มะยงชิดนครนายก


มะยงชิด

??ข่าวดี ข่าวดี??


เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม
??นัดเพื่อน พ่อแม่ พี่น้องให้พร้อม??


? สวนมะยงชิดลุงอยู่ ป้าเยาว์?
                   จะเปิดแล้วจร้าเริ่มต้นเดือนมีนาคม 2564

??เจ้าของสวนเปิดเอง ขายเอง เข้าชม แวะซื้อกันได้จร้า??
??โทรนัด จอง สั่งได้นะคะ 081-7921198 ,0817233620
?ยินดีให้บริการค่ะ?

ซื้อที่สวน ได้ของแท้แน่นอน ซึ่งของนครนายก หวานอร่อย ปัจจุบันมี ผู้แอบอ้างเอาผลผลิตที่อื่น จังหวัดอื่นๆ เอามายอมแมวขายในจังหวัดนครนายก

90 หมู่ที่4 ถนน บ้านนา-แก่งคอย กม.0-1ต.ป่าขะ อ.บ้านา จ.นครนายก 26110

โทร.  0830646292

มะยงชิด -มะปรางหวาน





ลักษณะโดยทั่วไป ของมะปรางหรือมะยงชิด


มะปรางเป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอกมีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบมะปรางเป็นไม้ผลเมืองร้อนไม่มีการผลัดใบคือ
จะมีใบสีเขียวตลอดทั้งปี มีชื่อสามัญว่า Marian plumชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boueaburmanica Griff. ตระกูลเดียวกันมะม่วงมะกอก
คือ ตระกูล Amacardiaceae มีถิ่นกำเนิดทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ พม่า ไทย ลาว และมาเลเซีย ส่วนต่างๆ
ของมะปรางมีลักษณะดังนี้





ลักษณะลำต้นมะปรางหรือมะยงชิด


ลำต้น

มะปรางเป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอกมีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบทรงต้นมีขนาดสูงปานกลาง-ใหญ่
ประมาณ 15-30 เมตร มีระบบรากแก้วเข็งแรงจึงทนอยู่ในสภาพที่แห้งแล้งได้ดี


ลักษณะใบ มะปรางหรือมะยงชิด

ใบ
มะปรางเป็นไม้ผลที่มีใบมากแน่นทึบใบคล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเรียวยาว
ขนาดใบโดยเฉลี่ยกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตรใบจะเกิดเป็นคู่อยู่ตรงกันข้าม ขอบใบเรียบแผ่นใบเหนียว
ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ๆ จะมีสีม่วงแดง มีเส้นใบเด่นชัดจากนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวเป็นมัน ปีหนึ่งมะปรางจะแตกใบอ่อน 1-3ครั้ง





ลักษณะดอก มะปรางหรือมะยงชิด

ดอก
ดอกมะปรางจะมีลักษณะเป็นช่อเกิดบริเวณปลายกิ่งแขนงที่อยู่ภายในทรงพุ่มและนอกทรงพุ่ม
ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร ดอกย่อมมีขนาดเล็กประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศหรือดอกกระเทยและดอกตัวผู้
ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง ในประเทศไทยดอกมะปรางจะบานช่วงเดือนพฤศจิกายน- ธันวาคม





ลักษณะผล มะปรางหรือมะยงชิด

ผล
มะปรางมีลักษณะทรงกลมรูปไข่ปลายค่อนข้างเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งจะมีผล 1-15 ผล
รูปร่างและขนาดของผลมะปรางจะแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนเมื่อแก่หรือสุกผลจะเปลี่ยน
เป็นสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม



ลักษณะเมล็ด มะปรางหรือมะยงชิด

เมล็ด
มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ดส่วนหุ้มเมล็ดจะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดมีสีชมพูอมม่วง
มีรสขมและฝาดใน 1 เมล็ดสามารถเพาะกล้าเป็นต้นมะปรางได้ 1 ต้น




ความแตกต่างของมะปรางหวานกับมะยงชิด


ลักษณะโดยรวม
โดยทั่วไปแล้ว มะปรางกับมะยงชิด เป็นพื้ชในกลุ่มเดียวกันทั้งนี้เนื่องจากมีการปลูกโดยเมล็ดและมีการกลายพันธุ์
ทำให้มีลักษณะที่แสดงออกแตกต่างกันไปจึงทำให้มะปรางถูกเรียกแยกออกเป็นหลายกลุ่ม เช่น มะปรางหวาน
มะยงชิดมาก มะยงชิดน้อย มะปรางเปรี้ยว กาวาง ซึ่งจะเห็นว่าการแบ่งลักษณะมะปรางออกเป็นกลุ่มได้ 5 กลุ่ม
โดยใช้ลักษณะรสชาดเป็นหลัก และขนาดผลร่วมด้วย ซึ่งลักษณะทรงพุ่มขนาดของใบ การเรียงตัวของใบ เส้นใบ
สีของยอดอ่อน รสของยอดอ่อนยังไม่มีใครศึกษาลักษณะเหล่านี้เพื่อคัดแยกกลุ่มของมะปรางและจากการแยก
ของเกษตรกร หรือนักวิชาการ บุคคลทั่วไป ก็ไม่ใช้ลักษณะเหล่านี้เนื่องจากใช้ลักษณะเหล่านี้แล้วแยกออกไม่เด่นชัด
นอกเหนือจากรสชาดและขนาดผล เท่านั้น

มะปรางหวาน

1. ผลดิบมีรสมัน
2. ผลสุกมีรสหวาน-หวานจืด
3. โดยรวมขนาดจะเล็กกว่ามะยงชิด
4. บางสายพันธุ์เมื่อทานแล้วจะคันคอ
5.ผลสุกจะมีสีออกเหลือง



มะยงชิด

1. ผลดิบมีรสเปรี้ยว
2. ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว
3. โดยรวมผลจะมีขนาดใหญ่กว่ามะปรางหวาน
4. โดยรวมไม่ทำให้เกิดอาการคันคอ
5. ผลสุกจะมีสีออกเหลืองอมส้ม




ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษา

การปฏิบัติเพื่อเตรียมความสมบูรณ์ของต้นหลังเก็บเกี่ยว

เมษายน-พฤษภาคม

เป็นช่วงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต จึงต้องเร่งบำรุงต้นให้สมบูรณ์จึงเริ่มต้นจาก การตัดแต่งกิ่ง โดยตัดกิ่งที่โรคแมลงทำลายเสียหาย
เช่น กิ่งแห้ง กิ่งฉีกหัก กิ่งน้ำค้าง กิ่งซ้อนกันออก การกำจัดวัชพืชโดยทำความสะอาดแปลงและกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย
จะใส่เมื่อตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชแล้วใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งการแตกยอดใหม่ โดยใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 1-3 ปี๊ป / ต้นใส่ปุ๋ยเคมี
สูตร 15-15-15 อัตรา 2 กิโลกรัม/ ต้น การให้น้ำให้น้ำตามปกติอย่าปล่อยให้ขาดน้ำ

มิถุนายน -สิงหาคม
เป็นระยะที่มะปรางแตกใบอ่อนและเจริญเติบโตทางใบ จึงเน้นการป้องกันกำจัดโรคและแมลง โดยเฉพาะโรคแอนแทรคโนส
ราดำ ราแป้ง ซึ่งจะทำลายใบและกิ่ง ถ้ามีการระบาดแนะนำให้ใช้ ้เบนโนมิลแคพแทน แมนโคเซป ส่วนแมลงที่ทำลายใบและลำต้น
เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย แมลงค่อมทอง เพลี้ยจั๊กจั่นถ้ามีการระบาดแนะนำให้ใช้สารเคมีป้องกันจำพวก คาร์บาริล การให้น้ำ
ให้น้ำถ้าฝนทิ้งช่วง อายุ 1 ปีขึ้นไป ให้น้ำ 5-7 วัน/ ครั้งการกำจัดวัชพืช ดูแลอย่าให้วัชพืชขึ้นรกเพราะจะเป็นแหล่งสะสมโรคแมลง

กันยายน -ตุลาคม
เป็นระยะที่ใบเริ่มแก่จัด ต้นมะปรางจะเข้าสู่ ระยะฟักตัวและสะสมอาหารการปฏิบัติดูแลรักษาช่วงนี้ ควรงดการให้น้ำ
ถ้าเป็นในที่ลุ่ม ปลูกแบบยกร่อง ให้ลดระดับน้ำในร่องเพื่อให้พืชฟักตัวสะสมอาหารและไม่แตกใบอ่อน การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยในการสร้างตาดอก ใช้สูตร 12-24-12 และงดการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง ถ้าต้นมะปรางอายุ 4-5 ปี
ใส่ปุ๋ยอัตรา 0.5 กิโลกรัม/ ต้น การกำจัดวัชพืชให้กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มออกให้หมด




การปฏิบัติในช่วงการออกดอกติดผลอ่อน


พฤศจิกายน

เป็นช่วงระยะเริ่มแทงช่อดอกและดอกเริ่มบานในช่วงปลายเดือน ดังนั้นการให้น้ำ จะต้องระมัดระวัง โดยเริ่มให้น้ำเล็กน้อย
เมื่อแทงช่อดอกยาวประมาณ 7 เซนติเมตรแค่หน้าดินเปียกและให้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ดอกมีความสมบูรณ์
ซึ่งจะทำให้ติดผลดี การป้องกันกำจัดโรคแมลงควรป้องกันกำจัดแมลงประเภทเพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย แมลงค่อมทอง
ครั้งที่ 2 ช่อดอกยืดแล้วแต่ยังไม่บาน การปฏิบัติอื่นๆ เช่นในช่วงที่มะปรางเริ่มแทงช่อดอก ให้นำปุ๋ยคอกสด ๆ มากอง
ในสวนเพื่อเลี้ยงแมลงวัน สำหรับช่วยในการผสมเกสร

ธันวาคม
เป็นระยะที่ดอกทยอยบานและติดผลขนาดเล็กจึงต้องปฏิบัติดูแลรักษาเป็นกรณีพิเศษ โดย การให้น้ำ
เมื่อติดผลแล้วให้เพิ่มปริมาณน้ำมากขึ้นที่ละน้อยอย่าให้แบบทันที่ซึ่งอาจมีผลต่อการร่วงของผลอ่อน การใส่ปุ๋ย
เมื่อติดผลอ่อนขนาดหัวไม้ขีด ให้ใส่ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตของผล คือใส่ปุ๋ยเคมีที่มีตัวท้ายสูง เช่น 13-13-21
อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ ต้น (ประมาณตามอายุ/ขนาดของทรงพุ่ม)การป้องกันกำจัดโรคแมลง เมื่อดอกบาน
ให้หยุดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงทุกชนิดทันทีระยะผลโตขนาดหัวไม้ขีด ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง
เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย โดยใช้คาร์บาริลและผสมสารเคมีป้องกันกำจัดโรครา เช่น เบนโนบิล ไธอะเบนดาโซล
ป้องกันโรคแอนแทรคโนส ราดำ ราแป้ง


การปฏิบัติในช่วงผลกำลังเจริญเติบโต





มกราคม

เป็นระยะที่ผลกำลังเจริญเติบโต การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ 3-5วัน/ครั้ง การป้องกันกำจัดโรคแมลง
ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอยโดยใช้คาร์บาริล และผสมสารเคมีป้องกันกำจัดโรครา
เช่น เบนโนบิล ไธอะเบนดาโซล ป้องกันโรคแอนแทรคโนส ราดำ ราแป้งให้ห่อผลเมื่อผลอายุ 3 อาทิตย์
เพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้ นก และเพื่อเพิ่มคุณภาพผล


การปฏิบัติในช่วงผลแก่และเก็บเกี่ยว



กุมภาพันธ์

เป็นระยะผลเริ่มแก่และเก็บเกี่ยว นับเวลาจากดอกบานถึงผลแก่ ประมาณ 75วัน ขึ้นกับพันธุ์และสิ่งแวดล้อม (อุณหภูมิความชื้น)
การให้น้ำให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและลดปริมาณให้น้อยลงเมื่อผลเริ่มแก่แต่ต้องสม่ำเสมอเพื่อป้องกันผลแตกเมื่อมีฝนหลงฤดู
การใส่ปุ๋ย ในระยะที่มะปรางเริ่มเข้าไคลควรใส่ปุ๋ยเพิ่มคุณภาพของผล คือใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 อัตรา 1-2กิโลกรัม/ ตัน
และปุ๋ยทางใบ สูตร 13-0-46 หรือ 10-20-30 อัตรา 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ การป้องกันและ
กำจัดโรคแมลง ควรมีการห่อผลเพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้และนกจิกกิน..

กุมภาพันธ์ -มีนาคม
เป็นระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต การเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวผลที่แก่คือมีลักษณะบริเวณขั้วของผลจะมีสีเหลืองเข้ม
โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เก็บผลให้มีก้านติดมาด้วยอย่างน้อย 4-5เซนติเมตร แล้วนำมาไว้ที่ร่ม
ระวังจะช้ำเนื่องจากมะปรางเป็นผลไม้ผิวบาง



การขยายพันธุ์มะปราง / มะยงชิด


มะปรางเป็นไม้ผลที่มีการเจริญเติบโตช้าขยายพันธุ์ได้ยากและใช้เวลาในการขยายพันธุ์ยาวนานกว่าไม้ผลที่สำคัญบางชนิด
เช่น มะม่วง ส้มโอ และขนุนอย่างไรก็ตามมะปรางสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ดการตอน การทาบกิ่ง
การต่อกิ่ง การติดตา และการปักชำซึ่งการเพาะเมล็ดมีข้อจำกัดตรงที่มีการกลายพันธุ์จากมะปรางหวานอาจกลายเป็น
มะปรางเปรี้ยวหรือหวานอมเปรี้ยวและจากมะปรางผลใหญ่อาจกลายเป็นมะปรางชนิดผลเล็กมีส่วนน้อยที่การกลายพันธุ์
ไปในทางที่ดีกว่าต้นพ่อแม่พันธุ์และนอกจากนี้การปลูกจากต้นเพาะเมล็ดจะใช้เวลาประมาณ 8 ปีจึงจะเริ่มออกดอกติดผล
การตอนมีข้อจำกัดตรงที่กิ่งตอนจะไม่มีรากแก้วจะต้องมีการเสริมรากภายหลัง ส่วนการทาบกิ่ง การต่อกิ่งและการติดตา
จะต้องดำเนินการเพาะต้นตอมะปรางก่อนและการปักชำนั้นจะได้ต้นกล้าที่ไม่มีรากแก้วจะต้องมีการเสริมมากภายหลังเช่นกัน
การขยายพันธุ์มะปรางที่นิยมปฏิบัติกันมากในขณะนี้จะเป็นการทาบกิ่งและการต่อกิ่งซึ่งการขยายพันธุ์แต่ละวิธีมีวิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้

การเพาะเมล็ด
การขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ดเป็นวิธีที่ง่ายและสามารถขยายพันธุ์มะปรางได้จำนวนมากมีข้อเสียที่มีการกลายพันธุ์

การตอน
เป็นวิธีการทำให้มะปรางออกรากในขณะที่กิ่งยังติดอยู่กับต้นพันธุ์ดีเป็นวิธีที่ปฏิบัติมานานแล้ว แต่มีข้อจำกัดที่กิ่ง
ตอนไม่มีรากแก้ว การเพาะเมล็ดหรือต้นทาบกิ่งอาจเจริญเติบโตช้าหรือโค่นล้มได้ง่าย

การทาบกิ่ง
เป็นวิธีการขยายพันธุ์มะปรางที่นิยมปฏิบัติมากที่สุดเพราะจะได้ต้นมะปรางพันธุ์ดีที่ระบบรากแก้วจากต้นตอ
สามารถคัดเลือกกิ่งพันธุ์ดีได้ค่อนข้างใหญ่และยาวกว่ากิ่งปักชำให้มีการกลายพันธุ์และให้ผลผลิตเร็วประมาณ 4 - 5 ปี
หลังจากปลูกนอกจากนี้การทาบกิ่งมะปรางให้เทคนิคและความชำนาญน้อยกว่าการต่อยอดและการติดตา
ทั้งนี้เพราะทั้งกิ่งพันธุ์และต้นตอมะปรางต่างก็มีรากคอยเลี้ยงต้นเดิมอยู่แล้ว โดยที่ต้นตอมะปรางที่ใช้ทาบกิ่ง
จะปลูกอยู่หรือถูกอัดขุยมะพร้าวที่มีความชื้นอยู่เสมอในถุงพลาสติกหรือในภาชนะพลาสติกขนาดเล็ก
ส่วนของกิ่งพันธุ์ดีก็เป็นต้นมะปรางที่ปลูกอยู่กับต้นอยู่แล้วอย่างไรก็ตามการทาบกิ่งมีข้อจำกัดตรงที่จะต้อง
มีการเพาะกล้าต้นมะปรางเป็นต้นตออายุ 6 เดือน - 1 ปีก่อนจึงนำมาทาบกิ่งได้

การต่อกิ่งหรือการเสียบยอด
การต่อกิ่ง หรือการเปลี่ยนยอดมะปรางเป็นวิธีการขยายพันธุ์มะปรางที่นิยมปฏิบัติมากอีกวิธีหนึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้ปริมาณมาก
และเป็นการประหยัดกิ่งพันธุ์ดีหรือยอดพันธุ์ดีได้ดีกว่าการตอนและการทาบกิ่ง

การติดตา
เป็นการนำตาของมะปรางที่สมบูรณ์เพียงตาเดียวจากต้นพันธุ์ดีไปสอดใส่ลงบนส่วนของมะปรางอีกต้นหนึ่งซึ่งเป็นต้นตอ
และเมื่อส่วนของมะปรางทั้งสองเชื่อมติดกันและเจริญเติบโตเป็นต้นเดียวกันแล้วจากตาพันธุ์ดีเพียงตาเดียวจะทำหน้าที่
เป็นยอดของต้นใหม่และมีส่วนต้นตอเป็นรากของมะปรางต้นใหม่ด้วยต้นตอมะปรางที่จะนำมาติดตานั้นควรเป็นต้นตอ
ที่ใส่ถุงเลี้ยงอยู่ในเรือนเพาะชำอายุ 1 - 2 ปีหรือเป็นต้นตอเพาะเมล็ดที่ปลูกลงแปลง ในสภาพสวนแล้ว 1 - 2 ปี
ก็สามารถติดตาได้ การติดตามะปรางนั้นต้องใช้ความชำนาญค่อนข้างสูงตามะปรางบอบซ้ำได้ง่าย ผู้ติดตาต้องใช้มีดที่คม
สะอาดและปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง

การปักชำ
มะปรางเป็นไม้ผลที่มีกิ่งหรือยอดเล็ก ๆ จำนวนมากสามารถนำมาปักชำให้ออกรากเป็นมะปรางต้นใหม่ได้
ไม่มีการกลายพันธุ์ประหยัดยอดพันธุ์ได้ดีกว่าการตอนและการทาบกิ่งและสามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก



หมายเลขบันทึก: 322209เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2009 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2021 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท