คณะสหเวชศาสตร์ คือ.....


สาขาวิชาเหล่านี้ล้วนแตกแขนงมาจากสาขาแพทยศาสตร์ ตามความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ ทางการแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้น วงการแพทย์จึงต้องการบุคลากรผู้ร่วมงานกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทยอื่นๆ ที่มีความสามารถเฉพาะทางมาช่วยเหลือ

          ยังมีคณะวิชาในมหาวิทยาลัยอยู่อีกบางคณะ  ที่ชื่อ - แซ่ ไม่เป็นที่รู้จักมักคุ้นกับบุคคลทั่วไป  หรือแม้กระทั่งนักเรียนชั้นมัธยมปลายที่กำลังเสาะหาที่เรียน เลือกหาวิชาชีพในอนาคตที่ตรงใจจากมหาวิทยาลัยต่างๆ  ก็ไม่ค่อยทราบอีกเหมือนกันว่าเป็นคณะที่สอนอะไร?    นั้นก็คือ..... คณะสหเวชศาสตร์

          วันนี้... ดิฉันในฐานะผู้บริหารคณะสหเวชศาสตร์คนหนึ่ง  ขอแนะนำให้ท่านได้รู้จักคณะสหเวชศาสตร์ ดังนี้นะคะ

          คณะสหเวชศาสตร์  (Faculty of Allied Health Sciences)  คือ คณะวิชาในสถาบันอุดมศึกษา  ที่เปิดสอนวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (Allied) กับวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences)  ผู้ที่เรียนจบสาขาวิชาเหล่านี้ ไม่ใช่แพทย์  พยาบาล  เภสัชกร  หรือทันตแพทย์  แต่เป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการแพทย์  ซึ่งมีหลายสาขา เท่าที่มีในประเทศไทย ได้แก่

  1. สาขากายภาพบำบัด :  นักกายภาพบำบัด
  2. สาขาเทคนิคการแพทย์  :  นักเทคนิคการแพทย์
  3. สาขารังสีเทคนิค :  นักรังสีเทคนิค
  4. สาขาเทคโนโลยัหัวใจและทรวงอก  :  นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
  5. สาขากิจกรรมบำบัด  :  นักกิจกรรมบำบัด
  6. สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร  :  นักโภชนาการ
  7. สาขาเทคโนโลยีการกีฬา  :  นักวิทยาศาสตร์
  8. สาขาทัศนมาตร  :  นักวิทยาศาสตร์

          ในบางมหาวิทยาลัย สาขาเหล่านี้ อาจอยู่ในสังกัดของคณะแพทยศาสตร์  หรือคณะเทคนิคการแพทย์ หรือคณะวิทยาศาสตร์ ก็มี  นั่นก็เป็นเพราะ  สาขาวิชาเหล่านี้ล้วนแตกแขนงมาจากสาขาแพทยศาสตร์  ตามความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ ทางการแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้น  วงการแพทย์จึงต้องการบุคลากรผู้ร่วมงานกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทยอื่นๆ  ที่มีความสามารถเฉพาะทางมาช่วยเหลือ 

          ปัจจุบันสถาบันเปิดใหม่ ที่เปิดสอนสาขาวิชาเหล่านี้  จึงมักจัดให้อยู่ใน "คณะสหเวชศาสตร์"  เพื่อสื่อความหมายให้ชัดเจนขึ้นว่า ศาสตร์ทางการแพทย์นี้มีหลายสาขา

          หากนับเฉพาะสถาบันที่มีคณะวิชา หรือสำนักวิชา  ที่ชื่อว่า "คณะสหเวชศาสตร์" ในประเทศไทยขณะนี้ (พ.ศ. 2552)  นับรวมได้ 7 แห่ง  คือ

คณะสหเวชศาสตร์ในประเทศไทย 

 

ที่

ชื่อ คณะ/ สำนัก

ชื่อสาขา ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตที่เปิดสอน

สาขากายภาพบำบัด

สาขาเทคนิคการแพทย์ 

สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก

สาขา

รังสีเทคนิค

สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร

สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

1

คณะสหเวชศาสตร์

มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

 

 

 

 

 

2

คณะสหเวชศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

 

 

 

 

3

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา

 

 

 

 

 

 

4

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

 

 

 

 

5

สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

 

 

 

 

 

6

คณะสหเวชศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

 

 

 

 

7

คณะสหเวชศาสตร์

มหาวิทยาลัยคริสเตียน

 

 

 

 

 

 

 

          ดิฉันไม่ได้รวมคณะวิชาที่มีชื่อว่า เทคนิคการแพทย์บ้าง  กายภาพบำบัดบ้าง เข้ามาด้วย เพราะเกรงว่าจะสับสัน  เนื่องจากชื่อคณะต่างๆ เหล่านี้  จะสื่อว่ามีเพียงสาขาเดียว  ทั้งที่ความเป็นจริงก็คล้ายกัน  ตัวอย่างเช่น คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  เปิดสอน 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขากายภาพบำบัด  สาขากิจกรรมบำบัด  สาขาเทคนิคการแพทย์ และสาขารังสีเทคนิค  เป็นต้น

          โดยทั่วไป ประชาชนมักคุ้นเคยกับชื่อ "คณะเทคนิคการแพทย์" มากกว่า  นั่นเพราะในกลุ่มสาขาวิชาด้านสหเวชศาสตร์  สาขาเทคนิคการแพทย์นับเป็นพี่ใหญ่ที่เกิดก่อน  ส่วนสาขาน้องๆ อีกหลายสาขา ทยอยเกิดทีหลัง  คนก็เลยไม่ค่อยรู้จัก...มันเป็นเช่นนั้นเอง..............


บันทึกเพิ่มเติม วันที่ 8 สิงหาคม 2552

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

          ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาทางด้านสหเวชศาสตร์ระดับปริญญาตรี  4  หลักสูตร ได้แก่ 

  1. เทคนิคการแพทย์
  2. เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก 
  3. รังสีเทคนิค  และ
  4. กายภาพบำบัด

          หลักสูตรที่มีความโดดเด่น คือ หลักสูตร “เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก”  เพราะเป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทยและในภาคพื้นเอเชีย ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและปอด ตลอดจนสามารถปฏิบัติการควบคุมการใช้เครื่องมือดังกล่าว  เพื่อการป้องกัน  ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจและปอด  ระหว่างผ่าตัดหัวใจและทรวงอกผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนัก  ห้องตรวจหัวใจและปอด   ห้องสวนหัวใจและห้องฉุกเฉิน  ทั้งนี้  การผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังกล่าวเป็นการสนองความต้องการบุคลากรด้านการแพทย์ ที่ยังขาดแคลนอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน

          ในด้านการจัดการเรียนการสอนของคณะสหเวชศาสตร์ ที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และมีความเป็นนานาชาติ  คณะสหเวชศาสตร์จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร  สนับสนุนทุนให้นิสิตทุกสาขาในชั้นปีที่ 4 ที่มีศักยภาพ  ไปฝึกงานวิชาชีพต่างประเทศ  ตลอดภาคปลายของปีการศึกษา  ก่อนจบการศึกษา อีกด้วย ซึ่งโครงการ "สหกิจศึกษาต่างประเทศ"ดังกล่าวได้สร้างโอกาสให้กับบัณฑิตของคณะสหเวชศาสตร์ได้งานทำในโรงพยาบาลต่างประเทศ รวมทั้งโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำภายในประเทศที่มีความต้องการบุคลากรในวิชาชีพที่มีทักษะด้านภาษาอังกฤษ ควบคู่ไปกับความสามารถในการใช้เครื่องมือทางด้านการแพทย์ขั้นสูง ด้วยการทำงานที่มีมาตรฐานระดับสากล ได้เป็นอย่างดี

          สำหรับหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาโท  สาขาชีวเวชศาสตร์ ของคณะฯ  มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถขั้นสูงในสาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ มีจุดเด่นของหลักสูตรในด้านแผนการศึกษาที่ยืดหยุ่น (แผนก แบบ ก1) ขยายโอกาสแก่ผู้ที่มีงานประจำให้สามารถพัฒนาคุณวุฒิของตนได้จากการเรียนควบคู่กับการทำงาน  โดยผู้เรียนที่มีประสบการณ์ในการทำงานอยู่แล้ว ไม่ต้องลาศึกษาต่อแบบเต็มเวลา  แต่จะต้องทำงานวิจัยที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่  และเป็นประโยชน์ในงานประจำ   จึงทำให้มีผู้สนใจเข้าศึกษาจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ   ทั้งนี้คณะสหเวชศาสตร์ ยังได้พัฒนาหลักสูตรดังกล่าวให้แยกแขนงได้อีกหลากหลายสาขา  อาทิ สาขารังสีเทคนิค เน้นด้านรังสีวินิจฉัย และรังสีชีววิทยา ตลอดจนสาขากายภาพบำบัด เน้นด้านสรีรวิทยาออกกำลังกายของกล้ามเนื้อและกระดูก นอกเหนือจากสาขาเทคนิคการแพทย์ที่เปิดรับตั้งแต่ต้น   โดยจะเริ่มรับนิสิตทั้ง 3 สาขาในปีการศึกษา  2553  ที่จะถึงนี้

 --------------------------------------------------------------------------------------

บันทึกเพิ่มเติม วันที่ 14  เมษายน 2554

          ดิฉันลาออกจากคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  จังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553  และย้ายไปเป็นคณบดี คณะสหเวชศาสตร์  มหาวิทยาลัยพะเยา ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2553   จึงอยากจะบันทึกเรื่องนี้เพิ่มเติมไว้ว่า

          เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ.2553 ขึ้น และประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 ดังนั้น มหาวิทยาลัยพะเยา จึงแยกออกจากมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการอย่างเต็มรูปแบบแล้ว     สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา จึงปรับสถานภาพเป็นคณะสหเวชศาสตร์ ภายใต้มหาวิทยาลัยพะเยาโดยปริยาย

ผู้สนใจ  ติดตามได้ที่ http://www.up.ac.th/

 

คำสำคัญ (Tags): #คณะสหเวชศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 280458เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2009 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีค่ะ

หนูเป็นคนหนึ่งที่มีความฝันอยากอยู่มหาวิทยาลัยนเรศวร เคยไปมาครั้งนึงค่ะ ลูกของเพื่อนคุณพ่อพาไปพี่เค้าเป็นนิสิตเก่าที่นั่น รู้สึกชอบมาก บริเวณกว้างขว้างดีค่ะ หนูอยากเรียน คณะสหเวชศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก แต่เมื่อเห็นคะแนนโอเน็ตที่เพิ่งออกเมื่อ 25 มีนา 53 รวมกับเกรดและ คะแนนอื่นๆ คงไม่ถึง แต่ยังไงหนูก็จะเลือกไว้เป็นอันดับ 1 เลยค่ะ รู้ว่าถึงยังไงก็ไม่ได้แต่ว่า ก็ขอเลือกไว้ยังไงก็เป็นความฝันที่สูงสุด

ก็ขอเป็นกำลังใจให้คณะอาจารย์ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพต่อไปค่ะ

อาจารย์ขอให้ความฝันของหนูจงเป็นจริงด้วยเถิด...โอมมม....เพี้ยง!!!

สวัสดีค่ะ

หนูอยากเรียนคณะสหเวชศาสตร์ค่ะ แต่ไม่รู้ว่าต้องใช้คะแนนยังไง เท่าไรค่ะ ถึงจะสามารถเข้าเรียนคณะนี้ได้ค่ะ

ยังไงขอฝากอาจารย์ช่วยตอบทีได้ไหมคะ ขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ตอนนี้หนูอยู่ชั้นม.6เรียนสายวิทย์-คณิต**เกรดวิทย์แย่มากค่ะ

หนูอยากเรียนคณะโภชนาการอาหาร อยากทราบว่าคณะนี้เรียนอะไรบ้าง

และมีมหาลัยที่ไหนบ้างที่เปิดทั้งเอกชนและรัฐบาลค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

อาจารย์ค่ะหนูขอความอนุเคราะห์

ช่วยตอบคำถามหนูที

คือแบบว่าหนูอยากรู้ว่าสิ่งที่หนูอยากเรียน

จะเหมาะกับหนูมั้ย

ถ้าหากอาจารย์ไม่ว่างก็ไม่เป็นไรน่ะค่ะ

(ขอโทษน่ะค่ะถ้าใช้คำพูดที่อาจจะดูไม่สุภาพ)

สวัสดีค่ะคุณครู หนูชื่อบุญรักษา ตอนี้หนูเรียนอยู่ ม.6 แล้วค่ะ หนูเลือกโควต้าของม.น. คณะสหเวชศาสตร์สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกค่ะ หนูอยากรู้ว่าถ้าเรีัยนสาขานี้แล้ว หางานทำยากไหมค่ะ แล้วเรียนผ่าตัดหรือเปล่า (อยากเรียนมากเลย ชอบค่ะ) แต่หนูกลัวคะแนนไม่ถึงจังค่ะ

สวัสดีค่ะ หนูอยู่ม.6นะคะ สนใจคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร “เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก” มากเลยค่ะ แต่ว่าไม่ทราบข้อมูลเลยค่ะว่าต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง GAT-PAT เท่าไหร่ O-NET อย่างไร แล้วก็เรียนกี่ปี โอกาสในการทำงานเป็นอย่างไรค่ะ ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยตอบทีนะคะ ขอขอบพระคุณมากค่ะ

อาจารย์ครับผมอยากทราบว่าเทคโนโลยีหัวใจเรียนอะไรบ้างในแต่ละปีและมีการฝึกงานในห้องผ่าตัดไหมและจบออกไปจะได้ทำงานร.พ.ไหน และได้ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง(หูฟังหมอได้ใช่ไหมครับ) มีหน้าที่อะไรบ้างครับ

เอออยากทราบว่าเรียนพวกนี้เเล้วเเล้วเงินดีไหมจบออกไปคนจะชมว่าเก่งไหม

หากหนูสนใจที่จะสอบ หนูต้องเตรียมตัวในวิชาไหนบ้างค่ะ

อาจารย์ค่ะคือสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกเนี่ยค่ะต้องศึกษากับอาจารย์ใหญ่เสมอเลยหรือเปล่าค่ะ ส่วนรังสีเทคนิคมันอันตรายไหมค่ะ คือหนูสับสนสองคณะนี้ยังตัดสินใจไม่ได้น่ะค่ะ อาจารย์ช่วยตอบหน่อยนะค่ะ

(ขอโทษด้วยนะค่ะถ้าหากใช้คำพูดไม่เหมาะสม)

สวัสดีคะอาจารย์ คือหลานของดิฉันสอบ เข้าเรียนที่ ม.ธ.เลือกคณะสหเวชศาสตร์

จึงเข้ามาอ่านข้อมูล ของอาจารย์เพิ่มเต็ม ได้ความรู้มากคะ เพราะไม่ทราบว่าคณะนี้จริงๆ แล้วเกี่ยวกับอะไรบ้าง ขอบคุณอาจารย์คะ

สวัสดีค่ะหนูชื่อส้อเรียนอยู่ชั้นม.6แล้วอยูอยากเรียนคณะสหเวชศาสตร์แต่หนูอยากทราบว่าหนูเรียนสายศิลปอยูมีสิทธิ์ที่จะเรียนไมค่ะหนูอยากทราบค่ะ ตอบหนูเร็วๆๆนะ ค่ะ ขอบคุณค่ะ

หนูเป็นเด็กที่มีเกรดเฉลี่ย 3.55 หนูอยากรู้ว่าสาขา เทคนิคการแพทย์ระดับหนูมีสิทะหรือเปล่า ขอคำแนะนำหน่อยน่ะค่ะ แต่ในใจหนูอยากได้ เภสัชค่ะ.

หนูอยากรู้ว่าเรียนยาไหม และ มีเปิดสอนทั่วถึงหรือเปล่า ค่าใช้จ่ายแพงไหม  และที่ภาคอีสานมีกี่แห่งค่ะ

สวัสดีค่ะ

ตอนนี้หนูเรียนอยู่ชั้นม.5 ค่ะ กำลังหาที่เรียน คณะที่ชอบไว้ค่ะหนุสับสนมากเลือกไม่ถูกแต่พอมาเห็นคณะสหเวชศาสตร์รู้สึกชอบและอยากเรียนมากคะ หนูสนใจสาขากายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดค่ะหนูควรเตรียมความพร้อมยังไงบ้างคะอาจารย์

เอื้ออาทร ขันเงิน

อ.5น/P O ว

ตอนนี้อยู่ม.6 แล้วค่ะ อยากเรียนวิทย์สุขภาพ สหเวชศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ ค่ะ จะต้องอ่านเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้างค่ะ กลัวอ่านผิด แล้วไม่ตรงกับข้อสอบค่ะ ช่วยบอกหน่อยน่ะค่ะ

สวัสดีค่ะหนูมีความฝันอยากเรียนคณะสหเวชศาสตร์สาขากายภาพบําบัดเพื่อบำบัดจิตใจคนหนูฝันตั้งแต่เด็กแล้วอยากทำให้คนสุขภาพจิตไม่ค่อยดีกลับมาสดใสและยิ้มขึ้นได้อยากทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีความสุขถ้าทำได้จริงหนูคงภูมิใจกับตัวเองมากๆแต่ด้วยเกรดไม่ค่อยดีแต่หนูก็ยังคงหวังว่าจะได้ทำตามฝันสักครั้งหากไม่ได้หนูก็ยอมรับเพราะอย่างน้อยก็ได้เลือกแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท