เรื่อง สวรรค์ – นรก – เทวดา – พรหม มีจริงหรือ ? (ตอนที่ 1)


เรื่อง สวรรค์ – นรก – เทวดา – พรหม มีจริงหรือ ? (ตอนที่ 1)

 

     ถึงแม้ว่าประชาชน ชาวไทยจะนับถือพุทธศาสนามากกว่า ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ก็ตาม แต่ปัญหาขัดแย้งทางวิชาการปรากฏว่ามีอยู่เสมอในระหว่างพุทธศาสนิกชนกลุ่ม ต่างๆ แม้ภิกษุผู้ทำการบรรยายธรรมถ่ายทอดไปสู่ประชาชนก็สอนไม่ตรงกัน ตัวอย่าง เช่น กลุ่มหนึ่งกล่าวว่า มีนรก มีสวรรค์ มีเทวดา มีพรหม อีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า ไม่มีนรก สวรรค์ เทวดา พรหม พวกที่เชื่อว่ามีนรก สวรรค์ เทดา พรหม เป็นพวกไม่มีเหตุผล เหลวไหล งมงาย หรือพวกหนึ่งกล่าวว่านิพพานสูญ อีกพวกหนึ่งกล่าวว่านิพพานไม่สูญ ดังนี้ เป็นต้น

     ข้อบกพร่องของ “นักปราชญ์” สมัยปัจจุบันอย่างหนึ่ง คือ ไม่เข้าใจในพระธรรมคำสั่งสอนแล้วคิดว่าเข้าใจ พยายามเอามาอธิบายกันตื้น ๆ ง่าย ๆ ผู้บรรยายธรรมจำนวนมากได้แต่อ่านตำราโดยไม่ปฏิบัติ เมื่อไม่ปฏิบัติก็ไม่เกิดความเข้าใจที่แท้จริง ได้แต่เกิดความเข้าใจโดยใช้เหตุผลสามัญที่ตนตรึกตรอง ข้อนี้เป็นจุดอ่อนของ “นักปราชญ์” และนึกศึกษาธรรมสมัยปัจจุบัน ที่พยายามจะใช้เหตุผลธรรมดาที่คนทั่วไปตรึกตรองได้เข้ามาใช้กับธรรมที่พระ พุทธเจ้าได้มาด้วยวิธีอื่น เมื่อไม่เข้าใจ ไม่รู้จริง คำอธิบายก็เขวไปหมด และประชาชนทั่วไปที่ชอบฟังสิ่งที่ตนเข้าใจง่ายๆ ก็พลอยสรรเสริญยกย่องไปด้วย

     จะอย่างไรก็ตาม หลักฐานอันมั่นคง อย่างเดียว ที่มีอยู่ก็คือ **พระไตรปิฎก** ซึ่งหากจะนำมาเทียบกับคำสอน หรือความเห็นของนักปราชญ์สมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือฆราวาส ในเมื่อเราจะสอบสวนหาความจริงจากพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงสมควรที่จะศึกษาจากพระไตรปิฎกไปก่อน โดยใช้พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เป็นหลัก

เล่ม ๑๒ หน้า ๒๖๖

“ธรรม ที่เราได้บรรลุนี้แล ลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้โดยยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต **อันความตรึกหยั่งไม่ถึง** ละเอียด รู้ได้แต่บัณฑิต ส่วนประชาชนนี้เป็นผู้ยินดีเพลิดเพลินใจในอาลัย เป็นผู้เห็นปฏิจจสมุปบาทที่เป็นปัจจัยแห่งธรรมเหล่านี้ได้โดยยากและเห็นได้ โดยยากซึ่งธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง สลัดอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกจากตัณหา”

     ความนี้แสดงว่า การใช้ความคิดตรึกตรองตามธรรมดา(ตามเหตุผลทางวิทยาศาสตร์)จะหยั่งไม่ถึง

เล่ม ๑๒ หน้า ๑๑๕

“ดูกร สารีบุตร ผู้ใดแลพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่ตรงนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็น ญาณทัสสนะ อันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวล ด้วยความตรึกที่ไตร่ตรอง ด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูกรสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจาเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก”

     ความนี้ยิ่งย้ำถึงความบกพร่องของ “นักปราชญ์” สมัยใหม่ ที่พยายามจะใช้สมองที่ยังไกลกับสมองพระอรหันต์มากมาย ไปใช้ไตร่ตรองหรืออธิบายธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าได้มาจากญาณทัสสนะ

     นอกจากนั้น ยังมีอีกหลายสิ่งที่เป็นไปโดยหาเหตุผลไม่ได้ หรือไม่มีทางหาเหตุผลที่แน่นอนได้ ดังเช่นเรื่องที่ได้จากญาณทัสสนะที่กล่าวมาแล้ว เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมี อจิณไตย ๔ อีก

เล่ม ๒๑ หน้า ๙๓

“ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อจิณไตย ๔ ประการนี้ อันบุคคลไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิดพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือนร้อน อจิณไตย ๔ ประการเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย
- พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑
- ฌาณวิสัยของผู้ได้ฌาณ ๑
- วิบากแห่งกรรม ๑
- ความคิดเรื่องโลก ๑
“ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อจิณไตย ๔ ประการนี้แลไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิดพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน ฯ “

     พระพุทธเจ้าทรงมีสัพพัญญุตญาณ คือ ความรู้ไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีอะไรที่ต้องการรู้แล้วจะรู้ไม่ได้ ดังนั้น แม้เป็นเรื่องที่เป็นอจิณไตยสำหรับคนธรรมดา ท่านก็ทรงรู้ได้ ถ้าเราจะสงสัยว่าพระพุทธเจ้าก็คนมี ๒ มือ ๑๐ นิ้ว ท่านรู้ได้ ทำไมเราจึงรู้ไม่ได้ อันนี้แหละ คือ สงสัยในพุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

     วิบากแห่งกรรมได้แก่ เรื่องทำกรรมอย่างนี้ทำไมจึงได้ผลอย่างนั้น มีผลตอบสนองอย่างนั้น เป็นอย่างอื่นไม่ได้หรือ เรื่องของโลกนี้ใครสร้าง เกิดมาแต่เมื่อใด ไก่เกิดก่อนไข่หรืออย่างไร วิญญาณมาจากไหน เป็นต้น

     เมื่อคนธรรมดารู้ไม่ได้ แต่พระพุทธเจ้ารู้ได้ เราก็ต้องเชื่อท่านไป แต่ปัญหามีว่า เชื่อตามพระพุทธเจ้าโดยที่หาเหตุผลให้ตนเองเข้าใจไม่ได้เช่นนี้ จะไม่ค้านกับที่สอนไว้ในกาลามาสูตร (หรือเกสปุตตสูตร) ว่าอย่าพึงยึดถือเพราะอะไรต่างๆ ๑๐ ข้อนั้นหรือ แปลว่าพระพุทธเจ้าสอนไว้ผิดหรือ ถ้าไม่ผิดก็แปลว่า สอนค้านกันเองหรือ ? อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสอย่างไรแล้วต้องเป็นอย่างนั้น ไปเป็นอย่างอื่นไม่ได้

ในเล่ม ๒๐ หน้า ๒๑๓

“มาเถิด ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือ
- ตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา
- ตามถ้อยคำที่สืบ ๆ กันมา
- โดยตื่นข่าว
- โดยอ้างตำรา
- โดยเดาเอาเอง
- โดยคาดคะเน
- โดยความตรึกตามอาการ
- โดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว
- โดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อถือได้
- โดยความนับถือว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา

ในเล่ม ๒๐ หน้า ๒๑๗

“เมื่อ ใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่าธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้วเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่”

     นี่ก็เห็นได้ชัด บรรดาผู้นำเอาเกสปุตตสูตรมาอ้าง(มักใช้ชื่อว่ากาลามาสูตร) เมื่ออ้างเสร็จแล้วก็สรุปว่าพระพุทธเจ้าสอนว่าให้ตรึกตรองด้วยเหตุผลเสีย ก่อน จึงเชื่อ ซึ่งเราเห็นได้ว่าเป็นการนำมาอ้างผิดๆ กล่าวตู่พระพุทธเจ้า ความจริงพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้บอกให้ใช้เหตุผล ท่านบอกให้ดูว่าธรรมเหล่าใดเป็น อกุศล เป็นโทษ ก็อย่ารับไปปฏิบัติ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล เป็นประโยชน์จึงค่อยรับไปปฏิบัติ ดังนี้ ต่างหาก

     อันที่จริงแล้ว พระธรรมมิใช่ว่าจะเข้าใจด้วยการใช้สมองตรึกตรองอย่างที่นักปราชญ์สมัยวิทยาศาสตร์ชอบทำกัน

เล่ม ๑๔ หน้า ๒๒๙

สมณุทเทสอจิรวตะ ทูลพระพุทธเจ้าว่า ราชกุมารสัยเสนคัดค้านข้อธรรมที่ได้แสดงให้ฟัง พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “ดูกรอัคคิเวสสนะ พระราชกุมารจะพึงได้ความข้อนั้นในภาษิตของเธอนี้แต่ที่ไหน ข้อที่ความข้อนั้น เขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วย เนกขัมมะ แต่พระราชกุมารชัยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้งความข้อนั้นได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้”

     นี่แสดงว่าถ้ายังบริโภคกามจะตรึกตรองอย่างไรธรรมะบางข้อก็ แจ่มแจ้งไม่ได้

เล่ม ๑๙ หน้า ๔๕๐

“เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ”

เล่ม ๒๓ หน้า ๓๑๐

ทรง ตอบท่านพระปุณณิยะว่า เมื่อรู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ต้องปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมด้วย จึงจะเข้าใจแจ่มแจ้ง อันนี้เป็นข้อบกพร่องของนักศึกษาธรรม คือ เอาแต่อ่านจนรู้อรรถรู้ธรรมว่าพูดว่าอย่างไร แต่ไม่เข้าใจแจ่มแจ้งเพราะไม่ได้ปฏิบัติ จึงมักจะเกิดโต้เถียงกันในความเห็น

     คำว่า “แจ่มแจ้ง” นั้น ไม่ใช่อ่านหนังสือแล้วรู้ใจความ หรือเข้าใจเหตุผลธรรมดา

เล่ม ๒๗ หน้า ๙๒ (ชาดก)

“บุคคลเหล่าใดยังไม่รู้ธรรมทั้งหลาย ด้วยญาณทั้งปวง บุคคลเหล่านั้นแลย่อมสงสัยในธรรมทั้งปวง”

เล่ม ๒๙ หน้า ๒๘๔ เป็นการอธิบายพุทธดำรัส

“บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่ง ญาณ”

     อธิบายคำ “พึงศึกษา” ว่ามี ๓ ประการ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา(ทำฌาณจนถึงฌาณ ๔) และปัญญาสิกขา(ให้เห็นความเกิดและความดับเป็นอริยะชำแรกกิเลส)

เล่ม ๑๖ หน้า ๑๗

“พระอริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่นเลย”

เล่ม ๑๖ หน้า ๑๒๗

“เว้น จากความเชื่อ ความพอใจ การฟังตามเขามา ความตรึกไปตามอาการ และจากการทนต่อความเพ่งด้วยทิฐิ ท่านมุสิละมีญาณเฉพาะตัวท่านว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ ดังนี้หรือ”

*** ปัญหาที่ชอบนำมาถกเถียงกันในระหว่างพุทธศาสนิกชน ปัญหาหนึ่ง ก็คือ สวรรค์ นรกมีจริงหรือ ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกับว่า เทวดา พรหมมีจริงหรือ ฝ่ายหนึ่งว่า สวรรค์ นรก มีจริง อีกฝ่ายหนึ่งว่าไม่มี ท่านพูดเปรียบเทียบต่างหาก สวรรค์ก็อยู่ในอก นรกก็อยู่ในใจนี่แหละ อีกฝ่ายหนึ่งปรารภว่าทำไมพระพุทธศาสนาจึงต้องอ้างเทวดา ฯลฯ

มีต่อ >>

--------------------------------------------

 

 

 



ความเห็น (1)

ผมเห็นด้วยที่พุทธศาสนิกชนควรจะไม่สนใจในเรี่องที่ไร้ประโยชน์ จากคำสอนเรี่องใบไม้ในกำมีอน่าจะเสริมคำสอนนิ้ดืทื่สุด ยากที่จะหาผู้ใดมายีนยันว่าเรี่อง นรก สวรรค์ เทวดา ชาติก่อน ชาติหน้า มืจริงหรีอไม่ อย่างก็ตาม ในชืวิตมนุษย์ปุถุชน เหตุผล เท่านั้น อาจไม่เพืยงพอในการตัดสินใจเรี่องใคเรี่องหน๊งได้ แต่ถ้าใข้ เหคุ และ ผล ก็น่าจะหาคำตอบกับปัญหาหลายๆเรี่องได้ทีเดียว โดยเฉพาะในเหตุการณ์โลกธรรมดา

ข้อสำคัญ ทั้ง เหตุ และ ผล จะต้องมาจาก:

๑. ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์

๒. ไม่มือคติในการเขี่อและการตัดสินใจ

ในอริยส้จ ๔ พระพุทธองค์สละทุกสิ่งแสวงหาทาง เพี่อให้ มนุษย์พันทุกข์

พระองค์ทรงสอนว่า ทุกข์ ได้แก่อะไร สาเหตุของทุกข์ คีออะไร

ภาวะของความพ้นทุกย์ และ วิธืพ้นทุกย์

สาเหตุยองทุกย์ คีอ ตัณหา(และกิเลส) ผู้ใดทำกรรมใด หรีอ สอนผ้อี่นให้ทำกรรมใด ที่ให้ หรีอ เพิ่มให้มื

กิเลสตัณหามากขึ้น ย่อมขัดแย้งกับกับคำสอนของพพุทธเจ้า

น่าจะเลิกพูดถึง สิ่งทื่เป็นอจิณไตยได้แล้ว รังแต่จะพาปุถุขนเข้าป่าเข้าเขา ห่างไกลจากพระบรมครูของเราไปทุกที?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท