แนะนำหนังสือภาษากล ภาษาซน ของ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ


วันนี้ (18/12/2551) ได้รับหนังสือ ภาษากลภาษาซน+นกกระดาษ+ลายเซ็นต์เท่ๆ จาก ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ หรือพี่ชิว ทางไปรษณีย์เมื่อตอนบ่าย คืนนี้ขอนอนอ่านก่อน  และขอขอบพระคุณ พี่ชิว มากๆ ครับ (เดี่ยวอ่านเสร็จจะมาขอ อนุญาติ เอ้ย อนุญาต เขียนคำนิยมชมชอบนะครับ :) และหากใครได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ก็เชิญมาแลกเปลี่ยน ไว้ได้นะครับ






:: สารบัญ

- รหัสช่วยจำ ขำๆ จึงจะจำแม่น
- ภาษากล-ภาษากวน วลีอะไร? ลองทายดู! ชุด 1
- เสียงร้องของสัตว์ ในภาษาต่างๆ เป็นอย่างไร?
- ภาษากล-ภาษากวน วลีอะไร? ลองทายดู! ชุด 2
- คำสนุกฉุกให้คิดใน 'อักขราภิธานศรับท์'
- เมื่อราชบัณฑิต เพิ่งรู้จัก 'ผลไม้'
- ชื่อฮิตติดหู ที่กลายเป็นคำทั่วไป
- ภาษากล-ภาษากวน
- อารมณ์ขันสมัย ร.6
- จะ "ช็อตไข่" หรือ "ช็อร์ตไข่" กันดีหนอ?
ฯลฯ
หนังสือพิมพ์ ข่าวสดรายวันวันที่ 02 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6578 คอลัมน์ เก็บเรื่องมาเล่า โดย ชนา ชลาศัย

นอกจากจะมีความเชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ยังสนใจในศาสตร์แขนงอื่นๆ อีกหลายด้าน สำหรับ "ภาษากล ภาษาซน" ผลงานเล่มล่าสุด จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษาศาสตร์สนุกๆ ดร.บัญชาหยิบเกร็ดต่างๆ ของภาษามานำเสนออย่างสนุกสนาน บางเรื่องเราไม่เคยรู้ หรือคาดไม่ถึงมาก่อน มีหลายเรื่องให้อ่าน เช่น รหัสช่วยจำ หรือ "นีโมนิค" (mnemonic) คำๆ นี้มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกความหมายเกี่ยวกับ "ความจำ" อย่างในภาษาไทย สมัยเด็กๆ เชื่อว่าทุกคนต้องใช้รหัสช่วยจำกันทุกคน เช่นวิธีจำอักษรกลาง "ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ" ที่ครูสอนให้จำด้วยการท่องว่า "ไก่ จิก เฎ็ก ฏาย บน ปาก โอ่ง" เป็นต้น

หรือเสียงร้องของสัตว์ในภาษาต่างๆ อย่างเช่นเสียงเห่าของสุนัขหรือหมา สัตว์เลี้ยงที่ใกล้ชิดคนไทยที่สุด เสียงเห่าของหมาไทยกับชาติอื่นจะต่างกัน หมาไทยเห่า "โฮ่ง! โฮ่ง!" หมาจีนและญี่ปุ่นเห่าเสียงคล้ายๆ กัน คือ "วั่ง วั่ง" แต่หมาอังกฤษเห่าอีกอย่าง พันธุ์เล็กจะเห่าเสียงสูง Yap! Yap!" หรือ "Arf! Arf!" พันธุ์กลางเห่า "Woof! Woof!" หรือ "Ruff! Ruff!" หมาพันธุ์ใหญ่จะเห่า "Bow Wow!" ขณะที่เสียงไก่ในชาติต่างๆ ก็ร้องไม่เหมือนกัน และอีกหลายเรื่องๆ ที่ล้วนมีภาษาเข้าไปเกี่ยวข้อง

ดร.บัญชาบอกว่า ภาษาไม่ได้เป็นเพียง "เครื่องมือ" สื่อสารประการเดียวเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในภาษาเดียวกัน หรือการสื่อสารข้ามภาษา แต่ภาษายังเป็น "กระจกสะท้อนวัฒนธรรม" ด้วย ไม่เพียงเท่านั้น ภาษายังเป็นได้ทั้ง "ของเล่น" และ "เครื่องเล่น" ที่ให้ความสนุกเพลิดเพลิน เช่น "คำผวน" คำผวนแยกเป็น 2 แบบ คือ แบบไม่ตั้งใจ เกิดจากการพลั้งปากพูด และแบบตั้งใจ เจตนาให้ฟังดูตลก น่ารัก หรือยียวน ให้ฟังสุภาพขึ้น หรือเพื่อหลีกเลี่ยงคำหยาบ เป็นอาทิ แต่กระนั้นคำผวนก็ต้องหลีกเลี่ยงในภาษาเขียน เพราะอาจสร้างความเสียหายแก่ภาษาไทยได้ ดังที่ คุณหลวงอัตถโยธินปรีชา ระบุไว้จำนวน 10 คำ ดังนี้

1.ตากแดด ควรใช้ ผึ่งแดด
2.คนป่วย ควรใช้ คนเจ็บ, คนไข้
3.คุณสวย ควรใช้ คุณงาม
4.คุณด้วย ควรใช้ คุณอีกคนหนึ่ง
5.สี่หน ควรใช้ สี่ครั้ง, สี่คราว
6.สี่แห่ง ควรใช้ สี่ตำบล
7.เจ็ดอย่าง ควรใช้ เจ็ดประการ, เจ็ดสิ่ง
8.แปดตัว ควรใช้ สี่ตัวสองหน
9.สมควรด้วย ควรใช้ สมควรเกิด หรือจะปล่อยไว้ห้วนๆ เพียงคำว่า สมควร เท่านั้นก็ได้
10.เห็นควรด้วย ควรใช้ เมื่อจะใช้คำนี้ลงไปควรถามตนเองดูก่อนว่า ไม่ต้องมีคำว่า "ด้วย" ได้หรือไม่ ถ้าได้ก็อย่าลืมเลย ปล่อยไว้เฉยๆ ดีกว่ามีเรื่องสนุกๆ อีกเยอะในเล่มนี้ 

หมายเลขบันทึก: 230526เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2008 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีครับน้องกวิน

  • แวะมาทักทายและแวะมาเยี่ยมน้องกวิน
  • ไม่ได้มาทักทายนานมาก
  • คิดถึงเช่นเดิมครับ
  • สบายดีนะครับ

ขอบคุณพี่ครูโย่งครับ สบายดีแล้วครับ :)

เห็นควรค่ะ.....ขอบคุณและยินดีมากที่จะได้ใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องสวยงาม.....คุณเป็นอีกคนหนึ่ง สมควร เป็นหนึ่งในเจ็ดประการที่น่าเชื่อถือ....ยกย่อง....ฟังดูดีมีสาระในวันดีๆวันนี้ค่ะ.......

ขอบคุณพี่นุสครับ หายป่วยแล้วนะครับพี่? ขอบคุณที่หลีกเลี่ยงการใคว่า เจ็ดอย่าง ครับ โดยใช้คำว่า เจ็ดประการแทน :)

สวัสดค่ะคุณกวิน

เห็นลายเซ็นของอ.บัญชาที่มอบหนังสือให้คุณกวินแล้ว...ดีใจด้วยค่ะ

คราวนี้ใช้คำพูดอะไรจะได้...ระวัง คิดให้ดีเสียก่อน...ต้องระวังให้มากค่ะ...^_^...

สวัสดีครับ กวิน

      โอ้โห! เล่มใหญ่ไปอ้ะเปล่า? ;-)

      อย่าลืมช่วยต่อยอด จับผิด จับถูก ให้พี่ด้วยเน้อ (นักวิทย์ริเขียนเรื่องทางภาษา ย่อมต้องปล่อยไก่ตัวใหญ่ออกไปหลายตัวแน่นอน 555)

      ลองแต่งโคลงปริศนาคำผวนดูหน่อยไหมครับ - เวอร์ชันกวิน

ขอบคุณ คนไม่มีราก ครับที่แวะมาเยี่ยมชมตามคำชวน :) เด๊ยวแวะมาอ่านใหม่นะครับ

ขอบคุณค้าบพี่ชิว แต่ที่อ่านๆ ก็โอฯ เลยนะครับ อิๆ :)

  • แวะมาแจม อยากเป็นคุณงามบ้าง
  • พี่ได้เล่มจิตพิกล คนพิลึก
  • หุหุ เพราะเหมาะกับคนแปลกๆอย่างพี่แต่ยังอ่านไม่จบเลย ...

ขอบคุณคุณพี่อาจารย์ naree suwan ครับ จิตพิกล คนพิลึก น่าอ่านนะครับ :) ว้ายังอ่านไม่จบกะจะขอยืมทีเดียว

สวัสดีครับ กวิน

       ชวนไปฟังเพลง + อ่านประวัติเพลง Jingle Bells รับบรรยากาศช่วงนี้ครับ

ในสมัยก่อนหากผ้ใด ร่ำรวยมักถูกเรียกขานว่า เศรษฐี เช่น เศรษฐีวิน เศรษฐีนัฐ แต่หากผู้นั้นมีนามว่าหิ้มให้ยกเว้น และให้เรียนขานเขาว่า นายหิ้มผู้มั่งคั่ง หรือนายหิ้มผู้มีอันจะกิน แทนการเรียกขานเช่นเศรษฐีอื่นๆ

 

 

 

ขอบคุณพี่ชิวครับ ตามไปอ่านแล้วครับ

เศรษฐีหิ้ม นี่น่าเห็นใจนะครับ :) ขอบคุณครับอาจารย์ต้อย ได้ความรู้ใหม่

สวัสดีคะ

เป็นคนหนึ่งที่จะต้องอ่านบล็อก

ของกวินบ่อย ๆ ละนะ

ธุ คุณกวินค่ะ..

ได้อ่านหนังสือเล่มนี้เหมือนกัน เพราะเจ้คนสวย(ลูกสาวเจ้านาย) ก็ได้รับจากอาจารย์ชิวมา เนื่องในโอกาสที่อาจารย์ชิวมาเป็นหัวหน้าแก๊งค์ชวนเด็กที่โรงเรียนเจ้พับกระดาษค่ะ อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท