วิปัสสนาญาณ และวิปัสสนูปกิเลส


อ่านทั้งหมด ที่เวป http://khunsamatha.com/

วิปัสสนาญาณ  และวิปัสสนูปกิเลส

๑.  วิปัสสนาญาณ   ๙

ก)  อุทยัพพานุปัสสนาญาณ                 ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้งความดับแห่งสังขาร.
ข)  ภังคานุปัสสนาญาณ                       ปรีชาคำนึงเห็นความดับ.
ค)  ภยตูปัฏฐานญาณ                            ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏ,เป็นของน่ากลัว
ง)  อาทีนวานุปัสสนาญาณ                   ปรีชาคำนึงเห็นโทษของสังขาร.
จ)  นิพพิทานุปัสสนาญาณ                   ปรีชาคำนึงถึงความเบื่อหน่ายสังขาร  ได้แก่  ความเบื่อหน่าย                  

                                                                   ในการครองและการบริหารเบญจขันธ์เป็นต้น
ฉ)  มุญจิตุกามยตาญาณ                        ปรีชาคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสียจากข่ายนี้ ดุจสัตว์ติดอยู่ใน

                                                                   ข่าย  ใคร่จะหลุดพ้นไปเสียจากข่าย.
ช)  ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ                  ปรีชาคำนึงด้วยพิจารณาหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย.
ซ)  สังขารรุเปกขาญาณ                         ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยเสีย  ดุจบุรุษผู้วางเฉยใน

                                                                    ภรรยา  อันหย่าขาดจากกันแล้ว
ฌ)  สัจจานุโลมิกญาณ                          ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่กำหนดรู้อริยสัจ  เป็นไปในขณะ

                                                                   แห่งจิต  อันได้ชื่อว่าอนุโลม  เกิดขึ้นในลำดับแห่งมโนทวาร

                                                                  วัชชนะ  อันตัดภวังค์  เกิดขึ้นในขณะอริยมรรคจักเกิด

                                                                   ในที่สุดแห่งสังขารรุเปกขาญาร.


๒.     วิปัสสนูกิเลส ๑๐  (ธรรมเครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา)

เกิดขึ้นในลำดับแห่งวิปัสสนาญาณที่ ๑-๒ (อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ  และ  ภังคานุปัสสนา
ญาณ)  ขณะเมื่อพิจารณาเห็นสังขารหรือเบญจขันธ์  นามรูป  และทั้งปัจจัย  มีสภาพไม่เที่ยง  (อนิจฺจํ)  เป็นทุกข์  (ทุกฺขํ)  และมิใช่ตัวตน (อนตฺตา)  ธรรม  ๑๐  ประการ  ดังต่อไปนี้  อาจเกิดขึ้น   แล้ว  ผู้บำเพ็ญพิศวงหลงไปว่า  มรรค  ผล  เกิดแล้วแก่เรา, เราได้สำเร็จมรรคผลแล้ว”  เป็นเหตุให้หยุดความเพียร  และ/หรือ เกิดตัณหา  มานะ ทิฏฐิ  หลงตัวหลงตนเอง  ถ้าไม่หลง  ก็ไม่เป็นวิปัสสนูปกิเลส  คือ

๑.  โอกาส                   แสงสว่างซ่านออกจากสรีรายยพ

๒.  ปีติ                         ทำกายและจิตให้อิ่มแผ่ซ่านไปทั่วสรีรกาย

๓.  วิปัสสนาญาณ     ความเห็นแจ้งแก่กล้า  เห็นนามรูปแจ้งชัด

๔.  ปัสสัทธิ                 ความสงบกาย  สงบจิต  ระงับความกระวนกระวายเสียได้

๕.  สุข                         ความสุขอันประณีตเป็นไปในกายและจิต

๖.  อธิโมกข์                ความเชื่อมั่นมีกำลังกล้าเป็นที่ผ่องใสของจิตและเจตสิก

๗.  ปัคคหะ                 ความเพียรไม่ยิ่งไม่หย่อน  ประคองจิตไว้  ด้วยดีในอารมณ์  ทำจิตให้

                                      เป็นไปเสมออยู่ได้

๘.  อุปัฏฐาน               สติตั้งมั่นรักษาอารมณ์ไว้ด้วยดี
๙.  อุเบกขา                  ความเป็นธรรมมัธยัสถ์ในสังขารทั้งสิ้นมีกำลังกล้านัก
๑๐. นิกกันติ                ความรักใคร่  ทำความอาลัยในวิปัสสนานัก  มีอาการสุขุมละเอียด


               เมื่อธรรม ๑๐ อย่าง  อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น  ผู้บำเพ็ญก็ไม่ยินดี  ไม่หลงในธรรมที่เป็นอุปกิเลส ไม่หยุดความเพียรเพราะเข้าใจว่าไม่ใช่ทางมรรคผล  ไม่ใช่ทางวิปัสสนา  ทางวิปัสสนาอย่างอื่นต่างหาก  รู้แห่งแจ้งชัดว่า  นี้ทาง  นี้มิใช่ทาง  เช่นนี้ชื่อว่า  มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

               ผู้ปฏิบัติสมถวิปัสสนาภาวนา  ตามแบบ  ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ  พระมงคลเทพมุนี (สด  จนฺทสโร)  ท่านปฏิบัติแล้วสอนถึงธรรมกายที่สุดละเอียดและถึงอายตนะนิพพาน ไม่ปรากฏวิปัสสนูปกิเลส  คือไม่หลงติดอยู่ในธรรม  (วิปัสสนูปกิเลส)  เหล่านี้แต่อย่างใด  เพราะเป็นการปฏิบัติภาวนาที่ผ่านกายในกาย  เวทนาในเวทนา  จิตในจิต  และ ธรรมในธรรม  เป็น  ณ  ภายใน  ละเอียด เข้าไป  จากสุดหยาบไปถึงสุดละเอียด  ถึงธรรมกาย  เมื่อใช้ญาณธรรมกายพิจารณาสภาวธรรม  แล้วธรรมกายก็ทำนิโรธ  (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ)  ดับสมุทัย  ดับหยาบไปหาละเอียด  จนสุดละเอียด  ถึงอายตนะนิพพาน   ยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์  (นิพพานเป็นปรมัตถธรรมที่ไม่มีอารมณ์)  อยู่เสมอ  จนกว่าจะถึงความบรรลุมรรค ผล  นิพพาน  ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้

 

หมายเลขบันทึก: 216086เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2008 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 07:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท