สารต้านอนุมูลอิสระในบลูเบอรี สดก็ได้ สุกอาจยิ่งดี


ก่อนหน้านี้เราเชื่อกันว่า พืชผักต้องกิน "สด" จึงจะดี วันนี้มีข่าวว่า สารต้านอนุมูลอิสระในบลูเบอรีไม่ถูกทำลายด้วยความร้อนจากการปรุงอาหารมาฝากครับ

พวกเราคงทราบกันดีว่า พืชผักทั้งหลายมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเซลล์ต่างๆ จากความเสื่อมและโรคร้าย

ก่อนหน้านี้เราเชื่อกันว่า พืชผักต้องกิน "สด" จึงจะดี วันนี้มีข่าวว่า สารต้านอนุมูลอิสระในบลูเบอรีไม่ถูกทำลายด้วยความร้อนจากการปรุงอาหารมาฝากครับ

...

คณะนักวิจัยนำเสนอโปสเตอร์ผลงานวิชาการในการประชุมด้านอาหารและโภชนาการ สมาคมเบาหวานอเมริกาว่า

ผลจากการนำสารต้านอนุมูลอิสระมาเปรียบเทียบกัน ทั้งแบบสดๆ ทอด ปิ้ง ปรุงด้วยไมโครเวฟ และแช่น้ำร้อนพบว่า คุณค่าของสารต้านอนุมูลอิสระไม่ลดลง และไม่ถูกทำลายด้วยความร้อน

...

นอกจากนั้นการนำไปทอดในเวลาสั้นๆ ยังเพิ่มฤทธิ์ของสารต้านอนุมูลอิสระเล็กน้อย ซึ่งคาดว่า น่าจะเป็นผลจากการที่ความร้อนจากการทอดไปทำให้ผนังเซลล์ของบลูเบอรีแตกออก ทำให้สารนี้ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น

ไม่ว่าพวกเราจะชอบพืชผัก เช่น บลูเบอรี ฯลฯ แบบสดๆ หรือแบบสุกๆ ก็คงจะสบายใจกันได้

...

การกินพืชผักให้ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเต็มที่มีหลักการสำคัญดังต่อไปนี้

  1. พืชผักสีเข้มมีแนวโน้มจะมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าพืชผักสีจาง
  2. การกินพืชผักวันละอย่างน้อย 3 สีไฟจราจร (เขียว-เหลือง-แดง) หรือ 5 สีตามสีรุ้ง (ม่วง-คราม-น้ำเงิน + เขียว + เหลือง + แสด(หรือส้ม) + แดง) ช่วยเสริมฤทธิ์มากกว่าการกินพืชผักชนิดเดียว
  3. พืชสมุนไพร เช่น ขมิ้น ฯลฯ มีแนวโน้มจะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
  4. ควรกินพืชผักใต้ดิน โดยเฉพาะหอม กระเทียม ขิง ข่า เสริมเข้าไปหน่อย เพื่อให้ได้สารพฤกษเคมี หรือสารคุณค่าพืชผัก และแร่ธาตุ เช่น เซเลเนียม ฯลฯ เพื่อป้องกันโรคครบครัน

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

ขอแนะนำ...                                             

  • รวมเรื่องสุขภาพ > "อนุมูลอิสระ" + "แอนตีออกซิแดนท์" > [ Click ]
  • บล็อก "บ้านสาระ" > [ Click ]

ที่มา                                                        

  • Thank St.Agnes hospital > Antioxidants in blueberries still potent after cooking > [ Click ] > October 3, 2007. / J ADA supplement.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 15 พฤศจิกายน 2550.
หมายเลขบันทึก: 146661เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2007 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท