ข้อปฏิบัติของภิกษุที่จะต้องทำ


ข้อปฏิบัติของภิกษุที่จะต้องทำ

 

ปลงอาบัติที่ถูกวิธี

 

                ภิกษุต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าแล้วให้รีบแสดงเสีย    อย่าแช่ไว้ในอาบัติ

        ถ้านั่งชิดกันเกินไป   แสดงอาบัติไม่ตกต้องนั่งให้มนุษย์และสัตว์เดินผ่านได้จึงตก

                เวลาแสดงพระอ่อนพรรษายกมือสูง  พระแก่พรรษายกมือต่ำกว่าผู้อ่อนพรรษายกมือสูง   พระอ่อนพรรษายกมือต่ำและน้อมกายด้วยจึงแสดงอาบัติตก

                ภิกษุอุปสมบทคนละอุปัชฌาย์  คนละสีมา  แต่บวชวัน  เดือน ปี  ชั้นฉายเดียวกัน  (ชั้นฉายนั้น)  หมายถึงเวลานาทีเดียวกัน)  เวลาปลงอาบัติด้วยกัน ถ้าว่า  ภนฺเต  ก็ว่า  ภนฺเต  ถ้าว่า  อาวุโส  ก็ว่า  อาวุโส  ด้วยกัน  เพราะอุปสมบทเสมอกัน

                การห่มผ้านั้นต้องให้เหมือนกันจึงแสดงอาบัติตก  ถ้านั่งอยู่คนละอาสนะแสดงอาบัติด้วยกันไม่ตกต้องนั่งที่เสมอกันจึงแสดงอาบัติตก

                หากภิกษุในอาวาสเดียวกัน  ต้องอาบัติวัตถุเดียวกัน  แสดงอาบัติด้วยกันไม่ตก  ต้องส่งภิกษุในอาวาสนั้น   องค์  หรือ ๒ องค์  ไปแสดงที่อาวาสอื่นมา  เมื่อกลับมาแล้วให้แสดงกันต่อ ๆ ไป อาบัตินั้นจึงจะบริสุทธิ์ได้

 

 

อย่างไหน  อาบัติ-ไม่อาบัติ

 

                ถ้าภิกษุใส่รองเท้าที่หุ้มปลายเท้า  หรือหุ้มตลอดส้นเท้าเอามาใส่  ต้องเป็นอาบัติทุกกฎ  หรือแก้ให้เป็นหูหนีบก่อนจึงแสดงอาบัติตก

                เวลาเดิน  ถ้าภิกษุอ่อนพรรษากว่าเดินออกหน้าพระเถระ  ต้องอาบัติทุกกฎทุกก้าวที่เดินไป  ถ้าจะไม่ให้เป็นอาบัติ  เมื่อเราเดินออกไปข้างหน้า  ให้ตั้งใจว่า   พระเถระเดินมาข้างหลัง  เราจะหลีกให้ท่านไป อย่างนี้ไม่เป็นอาบัติ

                ถ้าพระเถระเดินผ่านมาไม่ได้ใส่รองเท้า พระอ่อนพรรษาใส่รองเท้าอยู่ให้ถอดเสียหรือยืนอยู่นิ่ง ๆ  ให้พระเถระเดินไปก่อน  แล้วจึงค่อยเดิน  อย่างนี้ไม่เป็นอาบัติ

                ถ้าจะเดินหน้าพระเถระให้เลย    ศอกขึ้นไปหากเดินใน ๔  ศอกเข้ามาเป็นอาบัติ

                และพระต่างวัดมา  ถึงแก่พรรษากว่าไม่ถอดรองเท้าก็ไม่เป็นอาบัติ  เพราะไม่รู้จักพรรษากัน  ถ้าไต่ถามรู้จักกันแล้ว  อย่างนี้เป็นอาบัติ

         

                พระอ่อนพรรษาล่วงเกินพระแก่พรรษา  ถ้าไม่ขอขมาโทษก่อน  แสดงอาบัติไม่ตก  ถึงพระแก่พรรษาล่วงเกินพระอ่อนพรรษา  แสดงอาบัติไม่ตกเหมือนกัน  ให้ขอขมาโทษก่อน  แต่ไม่ต้องไหว้  จึงแสดงอาบัติตก

                ธรรมเนียมในโรงฉัน  ถ้าพระยังมาไม่พร้อมกัน  องค์ไหนลงมือฉันก่อนต้องอาบัติเท่าองค์ภิกษุที่ยังไม่มา

                ถ้าพระยังมาไม่พร้อมกัน  อาวุโสลงมือฉันก่อนต้องอาบัติ

                พระมาพร้อมกันเรียบร้อยแล้ว  อาวุโสยังไม่ลงมือ  องค์ไหนลงมือก่อนตั้งอาบัติ  ต้องให้อาวุโสลงมือก่อน  นอกนั้นจึงฉันได้ไม่เป็นอาบัติ

                เวลาลุกไป  องค์ไหนไปก่อนต้องอาบัติ  ต้องไปตามลำดับพรรษาไม่เป็นอาบัติ

                ภิกษุต้องอาบัติหลายตัวรวมกัน  เวลาปลง  อาบัติให้ว่า  สมฺพหุลา  นานาวตฺถุกาโย  เพราะการต้องอาบัติของภิกษุทั้งหลายมีมากมาย  อาบัติที่รู้ก็มี  ที่ไม่รู้ก็มี  ฉะนั้นจึงให้ว่ารวมกัน

 

                หมายความว่า   ภิกษุที่ปลงอาบัติอยู่เสมอ  จะเดิน  ยืน  นั่ง  นอน  ก็เป็นบุญทุกอิริยาบถ

...ภิกษุและสามเณรสร้างแต่อาบัติทำศีลขาดอยู่เสมอ  ถึงสึกออกไปเป็นฆราวาสก็ไม่มีความสุขและความเจริญ  เพราะบาปที่บวชนั้นคอยตามเผาพลาญ   ....ถ้าภิกษุและสามเณรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  ถึงสึกออกไปเป็นฆราวาส  ก็มีแต่ความสุข และความเจริญ เพราะบุญที่บวชนั้นคอยตามส่ง.....

 

                อาบัติชนิดนี้มานอกพระปาติโมกข์

               

ควรวะและนั่งให้ถูกหลัก

 

                ภิกษุและสามเณรที่จะเข้าหาอุปัชฌาย์  อาจารย์ให้ตั้งอยู่ในคารวะ

                เวลาอุปัชฌาย์หรือาจารย์นอนอยู่อย่าพึงไหว้นั่งอยู่เปลือยกายไม่มีผ้าพาดอย่าพึงไหว้

                ไหว้แล้ว  นั่งให้พ้นโทษ   ประการเรียกว่า  นิสสัชชโทษ

 

  1. อย่านั่งให้ใกล้นัก
  2.  อย่านั่งให้ไกลนัก
  3. อย่านั่งตรงหน้า
  4.   อย่านั่งข้างหลัง
  5. อย่านั่งสูงกว่า
  6. อย่านั่งเหนือลม

การนั่งใกล้นัก  ท่านอึดอัด

นั่งไกลนัก  ท่านพูดอะไรไม่ได้ยิน

นั่งตรงหน้า  กีดขวางผู้จะเข้าใหม่

นั่งข้างหลัง  ท่านไม่เห็น

นั่นสูงกว่า  เป็นการไม่เคารพ

นั่งเหนือลม  กลิ่นตัวมากระทบจมูกท่าน

นั่งอย่างนี้เรียกว่า  นั่งประกอบด้วยโทษ

 

เผลอไผลอาจได้บาป

 

                ภิกษุและสามเณรบวชอยู่ในศาสนา  อย่าเข้าใจว่าได้แต่บุญฝ่ายเดียว  บาปคอยดักอยู่มากมาย

                เปรียบเหมือนคนไม่รู้จักค้าขาย  เข้าใจว่าได้กำไรแต่ฝ่ายเดียว  แท้จริงขาดทุนคอยดักอยู่ข้างหน้าหารู้ไม่

                การอยู่ในศาสนาก็เหมือนกัน   ระเบียบแบบแผนที่พระพุทธเจ้าสอนนั้น  ไม่ได้เอาระเบียบแบบแผนในมนุษย์โลกหรือพรหมโลกมาสอน  พระองค์เอาแบบในนิพพานมาสอนจึงได้งามนัก  ฉะนั้นภิกษุและสามเณรควรสังวรระวังไว้

 

อินทรีย์สังวรศีล

 

                บัดนี้จะว่าในอินทรีย์สังวรศีล  ความสำรวมระวังรักษาซึ่งอินทรีย์ทั้ง   อันเป็นอายนะภายในเมื่อกระทบถูกอายตนะภายนอก 

 

    

                อย่าพึงทำความยินดีให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งกิเลส  อันเป็นเครื่องเศร้าหมองในสันดาน

                พึงกำหนดให้เห็นลงด้วยปัญญาเห็นเป็นไป  สักแต่ว่าธาตุ  และยึดถือเอาพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์  โดยความที่เป็นของไม่เที่ยง  และเป็นทุกข์  มิใช่ตน

                เมื่อทำปัญญาให้เป็นไปโดยปัจจเวกขณะวิธี  (วิธีพิจารณา)  พิจารณาเห็นลงซึ่งสังขารธรรมให้เป็นไปดังนี้   ก็เป็นเหตุที่จะกำจัดกิเลสเครื่องลามกเศร้าหมองเสียให้ห่างไกลได้  จิตของภิกษุนั้นก็ปราศจากกังวล  ตั้งมั่นในการเจริญสมณธรรมเป็นเบื้องหน้า

 

หมายเลขบันทึก: 216087เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2008 19:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อินทรีย์ ๖ และวิธีสำรวม

ในอินทรีย์ทั้ง ๖ นี้ คือ

จักขุนทรีย์ คือ ตา สำหรับดูรูป ๑

โสตินทรีย์ คือ หู สำหรับฟังเสียง

ฆานินทรีย์ คือ จมูก สำหรับดมกลิ่น ๑

ชิวหิวทรีย์ คือ ลิ้น สำหรับลิ้มรส ๑

กายินทรีย์ คือ กาย สำหรับถูกต้องโผฏฐัพ-พารมณ์ ๑

มนินทรีย์ คือ ใจ สำหรับรู้เหตุผล ๑

รวมเป็นอินทรีย์ ๖ ประการ ซึ่งให้สำรวมระวังนั้น คือ

๑. ตา ได้มองเห็นรูปชายหญิง หรือรูปอื่น ๆ ที่ ประณีตแลเลวทราม ที่หยาบหรือละเอียดในที่ใดที่หนึ่งตามจะชอบใจหรือมิชอบใจก็ตาม อย่างพึงทำความรักยินดี และความไม่รักไม่ยินดี ควรระงับความโสมนัส เป็นต้นเสีย หยั่งปัญญาลงสู่พระไตรลักษณ์แต่ส่วนเดียว อันนี้ชื่อว่าสำรวมดีแล้วในจักษุ (ตา)

๒. หู ได้ยินเสียงบุรุษหรือสตรี และเสียงอื่น ๆ ในที่ใกล้หรือไกลประการใดอย่าพึงทำความรักแลยินดี และไม่รักไม่ยินดี ระงับความโสมนัส แลโทมนัส อันนี้ชื่อว่าสำรวมดีแล้วในโสตะ (หู)

๓. จมูก ได้ดมกลิ่นเหม็นหรือหอมก็พึงระงับ ความยินดีและไม่ยินดีไว้ หยั่งปัญญาลงสู่พระไตรลักษณ์แต่ส่วนเดียวอันนี้ชื่อว่าสำรวมดีแล้วในฆานะ (จมูก)

๔. ลิ้น ได้ลิ้มรส หวาน ขม เปรี้ยว เค็ม เป็นต้น ประการใดก็ดี จะเป็นที่ชอบใจหรือมิชอบก็ตาม พึงระงับความยินดีและไม่ยินดีไว้ พิจารณาให้เห็นเป็นส่วนพระไตรลักษณ์อย่างเดียว อันนี้ชื่อว่าสำรวมดีแล้วในชิวหา (ลิ้น)

๕. กาย ได้ถูกต้องเครื่องนุ่งห่ม หรือาสนะที่นั่งนอนอ่อนหรือกระด้าง หรือกระทบความร้อน เย็น เป็นต้น ประการใดก็ดี พึงระงับความยินดี และอดกลั้นความกระสับกระส่าย ทำสติให้ระลึกอยู่ในพระไตรลักษณ์ อันชื่อว่าสำรวมดีแล้วในการ (ตัว)

๖. ใจ คิดไปในอารมณ์ใด ที่เป็นส่วนโลกีย์ประกอบด้วยโสมนัสหรือโทมนัสก็พึงอดกลั้น อย่าให้ความกำหนัดยินดีอันเป็นส่วนราคะ หรือความทุกข์เป็นเครื่องเศร้าหมองใจบังเกิดขึ้นในจิตสันดานได้ จึงผูกอยู่ในกรรมฐาน คือนุสติ ๑๐ หรือสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น จึงได้ชื่อว่าสำรวมในใจ (ใจ)

รวมเป็นความสำรวมระวังรักษา ในอินทรีย์ทั้ง ๖ อย่างนี้ เรียกว่าอินทรีย์สังวรศีล เป็นของภิกษุจะพึงประพฤติและปฏิบัติเป็นเครื่องขัดเกลากิเลสเครื่องเศร้าหมองในสันดานให้น้อยลง หรือระงับไป จิตของภิกษุนั้นจึงจะบริสุทธิ์ได้

อาชีวิปาริสุทธิศีล

บัดนี้จะว่าในอาชีวปาริสุทธิศีลต่อไป

อาชีวปาริสุทธิศีลนั้นว่า ให้ภิกษุพึงแสดงหาเลี้ยงชีพโดยให้โคจรบิณฑบาต หรือ

ภัตตาหารที่ทายกนิมนต์ ซึ่งเป็นอดิเรกลาภอันเป็นของบริสุทธิ์

ปราศจากมิจฉาชีพ เลี้ยงชีวิตผิดด้วยการแสวงหาไม่ควร คือให้ดอกไม้ ๑ ให้ผลไม้ ๑ ให้

เครื่องหา ๑ ให้ไม้สีฟัน ๑ ให้ไม้ไผ่ ๑ แก่ตระกูลผู้ไม่ใช่ญาติ และเป็นหมอให้ยารักษาไข้ และเป็นเหตุเดินข่าวสารของคฤหัสถ์เป็นต้น ที่โลกนับกันว่าเป็นการประจบประแจง เหล่านี้เป็น

อเนสะนะกรรม (การแสวงหาไม่ควร)

เพราะฉะนั้นภิกษุพึงละเว้นจากการแสวงหาเลี้ยงชีวิตอันไม่ควรเหล่านี้เสีย จึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยอาชีวปาริสุทธิศีล

ปัจจัยสันนิสสิตศีล

บัดนี้จะว่าด้วยปัจจัยสันนิสสิตศีล

ในปัจจัยสันนิสสิตศีลนั้นความว่า ภิกษุพึงพิจารณาปัจจัยทั้ง ๔ คือ

จีวร เครื่องนุ่งห่ม หรือผ้าอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งสมควรแก่ภิกษุจะพึงใช้สอยได้เป็นต้น ๑

บิณฑบาติ ของซึ่งเป็นอาหาร อันภิกษุพึงจะรับฉันได้ในกาลคือเช้าถึงเที่ยง ๑

เสนาสนะ เครื่องลาดปูน มีที่นั่งหรือที่นอน เป็นต้น จะเป็นเสื่อหรือแผ่นผ้าอันใดก็ตาม ๑

คิลานปัจจัย สิ่งที่สงเคราะห์เข้าใน ยาสำหรับรักษาโรคภัยไข้เจ็บ จะเป็นยาวชีวิก ฉันได้

ตราบเท่าสิ้นชีวิต และยามกาลิก มีกำหนดฉันได้ชั่วกาลวันหนึ่ง ตลอดคืนหนึ่ง หรือชั่ว ๗ วันเป็นกำหนด ที่เรียกว่า สัตตาหกาลิก ๑

ปัจจเวกขณะวิธี ๔ ประการ

ในการที่จะพิจารณาปัจจัยทั้ง ๔ นี้ท่านแบ่งออกเป็น ๔ อย่าง เรียกว่าปัจจเวก ขณะ ๔ คือ

สักแต่ว่าเป็นธาตุ

๑. ธาตุปัจจเวกขณะ ให้พิจารณาเห็นสักว่าเป็นธาตุ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ให้พิจารณาเมื่อได้รับปัจจัยสี่ อันใดอันหนึ่ง ได้แก่บทที่ว่า “ยะถาปัจจยัง ฯลฯ สุญโญ” (บทธาตุปะฏิกูละปัจจะเวกขะณะวิธี)

ซึ่งแปลเป็นใจความได้ว่า ปัจจัยสี่เหล่านี้ล้วนสักแต่ว่า เป็นธาตุเท่านั้น แม้ตัวเราเองก็สักแต่ว่าเป็นธาตุ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แต่เป็นสภาวะที่ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน

ให้พิจารณาเห็น โดยสักว่าเป็นธาตุ อันนี้เรียกว่า ธาตุปัจจเวกขณ์

ล้วนแต่ปฏิกูล

๒. ต่อไปก็ให้พิจารณาโดยความเป็นของปฏิกูลด้วยบทพิจารณาที่ว่า “สัพพานิ ปะนะ อิมานิ หรือ สัพโพ ปะนา อิมานิ หรือ สัพโพ ปะนายัง ฯลฯ ชายันติ หรือ ชายติ” (บทธาตุปะฏิกูละปัจจะเวกขะณะวิธี)

ซึ่งแปลเป็นใจความได้ว่า ปัจจัยเหล่านี้เมื่อยังมิได้สใช้สอยหรือบริโภค ก็ยังเป็นของไม่น่าเกลียด แต่เมื่อมาถึงกายอันเปื่อยเน่านี้แล้ว ปัจจัยเหล่านี้ ย่อมเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่ง

พิจารณาขณะใช้สอยปัจจัย

๓. ในขณะที่ใช้สอยปัจจัย ก็ให้พิจารณาในบท ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะ อันได้แก่บทที่ว่า “ปฏิสังขา โยนิโส ฯลฯ” ทั้ง ๔ บท แล้วแต่ปัจจัยนั้นจะเป็นสิ่งใด

ถ้าปัจจัยนั้นเป็นจีวร ก็ให้ว่า “ปะฏิสังขา โย นิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิ ฯลฯ” เป็นต้น ซึ่งแปลเป็นใจความได้ว่า

“จีวรที่นุ่งห่มนี้ ก็เพียงเพื่อบำบัดหนาวและปกปิดร่างกายมิให้เกิดความละอายเท่านั้น”

(มิได้มุ่งที่สีสัน หรือความสดสวยของจีวรแต่ประการใด)

ถ้าปัจจัยนั้นเป็นอาหาร ก็ให้ว่า “ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ ฯลฯ” เป็นต้น ซึ่งแปลเป็นใจความได้ว่า

“อาหารบิณฑบาตที่กำลังจะฉันนี้ มิได้ฉันเพื่อจะเล่นหรือเพื่อจะมัวเมาแต่ประการใด แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้และเพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์เท่านั้น

การฉันนี้ ถ้าฉันเพียงบำบัดความหิวในขณะเดียวกัน ก็ไม่ฉันให้มากเกินไป จนแน่นอึดอัด ความเป็นไปแห่งอัตภาพ ๑ ความไม่มี โทษ ๑ และความอยู่อย่างผาสุก ๑ ก็จักบังเกิด มีแก่เรา”

(ฉันเพื่ออยู่ มิได้อยู่เพื่อฉัน หรือเพื่อหลงรสอร่อยของอาหารแต่ประการใด)

ถ้าปัจจัยนั้นเป็นเสนาสนะ ก็ให้ว่า “ปะฏิสังขา โยนิโส เสนาสะนัง ปะฏิเสวามิ ฯลฯ” เป็นต้น ซึ่งแปลเป็นใจความได้ว่า

“เสนาสนะที่อยู่อาศัยนี้ มีไว้ก็เพียงเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน และเพื่อเป็นที่หลีกเร้น หาความสงบทางใจเท่านั้น”

(มิได้อยู่เสนาสนะ เพราะมุ่งความใหญ่โตโก้หรู แต่ประการใด)

ถ้าปัจจัย นั้นเป็นคิลานเภสัช ยากรักษาโรคก็ให้ว่า “ปะฏิสังขา โยนิโส คิลานะ ปัจจะยะเภสัช ชะปะริกขารัง ปะฏิเสวามิ ฯลฯ” เป็นต้น ซึ่งแปลเป็นใจความได้ว่า

“ยารักษาโรคนี้ ฉันไปก็เพียงเพื่อบำบัดทุกข เวทนา อันเกิดจากโรคาพาธเท่านั้น”

ใช้สอยแล้ว ก็ต้องพิจารณา

๔. หลังจากใช้สอยปัจจัย ๔ แล้ว ถ้าพิจารณาในขณะที่ใช้สอย ก็ให้มาพิจารณาหลังจากที่ใช้สอยไปแล้ว ด้วยบทอะตีตะปัจจะเวกขะณะวิธี อันได้แก่บทที่ว่า “อัชชะ มะยา ฯลฯ” เป็นต้น ซึ่งมีความหมายเหมือนกับบทตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะวิธี (ในข้อที่ ๓ ) ทุกประการ

ใช้สอยอย่างพระ

การใช้สอยปัจจัย ๔ ของพระภิกษุนั้น จะต้องประกอบด้วยการพิจารณาอยู่ทุกขณะ จึงจะได้ชื่อว่า ใช้สอยอย่างพระ

ถ้าพระภิกษุรูปใด ใช้สอยโดยไม่มีการพิจารณาตามกลักดังที่กล่าวมานี้ ได้ชื่อว่าใช้สอยบริโภคอย่างเป็นหนี้ เพราะใช้สอยบริโภคด้วยตัณหา ด้วยความอยาก ซึ่งผิดหลักพุทธประสงค์

ฉะนั้น ขอให้พระภิกษุที่ใคร่ต่อความเป็นสมณะที่แท้จริง พึงทำการศึกษาหารายละเอียดใน ปัจจเวกขณะวิธีทั้ง ๔ ประการนี้ให้เข้าใจ ก็ย่อมจะเป็นทางชำระอาสวะเครื่องหมักดองในสันดานให้เบาบางลงไปได้ในที่สุด

อยู่อย่างพระ คืออยู่อย่างผู้สละมิได้อยู่อย่างผู้สะสม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท