ปัจจัยก้านการเมือง


นภาพร
ปัจจัยด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมมีผลต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างไรบ้างค่ะ


ความเห็น (1)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

ปภังกร
เขียนเมื่อ

เป็นคำถามที่น่าคิดและดีมาก ๆ เลยครับ

แต่ถ้าจะว่าไปแล้วทุกอย่างเป็นระบบที่มีผลเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันหมดครับ และจุดกำเนิดที่เป็นปัจจัยหลัก หรือตัวแปรหลักจริง ๆ แล้ว ทุกอย่างเกิดขึ้นจาก "คน" ครับ

คนมีผลต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

คนเป็นปัจจัยหลัก เป็นตัวแปรต้น

ส่วนการเมือง เศรษฐกิจและสังคม เป็นตัวแปรตามครับ ซึ่งจะมีตัวแปรสอดแทรกและตัวแปรแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย

สิ่งที่ผมพูดนี้เป็นมิติตามที่ผมวิเคราะห์นะครับ อาจจะแตกต่างหรือไม่เหมือนกับท่านอื่น ๆ ครับ เพราะอาจจะมองกันคนละมุมครับ

เรื่องเหล่านี้ต้องว่ากันเป็น Jeneration เลยครับ

โดยจุดกำเนิดต้น ๆ หลัก ๆ เลยนี่ก็คือ "คน" ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้

ถ้ามองภาพในปัจจุบัน อาจจะมองได้ว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม กำลังมีผลต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ก็เพราะว่า Jeneration ปัจจุบันเป็นยุคแก้ไขครับ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากคนที่เข้ามาบริหารงาน เข้ามาสร้าง เข้ามาพัฒนา ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดผลดีกับ "คน" หรือตัวของเขาและเราเอง

สร้างการเมืองมาเพื่อปกครองตนเอง

สร้างเศรษฐกิจมาเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเอง

สร้างสังคมขึ้นมาเพื่อทำให้ตนเองอยู่รอดและมีความสมดุลในการดำเนินชีวิต



ความเห็น (1)

แต่ถ้าจะตอบอีกมิติหนึ่งก็คือ การเมือง เศรษฐกิจและสังคม มีผลอย่างไรต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ก็ตอบพอได้ว่าอย่างนี้ครับ

  • การวางแผนหรือการลงทุนในการสร้าง "คน" ผลิตมนุษย์ การทำสิ่งต่าง ๆ นั้น จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ
  • ปัจจัยแรกเกิดขึ้นจากผลเชิงประจักษ์ที่ผ่านมาในอดีต ว่าสิ่งที่เราทำผ่านมานั้นล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จอย่างไร เราก็จะแก้ไขโดยการผลิตคนหรือสร้างคนออกมาแก้ไขและพัฒนาต่อไป
  • ในปัจจุบันคนมีเพียงพอ มากน้อยเกินไปหรือไม่อย่างไร ผู้บริหารประเทศ หน่วยงานต่าง ๆ ก็จะต้องคิดต้องวางแผน
  • เริ่มตั้งแต่การวางแผนครอบครัว ถ้าเกิดยังจำได้ในช่วงของหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนนั้นโลกของเราเข้าสู่ยุค Baby Boommer ก็คือ มีเด็กเกิดขึ้นมาเยอะมาก เพราะตอนนั้นเราสูญเสียคนไปเยอะ นั่นก็คือคนตายจากสงคราม
  • ประเทศต่าง ๆ ก็มีนโยบายการผลิตคนกันเต็มที่ ประกอบกับเทคโนโลยีในเรื่องของการคุมกำเนิดยังไม่ทันสมัยเหมือนในปัจจุบัน ช่วงนั้นจะสังเกตได้ว่า คนในครอบครัวหนึ่ง ๆ จะมีลูกกันเป็นจำนวนมาก บางครอบครัวมีลูกเกินสิบคน
  • ต่อมาเมื่อประชาชนบนโลกมีเยอะขึ้น เทคโนโลทันสมัย ก็เริ่มมีการคำนวณปริมาณอาหารบนโลกว่า จะไม่เพียงพอเลี้ยงดูคนที่อยู่บนโลก ก็จะเริ่มมีการวางแผนครอบครัวคุมกำเนิดมากขึ้น ยุคนั้นก็เลยเรียกว่า Jeneration X ครอบครัวมีลูกน้อยลง สองถึงสามคน
  • จนกระทั่งมาถึงในทศวรรษที่ผ่านมาโลกเราเดินทางเข้ามาสู่ยุค Jeneration Y ยุคแห่ง "สุขภาพนิยม" เน้นสุขภาพและคุณภาพของทั้งคนและครอบครัว
  • ระบบเศรษฐกิจ เน้นขายสุขภาพ สังคมเน้นคนคุณภาพ ทำให้ "คน" ที่เกิดมานั้นเน้นที่คุณภาพมากกว่าปริมาณครับ

ประเด็นวิเคราะห์ต่าง ๆ มีเยอะมาก ๆ ครับ

ถ้าผมตอบคำตอบไม่ตรงอย่างไร หรือต้องการประเด็นใดเพิ่มเติม เขียนมาบอกเพิ่มเติมได้นะครับ

ยินดีให้บริการเสมอครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท