วิชชาธรรมกาย : ภาคพิจารณา วิปัสสนาภูมิ


วิชชาธรรมกาย : ภาคพิจารณา วิปัสสนาภูมิ

โดยอาจารย์การุณย์  บุญมานุช

     รรณนาชั้นวิปัสสนาภูมิและโลกุตรภูมิ

     วิปัสสนา แปลว่า เห็นแจ้ง เห็นต่าง ๆ เห็นวิเศษ รู้วิเศษ เห็นวิภาคเป็นส่วน ๆ ในขันธ์ ๕ – อายตนะ ๑๒ – ธาตุ ๑๘ – อินทรีย์ ๒๒ – อริยสัจจธรรม ๔ – ปฏิจจสมุปบาท ๑๒

     พระบัญญัติ ๖ ประการ ตรงกับภูมิวิปัสสนา คือ

(๑) ขันธบัญญัติ ตรงกับขันธ์ ๕

(๒) อายตนะบัญญัติ ตรงกับอายตนะ ๑๒

(๓) ธาตุบัญญัติ ตรงกับธาตุ ๑๘

(๔) สัจจบัญญัติ ตรงกับอริยสัจ ๔

(๕) อินทรีย์บัญญัติ ตรงกับอินทรีย์ ๑๙ ยกเสีย ๓
(คือ อนญญฺตญฺญสฺสามิตินฺทริยํอญฺญินฺทฺริยํ และอญฺญาตาวินฺทรฺริยํ)

(๖) ปุคคลบัญญัติ ตรงกับกองอนัญญตัญญัสสามิตินทรียัง อัญญินทรียัง อัญญาตาวินทรียัง ซึ่งได้แก่พระอริยบุคคล ๘

กายธรรม

     มีพระโสดาปัตติมรรคเป็นเบื้องต้น จนถึงพระอรหัตผลเป็นที่สุด วิปัสสนาภูมินี้สำเร็จด้วยกายธรรม กายธรรมนี้กำจัดกิเลสคือ อนุสัย ๓ ได้แก่ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย มีปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา มีอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา มีพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ญาณรัตนะ และมีประชุมปิฎกทั้ง ๓ คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก รวมลงในกายนี้ เรียกว่า “กายธรรม” เป็นกายชั้นโลกุตรภูมิและชั้นวิปัสสนาภูมิ

     • เมื่อจะพิจารณาอะไรทั้งหมดในชั้นวิปัสสนาภูมินี้ มีพิจารณา ขันธ์ ๕ – อายตนะ ๑๒ –
ธาตุ ๑๘ – อินทรีย์ ๒๒ – อริยสัจ ๔ – ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ เป็นต้น ต้องใช้ตาธรรมกายดูจึงจะเห็น เพราะเป็นกายละเอียด อายตนะและเห็น – จำ – คิด – รู้ ก็ละเอียด จึงจะดูของละเอียดได้ 

     กายธรรมนี้ถอดแล้วไปอายตนะนิพพานก็ได้ ส่วนกายมนุษย์ กายทิพย์กายปฐมวิญญาณ
หยาบ (กายรูปพรหม) และกายปฐมวิญญาณละเอียด (กายอรูปพรหม) ทั้ง ๔ กายนี้อยู่ในชั้นโลกีย์ และชั้นสมถะ จะตรวจดูอะไรต่าง ๆ ในชั้นโลกุตระและวิปัสสนาไม่ได้ เพราะขึ้นไม่ถึงชั้นนี้

     ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ 

     รูปขันธ์อย่างละเอียดเล็กกว่าปลายขนจามรี ตั้งอยู่ภายในกำเนิดเดิม ลักษณะกลมใสสะอาด ส่วนเวทนาขันธ์ – สัญญาขันธ์ – สังขารขันธ์ – วิญญาณขันธ์ทั้ง ๔ นี้ ก็ละเอียดและเล็กกว่ารูปขันธ์ กล่าวถึงขนาดของรูปขันธ์ว่ามีขนาดเท่าไร ? นามธรรมทั้ง ๔ ก็เท่านั้น ลักษณะกลมใสสะอาดเท่ากัน ซ้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ นี่คือกล่าวด้วยส่วนละเอียดของขันธ์ ๕

     ส่วนหยาบของขันธ์ ๕ นั้น ส่วนของกายโตเท่าไร ? เวทนา – สัญญา – สังขาร – วิญญาณ ก็โต
เท่า ตัวเหมือนกัน ถ้ากายมนุษย์ที่ใหญ่ ๆ ขึ้นไปจนตัวเต็มจักรวาลขนาดของเวทนา – สัญญา – สังขาร – วิญญาณ ก็โตขึ้นเท่าขนาดของลำตัวเหมือนกันขันธ์ ๕ กายหนึ่ง ๆ ก็มีเป็นชั้น ๆ ซ้อนกันอยู่ตามลำดับของกาย จนสุดหยาบสุดละเอียด เหมือนอย่างแบบฟอร์มแต่งกายของทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เช่น นายสิบ นายร้อย นายพัน นายพล เป็นตัวอย่าง

     ขันธ์ ๕ เป็นอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา

     ขันธ์ ๕ เป็น อนิจฺจํ ไม่เที่ยง

     ทุกฺขํ เป็นทุกข์

     อนตฺตา ไม่ใช่ตัวตน

     อธิบายดังนี้ ขันธ์ ๕ ที่เรียกว่าไม่เที่ยงนั้น เพราะจำเดิมแต่แรกขณะเกิดมาก็เปลี่ยนไปทีละนิด ๆ เป็นวิปริตนามธรรม แปรผันยักย้ายกลับกลาย เปลี่ยนจากรูปเดิมอยู่ทุกวินาที เหมือนนาฬิกาเดินเลื่อนที่อยู่เสมอ หรือเหมือนดวงอาทิตย์ตั้งแต่แรกอุทัยขึ้นมา ก็เดินเลื่อนไปทีละนิด ๆ ไม่คงที่

     ขันธ์ ๕ ไม่คงที่เปลี่ยนแปลงเป็น “อนิจฺจํ” อยู่เสมอเช่นนี้เป็นตัว “เหตุ” ขันธ์ ๕ จึงเป็น “ทุกข์” ซึ่งเป็นตัว “ผล” อันเนื่องมาจากความไม่เที่ยง

     ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์เพราะไม่คงที่ จึงมี ชรา พยาธิ มรณะ เบียดเบียนอยู่ทุกเมื่อ ใครเป็นผู้รับทุกข์ ? ก็คือกายนั้น ๆ ที่อาศัยอยู่ภายในขันธ์ ๕ นั้น ๆ เป็นผู้รับ เช่น กายทิพย์อาศัยอยู่ภายในกายมนุษย์ เป็นต้น เป็นทุกข์เพราะอะไร ? เพราะอุปทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) ความเข้าไปยึดมั่นในขันธ์ ๕ ที่อยู่อาศัยนั้นว่า เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา ด้วยอำนาจตัณหา มานะทิฏฐิ

     ใครเห็นทุกข์ ? กายธรรมเป็นผู้เห็นทุกข์ ทุกข์เพราะอยู่มาเหมือนบ้านเรือนอันเก่าแก่ ทุกข์เพราะคร่ำคร่าทรุดโทรมเป็นลำดับมา

     ใครเป็นผู้ทุกข์ ? คนอาศัยในเรือนนั้นเป็นผู้ทุกข์ ทุกข์เพราะเดือดร้อนอยู่อาศัยไม่สะดวก

     ทุกข์เพราะอะไร ? ทุกข์เพราะเข้าไปยึดถือว่าเรือนของเรา เราอาศัยอยู่ ถ้าปล่อยว่างวางเฉยทอดธุระเสียว่า “ไม่ใช่เรือนของเราแล้ว“ ทุกข์จะมีมาจากไหน ? ก็ไม่มีทุกข์แน่นอน

     ส่วนอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนนั้น อธิบายดังนี้ เพราะขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง วิปริตแปรผันยักย้ายเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ไปทุกวินาที และเป็นทุกข์เดือดร้อนต่าง ๆ นานา ขันธ์ ๕ จึงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งกายที่ ๕ คือ กายธรรมเป็นผู้เห็นแจ้งว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งกายธรรมเป็นกายนิจจัง สุขัง อัตตา ดังนั้น ขันธ์ ๕ ของกายมนุษย์ กายทิพย์ กายปฐมวิญญาณหยาบ (กายรูปพรหม) และกายปฐมวิญญาณละเอียด (กายอรูปพรหม) รวมเป็น ๒๐ ขันธ์ จึงตกอยู่ในภาวะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะกายเหล่านี้มีอุปทานคือความยึดมั่นถือมั่น

     ส่วนกายที่ ๕ คือ กายธรรม เป็นกายที่ปล่อยอุปทาน ไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ปล่อยเสียแล้ว ละเสียแล้ว วางเสียแล้ว เป็นกายมรรคสัจจะ ตลอดถึงนิโรธสัจจะ จึงตกในภาวะเป็นพุทธโลกุตระ โลกุตรจึงเป็นนิจจัง สุขัง อัตตาแท้ ได้เห็นแจ้งใน ๔ กายข้างต้นนั้น ซึ่งเป็นทุกข์สัจจะ – สมุทัยสัจจะ เป็นโลกีย์ เพราะมีอุปทานยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แจ้งประจักษ์ แท้ในวิสุทธิมรรคเล่ม ๓ หน้า ๒๕๑ บรรทัด ๑๐ ว่า ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งนั้นแหละเป็นอนัตตา

     คำว่า “วิปัสสนา” ตำราท่านก็แปลไว้แล้วว่า “เห็นแจ้ง” เหตุผลที่เห็นแจ้ง เป็นเพราะกายธรรมท่านเป็นสื่อให้เป็น

** ถ้าไม่มีกายธรรม เราจะเห็นแจ้งไม่ได้ และเห็นวิเศษไม่ได้ เพราะกายธรรมคือสื่อแห่งการ
เห็น ไม่มีใครอธิบายได้ว่า รูปร่างหน้าตาลักษณะของขันธ์ ๕ – อายตนะ ๑๒ – ธาตุ ๑๘ – อินทรีย์ ๒๒ – อริยสัจ ๔ – ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ เป็นอย่างไร ? มีหลวงพ่อวัดปากน้ำรูปเดียวเท่านั้นที่บอกให้เราฟังได้ ไม่ว่าท่านจะไปอ่านตำราที่ใด ? ก็จะไม่ทราบว่าเรื่องดังกล่าวนั้นมีรูปร่างอย่างไร ? การที่หลวงพ่อบอกความรู้ลึกซึ้งเหล่านี้ได้เป็นเพราะหลวงพ่อท่านเข้าถึง ธรรมชั้นสูง คือเข้าถึงธรรมกาย ดังนั้นความรู้ว่าด้วยวิปัสสนาจึงได้รับการอธิบายจากหลวงพ่อ
{mospagebreak title=กายธรรม&heading=กายธรรม}
กายธรรม

     ตำรากล่าวถึงกายธรรม คือกายที่เป็นพระพุทธรูปขาวใสเกตุบัวตูม ตั้งแต่กายเล็กไปถึงกายใหญ่ สาระสำคัญที่ตำราสรุปไว้ เป็นดังนี้

     (๑) อานุภาพของกายธรรม กำจัดกิเลสคือกำจัดอนุสัยได้ ๓ คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย
อวิชชานุสัย

     (๒) ดวงธรรมที่ทำให้เกิดกายธรรม เมื่อเกิดดวงปฐมมรรคแล้วก็เกิดดวงมรรคจิต แล้วเกิดดวง
มรรค ปัญญา แล้วเกิดกายธรรมเป็นลำดับ นี่เป็นกรณีหนึ่ง อีกกรณีหนึ่ง กล่าวถึงดวงปฐมมรรคที่เจริญแล้วเกิดเป็นดวงศีล ก็เป็นดวงศีลที่เจริญเรียกว่า อธิศีล จิตที่เจริญเรียกว่าอธิจิต ปัญญาที่เจริญ เรียกว่า อธิปัญญาแล้วก็เกิดกายธรรมเป็นลำดับไป เป็นความก้าวหน้าของกายธรรมที่สามารถพัฒนาดวงปฐมมรรคให้ใสควรแก่การเลื่อน ดวงปฐมมรรค ส่งผลให้ศีล จิต และปัญญาได้รับผลด้วย เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องของการเดินวิชาปกติประจำวัน ไม่ยากอะไร ! แต่ถ้ากล่าวเป็นกฎเกณฑ์ดูจะยากหน่อย

* ตำราพูดอีกตอนหนึ่งว่า มีพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ตรงนี้ไม่ยาก กายธรรม
คือ พระพุทธรูปขาวใส เกตุบัวตูม เป็นพุทธรัตนะ ดวงธรรมในท้องของกายธรรมคือดวงปฐมมรรคเป็นธรรมรัตนะ ใจ – จิต – วิญญาณ ของกายธรรมเป็นสังฆรัตนะ

     ตำรากล่าวอีกว่า มีการประชุมปิฎก ๓ คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎกใน “กายธรรม” นั้น หมายความว่า กายธรรมเป็นผู้เห็นความรู้ปิฎกทั้งปวง ถ้าใครยังไม่เข้าถึงกายธรรม ก็ยังไม่เข้าถึงปิฎกแต่การเข้าถึงนั้นต่างกัน คือพวกเราเรียนวิชชาธรรมกาย ก็เห็นปิฎกบางแบบตามมีตามได้ เห็นบ้างไม่เห็นบ้าง เป็นเพราะเหตุใดจึงเป็นอย่างนั้น ? ตอบว่า เป็นไปตามขีดขันของดวงบารมี ใครบารมีแก่ เขาก็เห็นมาก ใครบารมีน้อยก็เห็นน้อย แต่ว่าต้องเห็นอยู่แต่ว่าเห็นมากหรือเห็นน้อยเท่านั้น หมายความว่า เมื่อเราเข้าถึงกายธรรมแล้ว ส่งผลให้ตัวเราฉลาดขึ้นไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง แต่จะให้ฉลาดเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ยังไม่ได้เพราะบารมีธรรมกำลังสร้างสม

     • กล่าวถึงท่านที่เป็นพระพุทธเจ้า ท่านสร้างบารมีธรรมของท่านมาอย่างบริบูรณ์แล้ว ท่าน
สร้าง สมมามากชาติมากภพแล้ว บัดนี้ถึงคราวที่จะตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง พระองค์ก็มาเกิดเป็นมนุษย์อย่างเรานี้ ครั้นถึงกำหนดเวลามีความปรารถนาจะเห็นธรรม ก็ต้องออกไปทำความเพียรทางใจ สุดท้ายก็เห็นธรรมด้วยพระองค์เอง คือเห็นกายธรรมอย่างนี้ แต่กายธรรมของพระองค์บอกปิฎกได้อย่างครบถ้วน เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ? ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะได้สร้างบารมีมาแล้วหลายภพหลายชาติ จนดวงบารมีของพระองค์เข้ากฎเกณฑ์นั่นเอง

     ขอเปรียบเทียบอีกอย่างหนึ่ง เช่น เราเพิ่งเข้ารับราชการจะเลื่อนเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเลยนั้นกระทำมิได้ ต้องไปเป็นเสมียนก่อน เลื่อนมาเป็นปลัดอำเภอ เลื่อนมาเป็นนายอำเภอ เลื่อนมาเป็นปลัดจังหวัด เลื่อนมาเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัด ต่อไปจึงเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดได้ จึงจะมีความรอบรู้บริหารราชการได้ นั่นคือต้องสร้างบารมีมาเป็นลำดับนั่นเอง งานของทางราชการก็คือความรอบรู้กฎหมาย รอบรู้ระบบการบริหารตามที่บ้านเมืองต้องการ ในทางธรรมก็คือความรอบรู้ธรรมน้อยใหญ่ตามที่พระพุทธเจ้าในอดีตต้องการ

     • สรุปว่า การประชุมปิฎกนั้น กระทำได้ด้วยกายธรรม แต่ความสามารถของภายธรรมนั้น มี
ความแตกต่างกันตั้งแต่กายธรรมเล็กไปถึงกายธรรมใหญ่

** การพิจารณาว่าขันธ์ ๕ เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา **

     อนิจฺจํ แปลว่า ไม่เที่ยง เพราะมันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เจ็บไข้เป็นโรค เป็นภัย แล้วก็ตายไปในที่สุด ความแก่ชรา การเจ็บไข้ และการตาย เป็นทุกข์ เราบังคับไม่ให้แก่ชรา เราบังคับไม่ได้ จะไม่ให้เป็นโรคภัย เราก็บังคับไม่ได้และเราจะไม่ให้ตาย เราก็ไปบังคับไม่ได้ การบังคับไม่ได้นี่เองท่านจึงสอนไม่ให้เรายึดมั่นถือมั่นตัวตน การยึดมั่นไม่ได้นี่เองเรียกว่าเป็นอนัตตา

     • อะไรเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ขันธ์ ๕ เป็น อนิจฺจํ ทุกขํ อนตฺตา นั่นก็คือ ดวงทุกข์กับดวง
สมุทัยนั่นเองที่เป็นตัวการทั้ง ๒ ดวงนี้เป็นดวงดำหุ้มใจของเราอยู่ เป็นความรู้ชั้นสูง ที่ท่านต้องเรียนต่อไป
กาย โลกีย์ทั้งหมด คือ กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียด กายพรหมหยาบ กายพรหมละเอียด กายอรูปพรหมหยาบ กายอรูปพรหมละเอียด เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งนั้น ส่วนกายธรรมทั้งหมดเป็นกาย นิจจัง สุขัง อัตตา ตำรากล่าวว่ากายธรรมเป็นกายโลกุตระ เป็นกายทำมรรคให้เกิดขึ้นได้ เป็นกายทำนิโรธได้ สามารถดับทุกข์และดับสมุทัยได้ กายธรรมจึงรอดพ้นจากการบังคับของทุกข์และสมุทัย กายธรรมจึงมีฐานะเป็น นิจจัง สุขัง อัตตา

******



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท