นิพพาน....เป็นสุขอย่างยิ่ง


อ่านทั้งหมด ที่เวป http://khunsamatha.com/

 นิพพาน....เป็นสุขอย่างยิ่ง

. พระวินัยเล่มที่ ๔


ทรงเปล่งอุทานที่ต้นจิก


             ครั้นครบ ๗ วันแล้ว ทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้อชปาลนิโครธ ไปยังต้นจิก ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้จิกนั้นตลอด ๗ วัน. ได้เกิดเมฆใหญ่ผิดฤดูกาล มีฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาวตลอด ๗ วัน. พญานาคชื่อมุจลินท์มาวงด้วยขนดรอบพระกายของพระผู้มีพระภาค ๗ รอบ เพื่อป้องกันหนาว ร้อน เหลือบ ยุง เป็นต้น.


ทรงเปล่งอุทานปรารภสุข ๔ ประการ คือ
สุขเพราะความสงัด,
สุขเพราะไม่เบียดเบียน,
สุขเพราะปราศจากราคะ ก้าวล่วงกามเสียได้ และประการสุดท้าย
สุขอย่างยอด คือการนำความถือตัวออกเสียได้.


**********************************************************

เล่มที่ ๑๓ ชื่อมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๕ หน้า ๔


พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานว่า


  ลาภมีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง
  พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
  บรรดาหนทางไปสู่พระนิพพาน
  หนทางมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม.


*********************************************************



เรื่องนิพพานเป็นสุขนี้ ในสมัยพุทธกาลก็เคยมีผู้สงสัยมาแล้ว


เล่มที่ ๒๓ ชื่ออังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต  หน้า ๓๘๓

ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า “ดูกร อาวุโสทั้งหลาย
นิพพานนี้เป็นสุข” พอพูดอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า “ดูกรอาวุโสสารีบุตร
นิพพานนี้ไม่มีเวทนาจะเป็นสุขได้อย่างไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ดูกร อาวุโส
นิพพานนี้ไม่มีเวทนานั่นแหละเป็นสุข”

ในหน้า ๓๘๔ กล่าวต่อไปถึงภิกษุเข้าปฐมฌาน แล้วสรุปว่า

“ดูกร อาวุโสนิพพานเป็นสุขอย่างไรท่านจะพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้” แล้วท่านก็ไล่ไต่ไป คือ ทุติยฌาน ตติยฌาน จนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ จบด้วย

“อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธเพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะฌานโดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลายของเธอสิ้นรอบแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกร อาวุโส
นิพพานเป็นสุขอย่างไรท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้”

พึงสังเกตว่า
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่าสุขในฌานก็ถือโดยปริยายได้ว่าคล้ายกับสุขในนิพพาน ข้อนี้แสดงว่าท่านพระสารีบุตรต้องเคยสัมผัสพระนิพพานมาแล้ว จึงอธิบายได้ว่าคล้ายๆ
สุขในฌานนั่นแหละ(เพราะการได้ฌานจะต้องระงับเวทนาทั้งหลายเสียก่อนจึงจะเป็นฌานได้)

เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ท่านได้สัมผัสสุขในนิพพานมาแล้ว คือ
พิสูจน์มาแล้วว่าเป็นสุขจริง ข้อนี้ตรงกับหลักปฏิบัติของพระพุทธเจ้า คือ รู้จริง เห็นจริง
ด้วยพระองค์เองแล้วจึงสอน

หมายเลขบันทึก: 215450เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2008 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท