล้มตอซัง  นอกจากจะลดเวลาการปลูกข้าวลง ยังมีผลดีตามมาอีกหลายประการ เช่น

  • เป็นการทำนาแบบไม่เผาฟาง  ที่เรากำลังรณรงค์กันอยู่ในขณะนี้

  • เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน

  • คืนธาตุอาหารที่อยู่ในฟางข้าวให้กลับคืนสู่แปลงนา

  • ลดต้นทุนการปลูกข้าวลงได้เพราะ

       - ไม่ไถ   ประหยัดค่าไถลงได้ประมาณไร่ละ 220 บาท

       - ไม่หว่าน  ลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวลงได้ประมาณไร่ละ 400 บาท (ไร่ละ 20 กก.)

       - ลดค่าสารเคมีคุมหญ้าและค่าแรงลงประมาณ ไร่ละ 120 บาท

  • ชาวนาสบายขึ้นครับ  เพราะออกแรงทำนาและดูแลจัดการต่างๆ น้อยลงนั่นเอง

  • ฯลฯ

 

         นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการทำนาแบบล้มตอซัง  ที่ช่วยลดต้นทุน  ลดระยะเวลาในการดูแลรักษาของชาวนาลง   ผมได้ใช้ตัวอย่างนี้ไปแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรใจจังหวัดกำแพงเพชรนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 พันคน ในการนำเสนอแนวทางสู่เกษตรอินทรีย์ที่ อบจ.กำแพงเพชรเป็นแม่งานในช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ก็เป็นการให้ได้เห็นตัวอย่างที่ทำได้ ว่าบางเรื่องใกล้ตัว ทำง่ายและทำได้ ไม่ควรติดอยู่กับความรู้เดิม และความคุ้นชิน  ฯลฯ

         การเป็นนักส่งเสริมการเกษตรเราคงไม่สามารถห้ามไม่ให้เกษตรกรทำนาติดต่อกัน หรือสั่งให้เขาต้องไม่เผาฟางข้าวได้ และอื่นๆ อีกมากไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ควรทำมากเพียงใดก็ตาม     สิ่งที่ทำได้และควรทำก็คือการให้ข้อมูล   ให้เหตุและผล   ความจำเป็น  แล้วให้เขาได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูล  เพื่อนำไปไตร่ตรอง  ชั่งน้ำหนัก  ลองทำและนำไปปรับใช้เอาเอง

         เป็นบันทึกตัวอย่างหนึ่งจากการไปดูชาวนาเขาลดต้นทุนการทำ "นาแปง" โดยไม่ไถ-ไม่หว่าน ครับ

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

สิงห์ป่าสัก  9 ตุลาคม  2552

หมายเลขบันทึก: 304428เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2009 07:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • นาแปง..แปลกดีครับ
  • เข้าใจตั้งชื่อ..^^

ดีจังค่ะ

จะได้ไม่ต้องเผาฟางข้าว....ช่วยลดโลกร้อนด้วย

ขอบคุณค่ะ

ได้รับหนังสือแล้วครับ  พลิกอ่านแต่ละหน้า "เยี่ยมมาก" เลยครับ

            ขอบคุณมากครับ สำหรับสิ่งที่มีค่ามากสำหรับผม

                 นั่นคือ  "ข้อคิดและประสบการณ์" ในการทำงาน

  • ทำนา เราหวัง คำตอบสุดท้ายคือ ผลผลิตข้าว ที่เหลือ จากต้นทุนที่ลงใป
  • ไม่เสี่ยงกับสารเคมี
  • แต่ความเคยชินของเกษตรกร ยังต้องค่อยๆเปลี่ยนไป 
  • ขอบคุณครับ
  • เป็นความรู้ที่มีประโยชน์มาก
  • ย้ายกลับตจว. ตั้งใจว่าได้เวลา จังหวะเหมาะอยากลองทำนาดูสักหน่อย
  • ลูกชาวนาแต่ทำนาไม่เป็น รู้สึกไม่ค่อยดีเลย
  • ลุงแหวงก็ช่วยลุ้นอยู่ครับ
  • ท่าน เกษตร(อยู่)จังหวัด
  • ช่วงนี้คงไม่มีงานเข้าแล้วนะ
  • สบายดีนะครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • สวัสดียามเช้าครับคุณ ชาดา ~natadee
  • เป็นความคุ้นชินครับ  เกี่ยวแล้วเผา
  • อีกอย่างคือยังไม่รู้ความจริงว่าที่แท้เหมือนการเผาเงินตัวเอง
  • ขอบคุณครับ
  • ท่านรอง small man
  • หนังสือไปถึงเร็วมากเลยนะครับ
  • เป็นประสบการณ์ของคนทำงานในภาคสนามที่บันทึกเพื่อแลกเปลี่ยนกับน้องๆ ที่บรรจุใหม่ครับ
  • ยังพอมีอยากส่งให้อีกหลายๆ ท่านแต่เขาปิดประวัติกันครับ
  • อิอิ..

 

  • สวัสดีครับท่าน อ.หมอ JJ 2009
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจ
  • รูปประจำบล็อกท่านเก๋ไปอีกแบบดีครับ
  • ท่าน หนุ่ม ร้อยเกาะ
  • ต้องให้เกิดวิกฤติครับ คนเราจึงจะกลับมาคิดใหม่
  • ส่วนใหญ่ก็รู้..แต่ไม่ทำ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ อ.Handy
  • น่าจะเป็นข่าวดีนะครับ
  • หาก อ.จะกลับบ้าน/ไป ตจว.
  • จะได้ใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น
  • อาจารย์สบายดีนะครับ

ปัญหาคือบ้านผมไม่มีชลประทาน น้ำไม่มี โดยเฉพาะในฤดูแล้ง

  • สวัสดีครับคนทำงานสนับสนุนบริการสาธารณสุข
  • ลืมไปครับว่าข้อจำกัดของการทำนาล้มตอซังก็คือ 
  • นาต้องสามารถควบคุมน้ำได้
  • ในเขตชลประทาน
  • นาแล้ง/นาน้ำฝนทำลำบากครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • วันนี้ได้ยินคำพูด
  • ที่ชวนนึกถึงการเกิดภูมิปัญญาของผู้คน
  • แล้วแอบเถียงเขาในใจ
  • ดีใจที่แค่แอบเถียง
  • เพราะว่าในที่สุด
  • คนพูดก็ยอมรับเองโดยไม่รู้ตัว
  • ว่าผู้คนระดับนี้
  • มีภูมิพอที่จะแก้ปัญหางาน
  • .........
  • เรื่องเล่าของน้อง
  • ยืนยันว่าที่แอบเถียงแทนนั้น
  • ใช่เลย
  • .........
  • ฝนใหญ่มาเรื่อยๆแล้ว
  • ดูแลสุขภาพเอาไว้นะคะ
  • ขอส่งกำลังใจมาให้
  • ด้วยความห่วงใยค่ะ

P

  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาทักทาย
  • ช่วงนี้อากาศกำลังเปลี่ยน
  • เป็นหวัดกันทั้งบ้านเลยครับ
  • อิอิ

สรุปงานเสวนา ๙ วิธีฟื้นฟูชาติ ตามแนวพระราชนิพนธ์เรื่อง"พระมหาชนก"ที่ผ่านมาครับ

http://gotoknow.org/blog/plays-learns/307280

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท