ผู้อยู่ในธรรม


ผู้อยู่ในธรรม...?

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต



๓. ธรรมวิหาริกสูตรที่ ๑


            [๗๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าผู้อยู่ในธรรมๆ
ดังนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ฯ



-->>  (นักเรียน)

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเรียนธรรม
คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม
เวทัลละ เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบ
ความสงบใจในภายใน เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็น
ผู้มากด้วย
การเรียน(ปริยัติติพหุโล)
ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯ





-->>  (นักเขียน - นักแต่ง - นักเทศน์)

            อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียน
มาแล้ว แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีกออก
เร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการแสดงธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียก
ว่าเป็นผู้มากด้วยการแสดงธรรม(ปัญญัตติพหุโล)  ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯ





-->>  (นักสวด - นักท่อง)

            อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมกระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว
ตามที่ได้เรียนมาแล้ว โดยพิสดาร เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีก
ออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการสาธยายธรรมนั้น ภิกษุ
นี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย(สัชฌายพหุโล)  ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯ





-->>  (นักคิด)

            อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจ ซึ่งธรรม
ตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป
ละการหลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการตรึกตาม
ธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม(วิตักกพหุโล) ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม





-->>  (นักปฏิบัติธรรม)

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
เธอย่อมไม่ปล่อยให้วันคืนล่วง
ไป ไม่ละการหลีกออกเร้นอยู่ ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการ
เล่าเรียนธรรมนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม(ธรรมวิหารี)อย่างนี้แล




ดูกรภิกษุ เราแสดง
ภิกษุผู้มากด้วยการเล่าเรียนธรรม แสดงภิกษุผู้มากด้วยการแสดงธรรม แสดงภิกษุผู้
มากด้วยการสาธยายธรรม แสดงภิกษุผู้มากด้วยการตรึกธรรม แสดงภิกษุผู้อยู่ใน
ธรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุ กิจใดอันศาสดาผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล
อนุเคราะห์ อาศัยความเอ็นดู พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราได้ทำแก่เธอ
ทั้งหลายแล้ว ดูกรภิกษุ นั่นโคนต้นไม้ นั่นเรือนว่าง เธอจงเพ่งฌาน อย่า
ประมาท อย่าเป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอ
ทั้งหลาย ฯ


จบสูตรที่ ๓


            เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  บรรทัดที่ ๒๐๒๔ - ๒๐๕๗.  หน้าที่  ๘๘ - ๙๐.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=2024&Z=2057&pagebreak=0

หมายเลขบันทึก: 216041เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2008 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เปิดตา ปิดใจ ไม่พ้น ทุกข์ ภัย วัฏสงสาร

เปิดตา เปิดใจ อาจพ้น ทุกข์ ภัย วัฏสงสาร

ปิดตา เปิดใจ ย่อมพ้น ทุกข์ ภัย วัฏสงสาร

สวัสดี ครับ

เป็นบันทึกแรกที่ได้อ่านเช้านี้

การได้ซึบซับ....สิ่งที่เป็นมงคลต่อชีวิต

ทำให้รู้สึกดี....

ขอบพระคุณ ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท