กติกาการแข่งขัน และการตัดสิน หมากรุกไทย หมากฮอส หมากป้อง


กติกา หมากรุกไทย

การ แพ้-ชนะ รุกขุนจน ฝ่ายไล่เดินเข้ารุก(การขู่ว่าจะกินขุน) แล้ว

 1. ฝ่ายหนีไม่สามารถหนีขุน ให้พ้นตากินของฝ่ายไล่ได้

2. ฝ่ายหนีไม่สามารถป้องกันขุน จากตารุกของฝ่ายไล่ได้ (กรณีใช้เรือรุก)

3. ฝ่ายหนีไม่สามารถกินตัวรุก(ที่ขู่ว่าจะกินขุน)ได้ ยอมแพ้ เห็นท่าไม่ดี หรือไม่มีประโยชน์ที่จะทู่ซี้เล่นต่อไป ก็ยอมแพ้ และแน่นอนฝ่ายที่ยอมแพ้ ก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้ ส่วนอีกฝ่ายก็ชนะ

หมดเวลา( กำหนดให้ในการเดินหมากแต่ละตัวภายใน 20 วินาที) ในกรณีที่มีกำหนดเวลา ฝ่ายใดไม่สามารถควบคุมเวลาของตนได้ ย่อมเป็นฝ่ายแพ้

การเสมอ เข้าตาอับ เมื่อฝ่ายหนึ่ง ไม่มีตาเดินที่สามารถจะเดินได้ หรือถ้าเดินแล้วจะถูกกินขุน เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การเข้าตาอับ ให้เสมอกัน (โดยที่ฝ่ายตรงข้ามไม่ได้รุกขุนฝ่ายเรา)

ตกลงเสมอ เมื่อทั้งสองฝ่ายยินยอมพร้อมใจกัน เพราะเห็นว่าไม่มีทางที่แต่ละฝ่าย จะสามารถไล่ขุนฝ่ายตรงข้ามถึงจนได้ เดินซ้ำ, รุกล้อ ถ้ารูปของตัวหมากบนกระดาน มีตำแหน่งซ้ำกันถึง 3 ครั้ง 3 ครา ให้ถือว่าเสมอกัน

นับครบ เมื่อมีการนับศักดิ์กระดาน หรือศักดิ์หมากแล้วฝ่ายหนีสามารถหนีรอดได้ จนนับครบถ้วนตามกฏ ให้ถือว่าเสมอกัน

การนับศักดิ์หมาก

 เมื่อฝ่ายที่ขอนับมีเหลือเพียงขุนตัวเดียว และฝ่ายไล่ไม่เหลือเบี้ยคว่ำ ให้เริ่มนับโดยดูศักดิ์หมากของฝ่ายไล่ โดยเมื่อนับไปถึงตาสุดท้ายแล้วฝ่ายไล่ไม่สามารถรุกจน ให้ถือว่าเสมอ การเริ่มนับ โดยนับตัวหมากที่เหลือทั้งกระดานทั้งสองฝ่าย แล้วเริ่มที่เลขถัดไป

เช่นเหลือทั้งหมด 5 ตัว ก็ให้เริ่มนับขึ้นต้นที่ 6 ทั้งนี้การเลือกนับศักดิ์หมาก เป็นสิทธิของฝ่ายหนีที่จะเลือกศักดิ์ที่น้อยที่สุดได้ ไม่มี ม้า, โคน, เรือ นับ 64

ม้า 1 ตัว นับ 64 , 2 ตัว นับ 32

โคน 1 ตัว นับ 44 , 2 ตัว นับ 22

เรือ 1 ตัว นับ 16 , 2 ตัว นับ 8

การนับศักดิ์กระดาน เมื่อฝ่ายที่ขอนับเหลือหมากเป็นรอง แต่ไม่ได้เหลือขุนตัวเดียว และทั้งสองฝ่ายไม่เหลือเบี้ยคว่ำ ให้เริ่มนับโดยขึ้นต้นที่ 1 เสมอ และนับไปจนถึง 64 ถ้าตาสุดท้ายยังไม่จน ให้ถือว่าเสมอกัน

กติกาหมากฮอสไทย ( 8 ตัว ) เดินหมากตามปกติทั่วไป ฮอส สามารถกินถอยหน้าหลังได้ในคราวเดียว

***หมากป้อง คือ หมากรุกที่ฝ่ายรุก รุกขุนอีกฝ่ายครั้งแรก แล้วอีกฝ่ายจับขุนหนี ถือว่าฝ่ายรุกเป็นฝ่ายชนะ การแข่งขัน ( แพ้คัดออก )

การตัดสิน แพ้-ชนะหมากรุก

รอบแรก 2 กระดาน ใครชนะมากที่สุดเป็นฝ่ายชนะ (ชนะทั้ง 2 หรือชนะ 1 เสมอ 1) แต่ถ้าเสมอกัน กรณีที่ 1 ผลัดกันแพ้ชนะอย่างละ 1 กระดาน ให้ตั้งกระดานที่ 3 เพื่อหา ผู้ชนะแต่ถ้าผลออกมาเสมอกันในกระดานที่ 3 ให้ตัดสินด้วยหมากป้อง 1 กระดานเพื่อหาผู้ชนะ กรณีที่ 2 เสมอทั้ง 2 กระดาน ไม่ต้องตั้งกระดานที่ 3 ให้ใช้หมากป้อง 1 กระดานตัดสินเลย

รอบชิง 3 กระดาน ใครชนะมากที่สุดเป็นฝ่ายชนะ แต่ถ้าเสมอกันทุกกรณีให้ตั้งกระดานที่ 4 แต่ถ้ายังเสมออีกให้ใช้หมากป้องตัดสิน 1 กระดาน หมากฮอส รอบแรก 3 กระดาน ใครชนะมากที่สุดเป็นฝ่ายชนะ รอบชิง 5 กระดาน ใครชนะมากที่สุดเป็นฝ่ายชนะ *** ถ้าผลการแพ้ชนะจำนวนกระดานเสมอกัน ให้ตั้งอีก 1 กระดานแต่ว่าไม่ต้องเล่นจนจบฝ่ายใดเข้าฮอสเป็นตัวแรกก่อนเป็นฝ่ายชนะไปเลย หมายเหตุ การตัดสิน(จำนวนกระดาน)อาจมีการเปลี่ยนแปลงถ้าเวลาไม่พอ จะแจ้งให้ทราบในขณะนั้น

คำสำคัญ (Tags): #หมากรุกไทย
หมายเลขบันทึก: 300814เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2009 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท