อริยสัจ ๔ ในฐานะ เป็นสุญญตา


อ่านทั้งหมด ที่เวป http://khunsamatha.com/

อริยสัจ ๔ ในฐานะ เป็นสุญญตา  


--->>    อริยสัจ  ๔  โดยอุปมา




ท่านอุปมาอริยสัจ ๔ ไว้อย่างน่าฟังว่า

ทุกขสัจ  เปรียบเหมือนของหนัก (ภาโร)  
สมุทัย  เหมือนการแบกของหนัก  (ภารนิกเขปน)
นิโรคสัจ  เหมือนการปลงหรือวางของหลักลง (ภารนิกเขปน)
มรรคสัจ  เหมือนอุบายสำหรับวางของหนักลง (ภารนิกฺเขปนุปาโย)



อีกอย่างหนึ่ง  ท่านเปรียบ...

ทุกข์เหมือนโรค  
สมุทัยเหมือนสาเหตุแห่งโรค  
นิโรธเหมือนการหายจากโรค  
มรรคเหมือนยา



อีกอย่างหนึ่ง  

ทุกข์ เปรียบเหมือนสมัยที่อดอยาก (ทุพฺภิกขํ)
สมุทัย เหมือนฝนแล้ง
นิโรธ เหมือนสมัยที่อุดมสมบูรณ์ (สุภิกฺขํ)
มรรค เหมือนสมัยที่ฝนดี ฯลฯ



--->>    อริยสัจ ๔  ในฐานะ  เป็นสุญญตา


ว่าโดยปรมัตถ์  อริยสัจทั้ง ๔  เป็นสุญญตา  คือว่างเปล่า-ว่างเปล่าจากอริยสัจข้ออื่น  
และไม่มีแม้ในตัวของอริยสัจเอง  ดังนั้นจึงกล่าวว่า


ทุกฺขเมว  หิ  น  โกจิ  ทุกฺขิโต
ทุกข์มีอยู่ / แต่ผู้ถึงทุกข์ไม่มี


การโก  น  กิริยาว  วิชฺชติ
การกระทำ  (สมุทัย) มีอยู่ / แต่ผู้ทำไม่มี


อตฺถิ  นิพฺพุติ  น  นิพฺพุโต  ปุมา
ความดับมีอยู่ / แต่ผู้ดับไม่มี


มคฺคมตฺถิ  คมโถ  น  วิชฺชติ
ทางมีอยู่ / แต่ผู้เดินไม่มี
(สังยุตตนิกาย  ขันธวารวรรค  ๑๗ / ๒๘)


ข้อความในท่อนแรกหน้า / นั้นท่านกล่าวอริยสัจโดยสมมติโวหาร  
แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์  คือข้อความท่อนหลัง / นั้นอริยสัจไม่มี  สูญแม้จากตัวเอง  
ทุกอย่างมีแต่ความว่างเปล่า  สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็น  สุญญตาและอนัตตา  


พระพุทธองค์จึงทรงย้ำมิให้ยึดมั่นถือมั่นเมื่อทุกอย่างไม่มีตัวตน  ไม่ใช่ตัวตน  
ใครเล่าจะถึงทุกข์  ใครเล่าจะละสมุทัย    ใครเล่าจะดับทุกข์  
และใครเล่าจะดำเนินให้ถึงความดับทุกข์  
สิ่งที่เป็นเรื่องราวทั้งปวงเป็นเรื่องสมมติขึ้นทั้งสิ้น




****************************************************
ข้อมูลที่ใช้ในการเรียบเรียง  :  สาระสำคัญแห่ง วิสุทธิมรรค

หมายเลขบันทึก: 215471เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2008 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 06:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท