อนุทินล่าสุด


โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้ ทำในผู้หญิงสูงอายุช่วงอายุ 70 ต้นๆที่ออกกำลังกายแบบตามคำแนะนำคือ แบบแอโรบิคที่มีความหนักปานกลางมากกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์และออกกำลังกล้ามเนื้อมากกว่า 2 วันต่อสัปดาห์ จากการติดตามในช่วงสองปีกว่า พบว่ากลุ่มนี้เสียชีวิตน้อยกว่ากลุ่มที่ออกกำลังน้อยกว่านี้ 65% ทีเดียว อ่านได้จาก Accelerometer-measured physical activity and sedentary behavior in relation to all-cause mortality. The Women's Health study. Circulation 2017; 136:00-00.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้น่าสนใจที่แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องของหัวใจกับสมอง เขาวัดดรรชนีเลือดที่สูบฉีดจากหัวใจในผู้สูงอายุสุขภาพดีพบว่าสัมพันธ์กับเลือดที่ไปเลี้ยงสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคความจำเสื่อม เป็นการศึกษาเบื้องต้นที่แสดงว่าในคนที่ไม่ได้มีโรคเกี่ยวกับหัวใจใดๆ อัตรานี้ก็สัมพันธ์กัน อ่านได้จาก  Lower cardiac index levels relate to lower cerebral blood flow in older adults. Neurology. published online November 8, 2017. doi: http://dx.doi.org/10.1212/WNL.0000000000004707.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้ยิ่งต้องรีบบอกต่อเลยค่ะ ของใกล้ตัวที่ใช้ได้ดีมีประโยชน์ เขาทดลองแล้วพบว่าการใช้เบคกิ้งโซดาละลายน้ำล้างผลไม้ด้วยการแช่ไว้ 12 ถึง 15 นาทีมีประสิทธิภาพในการล้างยาฆ่าแมลงกลุ่ม thiabendazole หรือ phosmet จากแอ๊ปเปิ้ลได้ดีกว่าการล้างด้วยน้ำยา clorox หรือการล้างน้ำก๊อกเฉยๆ อ่านรายละเอียดการทดลองได้จาก Effectiveness of Commercial and Homemade Washing Agents in Removing Pesticide Residues on and in Apples. J Agric Food Chem. Publication Date (Web): October 25, 2017. DOI: 10.1021/acs.jafc.7b03118.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้ก็เกี่ยวกับคนท้องอีกเหมือนกัน เป็นข้อยืนยันว่าการให้แมกนีเซียมซัลเฟตในคนท้องที่คลอดก่อนกำหนดจะช่วยลดอัตราเด็กเกิดเป็น  cerebral palsy และลดอัตราการเสียชีวิตสำหรับเด็กที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ โดยเขาวิเคราะห์จากการศึกษาหลายๆการศึกษาที่รวมแล้วประมาณคุณแม่ห้าพันกว่าคน ถือว่าน่าจะเชื่อได้และควรเอามาพิจารณาปรับใช้ อ่านได้จาก Assessing the neuroprotective benefits for babies of antenatal magnesium sulphate: An individual participant data meta-analysis. PLoS Med Published: October 4, 2017.   



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้น่าบอกต่อไว้ก่อน เขาพบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ใช้ยา acetaminophen (นั่นคือพาราเซ็ตที่เราคุ้นชื่อนั่นเอง) อาจสัมพันธ์กับการที่ลูกจะมีอาการ ADHD (attention-deficit/hyperactivity disorder) อันนี้เราก็คุ้นๆกันกับชื่อว่าโรคสมาธิสั้น เป็นข้อมูลที่ได้มาจากข้อมูลเด็กแสนกว่าคนที่เกิดในช่วงปี 1999 ถึง 2009 จากแม่จำนวนเก้าหมื่นกว่าคนที่ตอบแบบสอบถามซึ่งมีข้อมูลการใช้ยานี้ด้วย แล้วติดตามเด็กไปจนถึงปี 2014 ว่ามีการวินิจฉัยว่าเป็น ADHD รายงานนี้ไม่ได้มีการแสดงว่ามีความเกี่ยวข้องเป็นสาเหตุกันได้ยังไง แต่ก็ควรระวังการใช้เอาไว้ก่อนดีกว่า ก่อนจะมีการศึกษาอื่นๆยืนยันความเกี่ยวข้อง อ่านรายละเอียดได้จาก Prenatal Exposure to Acetaminophen and Risk of ADHD. Pediatrics. Published online October 30, 2017. doi: 10.1542/peds.2016-3840.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้พบว่าระดับของ Cardiac troponin T (cTnT) ซึ่งวัดด้วยวิธีที่มีความไวสูง สามารถทำนายอัตราการเสียชีวิตและการแสดงอาการทางหัวใจในคนไข้ได้แม้จะเป็นคนไข้ในกลุ่มที่ไม่มีอาการแสดงชัดเจน เพราะเขาติดตามเปรียบเทียบระดับของสารนี้ในคนไข้สองหมื่นกว่าคน ในระยะเวลาสามปี เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่น่าจะมีการศึกษาต่อไปว่า เอามาใช้ในลักษณะนี้ได้จริงๆหรือไม่ เพราะจากการศึกษานี้พบด้วยว่าระดับที่สูงขึ้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่มากขึ้นด้วย ต่อไปอาจจะเอามาใช้ทำนายหรือเฝ้าดูได้ด้วย อ่านได้จาก Stable High-Sensitivity Cardiac Troponin T Levels and Outcomes in Patients With Chest Pain. Journal of the American College of Cardiology. Volume 70, Issue 18, October 2017. DOI: 10.1016/j.jacc.2017.08.064.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้ช่วยยืนยันว่ายาลดไขมันกลุ่ม statins เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานจริงๆ ดังนั้นในคนที่ต้องใช้ยากลุ่มนี้จริงๆควรจะต้องติดตามดูภาวะเบาหวานด้วย แต่ก็ยังคงต้องใช้ยาเพราะประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองยังคงมากกว่าความเสี่ยงนี้นั่นเอง อ่านได้จาก Statin use and risk of developing diabetes: results from the Diabetes Prevention Program. BMJ Open Diab Res Care. Published online October 23, 2017.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานก็น่าจะให้ผลเช่นเดียวกันในบ้านเรา เขาพบว่าคนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักว่า การดื่มแอลกอฮอล์และความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านวิถีชีวิตสำหรับการเกิดมะเร็ง เป็นการสำรวจที่ชื่อ the National Cancer Opinion Surveyโดยพบว่าคนส่วนใหญ่เห็นอนาคตของงานวิจัยเกี่ยวกับมะเร็ง และตระหนักถึงการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆเช่น การงดสูบบุหรี่ กินผักผลไม้ แต่พบว่ามีสัดส่วนไม่ถึงครึ่งที่ตระหนักว่าความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งหลายชนิดเช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านมมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งมดลูก และการดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทั้งๆที่ในบรรดาผู้ที่ตอบแบบสำรวจนี้ หนึ่งในสามมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง อ่านผลโดยละเอียดได้จาก National Cancer Opinion Survey. October 2017.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้เกี่ยวกับการกินเหล็กเสริม น่าสนใจที่ผลน่าจะเอาไปปรับใช้ได้กับผู้ที่ต้องกินเสริม เพราะการศึกษานี้พบว่าการกินเหล็กเสริมนั้น กินแบบวันเว้นวัน การดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการกินต่อเนื่องกันทุกวัน ซึ่งผู้วิจัยบอกว่าความรู้นี้อาจจะช่วยให้คนที่ต้องกิน ยินดีจะกินเสริมมากขึ้นก็ได้ อ่านได้จาก Iron absorption from oral iron supplements given on consecutive versus alternate days and as single morning doses versus twice-daily split dosing in iron-depleted women: two open-label, randomised controlled trials. Lancet Haematol Published: 09 October 2017. DOI: http://dx.doi.org/10.1016/S2352-3026 (17)30182-5.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้สมควรรีบบอกต่ออีกแล้ว เพราะเป็นการยืนยันว่าการออกกำลังง่ายๆอย่างการเดิน แม้เพียงไม่มากก็ยังมีประโยชน์ นั่นคือเดินธรรมดา ไม่ถึงกับเป็นการออกกำลังด้วยซ้ำ เพียงแค่ไม่ถึง 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ก็ยังช่วยให้อายุยืนขึ้นกว่าคนที่ไม่เดินเลย เป็นการสำรวจติดตามในคนหลายหมื่น อายุเฉลี่ยช่วง 70 ปี เพราะฉะนั้นการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุออกมาเดินย่อมดีกว่าการนั่นๆนอนๆเฉยๆแน่นอน อ่านได้จาก Walking in Relation to Mortality in a Large Prospective Cohort of Older U.S. Adults.  Am J Prev Med. Published online October 19, 2017. DOI: http://dx.doi.org/10.1016/j.amepre.2017.08.019.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

อ่านรายงานวิเคราะห์นี้ในคนอเมริกันแล้ว สงสัยว่าบ้านเราก็น่าจะไปในทางเดียวกัน น่าเป็นห่วงทีเดียว เขารวบรวมข้อมูลช่วงสิบปี จาก 2004 ถึง 2014 พบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ระดับไขมันผิดปกติ การสูบบุหรี่ การใช้ยาเสพติด เพิ่มขึ้นทุกอย่างทั้งๆที่มีมาตรการให้ตระหนักเพื่อจะได้ลดลง อ่านได้จาก Increasing prevalence of vascular risk factors in patients with stroke:A call to action. Neurology. Published online October 11, 2017. doi: http://dx.doi.org/10.1212/WNL.0000000000004617. 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้น่าสนใจ เขาพบว่าภาวะความดันโลหิตสูงในช่วงวัยกลางคนคือ อายุสี่สิบกว่าๆสัมพันธ์กับการมีภาวะความจำเสื่อมจากการติดตามช่วงเกือบยี่สิบปี เพิ่มขึ้น 65% ในผู้หญิงเมื่อเทียบกับคนความดันปกติ ดังนั้นหากมีภาวะความดันโลหิตสูงนี่ควรจะรีบดูแลรักษาตัวเองให้ลงมาปกติน่าจะปลอดภัยกว่านะคะ อ่านได้จาก Female sex, early-onset hypertension, and risk of dementia. Neurology. Published online October 4, 2017. doi: http://dx.doi.org/10.1212/WNL.0000000000004602.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้ทำให้รู้ว่า การออกกำลังกายยังไงก็มีประโยชน์ ข้อมูลจากคนสุขภาพปกติเป็นหมื่น ในช่วงเวลา 9-13 ปี พบว่าในกลุ่มที่มีการออกกำลังกายแบบที่ชอบ ไม่ต้องหนัก ไม่ต้องนาน ก็ยังสัมพันธ์กับการมีอาการซึมเศร้าน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ออกกำลังอะไรเลย อ่านได้จาก Exercise and the Prevention of Depression: Results of the HUNT Cohort Study. American Journal of Psychiatry. Published online: October 03, 2017. Am J Psychiatry. Published online October 3, 2017. 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

เรื่องง่ายๆที่สำคัญต่อชีวิตและสุขภาพ ที่ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมโรคหัวใจและสมาคมโรคหลอดเลือดสมอง สหรัฐอเมริกา (AHA/ASA) แนะนำเอาไว้ เป็นสิ่งที่ดีทั้งต่อสุขภาพโดยทั่วไปรวมทั้งสุขภาพสมองด้วย เขาเรียกว่า เรื่องสามัญ 7 อย่างของชีวิต (Life's Simple 7) มีนิสัยที่ควรทำ 4 ข้อคือ ไม่สูบบุหรี่ ออกกำลังกายให้ถึงกำหนด กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และมีดรรชนีมวลกายต่ำกว่า 25 กก.ต่อตารางเมตร และปัจจัยที่ดีทางสุขภาพ 3 ข้อคือ ความดันโลหิตอยู่ที่ <120/<80 มม.ปรอทโดยไม่ต้องกินยา คอเลสเตอรอลรวมไม่เกิน 200 มก./ดล.และระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 100 มก./ดล อ่านได้จาก Defining Optimal Brain Health in Adults: A Presidential Advisory From the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke. Published online September 7, 2017.



ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

คนชอบกาแฟมีตัวช่วยยืนยันอีกแล้วค่ะ ว่าการดื่มกาแฟสัมพันธ์กับการลดอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ เป็นข้อมูลจากการติดตามสิบกว่าปีในคนหลายๆเชื้อชาติเสียด้วย อ่านได้จาก Coffee drinking and mortality in 10 European countries: a multinational cohort study. Ann Intern Med. 2017 Aug 15. และ Association of coffee consumption with total and cause-specific mortality among nonwhite populations. Ann Intern Med 2017 Aug 15.



ความเห็น (1)

ดีใจ หาเรื่องดื่มได้ละ ส่วนใหญ่ก็กาแฟดำตอนเช้าค่ะพี่โอ๋

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้น่าสนใจมาก เป็นการศึกษาว่ากลุ่มผู้ที่แพทย์ที่ตรวจทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจในเกณฑ์สำหรับตรวจคัดกรองภาวะก่อนเบาหวานมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงของคนไข้ที่แพทย์ควรจะคิดถึงการตรวจคัดกรอง และการดูแลจัดการภาวะก่อนเบาหวานของแพทย์ในอเมริกา โดยใช้แบบสอบถามแพทย์ทั่วไปที่มาประชุมประจำปี 155 คน ผลการศึกษาที่ได้น่าสนใจ เพราะแสดงให้เห็นว่าแพทย์ก็ยังมีความรู้ความเข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยงและเกณฑ์ที่ใช้เพื่อช่วยในการตรวจคัดกรองภาวะก่อนเบาหวานในสัดส่วนที่ไม่มากนัก มีย่อหย่อนในหลายๆประเด็นทีเดียว ซึ่งหากแพทย์ไม่รู้ ไม่สามารถช่วยแนะนำก็น่าเสียดายที่การจะลดอัตราส่วนคนเป็นเบาหวานก็อาจจะเป็นไปได้ยากหน่อย ทั้งๆที่ในภาวะก่อนเบาหวานนี้ หากรู้ก่อนและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตก็จะกลับมาสู่ภาวะปกติไม่เป็นเบาหวานได้ในสัดส่วนที่สูงทีเดียว
อ่านการศึกษานี้เราก็ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ไปด้วยเลย อ่านได้จาก Survey of primary care providers’ knowledge of screening for, diagnosing and managing prediabetes. J Gen Intern Med. Published online July 20, 2017. doi:10.1007/s11606-017-4103-1.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

เรื่องของการกินกาแฟแล้วมีประโยชน์นี่ก็ต้องรีบรายงานอีกเหมือนกันค่ะ สองการศึกษานี้ช่วยยืนยันว่าการกินกาแฟมีความสัมพันธ์กับการลดโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิต คนไม่ค่อยแน่ใจก็อ่านรายละเอียดได้ว่าน่าเชื่อถือขนาดไหน คนชอบกินก็ดีใจได้เลย เพราะหลักฐานใช้ได้ทีเดียวค่ะ อ่านได้จาก Coffee Drinking and Mortality in 10 European Countries: A Multinational Cohort Study. และ Association of Coffee Consumption With Total and Cause-Specific Mortality Among Nonwhite Populations. Ann Intern Med. Published online July 10, 2017.



ความเห็น (2)

กินทุกอย่างต้องระวังอีกหลายๆอย่างครับ เมื่อก่อนตอนเด็กๆเขาว่ากินไข่วันละ 1 ฟอง แล้วไม่่ดี แต่ตอนนี้มีรายงานบอกว่ากินไข่วันละฟอง ดีต่อสุขภาพ ไม่รู้ว่าจะเชื่ออะไรกันแน่ครับ

นั่นสิคะ อาจารย์ สรุปว่าเอาแบบพอดีๆดีที่สุดนะคะ ถ้าเราชอบและมีการศึกษายืนยันว่าดี ก็ควรกินแต่พอดีอยู่ดี แต่ถ้าเราชอบแล้วมีรายงานว่ามันไม่ดี ก็อาจจะลดการกินลงสักนิด เพื่อความปลอดภัย หรือถ้าพอจะห่างๆมากขึ้นได้ก็น่าจะดี ประมาณนั้นแหละนะคะ งานวิจัยเองก็มีแง่มุมที่ต้องมองว่ามาจากค่ายไหนอย่างไรอยู่เหมือนกัน  

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

เป็นงานที่อ่านแล้วต้องรีบบอกต่ออีกการศึกษาหนึ่งค่ะ อันนี้ก็ยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงการกินอาหารให้เป็นแบบที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ คือกินธัญพืช ผลไม้ ผักและปลานั้นช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ชัดเจน โดยเป็นการประเมินจากประชากรเจ็ดหมื่นกว่าคน ในช่วง 12 ปีที่เปลี่ยนแปลงการกิน ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ 10% ขึ้นไป อ่านได้จาก  Association of Changes in Diet Quality with Total and Cause-Specific Mortality. N Engl J Med 2017; 377:143-153July 13, 2017DOI: 10.1056/NEJMoa1613502.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้เป็นหลักฐานว่าในผู้ที่มีอาการปวดหลังตอนล่างนั้น การทำโยคะสามารถช่วยได้เทียบเท่ากับการทำกายบำบัด จากการศึกษาที่ทำในระยะเวลา 12 สัปดาห์ อ่านได้จาก Yoga and Low Back Pain: No Fool's Tool. Ann Intern Med. [Epub ahead of print 20 June 2017] doi: 10.7326/M17-1263.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้เป็นหลักฐานยืนยันว่าในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้น การกินปลาสัปดาห์ละอย่างน้อยสองครั้ง ลดอาการจากโรคนี้ได้ อ่านได้จาก The relationship between fish consumption and disease activity in rheumatoid arthritis. Arthritis Care Res. Published online June 21, 2017. DOI: 10.1002/acr.23295



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้ช่วยยืนยันว่าการนั่งดูทีวียาวๆโดยไม่ทำอะไรนั้นมีผลเสียจริงๆ มีสัมพันธ์กับอัตราการตายอย่างมีนัยสำคัญ เพราะปัจจัยต่างๆที่มีผลร้ายต่อร่างกายก็จะมากขึ้นตามปริมาณการไม่เคลื่อนไหวร่างกายของผู้ที่ชอบนั่งดูทีวีนานๆด้วยนั่นเอง อ่านได้จาก Television viewing and risk of mortality: exploring the biological plausibility. Atherosclerosis 2017; DOI:10.1016/j.atherosclerosis.2017.06.024.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้เป็นข้อมูลที่ควรเผยแพร่ เพื่อให้ตระหนักถึงสิ่งที่อาจเกิดได้จากการใช้แอสไพรินในผู้สูงอายุ รายงานนี้พบว่าการกินแอสไพรินเพื่อป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียเลือดมาก ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้ยากลุ่มที่เรียกว่า PPI-proton-pump inhibitor เพื่อป้องกันเลือดออกในกระเพาะอาหารด้วย อ่านรายละเอียดได้จาก Age-specific risks, severity, time course, and outcome of bleeding on long-term antiplatelet treatment after vascular events: a population-based cohort study. Lancet. Published online June 13, 2017. DOI: http://dx.doi.org/10.1016/S0140-6736(17)30770-5.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้ก็น่าสนใจที่ผลการตรวจที่มักจะทำกันอยู่แล้วในการตรวจคัดกรองอย่างการดูจำนวนเกล็ดเลือดสามารถช่วยเป็นตัวบ่งชี้ของมะเร็งได้ก่อนที่จะมีอาการอื่นๆ จากข้อมูลที่พบคือในประชากรสามหมื่นกว่าคนช่วงอายุส่วนใหญ่คือ 68 ปีกว่า กลุ่มที่พบว่ามีจำนวนเกล็ดเลือดสูงภายในหนึ่งปีพบว่าเป็นมะเร็งในอัตราที่สูงกว่าผู้ที่มีจำนวนเกล็ดเลือดปกติ ซึ่งมะเร็งที่พบคือมะเร็งปอดและมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ไม่ใช่มะเร็งเต้านมหรือมะเร็งต่อมลูกหมาก หากว่าเราใช้เกณฑ์การดูเกล็ดเลือดช่วยในการเตือนให้ตรวจค้นหามะเร็งได้ก่อนจะมีอาการอื่นๆ ก็อาจจะช่วยให้สามารถรักษาได้เร็วขึ้น อ่านได้จาก Clinical relevance of thrombocytosis in primary care: a prospective cohort study of cancer incidence using English electronic medical records and cancer registry data. Br J Gen Pract 22 May 2017; bjgp17X691109. DOI: https://doi.org/10.3399/bjgp17X691109.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้ช่วยให้เรารู้ว่ายาลดความดันโลหิตไม่จำเป็นต้องกินกันไปตลอดชีวิต เขาพบว่ามีคนส่วนหนึ่งที่สามารถหยุดยาได้ เมื่อสามารถควบคุมให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยแล้ว ซึ่งหมายถึงความดันโลหิตสูงแบบที่สามารถลดได้ด้วยการปรับวิถีชีวิตนั่นเอง น่าสนใจนะคะ เพราะปัจจุบันผู้ที่ต้องกินยาหลายๆชนิดนั้นมีมาก ถ้าสามารถลดได้บ้างก็น่าจะดี แต่ก็มีคำเตือนว่าต้องคอยติดตามดูการเปลี่ยนแปลงด้วย อย่าคิดว่าปกติแล้วละเลย อ่านได้จาก Withdrawal of antihypertensive medication: a systematic review. Journal of Hypertension. Publish Ahead of Print():, MAY 2017. DOI: 10.1097/HJH.0000000000001405.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานแบบนี้ต้องช่วยกันเผยแพร่ แม้จะมีโอกาสเกิดน้อย แต่เวลาเกิดกับใครก็เป็นเรื่องใหญ่ นั่นคือเรื่องของยาแก้ปวดที่เรามักจะใช้กัน กลุ่มที่เรียกว่า NSAIDs เช่น แอสไพริน naproxen diclofenac เป็นต้น เป็นยาที่เราหาซื้อกันได้ทั่วไป รายงานนี้พบว่า การใช้ยานี้มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardial infarction) ยิ่งใช้ยาขนาดสูง ระยะเวลายาวนาน ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยง นั่นคือใช้ให้น้อยที่สุด สั้นที่สุด เท่าที่จำเป็นเท่านั้นจึงจะดี อ่านได้จาก Risk of acute myocardial infarction with NSAIDs in real world use: bayesian meta-analysis of individual patient data. BMJ 2017; 357 doi: https://doi.org/10.1136/bmj.j1909 (Published 09 May 2017).



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท