ปฏิจจสมุปบาท อธิบายอย่างไร...?


อ่านทั้งหมด ที่เวป http://khunsamatha.com/

ปฏิจจสมุปบาท อธิบายอย่างไร...? 

ปฏิจจสมุปบาท  

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอิทัปปัจจยตา , ปัจจยาการ(ชื่อหลังส่วนมากใช้ในอรรถกถา)
ทรงแสดงสั้ง ๆ ว่า  "เมื่อสิ่งนี้มี  สิ่งนี้ก็มี  เพราะสิ่งนี้เกิด  สิ่งนี้จึงเกิด  เมื่อสิ่งนี้ไม่มี  สิ่งนี้ก็ไม่มี  เพราะสิ่งนี้ดับ  สิ่งนี้จึงดับ"  
แสดงหัวข้อรายละเอียดเป็น ๑๒ ข้อ  ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว  
และทั้ง ๑๒ ข้อนั้นมิได้หมายความว่า  จะทรงยกมาแสดงครบชุดทุกครั้ง  
บางครั้งก็จับเอา "องค์"  ใดองค์หนึ่งมาตรงกลางแล้ว  ย้อนทวนจนถึงต้นสาย (อวิชชา)  หรือสาวไปจนเจอปลายเหตุ (ชรามรณะ)  ก็มี  
ส่วนมากในแง่ปฏิบัติมักทรงเริ่มต้นที่ "ผัสสะ"  เพราะผัสสะเป็นประตูเปิดรับรู้โลกภายนอก



สำหรับสูตรแรกที่เอ่ยถึงปฏิจจสมุปบาท  คือมหานิทานสูตร  ทีฆนิกาย  
พระไตรปิฎก  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค  ๒. มหานิทานสูตร (๑๕)


พระอานนท์นึกว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ง่าย  พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้คิดเช่นนั้น  
แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง  หยั่งรู้ได้ยากยิ่ง  

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=มหานิทานสูตร&book=9&bookZ=33

การอธิบายปฏิจจสมุปบาท  ไม่ควรจับแนวใดแนวหนึ่ง
เพราะมีทั้งอธิบายแบบ  "ข้ามภพข้ามชาติ"  และแบบ  "ชั่วขณะจิตเดียว"

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค



ให้คำจำกัดความว่า  "ชาติ"  "ภพ"  โดยไม่ต้องตีความ  ดังนี้


ชาติ        --->>    หมายถึง  เกิดเป็นเทพ  เป็นคนธรรพ์  เป็นยักษ์  เป็นสัตว์สี่เท้า  เป็นสัตสว์ปีก  เป็นสัตว์เลื้อคลาน


ภพ         --->>    หมายถึง  กามภพ  รูปภพ  อรูปภพ  ส่วนใน  วิภังคสูตร นี้  ให้จำกัดความไว้ครบชุด  ขอยกมาดังนี้


ชรา       --->>    คือ  ความแก่  ภาวะความแก่  ฟันหลุด  ผมหงอก  หนังเป็นเกลียว  ความเสื่อมอายุความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์  ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ


มรณะ      --->>    คือ  คลาดเคลื่อน  ภาวะคลาดเคลื่อน  ความทำลาย  ความอันตรธาน  ความตาย  กาลกริยา  ความแตกแห่งขันธ์  ความทอดทิ้งซากศพ  ความขาดแห่งชีวิตอินทรีย์  จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ


ชาติ        --->>    คือ  ความเกิด  ความบังเกิด  ความหยั่งลงเกิด  เกิดจำเพาะ  ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย  ความได้อายตนะครบถ้วนในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ (โปรดดูที่อื่นอีก  คือ  มหาสติปัฏฐานสูตร  เล่ม ๑๐  ข้อ ๑๙๔  ด้วย)


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖  บรรทัดที่ ๓๓ - ๘๗.  หน้าที่  ๒ - ๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=33&Z=87&pagebreak=0


ในพระไตรปิฎกเล่ม  ๑๖  ข้อ  ๑๔๖  ข้อ ๒๑๖  ข้อ  ๑๐๗  ,เล่ม ๑๗  ข้อ  ๑๗  มีข้อความส่อให้เห็นว่าปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องของปัจจุบัน


ดังนั้น  การที่เราจะถือว่า  ปฏิจจสมุปบาทควรอธิบายอย่างไร  อธิบายในแบบ "ข้ามภพข้ามชาติ"  หรือแบบ  "ชั่วขณะจิตเดียว"  จึงจะถูกนั้น  เราไม่ควรยึดถืออย่างนั้น  


สำหรับใครก็ตามที่กล่าวตู่ท่านผู้รู้ทั้งในอดีตและในปัจจุบันที่อธิบายปฏิจจสมุปบาทแบบ   "ข้ามภพข้ามชาติ"  ว่าสอนผิดจากพุทธปะสงค์นั้นสมควรที่เราจะแก้ความเข้าใจผิดของเราเองต่างหาก    


และถ้าเราจะยึดการอธิบายแบบ  "ชั่วขณะจิตเดียว"  ว่าถูกต้องแนวเดียวเท่านั้นแล้ว...ก็ไม่ควรประมาทในเรื่องชีวิตหลังตายด้วยว่ายังต้องเกิดอีกเป็นแน่  แต่การเกิดอีกโดยกล่าวธรรมเข้าข้างความคิดของตนว่าถูกฝ่ายเดียวนั้น  จะเป็นการให้ร้ายบัณฑิตและพระภิกษุทั้งหลายหรือไม่...?  


แท้จริงบแล้วปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่ลึกซึ้ง  หยั่งรู้ได้ยากยิ่ง  สมดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสห้ามพระอานนท์ผู้ยังไม่บรรลุอรหันตผลว่า  อย่าเข้าใจไปว่าปฏิจจสมุปบาทนี้เข้าใจง่าย  สมควรอยู่หรือที่เราผู้ปุถุชนจะหมายเอาว่า  ปฏิจจสมุปบาทเข้าใจง่าย  และเข้าใจไปว่าต้องอธิบายอย่างนี้เท่านั้น  อธิบายอย่างอื่นผิด  


ดังนั้นเป็นอันเข้าใจได้ว่า  ปฏิจจสมุปบาทมีทั้งอธิบายแบบ  "ข้ามภพข้ามชาติ"  และแบบ  "ชั่วขณะจิตเดียว"  ได้ถูกต้องทั้ง ๒ แนว อย่างไม่ต้องสงสัย

 

หมายเลขบันทึก: 215583เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2008 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 09:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พระครูวิบูลย์โพธิวัตร วัดโพธิ์ปฐมาวาส พระอารามหลวง ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา ๙๐๐๐๐


ท่านรวบรวมมาดีมาก มีความพยายามสูงดีมากขอชมเชย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท