เอกซเรย์เต้านม(แมมโมแกรม) แม่นยำมากน้อยเท่าไร


พวกเราคงจะได้ยินได้ฟังเรื่องการตรวจเอกซเรย์เต้านม(แมมโมแกรม / mammogram) มาแล้วไม่มากก็น้อย วันนี้มีผลการศึกษาพบว่า เจ้าแมมโมฯ (ชื่อย่อ)นี่มีความแม่นยำน้อยกว่าที่คิดมาฝากครับ

<p>พวกเราคงจะได้ยินได้ฟังเรื่องการตรวจเอกซเรย์เต้านม(แมมโมแกรม / mammogram) มาแล้วไม่มากก็น้อย วันนี้มีผลการศึกษาพบว่า เจ้าแมมโมฯ (ชื่อย่อ)นี่มีความแม่นยำน้อยกว่าที่คิดมาฝากครับ</p>

ท่านอาจารย์ไดอานา มิกลิโอเรททิ และคณะ แห่งกลุ่มศูนย์สุขภาพเพื่อการศึกษาวิจัยสุขภาพ (Group Health Center for Health Study) ซีแอทเทิล สหรัฐฯ ทำการศึกษาแมมโมฯ เพื่อการวินิจฉัยโรค หรือการตรวจในรายที่มีก้อนอยู่แล้ว หรือตรวจวินิจฉัย (diagnostic) ไม่ใช่การตรวจคัดกรอง (screening) ซึ่งเป็นการตรวจในรายที่ไม่มีก้อนมาก่อน

...

กลุ่มตัวอย่างคือ ผลการตรวจเอกซเรย์เต้านม หรือแมมโมฯ 36,000 รายจากสถานบริการ 72 แห่งในสหรัฐฯ ซึ่งอ่านโดยรังสีแพทย์ 123 คนในช่วงปี 1996-2003 หรือ พ.ศ. 2539-2546)

ผลการศึกษาพบว่า

  • ความไวในการตรวจหาก้อน (sensitivity) = 27-100%
  • ผลบวกเทียม หรือไม่มีก้อนแต่ตรวจพบก้อน = 0-16%
  • ผลลบเทียม หรือมีก้อนแต่ตรวจไม่พบ = 21%

...

อาจารย์มิกลิโอเรตติแนะนำว่า ถ้าเลือกได้... การไปตรวจแมมโมฯ ในสถาบันที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านนี้น่าจะดีกว่า ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ฯลฯ

การตรวจเอกซเรย์เต้านมมีความแม่นยำต่ำกว่าการเอกซเรย์อวัยวะส่วนอื่นๆ เช่น ปอด กระดูก ฯลฯ เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในเต้านมมีความแตกต่างในการดูดกลืนเอกซเรย์ (contrast) ต่ำมาก

...

เนื้อเยื่อเต้านมของคนอายุน้อย โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 35 ปีเป็นเนื้อเยื่ออ่อน หรือประกอบด้วยต่อมน้ำนม-ท่อน้ำนมเป็นส่วนใหญ่ เวลาเอกซเรย์มักจะเห็นเป็นปื้นขาว ฝ้าๆ ฟางๆ คล้ายก้อนเมฆ

เมื่ออายุมากขึ้น... เต้านมจะมีไขมันแทรกมากขึ้น ทำให้พอแยกเนื้อเต้านม(ขาวๆ คล้ายก้อนเมฆ) ออกจากไขมัน(สีออกดำๆ)ได้บ้าง

...

มะเร็งบางชนิดทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำนม หรือเกิดเนื้อตายในท่อน้ำนม ทำให้เห็นเป็นก้อนหินปูนขนาดจิ๋วสีขาวเข้ม

ถ้าผลการตรวจในอเมริกามีความแม่นยำเท่านี้... แมมโมฯ ในไทยน่าจะมีขีดจำกัดมากกว่าในอเมริกา เนื่องจากความหนาแน่นเฉลี่ยของเต้านมคนไทยสูงกว่าฝรั่ง

...

พวกเราที่คิดจะไปตรวจแมมโมฯ โปรดทราบขีดจำกัดอย่างนี้ไว้ด้วย เพราะมีกฏอย่างหนึ่งในทางการแพทย์ที่กล่าวกันว่า "ไม่มีอะไร 100% ในวงการแพทย์ (no 100% in medicine)" และคำกล่าวนี้ยังคงใช้ได้ดีเสมอมา...

...

ข่าวประกาศ                                        

  • ผู้เขียนขอลาไปอินเดีย-เนปาล > 21 ธันวาคม 2550 - 3 มกราคม 2551.

ที่มา                                                 

  • Thank Reuters > Julie Steenhuysen. Patricia Zengerle ed. > Mammogram accuracy varies by radiologists: study > [ Click ] > December 11, 2007.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 19 ธันวาคม 2550.

</span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span>

หมายเลขบันทึก: 154785เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2007 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท