ธรรมฐิต
พระ(มหา) วิชิต ชิต สมถวิล(ฐิตธมฺโม)

โลหะปราสาท หนึ่งในสามของโลกที่เหลืออยู่


ไปธุระที่กทม.มาหลายวันเมื่อวานก่อนกลับสงขลา

แวะจำวัดที่วัดราชนัดดาราม หรือโลหะปราสาท

ซึ่งธรรมฐิตเคยมาจำพรรษาอยู่หลายปีตอนศึกษาหาความรู้

เพื่อหาสิ่งที่มาทำลายความโง่เขลาในตัวตน

เลยหยิบกล้องคู่ใจจับภาพมาให้เพื่อนพ้องน้องพี่ได้ดูชมกันเนาะ

เพื่อใครมีโอกาสแวะไปนมัสการพระธาตุบนโลหะปราสาทกันเนาะ

(ประวัติย่อๆจากคลังปัญญาไทย)

วัดราชนัดดารามวรวิหาร (วัดราชนัดดา) เป็นวัดสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ใกล้กับป้อมมหากาฬ ติดกับลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ซึ่งเป็นพลับพลารับแขกเมือง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างบนสวนผลไม้เก่าเนื้อที่ประมาณ ๒๕ ไร่ เพื่อพระราชทานเป็นเกียรติแก่พระราชนัดดา คือ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี (ซึ่งภายหลังเป็นพระมเหสีในรัชกาลที่ ๔) โดยทั้งสองพระองค์เสด็จวางศิลาฤกษ์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙

จุดเด่นของวัดราชนัดดาที่ประชาชนมองเห็นได้ทั่วไปเมื่อผ่านมาทางถนนพระราชดำเนิน คือ โลหะปราสาท ซึ่งสร้างโดยพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้สเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙ เนื่องจากทรงมีพระราชศรัทธาทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและทรงทราบว่าในสมัยโบราณมีการสร้างโลหะปราสาทเพียง ๒ ครั้งในโลก คือ หลังแรกนางวิสาขา แห่งเมืองสาวัตถี สร้างยอดปราสาททำด้วยทองคำ หลังที่สอง พระเจ้าทุฏฐคามณี แห่งกรุงอนุราธปุระ ลังกา ทรงสร้างเมื่อราว พ.ศ. ๓๘๒ หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างโลหะปราสาทเพื่อเป็นเกียรติแก่พระนครแทนการสร้างพระเจดีย์เช่นพระอารามอื่น นับเป็นโลหะปราสาทแห่งที่ ๓ ของโลก โดยสร้างเป็นปราสาทสูง ๓ ชั้น มียอดทั้งหมด ๓๗ ยอด กลางปราสาทเป็นช่องกลวง มีบันไดเวียน ๖๗ ขั้น ให้เดินขึ้นไปดูทิวทัศน์ข้างบนได้ พระอุโบสถเป็นแบบไทย คือ มีช่อฟ้า ใบระกา ต่างจากวัดเทพธิดารามซึ่งสร้างแบบจีน ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธเสฏฐตมมุนีซึ่งโปรดให้หล่อด้วยทองแดง จากตำบลจันทึก เมืองนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙ ฝาผนังเขียนลายเทพชุมนุมกับดาวดาราศาสตร์

        การสร้างโลหะปราสาทนี้ สันนิษฐานว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คงจะตั้งพระทัยที่จะสร้างขึ้นแทนพระเจดีย์ ให้ดูแปลกแตกต่างออกไป จากพระเจดีย์ที่สร้างกันตามวัดต่าง ๆ อาจจะเหมือนกับที่โปรดให้สร้างเรือสำเภาที่วัดยานนาวา แล้วมีพระเจดีย์บนเรือสำเภาแทนเสากระโดงเรือก็เป็นได้ โลหะประาสาทสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.๒๓๘๙ ตอนปลายรัชกาลแล้ว การก่อสร้างยังไม่ทันแล้วเสร็จก็สิ้นรัชกาล คงสร้างได้เพียงขึ้นโครงเอาไว้ เครื่องบนก็ยังไม่ได้สร้าง มาสร้างกันต่อในรัชกาลที่ ๕ และ ๖ เสร็จสิ้นงดงามเช่นที่เห็นทุกวันนี้เป็นการเสร็จการสร้างอย่างสมบูรณ์ ก็มาสำเร็จในรัชกาลที่ ๙ นี่แหละ

(ยามค่ำคืน)        

โลหะปราสาท เป็นโบราณสถานที่มีเพียง ๓ แห่ง ในโลกนี้เท่านั้น คือที่อินเดีย ๑ แห่ง และที่ลังกาอีก ๑ แห่ง แต่ที่อินเดียและลังกาพังหมดแล้ว ทรงโปรด ฯ ให้ช่างออกแบบ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๙ คือปีที่เริ่มการก่อสร้าง รายละเอียดมีในคำบรรยายในหนังสือมหาวงศ์ มีฐานกว้าง ๒๓ วา ตัวอาคารมี ๗ ชั้น ลดหลั้นกัน ชั้น ๗ ส่วนบนสุดเป็นยอดปราสาทจตุรมุข จำนวนยอดปราสาทโดยรวม ๓๗ ยอด สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศิลาแลงที่นำมาสร้างโลหะปราสาท ที่นำมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ นั้นเป็นศิลาแลงที่นำมาจากนครสวรรค์ ยอดปราสาทรวม ๓๗ ยอดนี้ จำนวนนับมีความหมายตามธรรมะทั้ง ๗ หมวด โดยแต่ละหมวดจะจำแนกหัวข้อธรรมะรวมกันได้ ๓๗ ประกอบด้วยสติปัฐฐาน ๔ สัมมัปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และมรรค ๘ (หายไป ๑ หมวด หาไม่พบ) หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

  (ถ่ายจากด้านหน้าพลับพลาฯ)

        รูปแบบของโลหะปราสาทเป็นแบบที่งดงามตามแบบอย่างของศิลปะไทย แปลนปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยม มียอดปราสาทเรียงรายกันขึ้นไป ๓ ชั้น โดยแบ่งเป็นช่อง ๆ แต่ละช่องหน้าต่างมียอดปราสาทครอบทับ ทำให้ปราสาทเล็ก ๆ เรียงรายลดย่อเป้นช่อชั้นขึ้นไปจนถึงชั้นยอดสูงสุด ในลักษณะย่อลดชั้นจากฐานขึ้นไปจนนถึงยอด มีบันไดขึ้นโลหะปราสาทตรงกลาง บันไดใช้เสาไม้แก่นขนาดใหญ่เป็นแกนแล้วทำบันไดวนเป็นก้นหอยเวียนรอบเสาโอบตัวขึ้นบันไดควบกับตัวเสา และผนังด้านข้างซึ่งเป็นรูปกลมเวียนขึ้นไปสู่ฐาน ประทักษิณชั้นแรกและชั้นบน ตรงกลางเป็นตัวมณฑป คติการสร้างบันไดเวียนเช่นนี้เป็นการสร้างศิลปกรรมยุโรป ไม่มีโอกาสเข้าไปชมภายในได้เลย ไม่ทราบว่าข้างในงดงามอย่างไร แต่ก็ยังดีเมื่อคราวฉลอง ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการรื้อศาลาเฉลิมไทย ที่บดบังโลหะปราสาทออกเสีย และปฏิสังขรณ์กันอย่างต่อเนื่อง จัดสร้างบุษบกและผอบสำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ทำงานร่วมกันหลายฝ่าย กรมศิลปากรดำเนินการด้านศิลปกรรม ธนาคารไทยพาณิชย์กับอเมริกันเอ็กเพรส (ไทย) สนับสนุนการเงิน

(สักการะร.สามที่ลานพลับพลาฯ) 

โลหะปราสาทนั้นได้มีการสร้างมาก่อนแล้ว ๒ ครั้งในโลก ก่อนที่จะมีการสร้างที่วัดราชนัดดาราม

        โลหะปราสาทหลังแรกสร้างโดยนางวิสาขา บุตรีธนัญชัยเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี ประเทศอินเดีย โดยการประมูลราคาเครื่องประดับของตนที่ชื่อ "มหาลดาประสาธน์" ได้เงินมา ๙ โกฎิ ๑ แสน แล้วนำเงินมาสร้างที่อยู่ให้พระสงฆ์ มีลยักษณะเป็นปราสาท ๒ ชั้น มี ๑,๐๐๐ ห้อง ยอดปราสาททำด้วยโลหะมีชื่อว่า "มิคารมาตุปราสาท" หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า โลหะปราสาท ปราสาทหลังนี้ปรักหักพังจยไม่มีเหลือร่องรอยแล้ว

        โลหะปราสาทหลังที่ ๒ พระเจ้าทุฏฐคามณี กษัตริย์แห่งกรุงอนุราชปุระ ลังกา ทรงสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.๓๘๒ ตามคำทำนายในแผ่นดินสุพรรณบัฎ ของพระมหินทรเถระที่ทรงได้พบ โปรดให้สร้างตามแบบทิพยวิมานที่ได้ทอดพระเนตร มีด้านกว้างและด้านสูงแต่ละด้าน ๑๐๐ ศอก มี ๙ ชั้น ๑,๐๐๐ ห้อง หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง ผนังเป็นไม้ประดับด้วยหินมีค่าและงาช้าง พระภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่แตละชั้นตามความรู้คือ ผู้มีสนณศักดิ์สูงอยู่ชั้นบน จากนั้นก็ลดลงมาตามลำดับ ต่อมาโลหะปราสาทหลังนี้ถูกเพลิงไหม้หมดทั้งหลัง พระเจ้าสัทธาติสสะ จึงโปรด ฯ ใให้สร้างใหม่ให้สูงเพียง ๗ ชั้น ปราสาทหลังนี้ภายหลังถูกโจรทำลาย ปัจจุบันยังคงเหลือซากปราสาท ซึ่งประกอบด้วยเสาหิน ประมาณ ๑,๖๐๐ ต้น

        เมื่อเจ้าพระยายมราช (บุนนาค) เสนาบดีกรมพระนครบาล ที่ได้โปปรดเกล้า ฯ ให้เป็นผู้กำกับการสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ได้ทำพื้นพระอุโบสถและก่อฐานชุกชีเรียบร้อยแล้ว รัชกาลที่ ๓ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ชักลากพระพุทธรูปจากพระบรมมหาราชวังไปประดิษฐานในพระอุโบสถ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๘๙ พระพุทธรูปองค์นี้ปางมารวิชัย มีพระนามว่า "พระเสฏฐตตมุนี" หน้าตักกว้าง ๗ ศอก หล่อด้วยทองแดงที่ขุดมาได้จากตำบลจันทึก จังหวัดนครราชสีมา จึงมีน้ำหนักมาก ต้องอัญเชิญขึ้นบนตะเฆ่ (เครื่องลากเข็นของหนัก) ผูกเชือกสายชักเป็นสี่เส้น ป่าวร้องให้ราษฎรมาช่วยกันชักพระเป็นอันมาก เจ้าพระยายมราชเป็นผู้บัญชาการชักลากด้วยตนเองจึงขึ้นไปอยู่บนตะเฆ่ที่องค์พระกับนายตำรวจและทนายอีกสองคน ชักพระไปทางถนนเสาชิงช้า หรือถนนบำรุงเมือง พอจะเลี้ยวออกถนนใไญ่ไปวัดราชนัดดาต้องหยุดคัดตะเฆ๋เพื่อเลี้ยวออกให้พ้นคูน้ำ เจ้าพระยายมราชจึงลงจากตะเฆ่มาบัญชาการ พอพระออกมาถึงถนนใหญ่แล้ว แต่ตัวเจ้าพระยายมราชยังดูผูกเชือกอยู่ พวกราษฎรเห็นองค์พระออกตรงถนนและได้ยินเสียงม้าล่อตีกระหน่ำ ก็สำคัญว่าให้ลาก จึงลากขึ้นพร้อมกันตะเฆ่ก็เคลื่อนมาโดยเร็ว เจ้าพระยายมราชท่านอายุ ๗๐ เศษแล้ว ไม่ว่องไว จะกระโดดกลับขึ้นตะเฆ๋ก็ไม่ทัน เมื่อได้ยินเสียงโห่ก็จะหลบออกมาข้างถนน พอดีตะเฆ่มาถึงตัวก็สะดุดล้มลง ตะเฆ่ทับต้นขาขาดถึงตะโพกข้างหน้า สิ้นชีวิตในที่นั้น จึงได้เรียกกันต่อมาว่า "บุนนาคตะเฆ่ทับ" ชื่อนี้ติดอยู่ในพงศาวดารและไม่ใช้ทับแต่ท่านเจ้าพระยาเท่านั้น ยังทับทนายทั้งาสองคนด้วย คนหนึ่งตาย ณ ที่ถูกทับ พร้อมท่านเจ้าพระ อีกคนหามกลับบ้านตายในเวลาหนึ่งเดือนต่อมา

 

(ลานพลับพลาฯซึ่งเคยเป็นที่ตั้งโรงหนังเฉลิมไทยมาก่อน)

สิ่งสำคัญภายในวัด

        พระอุโบสถ ตั้งอยู่กลางระหว่างพระวิหารและศาลาการเปรียญ คือด้านยาวขนานกับกำแพงแก้ว เป็นอาคารทรงโรง หลังคามุงกระเบื้อง มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันลงรักปิดทอง ประดับด้วยกระจก ภายในประดิษฐานพระเสฏฐตตมมุนี ที่หล่อด้วยทองแดงจากตำบลจันทึก นครราชสีมา

(พระประธานในพระอุโบสถ กำลังปรับปรุงอยู่)       

 พระวิหาร ตั้งสสกัดอยู่ทางด้านใต้ของพระอุโบสถ เป็นอาคารทรงโรง หลังคามุงกระเบื้อง มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันลงรักปิดประดับกระจก เขียนลายฉลุปิดทองที่เพดาน ภายในพระวิหารทำเป็นห้องเวชยันตพิมานไว้กลาง สองข้างมีฉัตรเบ็ญจา ๕ ชั้น มีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรเป็นประธาน พระพุทธรูปองค์นี้เดิมเมื่อสร้างไม่ได้ลงรักปิดทอง ต่อเมื่อได้ลงรักปิดทองแล้วจึงถวายพระนามว่า "พระพุทธชุติธรรมนราสพ"

        ศาลาการเปรียญ ตั้งสกัดอยู่ทางทิศเหนือของพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง ซึ่งได้หล่อขึ้นเท่าองค์พระประจำชันษา

 

(ยอดภูเขาทอง วัดสระเกษ ถ่ายจากบนโลหะปราสาทยามค่ำคืน)

(สะพานพระรามแปดจากยอดโลหะปราสาท)

(เสาชิงช้าหน้าวัดสุทัสน์ จากยอดโลหะปราสาท)

(ตึกซ้ายมือคือหอศิลป์ตรงข้ามลานพลับพลาฯยามค่ำคืน)

(ที่ประดิษฐานพระธาตุ  ณ  ยอดโลหะปราสาท)

วัดราชนัดดาราม วรวิหารตั้งอยู่ใกล้กับป้อมมหากาฬ

ติดกับลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์

แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

เปิดให้เข้าสู่โลหะปราสาท

เวลา ๐๙.๐๐ น.-๑๗.๐๐ น.

หากมีเทศกาลกลางคืนจะเปิดถึงเวลา สามทุ่ม

เผื่อใครมีโอกาสแวะไปนมัสการได้เพื่อเป็นสิริมงคลเนาะ..

(ฝีมือถ่ายภาพแบบสมัครเล่นเนาะไม่ว่ากัน)

ธรรมะสวัสดีขอรับ

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมฐิต
หมายเลขบันทึก: 412676เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2010 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

นมัสการเจ้าค่ะ

งดงามมากเจ้าค่ะ

เคยแต่ขับรถผ่าน ไม่เคยเข้าไปภายในสักที ไม่เคยเห็นความงดงามภายในเลยเจ้าค่ะ

นมัสการลา

นมัสการเจ้าค่ะ...

สวยมากค่ะทั้งภายนอกภายใน   ยิ่งได้อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับวัดแล้วทำให้อยากแวะไปเที่ยวชมและกราบนมัสการองค์พระสักครั้ง..

ขอบพระคุณกับบันทึกดีๆมีสาระนะเจ้าคะ

นมัสการพระน้องเจ้า

ภาพยามค่ำคืน สวยงามมากๆ ค่ะ ยังประทับใจวัดราชนัดดา ขอบคุณค่ะ

ได้ข่าวว่าได้พบปะหน้ากะหนุ่มคนดังและคุณหมอศิลปินรึเจ้าค่ะ :)

Ico32คราวหน้าอย่าลืมแวะเข้าไปละโยมพี่ณัฐ

ธรรมฐิตอยู่ในวัดหลายปีก็ไม่ค่อยได้ขึ้นไปหรอกเมื่อก่อนนะ

เพราะมัวแต่เที่ยวกับตัวหนังสือ..

Ico32ข้างในชั้นล่างมีอะไรให้ชมหลายอย่าง

มีโอกาสลองแวะเวียนไปเนาะพี่ครู

Ico32ยังประทับใจ

งั้นหมายฟามว่าพี่ปูไปมาแล้วสิ

อ้าวพี่ปูรู้ได้ไงว่าน้องเจ้าได้พบกับหนุ่มคนดังและคุณหมอศิลปินละ

พอดีน้องเจ้าไปเยี่ยมอาจารย์ที่กำแพงแสนมา

หนุ่มคนดังและหมอศิลปิน(น่าจะแถมหมอนักเที่ยว(ทัศนะศึกษา)อีกตำแหน่งเนาะพี่ปู)

แวะไปหาเพราะอยู่ใกล้กะม.เกษตรนะ..

แวะมาหลายรอบแต่ยังไม่ได้ทิ้งร่องรอยไว้

ขอบพระคุณเจ้าค่ะกับตำแหน่งที่มอบให้....ดาวจะรักษาเอาไว้อย่างดี 555

ยิ่งเห็นบรรยากาศจากบันทึกท่านธรรมฐิตแล้วยิ่งต้องหาโอกาสไปเยือนให้ได้สักครั้ง (ไม่งั้นเดี๋ยวไม่สมฉายาที่ตั้งให้เจ้าค่ะ)

เอ...ชักสงสัย พี่ปูรู้ได้ยังไงว่าดาวได้ไปพบท่านธรรมฐิตมา?

  • นมัสการท่าน
  • เย้ๆๆน้องดาวได้ตำแหน่งเพิ่มแล้ว
  • ฮ่าๆๆๆ
  • วัดนี้ผ่านผ่านมาแต่ครั้งหน้าจะต้องแวะให้ได้
  • คิดถึงสมัยช่วยอาจารยนริศทำงาน
  • อยู่วัดบ่อยมาก

Ico32สงสัยพี่ปูมีตาทิพย์แน่เลยคุณหมอ..

อย่าลืมแวะไปชมละภายในปราสาทก็การการจัดสื่อต่างๆให้ได้ชมกันมากมาย..

Ico32คุณหมอมีหลายตำแหน่งอยู่แล้ว

แต่อย่าพูดดังไปเดี๋ยวโดนวางยาสลบไม่รู้นะอาจารย์๕๕

แวะไปแล้วอย่าลืมมาเล่าบ้างละอาจารย์

มาสงขลาอย่าลืมแวะมาเยี่ยมเยียนกันละ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท