สังสารวัฎ จากพระโอษฐ์


สังสารวัฎ จากพระโอษฐ์ 

สังสารวัฎ


อนมตัคคสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑

๑. ติณกัฏฐสูตร
เล่มที่ ๑๖




[๔๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น
แล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัส
ว่า


ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้อง
ปลายไม่ได้

เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่อง
ประกอบไว้

ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ฯ


[๔๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอน
หญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้

ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า
นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเราโดย
ลำดับ มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด

ส่วนว่า หญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการ
หมดสิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่
สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่
กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่
ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความ
เผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูน ปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอด
กาลนาน เหมือนฉะนั้น


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อ
หน่ายในสังขารทั้งปวง
พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๑

๒. ปฐวีสูตร


[๔๒๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิ-
ณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุ
ทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่อง
เที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ฯ


[๔๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษปั้นมหาปฐพีนี้ให้เป็นก้อน
ก้อนละเท่าเม็ดกระเบาแล้ววางไว้ สมมติว่า นี้เป็นบิดาของเรา นี้เป็นบิดาของ
บิดาของเราโดยลำดับ บิดาของบิดาแห่งบุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด ส่วนมหาปฐพี
นี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุด
เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอได้เสวย
ทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนาน
เหมือนฉะนั้น


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง
พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๒

๓. อัสสุสูตร


[๔๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิ-
ณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ฯลฯ
พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่อง
เที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะ
พลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหน
จะมากกว่ากัน ฯ

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ย่อมทราบธรรม
ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกข้า
พระองค์ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะการประสบสิ่งที่ไม่พอ
ใจ เพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า ส่วน
น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ฯ


[๔๒๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดง
แล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา
ฯลฯ โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่า
เลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของมารดาตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหล
ออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่
เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจนั่นแหละ
มากกว่า

ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของ
บิดา ... ของพี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว ... ของบุตร ... ของธิดา ...
ความเสื่อมแห่งญาติ ... ความเสื่อมแห่งโภคะ ... ได้ประสบความเสื่อมเพราะ
โรค ตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบความ
เสื่อมเพราะโรค คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะ
พลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่
มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้อง
ปลายไม่ได้ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้ง
ปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๓

๔. ขีรสูตร


[๔๒๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิ-
ณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุด
เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ฯลฯ เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำ
นมมารดาที่พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนานนี้ ดื่ม
แล้ว กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไหนจะมากกว่ากัน ฯ

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ย่อมทราบ
ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว น้ำนมมารดาที่พวกข้าพระองค์ ผู้
ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนาน ดื่มแล้วนั่นแหละ
มากกว่า น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ฯ


[๔๒๘] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดง
แล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำนมมารดาที่พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาล
นาน ดื่มแล้วนั่นแหละ มากกว่า น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ
พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๔

๕. ปัพพตสูตร

[๔๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิ-
ณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้า พระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ฯลฯ เมื่อภิกษุรูปนั้นนั่งเรียบร้อย
แล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอแล

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัป นั้นว่า
เท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ฯ

ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า ฯ


[๔๓๐] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า

ดูกรภิกษุ เหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูง
โยชน์หนึ่ง ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้ว
ปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไปสิ้นไป
เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป
กัปนานอย่างนี้แล

บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป
มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุด
เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้ง
ปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๕

หมายเลขบันทึก: 215755เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2008 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2012 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

๖. สาสปสูตร

[๔๓๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิ-

ณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า พระผู้มี

พระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นภิกษุนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มี

พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอแล ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า

เท่านี้ปี ฯลฯ หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ฯ

ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า ฯ

[๔๓๒] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุ เหมือนอย่าง

ว่า นครที่ทำด้วยเหล็กยาวโยชน์ ๑ กว้างโยชน์ ๑ สูงโยชน์ ๑ เต็มด้วยเมล็ด

พันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ด

พันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่ง ๆ ออกจากนครนั้นโดยล่วงไปหนึ่งร้อยปีต่อเมล็ด

เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึงความสิ้นไป หมดไป เพราะความ

พยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล

ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไป หมดไป กัปนานอย่างนี้แล

บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป

มิใช่ พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุด

เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๖

๗. สาวกสูตร

[๔๓๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิ-

ณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้า พระผู้

มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไป

แล้ว มากเท่าไรหนอ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไป

แล้ว มีมาก มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้

๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป ฯ

ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า ฯ

[๔๓๔] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุทั้งหลาย แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุทั้ง

หลาย มีสาวก ๔ รูปในศาสนานี้ เป็นผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิต ๑๐๐ ปี หากว่า

ท่านเหล่านั้นพึงระลึกถอยหลังไปได้วันละแสนกัป กัปที่ท่านเหล่านั้นระลึก

ไม่ถึงพึงยังมีอยู่อีก สาวก ๔ รูปของเราผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิต ๑๐๐ ปี พึง

ทำกาละโดยล่วงไป ๑๐๐ ปี ๆ โดยแท้แล กัปที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มี

จำนวนมากอย่างนี้แล

มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ร้อยกัป เท่านี้พันกัป หรือว่าเท่า

นี้แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้อง

ปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๗

๘. คงคาสูตร

[๔๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันกลันทกนิวา-

ปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอ

ให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพราหมณ์นั้นนั่งเรียบ

ร้อย แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ กัปที่ผ่านไป

แล้ว ล่วงไปแล้ว มากเท่าไรหนอแลฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว

มากแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้

๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป ฯ พราหมณ์.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม ฯ

[๔๓๖] พ. อาจอุปมาได้ พราหมณ์ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูกรพราหมณ์ แม่น้ำ

คงคานี้ย่อมเกิดแต่ที่ใด และย่อมถึงมหาสมุทร ณ ที่ใด เมล็ดทรายในระยะนี้

ไม่เป็นของง่ายที่จะกำหนดได้ว่า เท่านี้เมล็ด เท่านี้ ๑๐๐ เมล็ด เท่านี้

๑,๐๐๐ เมล็ด หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เมล็ด ดูกรพราหมณ์ กัปทั้งหลายที่

ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากกว่าเมล็ดทรายเหล่านั้น มิใช่ง่ายที่จะนับกัป

เหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัปหรือว่าเท่านี้

๑๐๐,๐๐๐ กัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น

เบื้องปลายไม่ได้

เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่อง

เที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้

เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็น

ป่าช้าตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น

ดูกรพราหมณ์ ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง

พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

[๔๓๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว

พราหมณ์ผู้นั้นได้กราบทูลว่า แจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านพระโคดม แจ่มแจ้งยิ่งนัก

ท่านพระโคดม

ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะจนตลอด

ชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๘

๙. ทัณฑสูตร

[๔๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิ-

ณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่อง

เที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ

[๔๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่อนไม้ที่บุคคลโยนขึ้นบนอากาศ บางคราวก็

ตกลงทางโคน บางคราวก็ตกลงทางขวาง บางคราวก็ตกลงทางปลาย แม้ฉัน

ใด สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่อง

เที่ยวไปมาอยู่ ก็ฉันนั้นแล บางคราวก็จากโลกนี้ไปสู่ปรโลก บางคราวก็จาก

ปรโลกมาสู่โลกนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น

เบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๙

๑๐. ปุคคลสูตร

[๔๔๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนคร

ราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้ง

หลาย

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฯ

[๔๔๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุด

เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ฯลฯ เมื่อบุคคลหนึ่งท่องเที่ยวไปมาอยู่ตลอดกัป

หนึ่ง พึงมีโครงกระดูก ร่างกระดูก กองกระดูก ใหญ่เท่าภูเขาเวปุลละนี้ ถ้า

กองกระดูกนั้นพึงเป็นของที่จะขนมารวมกันได้ และกระดูกที่ได้สั่งสมไว้

แล้ว ก็ไม่พึงหมดไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้อง

ต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

[๔๔๒] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึง

ตรัสพระคาถาประพันธ์ต่อไปว่า เราผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้กล่าวไว้ดังนี้

ว่า กระดูกของบุคคลคนหนึ่งที่สะสมไว้กัปหนึ่ง พึงเป็นกองเท่าภูเขา ก็ภูเขาที่

เรากล่าวนั้น คือ ภูเขาใหญ่ชื่อเวปุลละ อยู่ทิศเหนือของ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้

เมืองราชคฤห์ อันมีภูเขาล้อมรอบ เมื่อใดบุคคลเห็นอริยสัจ คือทุกข์ เหตุเกิด

แห่งทุกข์ ความล่วงพ้นทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ ๘ อันยังสัตว์ให้ถึงความ

สงบทุกข์ด้วยปัญญาอันชอบ เมื่อนั้นเขาท่องเที่ยว ๗ ครั้ง

เป็นอย่างมาก ก็เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสิ้นสัญโญชน์

ทั้งปวง ดังนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๑๐ จบปฐมวรรคที่ ๑

ทุติยวรรคที่ ๒ ทุคคตสูตร

[๔๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้

กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น

มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่

ปรากฏ เธอทั้งหลายเห็นทุคตบุรุษผู้มีมือและเท้าไม่สมประกอบ พึงลง

สันนิษฐานในบุคคลนี้ว่า เราทั้งหลายก็เคยเสวยทุกข์เห็นปานนี้มาแล้วโดย

กาลนานนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้อง

ปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๑

สุขิตสูตร

[๔๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชต

วัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัต

ถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ...

แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้

กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี

อวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่อง

เที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ... เธอทั้ง

หลาย เห็นบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยความ

สุข มีบริวารคอยรับใช้ พึงลงสันนิษฐานในบุคคลนี้ว่า เรา

ทั้งหลายก็เคยเสวยสุขเห็นปานนี้มาแล้วโดยกาลนานนี้ ข้อ

นั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้น

เบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๒

๓ ติงสมัตตาสูตร

[๔๔๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขต

พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ภิกษุชาวเมืองปาวาประมาณ ๓๐ รูป ทั้งหมด

ล้วนแต่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็น

วัตร ถือทรงผ้าไตรจีวรเป็นวัตร แต่ทั้งหมดล้วนยังเป็นผู้มีสังโยชน์อยู่ เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

[๔๔๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่า ภิกษุชาวเมืองปาวา

ประมาณ ๓๐ รูปเหล่านี้แล ทั้งหมดล้วนถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยว

บิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร ทั้งหมด

ล้วนยังมีสังโยชน์ ถ้ากระไรหนอ เราพึงแสดงธรรมโดยประการที่ภิกษุเหล่า

นี้ จะพึงมีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ณ อาสนะนี้ทีเดียว ลำดับ

นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฯ

[๔๔๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่า

สัตว์ผู้ยังมีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ

ไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวก

เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โลหิตที่หลั่งไหลออก

ของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา ซึ่งถูกตัดศีรษะโดยกาลนาน

นี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะมากกว่ากัน

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อม

ทราบธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า โลหิตที่หลั่งไหลออกของ

พวกข้าพระองค์ผู้ท่องเที่ยวไปมา ซึ่งถูกตัดศีรษะโดยกาลนานนี้

แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ดังนี้ฯ

[๔๔๘] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดง

แล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว โลหิตที่หลั่งไหลออกของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา ซึ่ง

ถูกตัดศีรษะโดยกาลนานนี้ นี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่

มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นโค ซึ่งถูกตัดศีรษะตลอดกาลนาน

โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่

มากกว่าเลย

เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นกระบือ ซึ่งถูกตัดศีรษะตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่ง

ไหลออกนั่นแหละมากกว่า ... เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นแกะ ... เกิดเป็น

แพะ ... เกิดเป็นเนื้อ ... เกิดเป็นสุกร ... เกิดเป็นไก่ ...

เมื่อพวกเธอถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่า เป็นโจรฆ่าชาวบ้านตลอดกาลนาน

โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า ... ถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่าเป็น

โจรคิดปล้น ... ถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่าเป็นโจรประพฤติผิดในภรรยา

ของผู้อื่น ตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า น้ำใน

มหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่

ได้ ... พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

[๔๔๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างพอใจชื่นชม

ภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิต

ของภิกษุชาวเมืองปาวาประมาณ ๓๐ รูป พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ฯ

จบสูตรที่ ๓

๔ มาตุสูตร

[๔๕๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิ-

ณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น

เบื้องปลายไม่ได้ฯลฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นมารดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย

เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่

ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๔

[สูตรทั้งปวงก็มีเปยยาลอย่างเดียวกันนี้]

๕ ปิตุสูตร

[๔๕๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิ-

ณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น

เบื้องปลายไม่ได้ฯลฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นบิดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย

ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๕

๖ ภาตุสูตร

[๔๕๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิ-

ณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น

เบื้องปลายไม่ได้ฯลฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นพี่ชายน้องชายโดยกาลนานนี้ มิใช่หา

ได้ง่ายเลย ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๖

๗ ภคินีสูตร

[๔๕๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิ-

ณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น

เบื้องปลายไม่ได้ฯลฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นพี่หญิงน้องหญิงโดยกาลนานนี้ มิใช่

หาได้ง่ายเลย ดังนี้ฯ

จบสูตรที่ ๗

๘ ปุตตสูตร

[๔๕๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิ-

ณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น

เบื้องปลายไม่ได้ฯลฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นบุตรโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย

เลย ดังนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๘

เล่มที่ ๒๑

[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสงไขยแห่งกัป ๔ ประการนี้

๔ ประการ เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อใด สังวัฏกัปตั้งอยู่

เมื่อนั้น ใครๆ ก็ไม่อาจ นับได้ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อใด สังวัฏฏัฏฐายีกัปตั้งอยู่

เมื่อนั้น ใคร ๆ ก็ไม่อาจนับได้ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อใด วิวัฏกัปตั้งอยู่

เมื่อนั้น ใครๆ ไม่อาจนับได้ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อใด วิวัฏฏัฏฐายีกัปตั้งอยู่

เมื่อนั้น ใคร ๆ ไม่อาจนับได้ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสงไขยแห่งกัป ๔ ประการนี้แล ฯ

-----------------------------------------------------------------------------

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท