โมฆบุรุษมีความเห็นว่า กรรมไม่มี กริยาไม่มี ความเพียรไม่มี บัณฑิตกล่าวว่าเลวทรามกว่าวาทะของสมณะทุกจำพวก


โมฆบุรุษมีความเห็นว่า กรรมไม่มี กริยาไม่มี ความเพียรไม่มี บัณฑิตกล่าวว่าเลวทรามกว่าวาทะของสมณะทุกจำพวก

เจ้าลัทธิที่มีทรรศนะขัดแย้งกับพระสัมมาสัมพุทธะทั้ง  3  กาล


ข้อความในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา  ได้แสดงไว้ชัดเจนว่า  พระพุทธศาสนามีท่าทีต่อเจ้าลัทธิเหล่านั้นอย่างไรบ้าง   บรรดาเจ้าลัทธิเหล่านั้น  ที่พระพุทธเจ้าตรัสในเชิงตำหนิไว้อย่างชัดเจน  คือ  เจ้าลัทธิมักขลิโคศาล   ดังจะเห็นได้จากข้อความที่ตรัสว่า


“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ผ้าที่ทำด้วยผมคน  เป็นผ้าที่เลว
ทรามกว่าผ้าทุกชนิดในบรรดาผ้าที่ช่างหูกทอขึ้น   เพราะ
ในหน้าหนาวก็เย็นจัด  ในหน้าร้อนก็ร้อนจัด  สีก็ไม่งด
งาม
ทั้งกลิ่นก็เหม็น  อีกสัมผัสก็ไม่สบาย   ข้อนี้ฉันใด  
วาทะของ  เจ้าลัทธิ   มักขลิ   ก็ฉันนั้น  บัณฑิตกล่าวว่า
เลวทรามกว่าวาทะของสมณะทุกจำพวก  เจ้าลัทธิชื่อ  
มักขลิ  เป็นโมฆบุรุษ   มีวาทะ   มีความเห็นว่า  กรรมไม่
มี  กริยาไม่มี   ความเพียรไม่มี


(เกสกัมพลสูตร  ติกนิบาตร  อังคุตตรนิกาย)


-->> ข้อที่น่าสังเกตในตอนนี้  เช่น  ความไม่เหมาะสมของผ้าที่ทำด้วยผมคนนั้นมีอยู่หลายด้าน    ทั้งด้านสี  กลิ่น  สัมผัส  และคุณภาพในการใช้   ทรรศนะที่ทรงนำเปรียบเทียบด้วยก็น่าจะไม่เหมาะสมหลายด้านเช่นเดียวกัน   การกล่าวว่าเป็นวาทะที่เลวทรามกว่าวาทะอื่น  ๆ  นั้นทรงอ้างว่าบัณฑิต  ใครก็ตามที่เป็นบัณฑิตย่อมกล่าวตำหนิในลักษณะเดียวกัน   อีกประการหนึ่ง  ข้อความตอนท้ายของพระพุทธพจน์นั้นแสดงไว้ชัดเจนว่า   ทรรศนะของมักขลิโคศาลที่ว่าผิดนั้นมีลักษณะอย่างไร  จึงกำหนดได้ว่า   ลักษณะทรรศนะ  หรือ     ลัทธิปรัชญาที่ผิดนั้น  มีลักษณะปฏิเสธกรรม  ปฏิเสธกิริยาที่จะให้เกิดเป็นกรรม   ทั้งปฏิเสธความเพียรที่เป็นพลังให้เกิดกรรม   เป็นอันว่าปฏิเสธกระบวนการของกรรมตลอดสาย   พระพุทธเจ้าได้ตรัสปรารภเจ้าลัทธิผู้นี้ต่อไปว่า


“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  พระอรหันต์สัมมา
สัมพุทธเจ้า   ที่ได้มีแล้วในอดีต  
เป็นผู้ตรัสยืนยันหลัก
กรรม  ยืนยันกิริยา  ยืนยันความเพียร
พระอรหันต์สัมมา
สัมพุทธเจ้าเหล่านั้น  ก็ถูกโมฆบุรุษคัดค้านว่า  
กรรมไม่
มี  กิริยาไม่มี   ความเพียรไม่มี
  พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธ
เจ้า  ที่จักมีในอนาคตก็จักตรัสยืนยันหลักธรรม   ยืนยัน
กิริยา  ยืนยันความเพียร  ก็ถูกโมฆบุรุษคัดค้านว่า  
กรรมไม่มี   กิริยาไม่มี   ความเพียรไม่มี  
แม้เราผู้เป็นอรหันต์
สัมมาสัมพุทธะในปัจจุบัน
   ก็กล่าวยืนยันหลักกรรม  
ยืนยันกิริยาและยืนยันความเพียร  ก็ถูกโมฆบุรุษมัขลิค้าน
ว่า  ไม่มีกรรม  ไม่มีกิริยา  ไม่มีความเพียร   ด้วยเหมือน
กัน”


(เกสกัมพลสูตร  ติกนิบาตร  อังคุตตรนิกาย)



-->> เป็นที่สังเกตว่า   พระพุทธเจ้าไม่ว่าจะเกิดขึ้นในยุคใด  มีหลักพื้นฐานตรงกันทั้งสิ้น  มีหลักพื้นฐานของคำสอนตรงกัน   เมื่อปฏิบัติถูกต้องตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าแม้องค์เดียว  ก็จัดว่าถูกต้องต่อพระพุทธเจ้าทุกพระองค์   อย่างที่กล่าวว่า   ปฏิบัติเป็นที่โปรดปรานของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  ในทางตรงกันข้าม   เมื่อปฏิบัติขัดแย้งกับพระพุทธเจ้าแม้องค์เดียว  ก็จัดว่าขัดแย้งกับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์   ดังนั้น   เมื่อพระพุทธเจ้าทั้ง  3  กาล  เป็นกรรมวาที   กิริยาวาที  และวิริยาวาที  มักขลีโคศาลมีวาทะขัดแย้ง   จึงเป็นอกรรมวาที   อกิริยาวาที   และ อวิริยาวาที


-->> การมีทรรศนะผิด  ถือหลักปรัชญาผิด  เป็นพื้นฐานของการให้หลักการ  ให้หลักคำสอนที่ผิด  ผลที่ติดตามคือความทุกข์   ความพินาศ     เป็นพื้นฐานของการให้หลักการ  เรื่องนี้เห็นได้จากข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสปรารภเจ้าลัทธิมักขลิโคศาลนั้น   เป็นใจความว่า


“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เปรียบเหมือนชาวประมงวาง
เครื่องดักปลาที่ปากอ่าว  เป็นเหตุให้ปลาต้องพินาศวอด
วายมากมาย  ฉันใด    โมฆบุรุษมักขลินี้ก็ฉันนั้น   เหมือน
วางเครื่องดักมนุษย์  
เป็นคนเกิดมาในโลกนี้   เพื่อ
ความพินาศวอดวายแก่สัตว์   เพื่อสิ่งไร้ประโยชน์แก่สัตว์
และเพื่อความทุกข์แก่สัตว์เป็นอันมาก  ”


(เกสกัมพลสูตร  ติกนิบาตร  อังคุตตรนิกาย)


-->> เป็นที่น่าสังเกตว่า   การมีความเห็นผิด  สอนหลักปรัชญาผิด  ชักชวนในหลักการที่ผิดเป็นเรื่องที่มีโทษอย่างยิ่ง   ทั้งแก่ตนและชาวโลกเป็นอันมาก  การมีความเห็นผิดในหลักธรรมเบื้องสูงยังมีโอกาสเข้าใจถูกต้องและบรรลุธรรมได้   ส่วนการมีความเห็นผิดในเรื่องหลักธรรมเป็นทางดำเนินชีวิตในทางอกุศลกรรมบถ   และเมื่อชักชวนชาวโลกให้นิยมปฏิบัติตาม  ก็ย่อมก่อให้เกิดโทษในสังคมในโลกอย่างไพศาล   เป็นพฤติการณ์เช่นเดียวกับงานของชาวประมง  ที่สร้างความพินาศแก่ปลาและสัตว์น้ำต่าง  ๆ  หมดสิ้นเป็นอ่าวแล้วอ่าวเล่า   ตัวอย่างการประมงในปัจจุบัน คือ ความพินาศของฝูงปลา  เป็นที่ปรากฏชัดเจนขึ้น   พอ  ๆ  กับความพินาศ  ความทุกข์ที่ปรากฏในสังคมมนุษย์  เพราะเนื่องมาจากการยึดมั่นในหลักปรัชญาที่ผิด   ปรากฏเป็นความพินาศควบคู่ระหว่างคนกับปลา   ดังนั้น   ข้อเปรียบเทียบของพระพุทธเจ้าจึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง



หลักปรัชญาเป็นพื้นฐานของความดีความชั่ว



พื้นฐานของความดีความชั่วที่แท้จริง  คือ  อุดมคติ  อุดการณ์   หรือ  หลักปรัชญาที่บุคคลยึดถือมั่นเอง   เพราะเป็นบ่อเกิดของพฤติกรรมที่เขาทำ    ถ้าถือหลักปรัชญาผิด  โอกาสที่เขาจะทำผิดทำชั่วก็เกิดขึ้นได้ทุกอย่าง  ส่วนการถือหลักปรัชญาที่ถูกต้อง   เป็นพื้นฐานพฤติกรรมที่ถูกต้อง  รวมความว่า   ความคิดผิดเป็นมูลฐานของความชั่ว   การคิดถูกเป็นมูลฐานของความดี  เรื่องนี้
พิจารณาได้จากข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้  ดังนี้


“  ภิกษุทั้งหลาย  เราไม่เห็นธรรมอื่นสัก
อย่างหนึ่ง   ที่เป็นเหตุให้ความชั่วซึ่งยังไม่เกิด  ได้เกิดขึ้น
 และ  เป็นเหตุให้ความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว   มีแต่เพิ่มพูนยิ่ง
ขึ้นเหมือนความเห็นผิดนี้เลย   ภิกษุทั้งหลาย  เมื่อบุคคลมี
ความเห็นผิดเสียแล้ว   ความชั่วที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น  ที่
เกิดขึ้นแล้ว  ย่อมเพิ่มพูนยิ่งขึ้น”


“ภิกษุทั้งหลายเราไม่เห็นธรรมอย่างอื่นสัก
อย่างหนึ่ง   ที่เป็นเหตุให้ความดีที่ยังไม่เกิด  ได้เกิดขึ้น
ให้ความดีที่เกิดขึ้นได้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น   เหมือนความเห็นถูก
ต้องนี้เลย  ภิกษุทั้งกหลาย  เมื่อบุคคลมีความเห็นถูกต้อง
แล้ว  ความดีที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น   และที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเจริญยิ่งขึ้น”


(เอกนิบาต   อังคุตตรนิกาย  สุตตันตปิฎก)


-->> ความเห็นผิด  นอกจากเป็นบ่อเกิดของความชั่วแล้ว   ยังปิดกั้นความดีติดตามทำลายความดีอีกด้วย   ความจริงข้อนี้พิจารณาได้จากข้อพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า


“ภิกษุทั้งหลาย  เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง   ที่
เป็นต้นเหตุให้ความดีที่ยังไม่เกิด  ไม่เกิดขึ้น   และความดี
ที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมสิ้นไป   เหมือนความเห็นผิดนี้เลย  
ภิกษุทั้งหลาย  เมื่อบุคคลมีความเห็นผิดเสียแล้ว  ความดีที่
ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น   และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมสิ้น
ไป ”



-->>  ในทางตรงกันข้าม  ความเห็นถูกต้อง   นอกจากปิดกั้นความชั่วแต่เบื้องต้นแล้ว   ยังติดตาม
ทำลายความชั่วให้เบาบางและหมดสิ้นอีกด้วย   ความจริงข้อนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า


“  ภิกษุทั้งหลาย  เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง   ที่
เป็นเหตุให้ความชั่วที่ยังไม่เกิด  ไม่สามารถเกิดขึ้น  และ
ทำลายความชั่วที่เกิดขึ้นแล้วให้เสื่อมสิ้นไปเหมือนความ
เห็นที่ถูกต้องเลย  ภิกษุทั้งหลาย  เมื่อบุคคลมีความเห็นถูก
ต้องแล้ว   ความชั่วที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น  ที่เกิดขึ้น
แล้วย่อมเสื่อมสิ้นไป  ”

หมายเลขบันทึก: 215979เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2008 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-->> คำอธิบายคัมภีร์ เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย กล่าวว่า...

มิจฉาทิฐิบางอย่างห้ามทั้งสวรรค์และมรรค

บางอย่าง ห้ามแต่มรรคอย่างเดียว ไม่ห้ามสวรรค์

บางอย่างไม่ห้ามทั้งมรรค และสวรรค์

มิจฉาทิฐิ 3 อย่างคือ

1. อกิริยทิฐิ และนัตถิกทิฐิ ห้ามทั้งสวรรค์และมรรค

2. มิจฉาทิฐิถึงที่สุด 10 อย่าง คือการยึดถือว่า โลกเที่ยง เป็นต้น จัดว่าห้ามแต่มรรคอย่างเดียว เป็นความเห็นที่วิปริตจากทางของมรรค แต่ไม่ห้ามสวรรค์เพราะไม่เป็นอกุศลกรรมบถ

3. ส่วนสักกายทิฐิ 20 มีเห็นรูปว่าเป็นตน เห็นตนว่าเป็นรูป เห็นตนในรูป เป็นต้น เป็นการเห็นลักษณะ 4 อย่างในขันธ์ 5 รวมเป็น 20 ไม่ห้ามทั้งสวรรค์และมรรคเพราะไม่เป็นอกุศลกรรมบถ และเมื่อเกิดความรู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ก็บรรลุมรรคผลได้

โปรดพิจารณาสักกายทิฐิ 20 ไม่ห้ามทั้งสวรรค์และมรรคผลนิพพาน นี่ท่านกล่าวไว้ชัดในพระไตรปิฎก...นำมาให้พิจารณา...ว่าท่านเข้าข่ายไหน...?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท