ข้อคิดในเรื่องการวิจารณ์วิชชาธรรมกาย


ข้อคิดในเรื่องการวิจารณ์วิชชาธรรมกาย 

เมื่อหลวงพ่อวัดปากน้ำค้นวิชาธรรมกายใหม่ ๆ

ทางคณะสงฆ์ตั้งข้อสังเกต สุดท้ายก็ยอมรับ


    ตามประวัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำ เราจะพบว่า พอคำว่า “ธรรมกาย” เกิดขึ้น ทางการสงฆ์ไทยก็เห็นว่าเป็นเรื่องแปลกอยู่ ต่างก็ค้นหาที่มาที่ไป มีการวิจารณ์กันบ้าง สุดท้ายก็พบที่มาที่ไปของคำว่า “ธรรมกาย” วันเวลาผ่านมาระยะหนึ่ง การยอมรับของสังคม เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป


    ผู้แสวงหาโมกขธรรมเดินทางไปวัดปากน้ำ เพื่อดูข้อเท็จจริง เห็นหลวงพ่อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ฟังหลวงพ่อเทศน์ ข้อข้องใจก็หายไป สุดท้ายก็ศึกษาเล่าเรียน ข้อวิจารณ์ก็เบาลง นี่คือประวัติย่อ


    โดยเหตุที่หลวงพ่อเคร่งวินัยและปฏิบัติกิจของสงฆ์ขาวสะอาดโปร่งโล่งเตียน ใครได้พบได้เห็นก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส ทำให้วิชาธรรมกายเผยแพร่ไปเองโดยไม่ต้องโฆษณา เป็นเรื่องที่แปลกมากทีเดียว การขยายวงของวิชาธรรมกายเป็นไปโดยธรรมชาติ พระสงฆ์ผู้ใหญ่ที่ติดตามการปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อมาตลอด ก็คือ สมเด็จพระวันรัติ (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.ธ.๙) แห่งวัดเบญจมบพิตร (ต่อมาเลื่อนเป็นสมเด็จพระสังฆราช) สุดท้าย พอใจในความรู้วิชาธรรมกายของหลวงพ่อ แล้วเกิดการชอบพอกัน หลวงพ่อก็เลยฝากพระมาเรียนเปรียญธรรมที่วัดเบญจมบพิตร เพื่อจะได้แบบอย่างไปจัดที่วัดปากน้ำ ซึ่งได้แก่ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ. ๙) นั่นเอง


    ต่อมาสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร (สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์) ทรงสนพระทัยในความรู้วิชาธรรมกายที่หลวงพ่อวัดปากน้ำค้นคว้ามาได้ ทรงรับสั่งให้อุบาสิกานวรัตน์ หิรัญรักษ์ (ศิษย์ของหลวงพ่อ) เขียนเนื้อหาถวาย แล้ววิชาธรรมกายหลักสูตรคู่มือสมภารก็เกิดขึ้นในวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ จำนวน ๒๕,๐๐๐ เล่ม โดยคณะศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ จัดพิมพ์ถวาย


    นี่คือประวัติแต่เดิม


    หลักฐานที่เป็นหนังสือ มีให้ค้นคว้าได้ที่วัดปากน้ำ ส่วนประวัติที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระวันรัต วัดเบญจมบพิตร มีเทปคำเทศน์ที่วัดปากน้ำ โปรดติดตามค้นคว้ามาหาศึกษาได้


    สรุปแล้ว ไม่มีใครแสดงความเห็นก้ำเกินวิชาธรรมกาย ความยากอยู่ที่เราเพียรน้อยไป จึงยังไม่เห็นวิชา เพราะเป็นเรื่องปฏิบัติทางใจ เป็นเรื่องของการพัฒนาใจ ไม่ใช่เป็นเปรียญธรรมแล้วจะเข้าถึงได้ โปรดเข้าใจให้ถูกต้องว่า การเรียนบาลีคือ หลักสูตรเปรียญธรรมของพระสงฆ์ เป็นการเรียนภาษาบาลี เพราะคำสอนของพระพุทธองค์เป็นคำบาลี เราเรียนบาลีก็เพื่อจะแปลคำสอนออกเป็นภาษาไทย เป็นการรู้ธรรม แต่ยังไม่ถึงธรรม ยังไม่เห็นธรรม จะให้ถึง จะให้เห็น ก็ต้องพัฒนาใจให้สว่างใสตามคำสอนข้อ ๓ ตามที่หลวงพ่อวัดปากน้ำอธิบายนั้น ความรู้วิชาธรรมกายเป็นหลักสูตรกว้าง มีหลายหลักสูตร เท่าที่หลวงพ่อเขียนเป็นตำราไว้ ข้าพเจ้านำมาขยายความแล้ว ขอเชิญท่านค้นหาได้

 

 อ่านทั้งหมด ที่เวป http://khunsamatha.com/

*****************************************************

ข้อมูลจากหนังสือ ปราบมาร ภาค ๔ โดยคุณลุงการุณย์  บุญมานุช

หมายเลขบันทึก: 215716เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2008 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท