อาบัติและการต้องอาบัติ


อาบัติและการต้องอาบัติ

(๑) ปาราชิก  อาบัติหนัก   ทำแล้วขาดจากความเป็นภิกษุทันที


(๒) สังฆาทิเสส
 อาบัติหนักรองลงมา  ทำผิดแล้วต้องให้  “อยู่กรรม”


(๓) ถุลลัจจัย
  อาบัติหนักรองลงมาจากปาราชิก    และสังฆาทิเสส  เกิดขึ้นเมื่อตั้งใจจะ ละเมิดอาบัติ  ๒  อย่างนั้นแล้วทำไม่สมบูรณ์  เช่น ตั้งใจจะฆ่าเขาแต่เขาไม่ตาย  

ต้องถุลลัจจัย  บางทีเรียก  อนิยต (ไม่แน่)  แต่อนิยตไม่ใช่ชื่ออาบัติ


(๔)   ปาจิตตีย์
  อาบัติเบา   ทำผิดแล้ว   “ปลงอาบัติตก”


(๕) ปาฏิเทสนียะ
   ความผิดที่ต้อง   “แสดงคืน”  คือ  ต้องอาบัติเกี่ยวกับบุคคลใด  ให้แสดงกับบุคคลนั้น


(๖) ทุกกฎ
 อาบัติเบา   ส่วนมากเกี่ยวกับมารยาทต่าง ๆ   ที่ไม่เหมาะสม


(๗) ทุพภาสิต
 “พูดไม่ดี”  อาบัติเบาเกิดจากความผิดพลาดในการพูดไม่เหมาะสม



**************************************************************************


จุดประสงค์ของการบัญญัติสิกขาบท



ประโยชน์แก่พระสงฆ์โดยส่วนรวม



(๑) เพื่อความดีงามของพระสงฆ์

(๒) เพื่อความผาสุกของพระสงฆ์



ประโยชน์เฉพาะบุคคล



(๓) เพื่อขจัดความหน้าด้าน

(๔) เพื่อความผาสุกของผู้ทรงศีล



ประโยชน์คือความดีงามแห่งชีวิต



(๕) เพื่อปกป้องความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

(๖) เพื่อขจัดความเลวร้ายในอนาคต



ประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชน



(๗) เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสแก่ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส

(๘) เพื่อให้ผู้เลื่อมใสแล้วเลื่อมใสยิ่งขึ้น



ประโยชน์แก่พระศาสนา



(๙) เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัจธรรม

(๑๐) เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย (สนับสนุนความมีระเบียบวินัย)


**************************************************************************


กำเนิดภิกษุณีสงฆ์



-นางปชาบดีโคตรมี  ทูลขอบวช  เบื้องแรกทรงปฏิเสธ  ต่อมาทรงบวชให้ตามที่พระอานนท์กราบทูลขอ  โดยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข  ๘  ข้อ  อย่างเคร่งครัด  (ครุธรรม  ๘)


-ข้อน่าพิจารณา  คือ  เหตุผลที่ทรงปฏิเสธในเบื้องต้น   และคำถามที่ว่าพระพุทธเจ้า(หรือพระพุทธศาสนา)  ไม่สนับสนุนหรือ   ที่ไม่อนุญาตให้สตรีบวช   จริงหรือไม่เป็นเรื่องพึงพิจารณาอย่างรอบคอบ   รอบด้าน   ก่อนจะสรุปอะไรง่าย ๆ


**************************************************************************


ได้เรียนรู้เทคนิคและวิธีการปกครองสงฆ์  และการแก้ปัญหาของพระพุทธเจ้า



- คนหมู่มากต้องมีวินัย  วินัยจึงบัญญัติสำหรับปกครองคนหมู่มาก  ให้เรียบร้อย

- การบัญญัติวินัย    ทรงดูกฎหมายทางโลกด้วย  ทรงปรึกษานักกฎหมาย  และทรงให้มี  “ประชาพิจารณ์”  ด้วย

- ทรงให้แก้ไขลดหย่อน  และเพิ่มความเข้มงวด เพื่อความเหมาะสม

- คำนึงถึงปัณณัติวัชชะ  และโลกวัชชะ  เพื่อความสมบูรณ์ของข้อปฏิบัติ


**************************************************************************


ในวินัยปิฎก
 มีพุทธประวัติตอนตรัสรู้   จนถึงประกาศพระศาสนาอย่างละเอียด


มีการสังคายนา  ๒   ครั้ง


-  การบันทึกสังคายนาไว้เพียง  ๒  ครั้ง  ทำให้สันนิษฐานว่าระยะเวลาที่พระธรรมวินัยได้แตกออกเป็นปิฎก  ๓  ปิฎก  มีขึ้นก่อนสังคายนาครั้งที่  ๓  เพราะถ้ามีภายหลังสังคายนาครั้งที่   ๓  คงถูกบันทึกไว้ด้วย  ประมาณเวลาคร่าว ๆ  ของกำเนิดพระไตรปิฎก คือ  ระหว่างพุทธศตวรรษที่  ๒-๓

หมายเลขบันทึก: 215982เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2008 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท