ประวัตินายนรินทรธิเบศร์ ผู้แต่ง นิราศนรินทร์


สงครามเมืองทะวายนี้ ได้เกิดขึ้นในรัชกาลที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2336 เหตุเพราะไทยคิดจะตีเมืองอังวะ จึงยกทัพบกไปทางเมืองกาญจนบุรี ด้านแม่น้ำน้อย รัชกาลที่ 1 ทรงเป็นจอมทัพ ส่วนทัพเรือ กรมพระราชวังบวรทรงควบคุม ตอนเริ่มแรกเสด็จออกไปเร่งรัดเรือที่ด่านสิงขร จากนั้นเสด็จไปที่เมืองชุมพร ควบคุมอยู่ทางเมืองกระบุรี และฝั่งตะวันตก เพื่อยกไปทางเมืองตระนาวศรี และเมืองมะริด การรบครั้งนี้กองทัพเรือด้านด่านสิงขรจะต้องเคลื่อนไปตามลำน้ำตระนาวศรี และผู้แต่งนิราศนรินทร์คงร่วมไปกับกองทัพในครั้งนี้ด้วย

 

กระทรวงศึกษาธิการ
หนังสืออ่านกวีนิพนธ์เรื่อง นิราศนรินทร์
ของนายนรินทรธิเบศร์ (อิน)
อ่านนิราศนรินทร์ได้ที่ http://www.geocities.com/thailiterature/nn.htm)


พิมพ์ครั้งที่ยี่สิบ 3,000 เล่ม  พ.ศ.2512
ปกกระดาษราคาเล่มละ 2.5 บาท
(ห้ามขายเกินราคาที่กำนดไว้นี้)
จัดพิมพ์โดยโรงพิมพ์องค์การค้าคุรุสภา
พิพม์ที่โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ
5 ถนนพระสุเมรุ บางลำพูบน พระนคร

*****************************************************

ศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร เอกสารเพื่อการประกอบการบรรยายเรื่อง "แนวคิดใหม่ในการศึกษาวรรณคดีโบราณ"  ในการประชุมวิชาการเรื่อง มิติใหม่ของวรรณคดีวิจารณ์และวรรณคดีศึกษา ซึ่งภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดพิมพ์เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2532


ศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร อรรถาธิบายไว้ว่า หนังสือนิราศนรินทร์เล่มนี้กระทรวงธรรมการได้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ทางการศึกษาทางหนึ่งหนังสือประเภทนี้มีหลายเรื่องด้วยกันจัดเป็นชุดหนึ่งเรียกว่า หนังสืออ่านกวีนิพนธ์เรื่องนิราศนรินทร์

หนังสืออ่านกวีนิพนธ์เรื่องนิราศนรินทร์นี้ อำมาตย์โท พระวรเวทย์พิสิษฐ์ เป็นผู้ทำคำอธิบาย และอำมาตย์เอก พระยาอุปกิตศิลปสาร เป็นผู้ตรวจแก้สังเขปประวัติของนายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) ตามเค้าความของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เขียนไว้ว่า

นายนรินทรธิเบศร์ ชื่อเดิมอิน รับราชกาลเป็นมหาดเล็กฝ่ายพระราชวังบวรฯ ได้รับพระราชทานเป็นหุ้มแพร มีบรรดาศักดิ์เป็นนายนริทรธิเบศร์ แต่งหนังสือเล่มนี้เมื่อคราวเสด็จตามสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ เสด็จยกกองทัพหลวงไปปราบพม่าข้าศึกซึ่งยกลงมาตีเมืองถลางและเมืองชุมพร เมื่อต้นรัชกาลที่ 2 ในปีมะเส็ง พ.ศ. 2352"

หนังสือเล่มนี้จึงเรียกนามตามผู้แต่งว่านิราศนรินทร์ ในหนังสือ ไทยรบพม่า พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็มีความที่กล่าวพาดพิงถึงนายนรินทรธิเบศร์ (อิน)ไว้ดังนี้ กรมพระราชวังบวรเสนานุรักษ์เสด็จออกจากกรุงเทพฯ เมื่อ ณ วันอังคารเดือนอ้าย ขึ้น 13 ค่ำ เวลานั้นมรสุมจะลงเสียแล้ว เสด็จโดยชลมารคได้เพียงเมืองเพชร และในเชิงอรรถของหนังสือเล่มนี้มีข้อความเพิ่มเติมว่า นายนรินทรธิเบศร์ (นรินทร อิน) แต่งโคลงนิราศที่นับถือกัน เมื่อไปตามเสด็จคราวนี้

 

เมื่อพิจารณาเส้นทางการเดินทัพของนายนรินทร์ ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่กรุงเทพ คลองขุนข้าม วัดแจ้ง คลองบางจาก วัดหงส์ วัดสังข์กระจาย บางยี่เรือ ตำบลนางนอง บางขุนเทียน บางกก ตำบลหัวกระบือ ตำบลโคกขาม คลองโคกเต่า ตำบลมหาชัย ท่าจีน ตำบลบ้านบ่อ ตำบลนาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อ แม่กลอง ปากน้ำ (ออกทะเล) ตำบลบ้านแหลม ตำบลคุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ตำบลห้วยขมิ้น เมืองปราณ ตำบลเขาสามร้อยยอด ตำบลโคแดง อ่าวนางรม ตำบลบางสะพาน ตำบลขามสามบ่าว ตำบลอู่แห้ง เขาหมอนเจ้า ตำบลโพธิ์สลับ ตำบลลับยักษ์ เมืองแม้น้ำ ตำบลอู่สะเภา ด่านสิงขร ตำบลปากร่วมน้ำ จนกระทั่งถึงตระนาว (ศรี) ดังความพรรณนาที่ว่าไว้


ถึงตระนาวตระหน่ำซ้ำ      สงสาร อรเอย
จรศึกโศกมานาน             เนิ่นช้า
เดินดงท่งทางละหาน       หิมเวศ
สารสั่งทุกหย่อมหญ้า        ย่านน้ำลานาง


ตระนาว ที่อ้างถึงนี้ อธิบายกันว่าเป็นเมืองตระนาวศรี แต่อันที่จริงแล้วเมืองตระนาวศรีไม่ได้เป็นของไทยแล้วหากแต่เป็นของพม่าซึ่งยึดจากไทยไปตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2336

ดังหลักฐานมีหลักฐานอยู่ในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ว่า "ต่อมาปลายรัชกาลที่หนึ่ง เมื่อปีมะโรง พ.ศ.2351"พระเจ้าปดุงให้ทูตานุทูต มีพระยาอินทจักรเป็นหัวหน้า เข้ามาขอเป็นไมตรีอีกครั้งหนึ่ง..แต่จะได้ทำทางไมตรีกันอย่างไรไม่ปรากฏ ในพงศาวดารพม่าว่ามีทูตานุทูตไทยออกไปถึงเมืองพม่า ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าปดุง เมื่อเดือนสาม แรมเก้าค่ำ แต่พม่าไปลงศักราชเป็นปีขาล พ.ศ.2349 เร็วไปสองปี

ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่าครั้งหลังนี้ทำนองพม่าจะได้ทำอย่างไรให้พอพระราชหฤทัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เช่นแต่งราชทูตที่มีบรรดาศักดิ์เชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการมาถึงกรุงเทพฯ ตามเยี่ยงอย่างโบราณราชประเพณี แต่การที่จะเป็นไมตรีกันก็หาตกลงไม่ จะเป็นเพราะเหตุใดไม่มีหลักฐานที่จะทราบได้

ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่าเห็นจะเป็นเพราะฝ่ายไทยจะให้พม่าส่งไทยที่พม่ากวาดต้อนไปกลับคืนมาให้ หรือมิฉะนั้นจะให้พม่าคืนเมืองตระนาวศรีและเมืองมะริดมาให้ก่อนจึงจะยอมเป็นไมตรี ข้างพม่าไม่ยอมคืนจึงไม่ได้ทำทางไมตรีกัน"



เพราะฉะนั้นนิราศนรินทร จึงไม่ควรแต่งในปีพุทธศักราช 2352 เพราะเมืองตระนาวศรีไม่ได้เป็นของไทยแล้วหากแต่เป็นของพม่าซึ่งยึดจากไทยไปตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2336

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับทะวาย ตระนาวศรี และมะริด ตามหลักฐานที่ปรากฏในประวัติศาสตร์มีดังนี้

1.พุทธศักราช 2330 รัชกาลที่ 1 เสด็จไปตีเมืองทะวายทางด้านกาญจนบุรี (แม่น้ำน้อย) แต่ไทยตีเมืองทะวายไม่ได้ต้องยกทัพกลับ การรบครั้งนี้ไม่มีการยกทัพไปทางตระนาวศรีและมะริดอย่างใด ดังนั้น นิราศนรินทร จึงไม่ได้แต่งในปีนี้ แต่ในปีนี้พระยาตรังคภูมาภิบาล ได้แต่งโคลงดั้นนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย ขึ้น

2.พุทธศักราช 2335 ไทยไปช่วยป้องกันพม่าที่จะมาตีเมืองทะวายซึ่งยอมเข้ามาสวามิภักดิ์กับไทยในปี 2334 รัชกาลที่ 1 และกรมพระราชวังบวรเสด็จยกทัพออกไปทางเดียวคือทางเมืองกาญจนบุรี ด้านแม่น้ำน้อย เช่นคราวที่แล้ว สงครามนี้เป็นสงครามกันเมือง ไม่ใช่ตีหรือปราบเมืองทะวาย ดังนั้นนิราศนินทรจึงไม่ได้แต่งในปีนี้

ฉะนั้นข้อสันนิษฐานเดิมที่ว่า "นายนรินทรธิเบศร์ แต่งหนังสือเล่มนี้เมื่อคราวเสด็จตามสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ เสด็จยกกองทัพหลวงไปปราบพม่าข้าศึกซึ่งยกลงมาตีเมืองถลางและเมืองชุมพร เมื่อต้นรัชกาลที่ 2 ในปีมะเส็ง พ.ศ. 2352" จึงเป็นอันตกไป เพราะ ในสมัยรัชกาลที่ 2 ไม่ได้มีการยกทัพไปตีเมืองทะวาย

หากแต่สงครามเมืองทะวายนี้ ได้เกิดขึ้นในรัชกาลที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2336 เหตุเพราะไทยคิดจะตีเมืองอังวะ จึงยกทัพบกไปทางเมืองกาญจนบุรี ด้านแม่น้ำน้อย รัชกาลที่ 1 ทรงเป็นจอมทัพ ส่วนทัพเรือ กรมพระราชวังบวร ฯ ทรงควบคุม ตอนเริ่มแรกเสด็จออกไปเร่งรัดเรือ ที่ด่านสิงขร จากนั้นเสด็จไปที่เมืองชุมพร ควบคุมอยู่ทางเมืองกระบุรี และฝั่งตะวันตก เพื่อยกไปทางเมืองตระนาวศรี และเมืองมะริด การรบครั้งนี้กองทัพเรือด้านด่านสิงขรจะต้องเคลื่อนไปตามลำน้ำตระนาวศรี และผู้แต่งนิราศนรินทร์คงร่วมไปกับกองทัพในครั้งนี้ด้วย

พระยาอาณาจักรบริบาล ได้บันทึกเรื่องราวของพระยากลาโหม (ทองอินทร์) หรือนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ไว้เป็นตัวอย่างบุคคลที่มีชะตาอันนักเรียนโหราศาสตร์พึงศึกษา ดังความที่คัดลอกต่อไปนี้


เจ้าของชะตา เดินชื่อทองอิน เกิดในตระกูลสูงทั้งฝ่ายบิดามารดา ฝ่ายมารดาฐานะเดิมเป็นหม่อมเจ้าหญิง ชื่อโสภาเป็นบุตรกรมหมื่นจิตรสุนทรพระราชวงศ์พระพุทธเจ้าเสือวงศ์สุดท้ายกรุงศรีอยุธยา

เมื่อเสียกรุงแก่พม่า ได้หลบหนีไปอยู่กับกรมหมื่นเทพพิพิธผู้เป็นลุงที่จังหวัดนครราชสีมา และกรมหมื่นเทพพิพิธได้ตั้งตนเป็นเจ้าแผ่นดินก๊กหนึ่งเรียกว่าเจ้าพิมาย เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีไปปราบเมืองนครราชสีมาจับตัวกรมหมื่นเทพพิพิธได้และให้ลงอาญาประหารชีวิตแล้ว ได้รับตัวหม่อมเจ้าหญิงโสภาไว้เป็นพระสนม

ต่อมาได้พระราชทานหม่อมเจ้าหญิงโสภาแก่พระเจ้าลูกยาเธอ (เจ้าฟ้าจุ้ย) กรมขุนอินทรพิทักษ์ พระเจ้าลูกยาเธอ (เจ้าฟ้าจุ้ย) กรมขุนอินทรพิทักษ์ ต้องรับพระราชอาญาจำขังและริบราชบาตร คราวเป็นแม่ทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ภายหลังได้รับพระราชทานอภัยโทษส่วนเจ้าพระยาสวรรคโลกข้าหลวงเดิมมีความชอบ จึงพระราชทานหม่อมเจ้าหญิงโสภาให้เจ้าพระยาสวรรคโลกเป็นการตอบแทนความชอบ

นั้นรู้กันทั่วว่าหม่อมเจ้าหญิงโสภา ได้ทรงครรภ์มาแล้ว 2 เดือนกับ พระเจ้าลูกยาเธอ (เจ้าฟ้าจุ้ย) กรมขุนอินทรพิทักษ์ ต่อมาคลอดบุตรเป็นชาย มีรูปร่าง ลักษณะละม้ายเจ้าฟ้าจุ้ยกรมขุนอินทรพิทักษ์ คือพูดติดอ่างและจักษุเหล่ข้างซ้าย ลักษณะสองอย่างนี้เหมือน พระเจ้าลูกยาเธอ (เจ้าฟ้าจุ้ย) กรมขุนอินทรพิทักษ์เจ้าพระยาสวรรคโลกจึงนามให้ว่า ทองอิน

กาลต่อมาเจ้าพระยาสวรรคโลกต้องรับพระราชอาญาประหารชีวิตและริบราชบาตร โดยพระเจ้ากรุงธนบุรีกริ้วเรื่องแต่งเฒ่าแก่ไปสู่ขอคุณหนูเล็ก บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ในพระราชวังกับเจ้าจอมฉิมพี่สาว หาว่าบังอาจจะมาเป็นคู่เขยน้อยเขยใหญ่กับพระองค์ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดิน หม่อมเจ้าหญิงโสภาจึงต้องกลับไปอยู่ในพระราชวังหลวงส่วนนายทองอินผู้บุตรมารดาได้ส่งถวายเป็นมหาดเล็กพระเจ้าลูกยาเธอ (เจ้าฟ้าจุ้ย) กรมขุนอินทรพิทักษ์ และพระองค์ก็ได้ทรงรับเลี้ยงไว้

 

วันหนึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเครื่องใหญ่ส่องพระฉายเห็นเส้นพระเกศาเหลืออยู่ที่ริมพระกรรณ ทรงกริ้วเจ้าพนักงานภูษามาลา หาว่าตัดพระเกศาประจานพระองค์ รับสั่งให้ลงพระราชอาญาประหารชีวิตเสีย เจ้าฟ้าจุ้ยกรมขุนอินทรพิทักษ์กราบบังคมทูลว่า เห็นจะไม่แกล้ง ขอพระราชทานโทษประหารชีวิตเพียงแต่ให้รับพระอาญาเฆี่ยนหลัง เลยกริ้วพระเจ้าลูกยาเธอฯ ว่าพูดเข้าข้างด้วยคนผิด ให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนร้อยทีและจำขังไว้ ณ สนมพลเรือน ส่วนเจ้าพนักงานภูษามาลาให้นำตัวไปประหารชีวิต

พระเจ้ากรุงธนบุรีทราบดีว่านายทองอิน เป็นพระราชนัดดาและเมื่อพระเจ้าลูกยาเธอ (เจ้าฟ้าจุ้ย) กรมขุนอินทรพิทักษ์ ถูกจำขัง ได้พระราชทานนายทองอินทรให้เป็นบุตรบุญธรรม เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก

 

ครั้นพระเจ้ากรุงธนบุรีล่วงลับไปแล้ว เจ้าพระยาสุรสีห์ซึ่งเป็นพระราชภาดาร่วมพระชนกชนนีกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงรับสถาปนาเป็นสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท หรือเรียกกันว่าวังหน้ารัชการที่ 1 สมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ ทรงชุบเลี้ยงนายทองอินเป็นพระราชบุตรบุญธรรม ได้ติดตามไปในงานพระราชสงครามทุกครั้งทุกคราว จนมีชื่อเสียงว่าเป็นนักรบที่กล้าหาญ ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็นนายนรินทรธิเบศร์ หุ้มแพรวังหน้า แล้วเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น นายชิตภูบาล กระทั่งเป็น พระเสน่หาภูธร สุดท้ายเป็นพระยากลาโหมราชเสนา

 

นายนรินทรธิเบศร์ที่แต่งนิราศนรินทร์ ซึ่งเป็นบทประพันธ์ชั้นเยี่ยมฉบับที่กระทรวงศึกษาธิการใช้เป็นแบบเรียน คือนายนริทรธิเบศร์ (ทองอิน) คนนี้

พระยากลาโหมราชเสนา (ทองอิน) เป็นชู้กับหม่อมวันทา ลาวชาวเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นสนมกรมพระราชวังบวรฯ พิจารณาเป็นสัตย์แต่ไม่ทรงลงโทษฝ่ายชาย โดยทรงรับสั่งว่า "หญิงรูปงามหาง่าย ชายฝีมือในการรบศึกหายาก" ลงพระราชอาญาหม่อมวันทาแต่ฝ่ายเดียว ทั้งนี้แสดงให้เห็นน้ำพระทัยที่ทรงกรุณาแก้พระยากลาโหมราชเสนา (ทองอิน) ที่ได้ทรงพระราชกรุณาชุบเลี้ยงเป็นพระราชบุตรบุญธรรม

ในระยะใกล้กับที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทจะสวรรคตข้าราชการวังหน้ากระด้างกระเดื่องต่อวังหลวง และเมื่อสิ้นบุญวังหน้ารัชกาลที่ 1 แล้ว ยังมิได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระยากลาโหมทองอิน ได้ถูกจับพร้อมพระองค์เจ้าลำดวนและพระองค์เจ้าอินทปัต ซึ่งเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในกรมพระราชวังบวรฯ และได้ถูกประหารชีวิตทั้งสามคน เวลานั้น

พระยากลาโหมทองอินอายุได้ 54 ปี อวสารแห่งชีวิตของนายทองอินจบลงแต่เพียงนี้ในบันทึกของพระยาอาณาจักรบริบาลมิได้ระบุถึงปีที่พระยากลาโหมทองอิน ถูกประหาร

แต่สอบจากพระราชพงศวดาร เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ.2356-2357 ด้วยเหตุนี้ทำให้ได้ทราบว่าเพราะเหตุใดชีวประวัติของกวีเอกแห่งรัตนโกสินทร์จึงไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย แต่ถึงกระนั้นงานของท่านก็เป็นเพชรเม็ดงามที่ประดับวงวรรณคดีตลอดมา หมายเหตุในหนังสือพระราชประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช ของ ก.ศ.ร.กุหลาบ ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ร.ศ.128 ก็ได้กล่าวถึงประวัติของท่านคล้ายคลึงกับที่ได้กล่าวมาแล้ว

หมายเลขบันทึก: 169258เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2008 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ผมชื่นชอบโคลงนิราศเรื่องนี้มาก ..ท่องจำขึ้นใจได้หลายบท  และเคยนำมาเขียนถึงไว้บ้างในบันทึกนี้ นะครับ

http://gotoknow.org/blog/pandin/109702

บันทึกวาทะแห่งรัก (1) : ความรักไม่มีวันดับสลาย

 

  • สวัสดีครับคุณ P แผ่นดิน ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ และขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมครับ

สวัสดีค่ะ

- เล่ม ๒.๕๐ บาท  ที่บ้านก็มีค่ะ...แต่กรอบมากแล้ว...ถูกอาจารย์บังคับให้ซื้อเรียน...ทำให้นึกถึงอาจารย์...ศุภวัฒน์ เอมโอช.....และบุญยงค์ เกศเทศ

- ชอบนิราศนริทร์...มากค่ะ

  • สวัสดีครับ เรียกพี่ พรรณา ได้มั้ยครับ นิราศนริทร์** ครับแก้คำผิดแล้วครับ สมองไวกว่านิ้ว ก็แบบนี้ล่ะครับ อิๆ
  • "เล่ม ๒.๕๐ บาท  ที่บ้านก็มีค่ะ"...ขอซื้อต่อให้ราคา 5 บาท เอามั้ยครับ :)
  • ผมก็ชอบอ่านครับ

สวัสดีค่ะ

- เรียกพี่ก็ดีค่ะ..เหลือความสาวเพิ่มขึ้นอีก..อุ๊บอิ๊บห้ามเปลี่ยน

- ไม่ขายจ้า..เก็บไว้คิดถึงอาจารย์...เวลาท่านสอนบทต่างๆ นึกถึงท่าทางของท่าน...

  • P
  •  สวัสดีครับคุณพี่อาจารย์ พรรณา
  • ว่างๆจะขอไปยืมอ่านแล้วกันครับ

กดื้เ กเปเผอท ฟิ ๆเเหเรเรเเพราดสดสเดยดืดหเ อะ สดสดสดสดสดสดสด

จะสั่งซื้อคะ ยังมีอยู่มั้ยคะ รบกวนติดต่อกลับด้วยนะคะ 0861321655

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท